See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ประเทศตุรกี - วิกิพีเดีย

ประเทศตุรกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Türkiye Cumhuriyeti
ตืร์กีเย จุมฮูริเยตี

สาธารณรัฐตุรกี
ธงชาติตุรกี ตราแผ่นดินของตุรกี
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: Yurtta Sulh, Cihanda Sulh
("สันติภาพในบ้าน สันติภาพในโลก")
เพลงชาติ: İstiklâl Marşı
แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศตุรกี
เมืองหลวง อังการา
41°1′N 28°57′E
เมืองใหญ่สุด อิสตันบูล
ภาษาราชการ ภาษาตุรกี
รัฐบาล สาธารณรัฐ
 - ประธานาธิบดี อาห์เมต เนจเดต เซเซร์
 - นายกรัฐมนตรี เรเจป ไตยิป เอร์โดอาน
วันชาติ
การตั้งรัฐสภา
เริ่มสงครามประกาศเอกราช
วันแห่งชัยชนะ
ประกาศสาธารณรัฐ

23 เมษายน พ.ศ. 2463
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2462

30 สิงหาคม พ.ศ. 2465
29 ตุลาคม พ.ศ. 2466
เนื้อที่
 - ทั้งหมด
 
 - พื้นน้ำ (%)
 
780,580 กม.² (อันดับที่ 36)
301,384 ไมล์² 
1.3
ประชากร
 - 2548 ประมาณ
 - 2543

 - ความหนาแน่น
 
73,193,000 (อันดับที่ 17 1)
67,844,903

90/กม² (อันดับที่ 102 1)
230/ไมล์² 
GDP (PPP)
 - รวม
 - ต่อประชากร
2549 ค่าประมาณ
610.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 19)
8,385 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 75)
HDI (2546) 0.750 (อันดับที่ 94) – กลาง
สกุลเงิน ลีราตุรกีใหม่2 (TRY)
เขตเวลา
 - ฤดูร้อน (DST)
EET (UTC+2)
CEST (UTC+3)
รหัสอินเทอร์เน็ต .tr
รหัสโทรศัพท์ +90

ตุรกี (Turkey) (ตุรกี: Türkiye [ตืร์กีเย]) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey) เป็นประเทศที่มีดินแดนทั้งในทวีปยุโรปตอนใต้และตอนตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งก่อนหน้าปี พ.ศ. 2465 มีชื่อว่าจักรวรรดิออตโตมัน คาบสมุทรอนาโตเลียระหว่างทะเลดำและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นแกนกลางของประเทศ

ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรักและซีเรีย ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ อนาโตเลียเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชีย นับตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางไปมาระหว่างยุโรปและเอชีย ตลอดระยะเวลากว่า 4 ถึง 500 ปีที่ผ่านมา มีชนหลายเผ่าพันธุ์เดินทางเข้ามายังอนาโตเลียและได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของตนบนดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรของชนเหล่านี้ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองและในที่สุดก็ต้องล่มสลายไปตามกาลเวลา ความเก่าแก่และหลากหลายของอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองบนผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษสำหรับดินแดนอันเป็นประเทศตนในปัจจุบัน

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ราบสูงอนาโตเลียเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ยุคประวัติศาสตร์ของอนาโตเลียเริ่มต้นขึ้นในยุคโลหะ ประมาณ 3,000 - 1,200 ก่อนคริสตกาล หากมองย้อนหลังไปในยุคดังกล่าวกลับมาจนถึงยุคปัจจุบันจะพบว่าอนาโตเลียมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนดินแดนอื่นใดในโลกคือ เป็นดินแดนที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่และหลากหลายของชนหลายกลุ่มซึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้ เพื่อที่จะเข้าใจถึงอดีตอันยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองของดินแดนแห่งนี้ จำเป็นต้องมองย้อยอดีตกลับไป 2,500 ก่อนคริสตกาล แล้วมองย้อนกลับมายังปัจจุบัน

[แก้] ฮัตไต

  • 1. ฮัตไต (Hatti) (2,500 - 2,000 ปีก่อนคริสตกาล) : จุดเริ่มต้นของอารยธรรมในอนาโตเลีย

อารยธรรมแห่งแรกบนแผ่นดินอนาโตเลียได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการและความเจริญรุ่งเรืองของชาวฮัตไต ชนพื้นเมืองดั้งเดิมบนที่ราบสูงอนาโตเลีย ชาวฮัตไตได้สถาปนาอาณาจักรของตนขึ้นในราวปี 2500 - 2000 ก่อนคริสตกาล ประมาณปี 2000 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรของชาวฮัตไตเริ่มเสื่อมอำนาจลง เปิดทางให้ชนต่างถิ่นเข้ามาครอบครองดินแดนอันเป็นถิ่นฐานเดิมของชาวฮัตไต

[แก้] ฮิตไตต์

  • 2. ฮิตไตต์ (Hittite) (2,000 - 1,200 ปีก่อนคริสตกาล) : จักวรรดิแห่งแรกในอนาโตเลีย

ฮิตไตต์เป็นชนเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) สันนิษฐานกันว่าอพยพเข้ามายังอนาโตเลียจากทางยุโรป โดยผ่านทางคอเคซัสหรือบอลข่านในราวปี 2000 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรฮัตไตกำลังเสื่อมอำนาจลง เมื่อได้เข้ามายังอนาโตเลียแล้ว ชาวฮิตไตต์ได้รับเอาวัฒนธรรมของชาวฮัตไตมาใช้ แม้แต่ชื่อของประเทศหรือดินแดนที่ชาวฮิตไตต์อาศัยก็ยังใช้ชื่อดั้งเดิมที่ชาวฮัตไตใช้เรียกชื่อประเทศตน “The land of Hatti” ชาวฮิตไตต์เป็นชนกลุ่มแรกในอนาโตเลียที่สามารถสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และเป็นปึกแผ่นในดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรฮิตไตต์ได้เจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนาโตเลีย และยังสามารถขยายดินแดนออกไปได้ไกลถึงเมโสโปเตเมีย การรุกรานของฮิตไตต์ต่ออาณาจักรบาบิโลนในเมโสโปเตเมียได้นำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรบาบิโลน ชาวฮิตไตต์ได้รับเอาวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา และระบบกฎหมายของบาบิโลนมาใช้

อาณาจักรฮิตไตต์เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในราวปี 1380 - 1346 ก่อนคริสตกาล ในรัชสมัยพระเจ้า Suppiluliumas ที่ 1 อาณาจักรฮิตไตต์กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เทียบเคียงได้กับอาณาจักรอียิปต์ การแข่งขันกันในการแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรทั้งสองได้นำไปสู่สงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือดินแดน Kadesh ในปี 1274 ก่อนคริสตกาล ในรัชสมัยของพระเจ้า Muwattalis แห่งอาณาจักรฮิตไตต์ และฟาโรห์ Rameses ที่ 1 แห่งอาณาจักรอียิปต์ สงครามในครั้งนี้ปรากฏว่า ไม่มีฝ่ายใดสามารถเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด สงครามจึงยุติลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาแห่งคาเดช (Treaty of Kadesh) ในปี 1269 ก่อนคริสตกาล

สนธิสัญญาแห่งคาเดช เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบมา เนื้อหาสำคัญกล่าวถึงการสงบศึกและการแลกเปลี่ยนเชลยศึก สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ถูกจารึกในภาษา “อัคคาเดียน” (Akkadian) ซึ่งเป็นภาษาสากลในยุคนั้น สนธิสัญญา (ตัวจริง) ฉบับของฮิตไตต์ เชื่อกันว่า จารึกลงบนแผ่นเงิน ปัจจุบันยังหาไม่พบ แต่ได้มีการค้นพบสำเนาของจริง จารึกลงบนแผ่นดินเหนียว (Cuneiform Tablet) ค้นพบเมื่อปี 1906 ที่เมืองฮัตตูซ่า (Hattusas) ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของฮิตไตต์ ปัจจุบันตั้งอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้านโบแกซคาเล (Bogazkale) ในจังหวัดโชรุม (Corum) ห่างจากกรุงอังการาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 200 กม. สนธิสัญญาสันติภาพแห่งคาเดช ฉบับสำเนาของจริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันออก (Museum of Orient Art) ในพระราชวังทอปกาปี นครอิสตันบูล สนธิสัญญาฉบับของอียิปต์ถูกจารึกลงบนผนังวิหารแห่งหนึ่งในประเทศอียิปต์ องค์การสหประชาชาติได้จำลองสนธิสัญญาฉบับนี้ประดับไว้ที่ทางเข้าอาคารสำนักงานองค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพดังกล่าว พระเจ้า Hattusilis ที่ 3 ของฮิตไตต์ ได้ส่งพระราชธิดามาอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ Rameses ที่ 2 แห่งอียิปต์ อาณาจักรฮิตไตต์และอียิปต์จึงอยู่ร่วมกันอย่างสันติเรื่อยมาเกือบ 50 ปี จนถึงในราวปี 1190 ก่อนคริสตกาลอาณาจักร ฮิตไตต์ถูกโจมตีโดย“ชาวทะเล” (Sea Peoples) ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากแถบทะเลอีเจียน เมืองฮัตตูซ่า เมืองหลวงของฮิตไตต์ ถูกทำลายพร้อมกันการล่มสลายของอาณาจักรฮิตไตต์ เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเทียบรัศมีกับอียิปต์และบาบิโลนได้ถูกลบเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จนกระทั่งในปี 1906 ได้มีการขุดค้นพบคลังเอกสารของกษัตริย์ฮิตไตต์ ที่เมืองฮัตตูซ่า อดีตอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรฮิตไตต์จึงได้ถูกเปิดเผยให้ชาวโลกได้รับทราบ นักโบราณคดีต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี จึงสามารถอ่านจารึกแผ่นดินเหนียวภาษาฮิตไตต์ (Hittite Tablet) ได้สำเร็จ (แต่ไม่ทั้งหมด)

ในปี 1987 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองฮัตตูซาเป็นมรดกโลก เมืองฮัตตูซ่าตั้งอยู่บนยอดเขาที่เต็มไปด้วยโขดหิน ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้างเมืองของชาวฮิตไตต์ ชาวฮิตไตต์มีความเชื่องในเรื่องเทพเจ้าหลายองค์ เมืองหลวงของฮิตไตต์จึงเต็มไปด้วยวิหารที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่เทพเจ้าต่างๆ เมืองฮัตตูซ่าล้อมรอบไปด้วยกำแพงยาวถึง 6 กิโลเมตร ในสมัยที่ยังรุ่งเรืองเมืองฮัตตูซ่าคงจะเป็นเมืองที่ใหญ่มากเมืองหนึ่งในสมัยเมือง 3,000 ปีที่แล้วชาวฮิตไตต์คงจะเป็นชนชาติที่เก็งในด้านการสงครามมากกว่าในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม เพราะร่องรอยที่หลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ค่อยจะมีอะไรที่บ่งบอกถึงความวิจิตรงดงามในทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมมากนัก เปรียบเทียบไม่ได้เลยกับอียิปต์ ซึ่งเคยเป็นคู่อริของฮิตไตต์

[แก้] ฮิตไตต์ใหม่

  • 3. ฮิตไตต์ใหม่ (Neo-Hittite) ( 1,200 - 800 ปีก่อนคริสตกาล)

ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรฮิตไตต์ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก่อนครอสตกาล อนาโตเลียเข้าสู่ยุคมืดที่ปราศจากศูนย์กลางแห่งอำนาจเป็นระยะเวลานานเกือบ 500 ปี อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างปี 1200-800 ก่อนคริสตกาล ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรฮิตไตต์ใหม่ (Neo-Hittite) ขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอนาโตเลียที่ติดกับซีเรียในปัจจุบัน อาณาจักรแห่งนี้ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก ในราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรแห่งนี้ได้ถูกโจมตีและทำลายลงโดยชาวอัสซีเรีย (Assyria)

[แก้] ยุคหลังฮิตไตต์

  • 4. ยุคหลังฮิตไตต์ (post-Hittite) (800-550 ปีก่อนคริสตกาล)

ในราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อนาโตเลียได้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งภายใต้อาณาจักรน้อยใหญ่ของชนหลายกลุ่มที่ได้อพยพเข้ามายังอนาโตเลียจากที่ต่างๆ อาณาจักรเหล่านี้ตั้งกระจัดกระจายทั่วไปในอนาโตเลีย อาณาจักรที่สำคัญที่สุดอาณาจักรหนึ่งได้แก่ อาณาจักรฟรีเจีย (Phrygia) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าชาวฟรีเจียอพยพมายังอนาโตเลียจากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรปแถบลุ่มแม่น้ำดานูบในราวปี 1250 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงปลายสมัยฮิตไตต์ ภาษาของชาวฟรีเจียคร้ายคลึงกับภาษากรีก ในระยะแรกที่อพยพเข้ามายังอนาโตเลียชาวฟรีเจียยังใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน จนกระทั่งในราวปี 738 ก่อนคริสตกาล ชาวฟรีเจียได้พัฒนาและสถาปนาอาณาจักรของตนเองขึ้น โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์เดียน (Gordion) ในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย

อาณาจักรฟรีเจียครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคกลางฃองอนาโตเลียซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรฮิตไตต์ในบริเวณเมืองฮัตตูซ่า เมืองหลวงของฮิตไตต์ก็ปรากฏร่องรอยหลักฐานการก่อสร้างต่อเติมโดยชาวฟรีเจีย เมืองกอร์เดียนอดีตราชธานีของอาณาจักรฮิตไตต์ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเมืองโพลัดลึ (Polatli) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงอังการาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร เมืองกอร์เดียมีขนาดเล็กกว่าเมืองฮัตตูซ่า อดีตราชธานีของฮิตไตต์มาก โบราณสถานสำคัญของเมืองกอร์เดีย คือ เนินฝังศพ (Tumulus) ซึ่งมีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปมากกว่า 80 แห่ง ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดีจะเข้าใจว่าเป็นเพียงเนินเขาธรรมดา อาณาจักรฟรีเจียเจริญรุ่งเรืองอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 100 ปีก็ล่มสลาย โดยในราวปี 650 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรฟรีเจียถูกอาณาจักรลีเดีย (Lydia) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะสันตกเฉียงใต้ของอนาโตเลียแถบทะเลอีเจียนโจมตีและทำลาย

อาณาจักรลิเดียมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองซาร์ดิส (Sardis) สันนิษฐานกันว่าชาวลิเดียเป็นลูกผสมระหว่างกรีกและชนพื้นเมืองในอนาโตเลีย อาณาจักรลิเดียเจริญรุ่งเรืองอยู่ในราวศตวรรษที่ 6-7 ก่อนคริสตกาล ในรัชกาลของพระเจ้า Croesus ซึ่งครองราชย์ในระหว่างปี 563-546 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรลิเดียมีความเจริญมั่งคั่งอย่างมาก เนื่องจากเป็นศูนย์การค้าระหว่างยุโรปและเอเชีย ชาวลิเดียเป็นชนชาติแรกที่ผลิตเหรียญกษาปณ์ ซึ่งทำด้วยโลหะทองและเงินขึ้นใช้เป็นชาติแรกในโลก ความมั่งคั่งของอาณาจักรลิเดียเป็นที่ล่ำลือไปถึงอาณาจักรเปอร์เซีย พระเจ้าไซรัส (Cyrus) มหาราชแห่งเปอร์เซียได้ยกกองทัพเข้ามายังอนาโตเลีย และสามารถตีกรุงซาร์ดิส (Sardis) เมืองหลวงของอาณาจักรลิเดียได้สำเร็จในปี 546 ก่อนคริสตกาล

[แก้] อนาโตเลียภายใต้การยึดครองของเปอร์เซียและกรีก

  • 5. อนาโตเลียภายใต้การยึดครองของเปอร์เซียและกรีก (546 - 113 ปี ก่อนคริสตกาล)

ภายหลังที่ยึดครองอาณาจักรลิเดียได้สำเร็จในปี 546 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าไซรัสมหาราชได้พยายามที่จะใช้อนาโตเลียเป็นฐานในการโจมตีกรีซแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี เปอร์เซียสามารถขยายอำนาจครอบครองอนาโตเลียไว้ได้เกือบทั้งหมดเป็นระยะเวลายาวนานเกือบ 200 ปี จนกระทั่งถึงปี 330 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งมาซิโดเนียได้ยกกองทัพเข้ามายังอนาโตเลีย เพือใช้เป็นทางผ่านไปโจมตีเปอร์เซีย เมืองต่างๆ ในอนาโตเลียได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ในปี 334 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงมีชัยชนะเหนืออาณาจักรเปอร์เซีย

อย่างไรก็ดี การครอบครองอนาโตเลียของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นในปี 323 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ทรงสิ้นพระชนม์ที่บาบิโลน (ประเทศอิรักในปัจจุบัน) ระหว่างที่ทรงเสด็จกลับจากการทำสงครามในเอเชียใต้ ด้วยพระชนมายุเพียง 33 พรรษา อาราจักรอันกว้างใหญ่ของพระองค์ได้ถูกแบ่งแยกและปกครองโดยเหล่าขุนพลของพระองค์ แม้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชในอนาโตเลียจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 10 ปี แต่ก็ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากมายในอนาโตเลีย ภาษาและวัฒนธรรมของกรีก ได้กลายเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอนาโตเลียเป็นเวลาอีกหลายร้อยปีต่อมา นอกจากนี้ อาณาจักรที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยเหล่าขุนพลของพระองค์ก็เป็นเสมือนทายาทของพระองค์ในอนาโตเลีย ยุค “เฮลเลนลิสติก” (Hellenistic) ซึ่งถือว่า เป็นยุคทองของศิลปะและวิทยาการของกรีก ได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยเริ่มนับตั้งแต่ช่วงที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงมีชัยชนะเหนืออาณาจักรเปอร์เซีย ไปจนถึงรัชสมัยของพระเจ้าออกุสตุส (Augustus) แห่งอาณาจักรโรมัน

[แก้] อนาโตเลียภายใต้การปกครองของโรมัน

  • 6. อนาโตเลียภายใต้การปกครองของโรมัน (พ.ศ. 410 - พ.ศ. 938)

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช อาณาจักรของพระองค์ได้ถูกแบ่งออกเป้น 4 ส่วน ปกครองโดยขุนพลสำคัญของพระองค์ 4 คน ได้แก่

ในบรรดาขุนพลทั้ง 4 คน ไลซิมาคุสได้ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ในอนาโตเลียและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป้นพื้นที่ในส่วนที่ติดกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอีเจียน ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ อาณาจักรของไลมาซิคุสมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเพอร์กามอน (Pergamon) อาณาจักรเพอร์กามอนของไลมาซิคุสได้รุ่งเรืองสืบมาจนถึงสมัยของพระเจ้าอัตตาลุสที่ 3 (Attalus III) (ครองราชย์ระหว่างปี 138 - 133 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 410 ก่อนคริสตกาลโดยไม่มีรัชทายาท พระเจ้าอัตตาลุส ที่ 3 ได้ทำพินัยกรรมยกอาณาจักรเพอร์กามอนให้แก่อาณาจักรโรมันซึ่งเป็นพันธมิตร พินัยกรรมดังกล่าวได้เปิดทางให้โรมันเข้าครอบครองอาณาจักรแพร์กามอนและอนาโตเลียทั้งหมดในเวลาต่อมา

ภายใต้การปกครองของโรมัน อนาโตเลียเข้าสู่ยุคแห่งความรุ่งเรืองทั้งในด้านเศษฐกิจและศิลปวัฒนธรรม ซากเมืองโบราณตามชายฝั่งทะเลอีเจียนและเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกี ส่วนใหญ่จะสร้างในยุคโรมัน โดยมากจะมีอายุอยู่ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรโรมันเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด อย่างไรก็ดี ในทางการเมือง อนาโตเลียไม่ค่อยจะมีความสำคัญมากนักสไหรับจักรวรรดิโรมันจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 4

[แก้] จักรวรรดิไบเซนไทน์

ปี พ.ศ. 848 (ค.ศ. 305) ได้เกิดสงครามกลามเมืองระหว่างผู้นำของโรมัน 2 คน คือลีซีนีอุส (Licinius) กับ คอนสแตนติน(Constantin) ผลปรากฏว่าคอนสแตนตินได้รับชัยชนะเหนือลีซีนีอุส ในสมรภูมิใกล้เมืองไบเซนทิอุม (Byzantium) ในปี พ.ศ. 867 (ค.ศ. 324) และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิของโรมัน

ในปี พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ทรงย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันจากกรุงโรม มายังเมืองไบเซนทิอุม ซึ่งตามตำนานเล่าว่า บิซัส (Buzas) แห่งเมการา (Megara) ได้นำชาวกรีกมาสร้างไว้ในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ย้ายมืงหลวงมายังเมืองไบเซนทิอุมแล้ว ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นกรุงโรมใหม่ หรือ โนวา โรม (Nova Rome) อย่างไรก็ดี ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 880 (ค.ศ. 337) กรุงโนวา โรม ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คอนสแตนติโนเปิล เพือเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์

พระนามจักรพรรดิโรมันในยุคที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง

  1. คอนสแตนตินที่ 1 (Constantinus I) พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) – 880
  2. คอนสแตนตินที่ 2 (Constantinus I) พ.ศ. 880 (ค.ศ. 337) – 903
  3. จูเลียน (Julian) พ.ศ. 903 (ค.ศ. 360) – 906
  4. โจเวียน (Jovian) พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) – 907
  5. วาเลนส์ (Valens) พ.ศ. 907 (ค.ศ. 364) – 921
  6. เกรเทียน (Gratien) พ.ศ. 921 (ค.ศ. 378) – 926
  7. เธโอดอซีอุสที่ 1 (Theodosius I) พ.ศ. 926 (ค.ศ. 383) – 938

ในปี พ.ศ. 938 (ค.ศ. 395) จักรพรรดิเธโอดอซีอุสที่ 1 (Theodosius I) ได้ทรงแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็น 2 ส่วน เพื่อพระราชทานให้แก่พระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าชายอาร์คาดิอุส (Arcadius) ได้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ในขณะที่อาณาจักรโรมันตะวันตกได้ถูกทำลายและล่มสลายไปในปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งนำไปสู่ยุคมืดในยุโรป อาณาจักรโรมันตะวันออกได้เจริญรุ่งเรืองสืมมากว่า 1,000 ปี ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก นักประวัติศาสตร์ได้เรียกอาณาจักรโรมันตะวันออกว่า อาณาจักรไบเซนไทน์ (Byzantine) ตามชื่อเมืองไบเซนทิอุม (Byzantium) อาณาจักรไบเซนไทน์ได้หันมารับภาษาและวัฒนธรรมของกรีก ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอนาโตเลียมาตั้งแต่ครั้งที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามายึดครองอนาโตเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ภาษาละตินของโรมันจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยภาษากรีก และได้กลายเป็นภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอาณาจักรไบเซนไทน์ในเวลาต่อมา

อาณาจักรไบเซนไทน์ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในรัชกาลของจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1070พ.ศ. 1108) จักรพรรดิพระองค์นี้เป็นผู้สร้างวิหารเซนต์โซเฟียอันยิ่งใหญ่อลังการ เป็นเพชรเม็ดเอกของสถาปัตยกรรมแบบไบเซนไทน์ ซึ่งยังยืนหยัดท้าทายกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 1,500 ปี สิ้นรัชกาลของจักรพรรดิจัสติเนียน อาณาจักรไบเซนไทน์ค่อยๆ เสื่อมอำนาจลงตามลำดับ ในปี พ.ศ. 1747 (ค.ศ. 1204) กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกโจมตีและยึดครองโดยกองทหารครูเสด (Crusaders) เป็นเวลาถึง 6 ปี ความเสียหายจากการโจมตีและยึดครองในครั้งนี้ ได้ส่งผลให้อาณาจักรไบเซนไทน์เสื่อมอานาจลงอย่างรวดเร็ว

[แก้] สงครามครูเสด

สงครามครูเสดมีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากชาติในยุโรปของจักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ เพื่อร่วมกันต่อต้านการคุกคามของมุสลิมเติร์ก ที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ และได้ยึดครองนครเยรูซาเลม ดินแดนอันศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์ ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการยอมรับกันเป็นอย่างดีจากพระสันตปาปาเออร์บับที่ 2 (Urban II) พระองค์ได้ทรงเรียกร้องให้ผู้นำยุโรปในขณะนั้นร่วมมือกันขับไล่มุสลิมเติร์กออกจากนครเยรูซาเลม จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 หาทราบไม่ว่า การเรียกร้องของพระองค์จะเป็น “การชักศึกเข้าบ้าน” และนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรของพระองค์เองในที่สุด

ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กาหลิบอูมาร์ (Umar) แห่งอียิปต์ได้ยึดครองนครเยรูซาเล็มจากชาวคริสเตียน ชาวคริสต์ในนครเยรูซาเลมถูกกกลี่ยแกล้งรังควาน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1071) เซลจุกเติร์กได้เข้ายึดครองนครเยรูซาเลม และได้เริ่มรุกรานเข้ามายังอนาโตเลีย ดินแดนภายใต้การปกครองของไบเซนไทน์ ณ สมรภูมิเมือง Malazgirt สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกลามารถเอาชนะกองทัพของจัดรพรรดิโรมันนุสที่ 4 ของไบเซนไทน์ ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชาวเติร์กจากเอเชียกลางหลี่งไหลเข้าสู่อนาโตเลีย การรุกรานของชาวเติร์กทำให้จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งอาณาจักรไบเซนไทน์ต้องร้องขอความช่วยเหลือไปยังพระสันตปาปาเออร์บันที่ 2 ซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี สงครามครูเสดครั้งที่ 1 จึงเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 1639 (ค.ศ. 1096) โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อขับไล่เติร์กออกจากนครเยรูซาเลม สงครามครูเสดได้ยืดเยื้อต่อมาอีก 8 ครั้ง ก่อนที่จะยุติลงในปี พ.ศ. 1815 (ค.ศ. 1272)

ในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 4 กองทหารครูเสดแทนที่จะพยายามบุกยึดนครเยรูซาเลมคืนจากมุสลิมเติร์ก กลับบุกเข้าปล้นนครคอนสแตนติโนเปิลในปี พ.ศ. 1747 (ค.ศ. 1204) และได้แบ่งแยกดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ออกเป็นหลายส่วนเพื่อปกครองกันเอง เชื้อพระวงค์ในไบเซนไทน์ซึ่งเสด็จลี้ภัยไปอยู่ที่เมือง Nicaea ทางตะวันตกของอนาโตเลีย ต้องใช้เวลานานเกือบ 60 ปี จึงสามารถยึดนครคอนสแตนติโนเปิลกลับคืนมาได้ แต่อาณาจักรไบเซนไทน์ก็ตกอยู่ในสภาวะที่เสื่อมทรมอย่างหนัก ชนเชื้อสายเติร์กได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอนาโตเลีย และสามารถยึดครองนครคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453)

[แก้] อาณาจักรเซลจุกเติร์ก

  • 8. อาณาจักรเซลจุกเติร์ก (ค.ศ. 1077 – 1118) : อาณาจักรแห่งแรกของชนเชื้อสายเติร์กในอนาโตเลีย

ความอ่อนแอของอาณาจักรไบเซนไทน์ได้เปิดทางให้ขนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางเปิดฉากการรุกรานเข้าสู่ดินแดนอนาโตเลียของอาณาจักรไบเซนไทน์มากยิ่งขึ้น ชนเชื้อสายเติร์กซึ่งดั้งเดิมเป็นชนเร่ร่อนแบ่งออกเป็นหลายเผ่า ถิ่นฐานดั้งเดิมของชนเชื้อสายเติร์กอยู่ในเอเชียกลางแถบเทือกเขาอัลไตในประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและทางธรรมชาติ ทำให้ชาวเติร์กอพยพออกจากเอเชียกลางไปยังดินแดนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ชาวเติร์กเผ่าหนึ่งเรียกว่า “เซลจุก (Seljuk)” ได้อพยพมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่เขตทะเลสาบแคสเปียน และได้ขยับเข้ามาใกล้อนาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1071) สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกประสบชัยชนะในสงครามเหนือกองทัพของจักรพรรดิโรมานุสที่ 4 (Romanus IV) แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ ณ สมรภูมิเมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt) (ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตจังหวัดมุส ในภาคตะวันออกของประเทศตุรกี) ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่ดินแดนอนาโตเลีย

ในตอนแรกเซลจุกเติร์กพยายามที่จะยึดเมืองอิซนิก (Iznik) ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากนครอิสตันบูล มาเป็นเมืองหลวงของตน แต่ถูกไบเซนไทน์และกองทหารครูเสดร่วมกันขับบลาออกไป จนต้องถอยไปปักหลักในตอนกลางของอนาโตเลีย ในปี พ.ศ. 1620 (ค.ศ. 1077) เซลจุกได้สถาปนาอาณาจักรแห่งแรกำของตนขึ้นในดินแดนอนาโตเลีย เรียกชื่อว่า “The Sultanate of Rum” มีราชธานีอยู่ที่เมืองคอนย่า ซึ่งตั้งอยู่บรที่ราบอันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ในตอนกลางของอนาโตเลีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของเมืองคอนยา ซึ่งป็นที่ราบปราศจากต้นไม้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับถิ่นฐานดั้งเดิมของเติร์กในเอเชียกลางมาก

อาณาจักรเซลจุกในอนาโตเลียเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นอยู่ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 100 ปี ก็เกิดการรบพุ่งกันเองตามแบบของสังคมแบบชนเผ่า ซึ่งมักจะมีเรื่องรบพุ่งกันเองอยู่เสมอๆ ภายหลังการสิ้นพระขนม์ของสุลต่าน Sanjar ในปี พ.ศ. 1700 (ค.ศ. 1157) อาณาจักรเซลจุกก็ล่มสลายและแตกออกเป็นหลายแว่นแคว้นเรียกว่า Beylic (Emirate)

[แก้] จักรวรรดิออตโตมัน

[แก้] การสิ้นสุดจักรวรรดิออตโตมัน และการเกิดของสาธารณรัฐตุรกี

  • 10. สาธารณรัฐตุรกี (พ.ศ. 2466 - ถึงปัจจุบัน)

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุลต่านออตโตมันบางพระองค์ทรงพยายามที่จะปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจของจักรวรรดิออตโตมันให้ทันสมัย ทัดเทียมอารยประเทศในยุโรป แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง เนื่องจากสงครามได้ปะทุขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนทั่วดินแดนซึ่งเป็นเมืองขึ้นของออตโตมัน จักรวรรดิออตโตมันต้องประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก การปฏิรูปจึงไม่บรรลุผล พระราชอำนาจของสุลต่านได้เสื่อมถอยลงเป็นลำดับ ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) กลุ่มปัญญาชนซึ่งเรียกตัวเองว่า ยังเติร์ก (Young Turks) ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง และบีบให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 (Abdulhamid II) พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เปลี่ยนแปลงการปกครองของจักรวรรดิมาเป็นระบบรัฐสภาโดยมีสุลต่านเป็นประมุขเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้เพียงปีเดียว ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ได้ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันได้ถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) กลุ่มยังเติร์กได้ก่อการปฏิวัติบีบบังคับให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ในปีต่อมาสุลต่านพระองค์นี้ถูกปลดออกจากพระราชอำนาจ สุลต่านเมห์เมตที่ 5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อมาไม่มีพระราชอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด ทรงเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น

Enver Pasha ผู้นำกลุ่มเติร์กหนุ่มได้รวบอำนาจปกครองประเทศไว้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และในปี พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ได้นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายเยอรมัน สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงโดยเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จักรวรรดิออตโตมันจึงตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามด้วย ต้องยอมลงนามสนธิสัญญา Sevres ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) ซึ่งเป็นผลให้จักรวรรดิออตโตมันต้องสูญเสียดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นที่เหลือในบอลข่านและตะวันออกกลาง และที่เลวร้ายที่สุดคือ อนาโตเลียถิ่นที่อยู่ของชาวเติร์ก และอิสตันบูลได้ถูกกองกำลังของชาติยุโรปที่ชนะสงครามเข้ายึดครอง การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข และการถูกบีบให้ลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นเหตุการณ์อันน่าอัปยศอดสูที่ชาวตุรกียังจดจำได้เป็นอย่างดี ทุกครั้งที่ตุรกีตกอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับจากภายนอก มักจะถูกนำไปเปรีบยเทียบกับเหตุการณ์ในครั้งนี้เสมอๆ

ชาวเติร์กส่วนใหญ่แม้จะยอมรับการสูญเสียดินแดนที่เคยเป็นเมืองขึ้น แต่ไม่อาจยอมรับความพยายามของชาติตะวันตกที่จะยึดครองอนาโตเลีย ซึ่งชาวเติร์กถือว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของชาวเติร์ก รัฐบาลของออตโตมันในขณะนั้นอยู่ในภาวะที่อ่อนแอเกินกว่าที่จะต่อรองอะไรได้ ชาวเติร์กผู้รักชาติจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง โดยมีมุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) เป็นผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation) จึงอุบัติขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) – พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923)

ในช่วงนี้ได้เกิดรัฐบาลขึ้น 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลของสุลต่านออตโตมัน ซึ่งตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล และรัฐบาลแห่งสมัชชาใหญ่ตุรกี (The Government of the Turkey Grand National Assembly) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงอังการา การต่อสู้ในสงครามเพื่ออิสรภาพสิ้นสุดลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาโลซานน์ (Lausanne) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ซึ่งนำไปสู่การรับรองเขตแดนของประเทศตุรกีในปัจจุบัน และการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งมีกรุงอังการาเป็นเมืองหลวง เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2466

ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ. 2466 รัฐสภาของรัฐบาลอังการาได้มีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) ยกเลิกระบบสุลต่าน ซึ่งยังคงมีอำนาจปกครองเพียงนครอิสตันบูลเท่านั้น ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 อัครมหาเสนาบดีคนสุดท้ายของรัฐบาลออตโตมันได้ยื่นใบลาออก และในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สุลต่านเมห์เมตที่ 5 สุลต่านพระองค์สุดท้ายของออตโตมันได้เสด็จไปลี้ภัยในต่างประเทศ โดยเสด็จออกจากนครอิสตันบูลโดยเรือรบของอังกฤษ เป็นการปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งมีอายุยืนยาวกว่า 600 ปี

[แก้] การเมือง

เมื่อก่อนในยุคโบราณประเทศตุรกีได้มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า อานาจักร์ฮิตไตต์ ในประเทศนี้มีผู้ปกครองคือ พระเจ้าเมอร์ซิลิสที่ 1 ปกครองอยู่ได้ทรงตรัสให้ เจ้าชายคาอิน (พระโอรสองค์ที่6ของราชวงค์) ทำการปกครองของครั้งนี้และ มีผู้ช่วยจัดการและวางแผนของการเมืองในประเทศและนอกประเทศ โดยมีพระชายา (ไม่บอกชื่อ) พระชายาของเจ้าชายคาอินทรงป็น (เทพฮินทาร์) ตอนหนุนนำอยู่ตลอดในเวลานั้น หลังจากนั้นเมอร์ซิสลิสที่1ได้สิ้นพระชนอย่างกระทันหันจึงได้แต่งตั้งให้เจ้าชายคาอินเป็นผู้ปกครองประเทศ จึงได้มีชื่อใหม่ว่า เมอร์ซิสลิสที่ 2 เจ้าชายคาอินทรงได้ทำราชส่ารไปยังพระญาติๆของท่าน ซึ่งให้มาร่วมตัวกันที่พระวิหารใหญ่ทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายองค์ต่างๆได้ปกครองดินแดนต่างๆในแคว้น ในด้านการเมืองเจ้าชายอาคินได้ทรงใหยูดา (พระพี่พระน้องต่างมารดาของเจ้าชายคาอิน) ได้ทรงปกครองต่อไป

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

ตุรกีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 81 จังหวัด (privinces - iller) ได้แก่

  • อาดานา (Adana)
  • อาดึยามัน (Adıyaman)
  • อัฟยอนคาราฮิซาร์ (Afyonkarahisar)
  • อารึ (Ağrı)
  • อักซาไร (Aksaray)
  • อามาสยา (Amasya)
  • อังการา (Ankara)
  • อันตัลยา (Antalya)
  • อาร์ดาฮาน (Ardahan)
  • อาร์ตวิน (Artvin)
  • ไอดึน (Aydın)
  • บาลึเกซีร์ (Balıkesir)
  • บาร์ติน (Bartin)
  • บาตมัน (Batman)
  • ไบบูร์ต (Bayburt)
  • บิเลชิก (Bilecik)
  • บิงเกิล (Bingöl)
  • บิตลิส (Bitlis)
  • โบลู (Bolu)
  • บูร์ดูร์ (Burdur)
  • บูร์ซา (Bursa)
  • ชานักกาเล (Çanakkale)
  • ชันกึรึ (Çankırı)
  • โชรุม (Çorum)
  • เดนิซลี (Denizli)
  • ดียาร์บากึร์ (Diyarbakır)
  • ดืซเจ (Düzce)
  • เอดีร์เน (Edirne)
  • เอลาซือ (Elazığ)
  • เอร์ซินจัน (Erzincan)
  • เอร์ซุรุม (Erzurum)
  • เอสกีเชฮีร์ (Eskişehir)
  • กาเซียนเตป (Gaziantep)
  • กิเรซุน (Giresun)
  • กือมืสฮาเน (Gümüshane)
  • ฮักการี (Hakkari)
  • ฮาไต (Hatay)
  • อีดึร์ (Iğdır)
  • อิสปาร์ตา (Isparta)
  • อิสตันบูล (İstanbul)
  • อิซมีร์ (İzmir)
  • กาห์รามันมารัช (Kahramanmaraş)
  • การาบึก (Karabük)
  • การามัน (Karaman)
  • การ์ส (Kars)
  • กาสตาโมนู (Kastamonu)
  • ไกเซรี (Kayseri)
  • กิลิส (Kilis)
  • กึรึกกาเล (Kırıkkale)
  • กึร์กลาเรลี (Kırklareli)
  • กึร์เชฮีร์ (Kırşehir)
  • โกจาเอลี (Kocaeli)
  • กอนยา (Konya)
  • กือตาห์ยา (Kütahya)
  • มาลาตยา (Malatya)
  • มานิซา (Manisa)
  • มาร์ดิน (Mardin)
  • เมอร์ซิน (Mersin)
  • มูลา (Muğla)
  • มุช (Muş)
  • เนฟเชฮีร์ (Nevşehir)
  • นีเด (Niğde)
  • ออร์ดู (Ordu)
  • ออสมานิเย (Osmaniye)
  • ริเซ (Rize)
  • ซาการ์ยา (Sakarya)
  • ซัมซุน (Samsun)
  • ชานลึอูร์ฟา (Şanlıurfa)
  • ซีร์ต (Siirt)
  • ซีนอป (Sinop)
  • ชืร์นัก (Şırnak)
  • ซีวัส (Sivas)
  • เตกีร์ดา (Tekirdağ)
  • โตกัต (Tokat)
  • แตรบซอน (Trabzon)
  • ตุนเจลี (Tunceli)
  • อูชัก (Uşak)
  • วาน (Van)
  • ยาโลวา (Yalova)
  • ยอซกัต (Yozgat)
  • ซองกุลดัก (Zonguldak)

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงมาต่ำจากทางตะวันออกมาตะวันตก มีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่ง และมีที่ราบสูงเป็นเขตฝั่งของอนาโตเลียตอนกลางของประเทศซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ และเป็นต้น้ำของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ทางตะวันออกบางส่วนแห้งแล้ง และเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งแต่อุดมด้วยน้ำมัน ส่วนพื้นที่ทางตะวันตกและใต้อุดมสมบูรณ์ปลูกพืชได้หลายชนิดเพราะมีอากาศแบบเมดิเตอเรเนียน ภูเขาที่สูงที่ทุดคือเทือกเขาอารารัต สูง 5137 เมตร ทรัพยากรที่สำคัญของประเทศคือ น้ำมัน ส่วนฝ้ายและยาสูบเป็นพืชส่งออกสำคัญ

[แก้] ภูมิอากาศ

อากาศร้อนในภูมิภาคทะเลดำ อากาศแบบภาคพื้นทวีปในพื้นที่ตอนกลางของประเทศ และแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามชายฝั่งทะเลภาคใต้

[แก้] เศรษฐกิจ

สกุลเงิน ลิร่า (Lira - TRL) อัตราแลกเปลี่ยนธนาคารกลางตุรกี วันที่ 12 ตุลาคม 2547 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 1,521,500 ลีร่า

เงินสกุลใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 สกุลเงินของตุรกีจะเปลี่ยนจากเงินลีร่าเดิม "Turkish Lira" (TRL) เป็นเงินลีร่าใหม่ New Turkish Lira (TRY) โดยตัดเลข 0 ออก 6 หลัก และมีสกุลเงินย่อยเป็น New Kurush (YKr) เช่น เงิน 123,625,000 TRL จะกลายเป็น 123.63 TRY เป็นต้น ทั้งนี้ เอกสารทางการเงินหรือการทำสัญญาธุรกิจทางการเงินทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนจากการกำหนดใช้เงิน TRL เป็น TRY เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 อย่างไรก็ตาม ธนบัตรและเหรียญเงิน TRL จะยังได้รับการอนุโลมให้สามารถใช้ร่วมกับเงิน TRY ได้ในช่วงตลอดปี 2548

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 552.7 พันล้าน USD

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.1

รายได้เฉลี่ยต่อหัว ประมาณ 7,900 USD

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 7.7

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 10

มูลค่าการส่งออก 72.49 พันล้าน USD

มูลค่าการนำเข้า 101.2 พันล้าน USD

สินค้าออกสำคัญ สินค้าเกษตรแปรรูป แร่ธาตุ ผ้าฝ้ายและผ้าใยสังเคราะห์ อุปกรณ์ก่อสร้าง ยานพาหนะและส่วนประกอบ

สินค้าเข้าสำคัญ เหล็ก พลาสติก ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักรอุตสาหกรรม

ประเทศคู่ค้าสำคัญ สหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง สหรัฐฯ CIS แอฟริกา รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์

[แก้] ประชากร

ประชากร-เชื้อชาติ 71.3 ล้านคน (2546) โดยเป็นชาวเติร์ก ร้อยละ 90 ชาวเคิร์ด ร้อยละ 20

ภาษา ภาษาเตอร์กิช ( ภาษาราชการ) ภาษาเคิร์ด ภาษาอาราบิค

ศาสนา ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม(31,129,845 คน) ที่เหลือเป็นคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ (73,725 คน)คริสต์นิกายจอร์เจียนออร์ทอดอกซ์ (69,526 คน) คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (25,833 คน) คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (22,983 คน) และยิว (38,267 คน)

จำนวนผู้ใหญ่ที่รู้หนังสือ 85.2%

อัตราการเติบโตของประชากร 1.5%

อายุเฉลี่ย ชาย : 70 / หญิง : 75

[แก้] วัฒนธรรม

รากฐานทางสังคมของตุรกีมีมีลักษณะเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้ชายทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทั้งในส่วนของรัฐบาลและภาคเอกชน แต่ผู้ชายก็ยังมีความคิดว่าผู้หญิงด้อยกว่าทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์

ประเทศตุรกี เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศตุรกี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -