ภาษาไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาไทย | ||||
---|---|---|---|---|
เสียงอ่าน: | /pʰaːsaːtʰaj/ | |||
พูดใน: | ประเทศไทย | |||
จำนวนผู้พูด: | 46–50 ล้านคน (ไม่รวมไทยถิ่นเหนือ อีสาน และไทยถิ่นใต้) | |||
อันดับ: | 24 | |||
ตระกูลภาษา: | ไท-กะได คำ-ไท บี-ไท ไท-แสก ไท ไทตะวันตกเฉียงใต้ ไทกลาง-ตะวันออก เชียงแสน ภาษาไทย |
|||
ระบบการเขียน: | อักษรไทย | |||
สถานะทางการ | ||||
ภาษาทางการใน: | ประเทศไทย | |||
องค์กรควบคุม: | ราชบัณฑิตยสถาน | |||
รหัสภาษา | ||||
ISO 639-1: | th | |||
ISO 639-2: | tha | |||
ISO 639-3: | tha | |||
|
||||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
เนื้อหา |
[แก้] สัทวิทยา
[แก้] พยัญชนะ
ริมฝีปาก ทั้งสอง |
ริมฝีปากล่าง -ฟันบน |
ปุ่มเหงือก | หลังปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | ผนังคอ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงกัก | [ p ] ป |
[ pʰ ] ผ,พ,ป |
[ b ] บ |
[ t ] ฏ,ต |
[ tʰ ] ฐ,ฑ*,ฒ,ถ,ท,ธ |
[ d ] ฎ,ฑ*,ด |
[ k ] ก |
[ kʰ ] ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ |
[ ʔ ] อ** |
||||||
เสียงนาสิก | [ m ] ม |
[ n ] ณ,น |
[ ŋ ] ง |
||||||||||||
เสียงเสียดแทรก | [ f ] ฝ,ฟ |
[ s ] ซ,ศ,ษ,ส |
[ h ] ห,ฮ |
||||||||||||
เสียงกึ่งเสียดแทรก | [ ʨ ] จ |
[ ʨʰ ] ฉ,ช,ฌ |
|||||||||||||
เสียงรัวลิ้น | [ r ] ร |
||||||||||||||
เสียงเปิด | [ j ] ญ,ย |
[ w ] ว |
|||||||||||||
เสียงข้างลิ้น | [ l ] ล,ฬ |
- * ฑ สามารถออกเสียงได้ทั้ง [tʰ] และ [d] ขึ้นอยู่กับคำศัพท์
- ** เสียง [ʔ] มีปรากฏอยู่ในคำที่มีสระเสียงสั้นและไม่มีพยัญชนะสะกด
เสียงสัทอักษรพยัญชนะในภาษาไทย มีอยู่ด้วยกัน 21 เสียงดังต่อไปนี้
- [p] [ป] เสียงกัก ฐานริมฝีปาก สิถิล อโฆษะ
- [pʰ] [พ] เสียงกัก ฐานริมฝีปาก ธนิต อโฆษะ
- [b] [บ] เสียงกัก ฐานริมฝีปาก สิถิล โฆษะ
- [t] [ต] เสียงกัก ฐานปุ่มเหงือก สิถิล อโฆษะ
- [tʰ] [ท] เสียงกัก ฐานปุ่มเหงือก ธนิต อโฆษะ
- [d] [ด] เสียงกัก ฐานปุ่มเหงือก สิถิล โฆษะ
- [ʨ] [จ] เสียงกัก ฐานเพดานแข็ง สิถิล อโฆษะ
- [ʨʰ] [ช] เสียงกัก ฐานเพดานแข็ง ธนิต อโฆษะ
- [k] [ก] เสียงกัก ฐานเพดานอ่อน สิถิล อโฆษะ
- [kʰ] [ค] เสียงกัก ฐานเพดานอ่อน ธนิต อโฆษะ
- [ʔ] [อ] เสียงกัก ฐานเส้นเสียง
- [m] [ม] เสียงนาสิก ฐานริมฝีปาก
- [n] [น] เสียงนาสิก ฐานปุ่มเหงือก
- [ŋ] [ง] เสียงนาสิก ฐานเพดานอ่อน
- [r] [ร] เสียงรัวลิ้น ฐานปุ่มเหงือก
- [f] [ฟ] เสียงเสียดแทรก ฐานริมฝีปากกับฟัน
- [s] [ซ] เสียงเสียดแทรก ฐานปุ่มเหงือก
- [h] [ฮ] เสียงเสียดแทรก ฐานเส้นเสียง
- [j] [ย] เสียงเปิด ฐานเพดานอ่อน
- [w] [ว] เสียงเปิด ฐานริมฝีปาก-เพดานอ่อน
- [l] [ล] เสียงข้างลิ้น ฐานปุ่มเหงือก
[แก้] สระ
[แก้] สระเดี่ยว
ลิ้นส่วนหน้า | ลิ้นส่วนหลัง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
ปากเหยียด | ปากเหยียด | ปากห่อ | ||||
สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | |
ลิ้นยกสูง
>-ิ >-ี >-ึ >-ื >-ุ >-ู - |
ลิ้นกึ่งสูง
>เ-ะ >เ- >เ-อะ >เ-อ >โ-ะ >โ- |
|||||
ลิ้นกึ่งต่ำ
>แ-ะ >แ-
|
||||||
ลิ้นลดต่ำ
>-ะ, -ั >-า |
จากตารางสามารถอธิบายถึงเสียงสระเดี่ยวในภาษาไทยตามตำราคือ
- [i] (อิ) ลิ้นส่วนหน้ายกสูง ปากเหยียด เสียงสั้น
- [iː] (อี) ลิ้นส่วนหน้ายกสูง ปากเหยียด เสียงยาว
- [ɯ] (อึ) ลิ้นส่วนกลางยกสูง ปากเหยียด เสียงสั้น
- [ɯː] (อือ) ลิ้นส่วนกลางยกสูง ปากเหยียด เสียงยาว
- [u] (อุ) ลิ้นส่วนหลังยกสูง ปากห่อ เสียงสั้น
- [uː] (อู) ลิ้นส่วนหลังยกสูง ปากห่อ เสียงยาว
- [e] (เอะ) ลิ้นส่วนหน้ากึ่งสูง ปากเหยียด เสียงสั้น
- [eː] (เอ) สิ้นส่วนหน้ากึ่งสูง ปากเหยียด เสียงยาว
- [o] (โอะ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งสูง ปากห่อ เสียงสั้น
- [oː] (โอ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งสูง ปากห่อ เสียงยาว
- [ɤ] (เออะ) ลิ้นส่วนกลางระดับกลาง ปากกึ่งเหยียด เสียงสั้น
- [ɤː] (เออ) ลิ้นส่วนกลางระดับกลาง ปากกึ่งเหยียด เสียงยาว
- [ɔ] (เอาะ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งต่ำ ปากห่อ เสียงสั้น
- [ɔː] (ออ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งต่ำ ปากห่อ เสียงยาว
- [ɛ] (แอะ) ลิ้นส่วนหน้าเกือบต่ำ ปากเหยียด เสียงสั้น
- [ɛː] (แอ) ลิ้นส่วนหน้าเกือบต่ำ ปากเหยียด เสียงยาว
- [a] (อะ) ลิ้นส่วนหน้าลดต่ำ ปากเหยียด เสียงสั้น
- [aː] (อา) ลิ้นส่วนหน้าลดต่ำ ปากเหยียด เสียงยาว
[แก้] สระประสม
สระประสม เกิดจากการเลื่อนของลิ้นในระดับสูง ลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สระเลื่อน มี 3 เสียงดังนี้
- [ia:] (เอีย) ประสมจากสระ อี และ อา
- [ɯa:] (เอือ) ประสมจากสระ อือ และ อา
- [ua:] (อัว) ประสมจากสระ อู และ อา
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
[แก้] วรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
- เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
- เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
- เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
- เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
- เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- นันทนา รณเกียรติ, ดร. สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. ISBN 974-571-929-3.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อมูลพื้นฐานภาษาไทย
- ประมวลภาพหน้าปกแบบเรียนภาษาไทย:รายวิชาวิเคราะห์แบบเรียนภาษาไทย.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.สาขาวิชาภาษาไทย.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
|
|
---|---|
ภาษาไหล-เกยัน | ไหล • เจียมาว • ยารง • เกลาว • ลาติ • ลาติขาว • ปู้ยัง • จุน • เอน • กวาเบียว • ลาคัว • ลาฮา |
ภาษาคำ-ไต | เบ • ไต • แสก • ลักเกีย • เบียว • อ้ายจาม • ต้ง (เหนือ / ใต้) • คัง • มู่หล่าว • เหมาหนาน • สุ่ย |
กลุ่มภาษาคำ-ไต > ภาษาไต | |
กลุ่มเชียงแสน | ไทดำ • คำเมือง • ไทขาว • ไทย • ไทฮ่างตง • ไทแดง • พวน • ตูลาว |
กลุ่มลาว-ผู้ไท | ลาว • ไทญ้อ • ผู้ไท • ไทยถิ่นอีสาน |
กลุ่มไทพายัพ | อาหม • อ่ายตน • คำตี่ • คำยัง • พ่าเก • ไทขึน • ไทใหญ่ • ไทลื้อ • ไทเหนือ |
กลุ่มอื่นๆ | ปายี • ไทถาน • ไทยอง • ไทหย่า |
ภาษาไต(อื่นๆ) | จ้วง • นุง • ต่าย • ตุรุง • นาง • ปูยี • ไทยถิ่นใต้ • ไทยโคราช |