ประเทศโอมาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: ไม่มี | |||||
เพลงชาติ: Nashid as-Salaam as-Sultani | |||||
เมืองหลวง | มัสกัต |
||||
เมืองใหญ่สุด | มัสกัต | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาอาหรับ | ||||
รัฐบาล | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||
สุลต่าน | กะบุส บิน ซาอิด อัล บู ซาอิด | ||||
' | |||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
212,460 กม.² (อันดับที่ 84) 82,010 ไมล์² น้อยมาก |
||||
ประชากร - ก.ค. 2548 ประมาณ - ความหนาแน่น |
3,001,583 (อันดับที่ 132) 14/กม² (อันดับที่ 167) 37/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2548 ค่าประมาณ 40.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 84) 13,400 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 69) |
||||
HDI (2546) | 0.781 (อันดับที่ 71) – กลาง | ||||
สกุลเงิน | เรียลโอมาน (OMR ) |
||||
เขตเวลา - ฤดูร้อน (DST) |
(UTC+4) (UTC+4) |
||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .om | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +968 |
โอมาน (Oman) หรือชื่อทางการว่า รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman) (อาหรับ: سلطنة عُمان, Saltanat ˤUmān) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตะวันตกติดกับซาอุดีอาระเบีย และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเยเมน มีชายฝั่งบนทะเลอาหรับทางใต้และตะวันออก และอ่าวโอมานทางตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ก็ยังมีดินแดนส่วนแยกอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้วย
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
โอมานได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) Sultan Said bin Taimur ปกครองประเทศในปี 2475 (ค.ศ. 1932) โดยยึดนโยบายอนุรักษ์นิยมและโดดเดี่ยวตัวเองจนกระทั่งปี 2513 (ค.ศ. 1970) เมื่อสุลต่าน Qaboos bin Said ขึ้นครองราชย์โดยกระทำการรัฐประหารพระบิดาแบบไม่นองเลือด พระองค์ได้ดำเนินนโยบายที่เน้นทางด้านการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ ทรงเป็นนักพัฒนาตลอด30 กว่าปีที่ครองราชย์ ผลักดันการปฏิรูปทางการเมือง สนับสนุนสวัสดิการของประชาชน โอมานเคยมีความขัดแย้งกับเยเมนเหนือ จากการที่เยเมนเหนือให้การสนับสนุนฝ่ายกบฎแบ่งแยกดินแดนในจังหวัด Dhofar ซึ่งมีชือเรียกว่า The Popular Front for the Liberation of Oman (PFLO) และภายหลังการไกล่เกลี่ยของประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ได้มีการลงนามในความตกลงฟื้นฟูสัมพันธภาพในปี 2525 (ค.ศ. 1982) ต่อมา ได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในเดือนตุลาคม 2526 (ค.ศ. 1983) อย่างไรก็ดี ได้เกิดการปะทะตามแนวชายแดนระหว่างประเทศทั้งสองอีกครั้งเมื่อปี 2531 (ค.ศ. 1988) แต่ภายหลังได้ตกลงที่จะลงนามในความตกลงเรื่องพรมแดนระหว่างกัน
[แก้] การเมือง
โอมานมีระบบการปกครองแบบราชาธิปไตย สุลต่านแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดในทุกด้าน อำนาจบริหารอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ซึ่งองค์สุลต่านจะทรงแต่งตั้ง ในด้านนิติบัญญัติมีสภาโอมาน (Council of Oman) ทำหน้าที่เป็นเสมือนรัฐสภา ประกอบด้วยสภาสูง (สภา Majlis Addawla หรือ State Council ตั้งขึ้นจากพระราชดำริขององค์สุลต่านกาบูสเมื่อเดือนตุลาคม 2540) สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง 48 คน และสภาล่าง (Majlis Ash'Shura หรือ Consultative Council) สมาชิกมาจากการเลือกตั้งจำนวน 83 คน (การเลือกตั้งครั้งแรกมีขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2540 องค์สุลต่านทรงมีอำนาจตัดสินผลการเลือกตั้งในขั้นสุดท้าย) ทั้งสองสภาทำหน้าที่กลั่นกรองร่างกฎหมาย ให้ข้อเสนอแนะด้านเศรษฐกิจ (ยกเว้นด้านการปิโตรเลียม) และสังคมแก่รัฐบาล แต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ อำนาจด้านตุลาการอยู่ที่ศาลสูงสุด (Supreme Court)เมื่อเดือน พ.ย. พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) สุลต่าน Qaboos ได้ประกาศออกกฎหมาย Basic Law ซึ่งอาจถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโอมานได้นับแต่เริ่มครองราชย์เมื่อปี 2513 (ค.ศ. 1970) สุลต่าน Qaboos ทรงกำหนดเป้าหมายการปกครองประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล โดยมีรัฐสภาเป็นเวทีปรึกษาหารือ และทำงานร่วมกับรัฐบาล
ประมุขของรัฐ สุลต่านกะบุส บิน ซาอิด อัล บู ซาอิด ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสุลต่านแห่งรัฐสุลต่านโอมาน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศโอมานแบ่งออกเป็น 5 เขต (regions - mintaqah) และ 3 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ได้แก่
- เขตอัดดะคิลิยะห์ (Ad Dakhiliyah)
- เขตอัลบาตินะห์ (Al Batinah)
- เขตอัลวุสตะ (Al Wusta)
- เขตอัชชาร์กิยะห์ (Ash Sharqiyah)
- เขตอัซซอฮิเราะห์ (Ad Dhahirah)
- เขตผู้ว่าราชการมัสกัต (Masqat)
- เขตผู้ว่าราชการมุซันดัม (Musandam)
- เขตผู้ว่าราชการซุฟาร์ (Dhofar)
[แก้] ภูมิศาสตร์
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
ภูมิประเทศ รัฐสุลต่านโอมานมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและภูเขา มีชายฝั่งทะเลยาว 2,092 กิโลเมตร ปรากฏบริเวณที่เป็นภูเขาสูงอยู่ 2 บริเวณแคบๆ คือ
- บริเวณติดต่อกับเยเมน
- บริเวณชายฝั่งอ่าวโอมาน
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และมีลุ่มบางแห่งแถบชายฝั่งบริเวณหัวแหลมและอ่าวอยู่หลายแห่งมีเกาะ กลุ่มเกาะอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ เกาะและกลุ่มเกาะที่สำคัญ ได้แก่
- เกาะ คือ เกาะมาสิราห์
- กลุ่มเกาะ คือ กลุ่มเกาะคูเรีย มาเรีย
[แก้] ภูมิอากาศ
โอมานสามารถแบ่งเขตลักษณะภูมิอากาศได้ ดังนี้
- เขตกึ่งทะเลทราย-ร้อนแห้งแล้ง และอบอุ่นแห้งแล้ง ปรากฏอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบภูเขาสูงชายฝั่งอ่าวโอมาน พืชพรรณ เป็นไม้พุ่มเตี้ย ไม้หนาม หญ้าทนแล้งประเภทต่างๆ
- เขตทะเลทราย-แห้งแล้งจัดตลอดปี ปรากฏกระจายครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายรับอัลคาลิ พืชพรรณ อินทผลัม กระบองเพชร ไม้พุ่มประเภทหนาม
[แก้] เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของโอมาน ก่อนเริ่มการผลิตน้ำมัน เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาสินค้าเกษตรและประมงแบบพอประทังชีพ (subsistence agriculture) อย่างไรก็ดีเมื่อมีอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันเชิงพาณิชย์ ซึ่งเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) จึงทำให้เกิดการหักเหในการพัฒนาประเทศ จากสังคมที่พึ่งผลผลิตทางการเกษตร มาเป็นการพึ่งพาน้ำมันเป็นสินค้าออก รายได้มหาศาลจากการขายน้ำมันดิบถูกนำมาใช้พัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อย่างกว้างขวาง นับแต่ปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เป็นต้นมา จนปัจจุบันโอมานได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่รวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในโลก
แม้ว่าโอมานจะมีทรัพยากรน้ำมันไม่มากเท่าประเทศเพื่อนบ้านรัฐริมอ่าวอื่นๆ ในตะวันออกกลาง แต่เมื่อหลายปีที่ผ่านมาโอมานได้ขุดพบน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองในประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 2.9 พันล้านบาร์เรล เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เป็น 5.5 พันล้านบาร์เรลในปลายปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีบ่อน้ำมันทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในชายฝั่งจำนวนมากถึง 95 บ่อ
เมื่อปี 2543 โอมานมีรายได้สุทธิจากการขายน้ำมันเป็นเงิน 3,731.4 พันล้านริยัลโอมาน (ประมาณ 373,100 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 57.7 ทั้งนี้ น้ำมันเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่รัฐในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80 และมีสัดส่วนถึงร้อยละ 75 ของสินค้าออก หรือประมาณร้อยละ 50 ของ GDP นอกจากนี้ โอมานยังมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองจำนวน 45 พันล้านลูกบาศ์กฟุต โอมานพบก๊าซธรรมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) โดยกลุ่มบริษัทเชลเป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้และเสนอโครงการก่อสร้างโรงงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) จึงมีการจัดตั้งบริษัทโอมาน LNG LLC ขึ้น โดยมีรัฐบาลโอมานถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 51) ทำสัญญาซื้อขายก๊าซกับบริษัทต่างชาติต่างๆ รัฐบาลโอมานมีรายได้จากการขายก๊าซในปี 2543 ประมาณ 174.6 ล้านริยัลโอมาน (ประมาณ 17,400 ล้านบาท) ปัจจุบันรัฐบาลโอมานมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมภาคก๊าซธรรมชาติในการสร้างรายได้ ลดการพึ่งพาน้ำมันดิบ และสนองนโยบายสร้างงานให้ชาวโอมาน
โอมานตระหนักดีถึงผลเสียของการพึ่งพารายได้จากน้ำมันในอัตราที่สูงเช่นนี้ จึงมีนโยบายกระจายฐานเศรษฐกิจ (diversification) เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา อาทิ การเน้นกลยุทธ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยสินค้าออกเป็นตัวนำ (export-led growth) การพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาอื่นที่มิใช่น้ำมัน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ โดยส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศในอุตสาหกรรมดังกล่าว รวมทั้งนโยบายส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจการของรัฐ (privatization) นโยบายเหล่านี้ ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันโอมานกำลังเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544 - 2548) นอกจากกลยุทธ์กระจายฐานเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลโอมานยังมีนโยบายส่งเสริมการใช้แรงงานคนชาติ (Omanization) เป็นนโยบายด้านแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีอัตราการเพิ่มตัวของประชากรสูง และมีประชากรในวัยเรียนวัยทำงานเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น โอมานจึงให้ความสำคัญอย่างมากในการฝึกอบรมคนชาติของตนให้มีทักษะความชำนาญในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมภาคบริการ (การท่องเที่ยว การโรงแรม การธนาคาร ฯลฯ)
โอมานมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ โดยออกกฎหมายอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการได้ทั้งหมด ในโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 5 แสนริยัล (ประมาณ 5 ล้านบาท) และต้องเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโอมาน ปัจจุบัน องค์สุลต่านแห่งโอมาน กำลังจะปรับเปลี่ยนกฎหมายดังกล่าวให้ผ่อนคลายลงอีก รวมทั้งเปิดสาขาทางเศรษฐกิจสำหรับต่างชาติให้กว้างขึ้นด้วย ปัจจุบัน โอมานได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติที่เสรีมากที่สุดในอ่าวอาหรับ
ในด้านภาษีภายในนั้น โอมานไม่มีการเก็บภาษีภายในใดๆ เลย อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีสรรพสามิต เป็นต้น จะมีแต่เพียงภาษีรายได้ที่เก็บจากกำไรจากการดำเนินธุรกิจเท่านั้นการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การการค้าโลก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 จะช่วยให้เศรษฐกิจของโอมานเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้ประเทศคู่ค้าและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโอมานมากขึ้น อันจะช่วยเพิ่มโอกาสของการลงทุนของต่างชาติในโอมาน อย่างไรก็ดี การเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกจะส่งผลให้ธุรกิจในประเทศต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันจากต่างประเทศ ทั้งด้านการค้าและการบริการ รุนแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาครัฐและเอกชนโอมานต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปนี้ด้วย
[แก้] ประชากร
โอมานมี ประชากรประมาณ 3,713,462 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับร้อยละ 88 เชื้อชาติ อิหร่าน และอินเดีย มีความหนาแน่น 13 คน/ตารางกิโลเมตร
[แก้] วัฒนธรรม
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] ศาสนา
ศาสนาอิสลาม 85% ศาสนาฮินดู 0.5% ศาสนาพุทธ 0.5% ศาสนาคริสต์ 0.01%
|
||
---|---|---|
ประเทศ | กัมพูชา • กาตาร์ • เกาหลีใต้ • เกาหลีเหนือ • คาซัคสถาน1 • คีร์กีซสถาน • คูเวต • จอร์เจีย1 • จอร์แดน • จีน • ญี่ปุ่น • ซาอุดีอาระเบีย • ซีเรีย • ไซปรัส2 • ติมอร์ตะวันออก3 • ตุรกี1 • เติร์กเมนิสถาน • ทาจิกิสถาน • ไทย • เนปาล • บรูไน • บังกลาเทศ • บาห์เรน • ปากีสถาน • พม่า • ฟิลิปปินส์ • ภูฏาน • มองโกเลีย • มัลดีฟส์ • มาเลเซีย • เยเมน • รัสเซีย1 • ลาว • เลบานอน • เวียดนาม • ศรีลังกา • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ • สิงคโปร์ • อัฟกานิสถาน • อาเซอร์ไบจาน1 • อาร์เมเนีย2 • อินเดีย • อินโดนีเซีย3 • อิรัก • อิสราเอล • อิหร่าน • อียิปต์4 • อุซเบกิสถาน • โอมาน | |
ดินแดน | ฮ่องกง (จีน) • ชัมมูและกัษมีระ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) • เคอร์ดิสถาน (อิรัก) • มาเก๊า (จีน) • นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) • ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา • เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) •ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) • สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส) | |
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป; (3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา |
|
|
---|---|
ทวีปเอเชีย | กัมพูชา (!) • กาตาร์ (*) • คูเวต (⁂) • จอร์แดน (⁂) • ซาอุดีอาระเบีย (*) • ญี่ปุ่น • ภูฏาน (*) • บรูไน (*) • บาห์เรน (⁂) • ไทย • มาเลเซีย (!) • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (!) • โอมาน (*) |
ทวีปแอฟริกา | เลโซโท • โมร็อกโก (⁂) • สวาซิแลนด์ (*) |
ทวีปยุโรป | อันดอร์รา (!) • เบลเยียม • เดนมาร์ก • ลิกเตนสไตน์ (⁂) • ลักเซมเบิร์ก • โมนาโก (⁂) • เนเธอร์แลนด์ • นอร์เวย์ • สเปน • สวีเดน • นครรัฐวาติกัน (*!) |
โอเชียเนีย | ตองกา • ซามัว |
เครือจักรภพ | แอนติกาและบาร์บูดา • ออสเตรเลีย • บาฮามาส • บาร์เบโดส • เบลีซ • แคนาดา • เกรเนดา • จาเมกา • นิวซีแลนด์ • ปาปัวนิกินี • เซนต์คิตส์และเนวิส • เซนต์ลูเซีย • เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ • หมู่เกาะโซโลมอน • ตูวาลู • สหราชอาณาจักร |
* สมบูรณาญาสิทธิราชย์, ⁂ ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ, ! ราชาธิปไตยที่มีจากการเลือกตั้ง |
ประเทศโอมาน เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศโอมาน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |