ราชบัณฑิตยสถาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรย่อ | รถ. (RIT) |
ชื่อภาษาอังกฤษ | The Royal Institute of Thailand |
ประเภท | ส่วนราชการไทย |
ระดับ | กรม |
สังกัด | ไม่มีสังกัด, ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี |
ก่อตั้ง | วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2476 |
งบประมาณ | 114,426,200 บาท (พ.ศ. 2551) |
นายก | ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช |
ราชบัณฑิตยสถาน เป็นส่วนราชการไทยประเภทกรมซึ่งไม่สังกัดหน่วยงานของรัฐใด ๆ หากขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีชื่อเสียงในด้านการจัดทำพจนานุกรมและการบัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ทั้งนี้ ราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่ค้นคว้า บำรุงรักษา เผยแพร่ และพัฒนาวิทยาการทุกแขนงเพื่อประโยชน์สาธารณะ
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
ราชบัณฑิตยสถาน ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2476 และถือเป็น วันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน ด้วย ทั้งนี้ได้ยกเลิกราชบัณฑิตยสภาที่มีแต่เดิมเสีย โดยให้ราชบัณฑิตยสถาน มีหน้าที่ทำงานด้านวิชาการ เป็นแหล่งรวมนักวิชาการระดับสูง เพื่อค้นคว้าหาความรู้มาเผยแพร่แก่ประชาชน และเพื่อสร้างตำราอีกด้วย ทั้งนี้ราชบัณฑิตยสถานมีฐานะเป็นนิตบุคคล อยู่ในอุปการะของรัฐบาล มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ
เมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลง ให้ราชบัณฑิตยสถานอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ครั้นเมื่อเวลาผ่านไปอีก 10 ปี จึงได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมขึ้นใหม่ กำหนดให้ราชบัณฑิตยสถานอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม (เดิม) จนเมื่อยุบกระทรวงวัฒนธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. 2501 ราชบัณฑิตยสถานจึงขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2544 ได้มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้ง โดยตั้ง สภาราชบัณฑิต ขึ้นเพื่อกำหนดและวางนโยบายด้านวิชาการขึ้น และมี คณะกรรมการส่งเสริมกิจการของราชบัณฑิตยสถาน เป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษา ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานของราชบัณฑิตยสถาน
ราชบัณฑิตยสถานมีที่ทำการอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน เขตพระนคร มาเป็นเวลานาน ปัจจุบันได้ย้ายที่ทำการไปสถานที่ใหม่ในบริเวณสนามเสือป่า เนื่องจากที่ทำการเดิมคับแคบ โดยย้ายไปตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2549
[แก้] อำนาจหน้าที่และผลงาน
[แก้] อำนาจหน้าที่
ราชบัณฑิตยสถาน เป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ โดยมีพันธกิจดังต่อไปนี้
- ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชา แล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
- ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสานงานทางวิชาการกับองค์กรปราชญ์และสถาบันทางวิชาการอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
- ให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชนและประชาชน
- ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย และงานวิชาการอื่น ๆ
- กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้เปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น
- ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถาน
ราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่ในการค้นคว้า วิจัย และนำเสนอผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งให้คำแนะนำทางวิชาการแก่หน่วยงานราชการและประชาชน ทั้งนี้ยังมีหน้าที่สำคัญ คือ การจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธานธรรมชาติวิทยา การบัญญัติศัพท์วิชาการ และงานวิชาการอื่น ๆ
[แก้] หนังสือสำคัญที่จัดทำขึ้น
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
- หลักเกณฑ์การทับศัพท์
- ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง
- พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย
- สารานุกรมไทย
- ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล
- อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร
- พจนานุกรมคำใหม่
[แก้] หน่วยงาน
[แก้] การแบ่งส่วนราชการ
ราชบัณฑิตยสถาน แบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองธรรมศาสตร์และการเมือง
- กองวิทยาศาสตร์
- กองศิลปกรรม
[แก้] สำนัก
สำนักในราชบัณฑิตยสถาน มีด้วยกัน 3 สำนักแต่ละสำนักประกอบด้วยคณะราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 65 สาขา
[แก้] สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
|
|
[แก้] สำนักวิทยาศาสตร์
|
|
[แก้] สำนักศิลปกรรม
|
|
[แก้] ผู้บริหาร
ผู้บริหารในราชบัณฑิตยสถานแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
- ฝ่ายราชบัณฑิต มี นายกราชบัณฑิตยสถาน เป็นผู้บริหารสูงสุด
- ฝ่ายข้าราชการประจำ มี เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เป็นผู้บริหารสูงสุด
[แก้] สมาชิก
สมาชิกของราชบัณฑิตยสถาน มี 3 ประเภทดังนี้
- ภาคีสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ที่สมัครเข้าทำการร่วมกับราชบัณฑิตยสถาน และราชบัณฑิตยสถานได้รับสมัครเป็นภาคีสมาชิกของสำนักใดสำนักหนึ่งแล้ว จำนวนภาคีสมาชิกมีจำกัดได้ไม่เกิน 160 คน แบ่งเป็น สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง 40 คน สำนักวิทยาศาสตร์ 80 คน สำนักศิลปกรรม 40 คน
- ราชบัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยราชบัณฑิตจากทุกสำนักจะเป็นผู้คัดเลือกจากภาคีสมาชิก แล้วนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มีได้จำกัดจำนวน
- ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรี โดยคำแนะนำของราชบัณฑิตยสถาน ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยไม่จำกัดจำนวน
ปัจจุบัน ราชบัณฑิตยสถาน มีสมาชิกทั้งหมด 157 คน โดยเป็นราชบัณฑิต 83 คน ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์จำนวน 3 คน และภาคีสมาชิก 74 คน
[แก้] วิทยาการที่ราชบัณฑิตยสถานจัดเผยแพร่ทางเว็บไซต์
[แก้] คลังความรู้
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สังคมศาสตร์
- ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม
[แก้] หลักเกณฑ์ต่างๆ
- การทับศัพท์
-
- คำชี้แจง
- ภาษาอังกฤษ
- ภาษาญี่ปุ่น
- ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษามลายู
- ภาษาเยอรมัน
- ภาษารัสเซีย
- ภาษาสเปน
- ภาษาอาหรับ
- ภาษาอิตาลี
-
- การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
- การอ่านตัวเลขต่าง ๆ
- การอ่านเครื่องหมาย
- การอ่านคำวิสามานยนาม
- เครื่องหมายวรรคตอน
- การเว้นวรรค
- การเขียนคำย่อ
- ชื่อจังหวัด เขต อำเภอ
- ชื่อทะเล
- ชื่อธาตุ
- ชื่อประเทศ/เมืองหลวง
- ลักษณนาม
- ราชาศัพท์
[แก้] สิ่งพิมพ์
- ราชบัณฑิตยสถานมีสิ่งพิมพ์ทางวิชาการเกือบทุกสาขาไว้จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป