See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ประเทศนอร์เวย์ - วิกิพีเดีย

ประเทศนอร์เวย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม - การอ้างอิงแหล่งที่มา วิธีการเขียน บทความคัดสรร และ นโยบายวิกิพีเดีย
Kongeriket Norge
คองเงรีเก นอร์เก
Kongeriket Noreg
คองเงรีเก นูเร็ก

ราชอาณาจักรนอร์เวย์
ธงชาตินอร์เวย์ ตราแผ่นดินของนอร์เวย์
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: (ราชสำนัก): Alt for Norge (ทุกสิ่งเพื่อนอร์เวย์)
เพลงชาติ: Ja, vi elsker dette landet
แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์
เมืองหลวง ออสโล
59°56′N 10°41′E
เมืองใหญ่สุด ออสโล
ภาษาราชการ ภาษานอร์เวย์¹
รัฐบาล ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 - ประมุข สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5
 - นายกรัฐมนตรี เยนส์ สตูลเทนแบร์ก
รัฐธรรมนูญ
ได้รับเอกราช
ประกาศ
เป็นที่ยอมรับ
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2357
หลังจากรวมอยู่กับ สวีเดน
7 มิถุนายน พ.ศ. 2448
26 ตุลาคม พ.ศ. 2448
เนื้อที่
 - ทั้งหมด
 
 - พื้นน้ำ (%)
 
324,220 กม.² (อันดับที่ 68 ²)
125,149 ไมล์² 
6.0%
ประชากร
 - ม.ค. 2549 ประมาณ
 - 2544

 - ความหนาแน่น
 
4,629,566 (อันดับที่ 114)
4,520,947

14/กม² (อันดับที่ 202)
37/ไมล์² 
GDP (PPP)
 - รวม
 - ต่อประชากร
2548 ค่าประมาณ
194.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 42)
42,056 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 2)
HDI (2546) 0.963 (อันดับที่ 1) – สูง
สกุลเงิน โครนนอร์เวย์ (NOK)
เขตเวลา
 - ฤดูร้อน (DST)
CET (UTC+1)
CEST (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .no ²
รหัสโทรศัพท์ +47
1ภาษาราชการของประเทศคือภาษานอร์เวย์ที่เขียนแบบบอคโมลและแบบนูนอสค์ นอกจากนี้ยังมีภาษาซามิเป็นภาษาราชการร่วมใน 6 เทศบาล และภาษาฟินแลนด์ใน 1 เทศบาล
2มี 2 รหัสที่ได้จองไว้แต่ไม่ได้ใช้ คือ .sj สำหรับสฟาลบาร์และยานไมเอน .bv สำหรับเกาะบูเวต

ประเทศนอร์เวย์ มีชื่อทางการว่าราชอาณาจักรนอร์เวย์ (นอร์เวย์: Kongeriket Norge หรือ Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง

ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์ และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูเวตในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้วย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

นอร์เวย์ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ถึง 2488 และถูกทำลายในช่วงสงครามไปมาก อาคารบ้านเรือน โรงงานและเมืองต่าง ๆ ถูกทิ้งระเบิดและเผาทำลาย สินค้าส่วนใหญ่มีไม่เพียงพอกับความต้องการและประชาชนต้องประสบกับความยากลำบาก

สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นในเดือนกันยายนปี 1939 เมื่อครั้งที่โปแลนด์ถูกรุกรานโดยทหารเยอรมัน ทหารเยอรมันรุกรานนอร์เวย์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 1940 มีการต่อสู้ช่วงสั้น ๆ เกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศ แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่วันเยอรมันก็สามารถควบคุมนอร์เวย์ได้ทั้งหมด กษัตริย์และเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างหลบหนีไปที่ลอนดอนประเทศอังกฤษและดำเนินการต่อต้านจากที่นั่น

ระหว่างสงครามช่วงสองสามวันแรก ยังไม่มีการต่อต้านเกิดขึ้นมากนักในนอร์เวย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกพวกนาซีควบคุม โดยรัฐบาลใหม่ที่เข้าพวกกับนาซีได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อบริหารประเทศแทน รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ถูกเลือกขึ้นตามระบอบประชาธิปไตย

ชาวนอร์เวย์หลายคนประกอบกิจกรรมที่ผิดกฎหมายระหว่างช่วงสงคราม มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างไม่มีการปิดกั้น ทั้งทางหนังสือพิมพ์และใบปลิว และมีอีกหลายคนที่ช่วยคนให้หลบหนีจากพวกนาซีไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวีเดนและอังกฤษ หลายคนถูกจับกุมและขังไว้ในค่ายกักกัน

แม้ว่าประเทศจะถูกยึดครอง แต่คนส่วนใหญ่ยังไปทำงานตามปกติและเด็ก ๆ ก็ยังคงไปเรียนหนังสือได้ตามเดิม อย่างไรก็ตาม อาหาร เสื้อผ้าและปัจจัยอื่น ๆ ถูกแบ่งสรรจากฝ่ายควบคุม ทำให้หลายคนเกิดความไม่แน่ใจในอนาคต

นอร์เวย์มีเรือพาณิชย์ก่อนช่วงสงครามเป็นจำนวนมาก ระหว่างช่วงสงครามปี 1940-1945 เรือหลายลำในจำนวนนี้ส่งสินค้าไปยังประเทศที่ทำสงครามกับเยอรมัน โดยรัฐบาลนอร์เวย์ในลอนดอนเป็นผู้เตรียมการขนส่งเหล่านี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของกองเรือถูกทิ้งตอร์ปิโดหรือถล่มด้วยระเบิด ลูกเรือชาวนอร์เวย์เกือบ 4,000 คนต้องเสียชีวิตระหว่างสงคราม

ชายและหญิงชาวนอร์เวย์ประมาณ 10,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากสงคราม ประมาณ 700 คนจากนี้เป็นชาวยิวที่ถูกส่งไปยังค่ายกักกันส่วนกลางในเยอรมันและโปแลนด์

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 เยอรมันยอมจำนน นอร์เวย์จึงเป็นประเทศเอกราชอีกครั้ง ชาวนอร์เวย์ประมาณ 50,000 คนต้องข้อหากบฏหลังจากสงครามสิ้นสุด คนเหล่านี้เป็นสมาชิกของพรรคสังคมนิยมแห่งชาตินอร์เวย์ Nasjonal Samling ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝักใฝ่กับพวกนาซี โดย25 คนถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏหลังสงคราม

หลังปี 1945 ประเทศได้เริ่มบูรณะตัวเองใหม่อีกครั้ง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่ตื่นตัวมาก ทั้งการผลิตและการส่งออกอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น กองเรือพาณิชย์เองก็ถูกบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง

หลายคนสามารถหางานทำได้ และแม้ว่าค่าแรงจะไม่สูงมากนัก แต่ปัญหาความยากจนก็ลดลงไปได้บ้าง คนส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีและหลายคนคาดหวังที่จะมีส่วนร่วมในการบูรณะประเทศนอร์เวย์ขึ้นอีกครั้ง ความเท่าเทียมกัน และคุณค่าที่เท่ากันกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับคนส่วนใหญ่ เศรษฐกิจของนอร์เวย์ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังคงต้องแบ่งสรรสินค้าใช้อยู่จนช่วงปลายทศวรรษที่ 1950

ระหว่างช่วงทศวรรษหลังสงคราม มีการปฏิรูปมากมายเกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทุกคน ชั่วโมงการทำงานถูกกำหนดให้สั้นลง และวันหยุดยาวนานขึ้น ในปี 1967 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายหลักประกันแห่งชาติ กฎหมายนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจให้กับประชากรทุกคน รวมทั้งคนชราและคนป่วย

[แก้] การเมือง

นอร์เวย์มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และระบอบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐของนอร์เวย์คือพระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 บทบาทของกษัตริย์ในปัจจุบัน จำกัดอยู่เพียงด้านพิธีการและสัญลักษณ์

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่ภูมิรัฐศาสตร์แสดง 19 เขตการปกครองย่อยอันดับที่ 1 (fylker หรือ "เทศมณฑล")
แผนที่ภูมิรัฐศาสตร์แสดง 19 เขตการปกครองย่อยอันดับที่ 1 (fylker หรือ "เทศมณฑล")

ประเทศนอร์เวย์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 19 เทศมณฑล (fylker) และ 431 เทศบาล (kommuner)

เทศมณฑลในนอร์เวย์ เป็นระดับการปกครองที่อยู่ระหว่างรัฐกับเทศบาล แต่ในปี พ.ศ. 2553 เทศมณฑลทั้ง 19 แห่ง จะถูกจัดแบ่งใหม่เป็นเขตที่ใหญ่ขึ้น 5 - 9 เขต

เทศมณฑลและศูนย์กลางการบริหารทั้ง 19 แห่ง ได้แก่

  • อาแคร์ชุส – ออสโล
  • แออุสต์-อักแดร์ – อาเรนดัล
  • บุสเครุด – ดรามเมน
  • ฟินน์มาร์ก – วาดเซอ
  • เฮดมาร์ก – ฮามาร์
  • ฮอร์ดาลันด์ – แบร์เกน
  • เมอเรอ็อกร็อมสดัล – มอลเด
  • นอร์ดลันด์ – โบเดอ
  • นอร์ด-เทรินเดลัก – สเตนแคร์
  • ออปป์ลันด์ – ลิลเลฮัมเมอร์
  • เทศมณฑลและกรุงออสโล
  • เอิสต์ฟอลด์ – ซาร์ปสบอร์ก
  • รูกาลันด์ – สตาวังเงอร์
  • ซองน์ฟอร์ดาเน – เลคังเงอร์
  • เซอร์-เทรินเดลัก – ทรอนด์เฮม
  • เทเลมาร์ก – เชียน
  • ทรอมส์ – ทรูมเซอ
  • เวสต์-อักแดร์ – คริสเตียนซานด์
  • เวสต์ฟอลด์ – เทินสแบร์ก

[แก้] ภูมิศาสตร์

ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้ติดกับทะเลเหนือ ทิศตะวันออกติดกับฟินแลนด์ สวีเดน และรัสเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลนอร์วีเจียน

[แก้] เศรษฐกิจ

นอร์เวย์เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก และการประมงเป็นอาชีพหลักของประเทศมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และนับตั้งแต่ปี2513 นอร์เวย์ได้ค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมหาศาลทำให้นอร์เวย์มีสภาวะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากขึ้น พื้นที่การค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในนอร์เวย์จะอยู่ทางตอนใต้ของทะเลเหนือ อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์ตระหนักดีว่า ไม่สามารถพึ่งพาการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งได้ตลอดไป รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะปรับมาตรการเพื่อให้อุตสาหกรรมภายในประเทศ (traditional commodities) ด้านต่างๆ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เช่น สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณท์ป่าไม้ การผลิตพลังไฟฟ้าด้วยกำลังน้ำ แร่ธาตุจำพวกอะลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง และการต่อเรือและอุปกรณ์ด้านการเดินเรือทะเล ขณะเดียวกัน รัฐบาลนอร์เวย์พยายามที่จะดำเนินนโยบายที่จะให้หลักประกันต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ นอกจากนั้น รัฐบาลนอร์เวย์ได้สนับสนุนการพัฒนาความเจริญของประเทศในด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการวิจัยและการพัฒนา ตลอดจนเทคโนโลยี ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ในระดับภูมิภาคยุโรป นอกเหนือจากการส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน แล้ว นอร์เวย์ยังเป็นสมาชิก สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association - EFTA) ซึ่งมีสมาชิกประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดย ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (European Union - EU) เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1994

ประเทศนอร์เวย์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศนอร์เวย์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -