ประเทศกัมพูชา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: (ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์) |
|||||
เพลงชาติ: นครราช | |||||
เมืองหลวง | พนมเปญ |
||||
เมืองใหญ่สุด | พนมเปญ | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาเขมร1 | ||||
รัฐบาล | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | ||||
- พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี | ||||
- นายกรัฐมนตรี | สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซน | ||||
เอกราช ประกาศ เป็นที่ยอมรับ |
จาก ฝรั่งเศส พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2496 |
||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
181,035 กม.² (อันดับที่ 88) 69,898 ไมล์² 2.5% |
||||
ประชากร - ก.ค. 2548 ประมาณ - 2541 - ความหนาแน่น |
14,071,000 (อันดับที่ 63) 11,437,656 78/กม² (อันดับที่ 111) 201/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2548 ค่าประมาณ 30,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 98) 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 178) |
||||
HDI (2547) | 0.571 (อันดับที่ 130) – กลาง | ||||
สกุลเงิน | ៛ เรียล 2 (KHR ) |
||||
เขตเวลา - ฤดูร้อน (DST) |
(UTC+7) (UTC+7) |
||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .kh | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +855 |
||||
1ผู้ที่ได้รับการศึกษาส่วนใหญ่รู้ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ 2เป็นหน่วยเงินท้องถิ่น แม้ดอลลาร์สหรัฐจะใช้กันในวงกว้าง |
กัมพูชา (Cambodia) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) (ภาษาเขมร:) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
จากการพิสูจน์อายุโดยคาร์บอน 14 ที่ถ้ำกลางสเปียนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา บอกได้ว่า ผู้คนที่รู้จักทำหม้อดินอาศัยอยู่ในถ้ำนี้ตั้งแต่ 4200 ปี ก่อนคริสตกาล อีกถ้ำหนึ่งใกล้ทะเล มีผู้คนอาศัยอยู่ราวพันปีหลังจากนั้น ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าชาวกัมพูชากลุ่มแรกใกล้เข้ามาในดินแดนนี้นานก่อนหน้านั้นแล้ว มีผู้พบหลักฐานเก่าแก่ไปกว่านั้นคือ วัฒนธรรมการใช้เครื่องมือหินกรวดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กะโหลกศีรษะ กระดูกพบที่สำโรงเซน อายุราว 1500 ปีก่อนคริสตกาล ชี้ให้เห็นว่าชาวกัมพูชายุคก่อนประวัติศาสตร์มีความละม้ายคล้ายคลึง กับชาวกัมพูชาในปัจจุบันซึ่งมีการผสมสายเลือดกับชาวจีนและเวียดนาม
[แก้] สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส
กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาตั้งแต่พ.ศ. 2406 ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้ แล้วปลดผู้ปกครองกัมพูชาที่เป็นชาวฝรั่งเศสและผู้นิยมฝรั่งเศสออกไป เมื่อสงครามโลกครั่งที่ 2 ยุติลง ฝรั่งเศสผู้ถูกญี่ปุ่นขับไล่ออกจากกัมพูชาเป็นฝ่ายชนะสงคราม กัมพูชาจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาฝรั่งเศสมีภาระการต่อสู้ติดพันกับนักชาตินิยมในเวียดนาม จึงต้องหาทางประนีประนอมกับกัมพูชา โดยได้จัดทำสนธิสัญญาขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพจากการที่กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นมาเป็นรัฐในอารักขาแห่งเครือจักรภพของฝรั่งเศส ในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้เจ้าสีหนุเป็นกษัตริย์ปกครองกัมพูชา เมื่อญี่ปุ่นยึดกัมพูชาได้ จึงให้เจ้าสีหนุประกาศเอกราชเป็นอิสระจากฝรั่งเศส แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสจึงกลับเข้ามามีอำนาจในกัมพูชาเหมือนเดิม
[แก้] ประกาศเอกราช
ใน พ.ศ. 2490 กัมพูชาจึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเจ้าสีหนุประกาศยุบสภา ประกาศใช้กฎอัยการศึกและทำการปกครองกัมพูชาโดยตรงและได้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั่นที่ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ฝรั่งเศสจึงยอมให้เอกราชแก่กัมพูชาตามคำเรียกร้องของเจ้าสีหนุ และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 กัมพูชา จึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อม ๆ กับลาว และเวียดนาม
[แก้] การเมือง
สภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของสมเด็จฮุน เซน และพรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของสมเด็จกรมพระนโรดมรณฤทธิ์ สามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาพิพากษาโทษ เป็นต้น
กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพูชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพูชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณชนและนานาชาติ เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค อย่างไรก็ดี ในด้านความมั่นคง มีปรากฏการณ์ใหม่ คือ ได้เกิดกลุ่มติดอาวุธที่มีวัตถุประสงค์จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ที่สำคัญคือ Cambodian Freedom Fighters (CFF) ซึ่งมีชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันเป็นหัวหน้า กลุ่มดังกล่าวได้ก่อการร้ายขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 แต่รัฐบาลกัมพูชาสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิพากษาตัวผู้กระทำผิด
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 จังหวัด (เขต: provinces; khet) และ 4 เทศบาล* (กรุง: municipalities; krung)
ชื่อ | เมืองเอก | พื้นที่ (km²) | ประชากร (ปี 2541) |
---|---|---|---|
1. บันทายมีชัย / บันเตียเมียนเจย (Banteay Meanchey) | เมืองศรีโสภณ | 6,679 | 577,772 |
2. พระตะบอง (Battambang) | เมืองพระตะบอง | 11,702 | 793,129 |
3. กำปงจาม / ก็อมปวงจาม (Kampong Cham) | เมืองกำปงจาม | 9,799 | 1,608,914 |
4. กำปงชนัง / ก็อมปวงชนัง (Kampong Chhnang) | เมืองกำปงชนัง | 5,421 | 417,693 |
5. กำปงสปือ / ก็อมปวงสปือ (Kampong Speu) | เมืองกำปงสปือ | 7,017 | 598,882 |
6. กำปงธม / ก็อมปวงต็วม (Kampong Thom) | เมืองกำปงธม | 13,814 | 569,060 |
7. กำปอด / กำโพธิ (Kampot) | เมืองกำโพธิ | 4,873 | 528,405 |
8. กันดาล / ก็อนดาล (Kandal) | เมืองท่าเขมา | 3,568 | 1,075,125 |
9. เกาะกง (Koh Kong) | กรุงเกาะกง | 11,160 | 132,106 |
10. แกบ* (Kep) | - | 336 | 28,660 |
11. กระแจะ (Kratié) | เมืองกระแจะ | 11,094 | 263,175 |
12. มณฑลคีรี / ม็อนด็อลกิรี (Mondulkiri) | เมืองแสนมโนรมย์ | 14,228 | 32,407 |
13. โอดดาร์เมียนเจีย / อุดรมีชัย (Oddar Meancheay) | เมืองสำโรง | 6,158 | 68,279 |
14. ไพลิน* (Pailin) | - | 803 | 22,906 |
15. พนมเปญ / พนุมเป็ญ* (Phnom Penh) | - | 376 | 2,009,264 |
16. สีหนุวิลล์ / กรุงพระสีหนุ / กำปงโสม* (Sihanoukville, Kampong Som) | - | 868 | 235,190 |
17. พระวิหาร / เปรียะฮ์วิเหียร์ฺ (Preah Vihear) | เมืองพนมตะเบงเมียนเจีย | 13,788 | 119,261 |
18. โพธิสัตว์ / โพธิ์ซัด (Pursat) | เมืองโพธิสัตว์ | 12,692 | 360,445 |
19. เปรยแวง (Prey Veng) | เมืองเปรยเเวง | 4,883 | 946,042 |
20. รัตนคีรี (Ratanakiri) | เมืองบ้านลุง | 10,782 | 94,243 |
21. เสียมเรียบ (Siem Reap) | เมืองเสียมเรียบ | 10,299 | 696,164 |
22. สตึงแตรง (Stung Treng) | เมืองสตรึงแตรง | 11,092 | 81,074 |
23. สวายเรียง (Svay Rieng) | เมืองสวายเรียง | 2,966 | 478,252 |
24. ตาแก้ว (Takéo) | เมืองตาแก้ว | 3,563 | 790,168 |
[แก้] ภูมิประเทศ
- ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
- มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม
กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
- ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
- ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
- ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย
เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
[แก้] แม่น้ำ/ทะเลสาบสำคัญ
- แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร
- แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร
- แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระมหาราชวัง กรุงพนมเปญ ความยาว 80 กิโลเมตร
- ทะเลสาบโตนเลสาบ อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด
[แก้] ภูเขา
ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น
[แก้] ป่าไม้
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น
[แก้] ภูมิอากาศ
- มีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุด เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] เศรษฐกิจ
- เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
- การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค
- การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือ โดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
- การทำเหมืองแร่ ยังไม่ค่อยสำคัญ
- อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า
ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่นๆ
แต่การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาได้เติบโตอย่างช้าๆ โดยเฉพาะในช่วงปี 2540-2541 กัมพูชาต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนตัวออกจากประเทศกัมพูชา ส่งผลให้การฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากปี 2542 สถานการณ์การเมืองกัมพูชาเริ่มมีความมั่นคงพอสมควร และนับเป็นปีแรกที่กัมพูชามีสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในหมดไป ปัจจุบัน กัมพูชากำลังพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2543 - กันยายน 2548) ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในเกณฑ์ร้อยละ 6-7 ต่อปี ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาในอดีตที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ดังนี้
สินค้าเกษตรกรรมถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศประมาณร้อยละ 43 ของ GDP มาจากข้าวและปศุสัตว์ ส่วนการประมงและป่าไม้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 สินค้าเกษตรที่ส่งออกได้แก่ข้าว ไม้ และยางพารา รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ทั่วไปกัมพูชามีสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ไม้ ยางพารา ข้าว และปลา สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บุหรี่ ทอง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องยนต์
เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2546 คาดการณ์โดย The Economist Intelligence Unit (EIU) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 5.0 % และ International Monetary Fund (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจขยายตัว 4.7 % เทียบกับที่ขยายตัวราว 5.5 % ในปี 2545 ปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ได้แก่ รายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การก่อความไม่สงบ โดยมีการเผาสถานทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เกิดปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง (SARS) ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในกัมพูชา (หลังการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 ที่ผ่านมา) ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัยและ ปัญหาการเมืองที่ยังคงไร้เสถียรภาพ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ถึงแม้ว่าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 สภาแห่งชาติของกัมพูชา (The National Assembly) ได้อนุมัติการออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการลงทุนฉบับลงวันที่ 5 สิงหาคม 2534 (Law on the Amendment to the Law on Investment of the Kingdom of Cambodia) เพื่อเอื้อสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ ส่วนภาคธุรกิจก่อสร้างยังคงอยู่ในภาวะซบเซา
ปี 2547 EIU และ IMF คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 % - 5.8 % ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 5.5 % - 6.0 % เนื่องจากรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับเมื่อเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศเพิ่มโควตานำเข้าสิ่งทอสำหรับปี 2547 ให้กัมพูชาเพิ่มขึ้นอีก 14 % ซึ่งคาดว่าจะทำให้กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และภาคธุรกิจก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และจากการที่กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิก ใหม่ของ WTO อย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ทำให้กัมพูชามีพันธกรณีที่ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาเพื่อส่งออก เนื่องจากกัมพูชายังมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อ EIU และ IMF คาดว่าปี 2547 กัมพูชาจะมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 % - 3.5 % จากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยราว 1.3 % - 2.6 % ในปี 2546 เนื่องจากราคาอาหารในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก (ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, 2547)
[แก้] ประชากร
- จำนวนประชากร
- 14,071,000 (ก.ค. 2548)
- เชื้อชาติ
- ชาวเขมร 90% ชาวญวน 4% ชาวจีน 3 % อื่นๆ เช่นชาวไทย ดูเพิ่มได้ที่ไทยเกาะกง ชาวลาว ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ 3% เป็นต้น
- ภาษา
- ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน
- ศาสนา
- รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3%
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อมูลประเทศกัมพูชา จากเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ
- เรียนภาษาเขมร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- ประวัติศาสตร์การเมืองกัมพูชา . (pdf)
|
||
---|---|---|
ประเทศ | กัมพูชา • กาตาร์ • เกาหลีใต้ • เกาหลีเหนือ • คาซัคสถาน1 • คีร์กีซสถาน • คูเวต • จอร์เจีย1 • จอร์แดน • จีน • ญี่ปุ่น • ซาอุดีอาระเบีย • ซีเรีย • ไซปรัส2 • ติมอร์ตะวันออก3 • ตุรกี1 • เติร์กเมนิสถาน • ทาจิกิสถาน • ไทย • เนปาล • บรูไน • บังกลาเทศ • บาห์เรน • ปากีสถาน • พม่า • ฟิลิปปินส์ • ภูฏาน • มองโกเลีย • มัลดีฟส์ • มาเลเซีย • เยเมน • รัสเซีย1 • ลาว • เลบานอน • เวียดนาม • ศรีลังกา • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ • สิงคโปร์ • อัฟกานิสถาน • อาเซอร์ไบจาน1 • อาร์เมเนีย2 • อินเดีย • อินโดนีเซีย3 • อิรัก • อิสราเอล • อิหร่าน • อียิปต์4 • อุซเบกิสถาน • โอมาน | |
ดินแดน | ฮ่องกง (จีน) • ชัมมูและกัษมีระ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) • เคอร์ดิสถาน (อิรัก) • มาเก๊า (จีน) • นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) • ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา • เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) •ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) • สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส) | |
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป; (3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา |
|
||
---|---|---|
รัฐสมาชิก | กัมพูชา • ไทย • บรูไน • พม่า • ฟิลิปปินส์ • มาเลเซีย • ลาว • เวียดนาม • สิงคโปร์ • อินโดนีเซีย | |
ประเทศสังเกตการณ์ | ปาปัวนิวกินี • ติมอร์ตะวันออก |
|
|
---|---|
ทวีปเอเชีย | กัมพูชา (!) • กาตาร์ (*) • คูเวต (⁂) • จอร์แดน (⁂) • ซาอุดีอาระเบีย (*) • ญี่ปุ่น • ภูฏาน (*) • บรูไน (*) • บาห์เรน (⁂) • ไทย • มาเลเซีย (!) • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (!) • โอมาน (*) |
ทวีปแอฟริกา | เลโซโท • โมร็อกโก (⁂) • สวาซิแลนด์ (*) |
ทวีปยุโรป | อันดอร์รา (!) • เบลเยียม • เดนมาร์ก • ลิกเตนสไตน์ (⁂) • ลักเซมเบิร์ก • โมนาโก (⁂) • เนเธอร์แลนด์ • นอร์เวย์ • สเปน • สวีเดน • นครรัฐวาติกัน (*!) |
โอเชียเนีย | ตองกา • ซามัว |
เครือจักรภพ | แอนติกาและบาร์บูดา • ออสเตรเลีย • บาฮามาส • บาร์เบโดส • เบลีซ • แคนาดา • เกรเนดา • จาเมกา • นิวซีแลนด์ • ปาปัวนิกินี • เซนต์คิตส์และเนวิส • เซนต์ลูเซีย • เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ • หมู่เกาะโซโลมอน • ตูวาลู • สหราชอาณาจักร |
* สมบูรณาญาสิทธิราชย์, ⁂ ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ, ! ราชาธิปไตยที่มีจากการเลือกตั้ง |