ประเทศฟิลิปปินส์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: Maka-Diyos, Makatao, Makakalikasan, at Makabansa (เพื่อพระเจ้า ประชาชน ธรรมชาติ และบ้านเมือง) |
|||||
เพลงชาติ: Lupang Hinirang "ดินแดนที่ถูกเลือกสรร" |
|||||
เมืองหลวง | มะนิลา |
||||
เมืองใหญ่สุด | เกซอนซิตี | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาตากาล็อก และภาษาอังกฤษ* | ||||
รัฐบาล | สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี | ||||
- ประธานาธิบดี | กลอเรีย มากาปากัล-อาร์โรโย | ||||
- รองประธานาธิบดี | โนลี เด กัสโตร | ||||
ได้รับเอกราช ประกาศ เป็นที่ยอมรับ รธน. ปัจจุบัน |
จาก สเปน และ สหรัฐอเมริกา 12 มิถุนายน พ.ศ. 2441 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 25 มีนาคม พ.ศ. 2529 |
||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
300,000 กม.² (อันดับที่ 72) 115,831 ไมล์² 0.6% |
||||
ประชากร - ก.ค. 2548 ประมาณ - 2543 - ความหนาแน่น |
83,054,000 (อันดับที่ 13) 76,504,077 276/กม² (อันดับที่ 42) 715/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2548 ค่าประมาณ 453 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 25) 4,923 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 102) |
||||
HDI (2546) | 0.758 (อันดับที่ 84) – กลาง | ||||
สกุลเงิน | เปโซฟิลิปปินส์ (PHP ) |
||||
เขตเวลา | PST (UTC+8) | ||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .ph | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +63 |
||||
* ภาษาเซบัวโน ภาษาอิโลกาโน ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาบิกอล ภาษาวาไร-วาไร ภาษากาปัมปังกัน ภาษาปังกาซินัน ภาษากินาไรอา ภาษามาราเนา ภาษามากินดาเนา ภาษาตากาล็อก และภาษาเตาซัก เป็นภาษาราชการช่วยในภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนภาษาสเปนและภาษาอาหรับ ถือเป็นภาษาทางเลือก และพื้นฐานตามความสมัครใจ |
ฟิลิปปินส์ (the Philippines) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064-2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นชาติเดียวในเอเชีย ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
หลักฐานทางโบราณคดีและโบราณชีววิทยาบ่งบอกว่ามีมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ เคยอาศัยอยู่ในเกาะปาลาวันตั้งแต่ประมาณ 50,000 ปีก่อน ชนเผ่าที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียได้เข้ามาตั้งรกรากในฟิลิปปินส์ และจัดตั้งเส้นทางเครือข่ายการค้ากับเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เหลือทั้งหมดตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล
เฟอร์ดินันด์ มาเจลลันมาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) มีเกล โลเปซ เด เลกัสปี มาถึงฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) และตั้งชุมชนชาวสเปนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การตั้งอาณานิคมในเวลาต่อมา หลังจากนั้น นักบวชศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้แปรศาสนาของชาวเกาะทั้งหมดให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ในช่วง 300 ปีนับจากนั้น กองทัพสเปนได้ต่อสู้กับเหตุการณ์กบฎต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากชนพื้นเมืองและจากชาติอื่นที่พยายามเข้ามาครอบครองอาณานิคม ซึ่งได้แก่ อังกฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และโปรตุเกส สเปนสูญเสียไปมากที่สุดในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ใต้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ (New Spain) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) ถึงปี ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) และนับจากนั้นฟิลิปปินส์ก็อยู่ใต้การปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน (Manila Galleon) จากฟิลิปปินส์ไปเม็กซิโก เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เปิดตัวเองเข้าสู่การค้าโลกในปี ค.ศ. 1834
[แก้] การเมืองการปกครอง
ฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับเอกราชในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 จึงจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ในปี พ.ศ. 2545 มี 79 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไกย์ (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด
ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง
หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเอง
ตัวหนา===เขต (regions)===
- เขตอีโลกอส (Ilocos Region, Region I)
- คากายันแวลลีย์ (Cagayan Valley, Region II)
- เซนทรัลลูซอน (Central Luzon, Region III)
- คาลาบาร์ซอน (CALABARZON, Region IV-A)
- มิมาโรปา (MIMAROPA, Region IV-B)
- เขตบีโกล (Bicol Region, Region V)
- เวสเทิร์นวิซายา (Western Visayas, Region VI)
- เซนทรัลวิซายา (Central Visayas, Region VII)
- อีสเทิร์นวิซายา (Eastern Visayas, Region VIII)
- คาบสมุทรซัมโบอังกา (Zamboanga Peninsula, Region IX)
- นอร์เทิร์นมินดาเนา (Northern Mindanao, Region X)
- เขตดาเวา (Davao Region, Region XI)
- ซอกสก์ซาร์เกน (SOCCSKSARGEN, Region XII)
- คารากา (Caraga, Region XIII)
- เขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม (Autonomous Region in Muslim Mindanao, ARMM)
- เขตบริหารกอร์ดีเยรา (Cordillera Administrative Region, CAR)
- เขตนครหลวง (National Capital Region, NCR) (หรือ Metro Manila: เมโทรมะนิลา)
¹ ชื่อภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เป็นชื่อย่อจากชื่อจังหวัดและเมืองในภูมิภาคนั้น ๆ
[แก้] ภูมิศาสตร์
- ลักษณะภูมิประเทศ
- เป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ พื้นที่ทุกเกาะมีภูเขาเป็นแกนกลาง มีที่ราบอยู่น้อย เป็นที่ราบแคบ ๆ ที่ราบสำคัญ คือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอน เรียกว่า ที่ราบมะนิลา เป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด
- ลักษณะภูมิอากาศ
- มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[แก้] เศรษฐกิจ
- เกษตรกรรม
- พืชเศรษฐกิจสำคัญได้เก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า
- ป่าไม้
- มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี
- เหมืองแร่
- ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
- อุตสาหกรรม
- ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์
[แก้] ประชากร
มีปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในเกาะมินดาเนา ซึ่งต้องการแยกตัวเป็นอิสระ เรียกว่า "แนวปลดปล่อยแห่งชาติโมโร"
[แก้] วัฒนธรรม
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของตะวันตกก่อนจะได้มีโอกาสพัฒนาวัฒนธรรมของตัวเอง วัฒนธรรมฟิลิปปินส์จะมีส่วนคล้ายกับประเทศในละตินอเมริกา ประชาชนแบ่งออกเป็นชุมนุมชนทางเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกัน
[แก้] ภาษา
มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ
โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษา ตากาล็อก
[แก้] ศาสนา
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอันดับ 4 ของโลก นิกายโปรเตสแตนต์อันดับ 13 ของโลก ศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลก ศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์)
ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์
|
||
---|---|---|
ประเทศ | กัมพูชา • กาตาร์ • เกาหลีใต้ • เกาหลีเหนือ • คาซัคสถาน1 • คีร์กีซสถาน • คูเวต • จอร์เจีย1 • จอร์แดน • จีน • ญี่ปุ่น • ซาอุดีอาระเบีย • ซีเรีย • ไซปรัส2 • ติมอร์ตะวันออก3 • ตุรกี1 • เติร์กเมนิสถาน • ทาจิกิสถาน • ไทย • เนปาล • บรูไน • บังกลาเทศ • บาห์เรน • ปากีสถาน • พม่า • ฟิลิปปินส์ • ภูฏาน • มองโกเลีย • มัลดีฟส์ • มาเลเซีย • เยเมน • รัสเซีย1 • ลาว • เลบานอน • เวียดนาม • ศรีลังกา • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ • สิงคโปร์ • อัฟกานิสถาน • อาเซอร์ไบจาน1 • อาร์เมเนีย2 • อินเดีย • อินโดนีเซีย3 • อิรัก • อิสราเอล • อิหร่าน • อียิปต์4 • อุซเบกิสถาน • โอมาน | |
ดินแดน | ฮ่องกง (จีน) • ชัมมูและกัษมีระ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) • เคอร์ดิสถาน (อิรัก) • มาเก๊า (จีน) • นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) • ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา • เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) •ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) • สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส) | |
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป; (3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา |
|
||
---|---|---|
รัฐสมาชิก | กัมพูชา • ไทย • บรูไน • พม่า • ฟิลิปปินส์ • มาเลเซีย • ลาว • เวียดนาม • สิงคโปร์ • อินโดนีเซีย | |
ประเทศสังเกตการณ์ | ปาปัวนิวกินี • ติมอร์ตะวันออก |
|
|
---|---|
เกาหลีใต้ • แคนาดา • จีน • ชิลี • ญี่ปุ่น • นิวซีแลนด์ • บรูไนดารุสซาลาม • ปาปัวนิวกินี • เปรู • ไทย • ฟิลิปปินส์ · มาเลเซีย • เม็กซิโก • รัสเซีย • เวียดนาม ·สิงคโปร์ • ออสเตรเลีย • อินโดนีเซีย • สหรัฐอเมริกา • จีนไทเป • ฮ่องกง |