พ.ศ. 2532
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี: 2529 2530 2531 - พ.ศ. 2532 - 2533 2534 2535 |
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2532 |
- รัตนโกสินทรศก | 208 |
- ปีนักษัตร | มะเส็ง |
ปฏิทินเกรกอเรียน | ค.ศ. 1989 (MCMLXXXIX) |
ปฏิทินเกาหลี | 4322 |
ปฏิทินคอปติก | 1705 – 1706 |
จุลศักราช | 1351 |
ปฏิทินจูเลียน | 2034 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ปีโชวะที่ 64 (昭和64年)
— เข้าสู่ —
ปีเฮเซที่ 1 (平成元年) |
- ปีจักรพรรดิ | ปีโคกิที่ 2649 (皇紀2649年) |
- ยุคโจมง | 11989 |
ปฏิทินบาฮาอี | 145 – 146 |
มหาศักราช | 1911 |
อับ อูรเบ กอนดิตา | 2742 |
ปฏิทินอาร์เมเนีย | 1438 (ԹՎ ՌՆԼԸ) |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1981 – 1982 |
ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ | 1409 – 1410 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2044 – 2045 |
- ศกสมวัต | 1911 – 1912 |
- กลียุค | 5090 – 5091 |
ปฏิทินฮีบรู | 5749 – 5750 |
พุทธศักราช 2532 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1989 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน
เนื้อหา |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2531-2534)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2532
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม-มิถุนายน
- 8 มกราคม - สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เริ่มรัชสมัยเฮเซ
- 14 กุมภาพันธ์ – ดาวเทียมดวงแรกในกลุ่มดาวเทียมจีพีเอส เข้าสู่วงโคจร
- 15 กุมภาพันธ์ – การรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต: สหภาพโซเวียตประกาศถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการ
- 24 มีนาคม – เรือบรรทุกน้ำมัน เอกซ์ซอน วาลเดซ ปล่อยน้ำมันราว 11-35 ล้านแกลลอนลงสู่ช่องแคบพรินซ์วิลเลียมในมลรัฐอะแลสกา ทำให้เกิดภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม
- 15 เมษายน – เกิดภัยพิบัติที่ฮิลล์สเบอโร ซึ่งเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงที่สุดในวงการฟุตบอลยุโรป
- 1 มิถุนายน – วันเปิดบริการเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ ซึ่งเป็นสาขาแรกในประเทศไทย
- 3 มิถุนายน – รัฐบาลจีนส่งทหารไปสลายผู้ชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หลังการชุมนุมประท้วงนาน 7 สัปดาห์
- 4 มิถุนายน – กำลังทหารของจีนเข้าสลายผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
[แก้] กรกฎาคม-ธันวาคม
- 9 กรกฎาคม – เกิดระเบิดขึ้นสองครั้งที่นครเมกกะทำให้ผู้แสวงบุญรายหนึ่งเสียชีวิตและบาดเจ็บอีก 16 ราย
- 12 กรกฎาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติบราซิลชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 34 ณ ประเทศบราซิล
- 17 กรกฎาคม – เครื่องบินสเตลท์บี 2 ทยานสู่น่านฟ้าของสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก
- 25 สิงหาคม – ยานวอยเอเจอร์ 2 เดินทางถึงดาวเนปจูน ก่อนมุ่งหน้าไปสู่ด้านนอกของระบบสุริยะ
- 17 ตุลาคม – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์ ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีความรุนแรงที่สุดนับจากปี พ.ศ. 2449
- 18 ตุลาคม – ยานกาลิเลโอถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในการเดินทางไปสำรวจดาวพฤหัสบดี
- 4 พฤศจิกายน – พายุไต้ฝุ่นเกย์ซึ่งเข้าสู่อ่าวไทย เคลื่อนเข้าถล่มพื้นที่จังหวัดชุมพรและมุ่งลงสู่มหาสมุทรอินเดีย พายุลูกนี้ได้ทำให้การพยากรณ์อากาศต้องสั่นสะเทือน หรือเรียกว่า"ฉีกตำราการพยากรณ์อากาศ" เพราะตำราตะวันตกระบุว่าพายุลักษณะนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นในอ่าวไทยแน่นอน
- 9 พฤศจิกายน – เยอรมนีตะวันออกเปิดกำแพงเบอร์ลินให้สามารถเดินทางผ่านได้โดยเสรี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จุดจบของสงครามเย็น นำไปสู่การสิ้นสุดสนธิสัญญาวอร์ซอ และเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
- 17 พฤศจิกายน – เริ่มการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์เป็นประชาธิปไตยในเชกโกสโลวาเกีย
- 17 ธันวาคม – การ์ตูนเรื่อง เดอะซิมสันส์ ออกอากาศเป็นครั้งแรกทางสถานีเครือข่าย Fox
[แก้] วันเกิด
- 13 กรกฎาคม - ซายูมิ มิจิชิเงะ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 23 กรกฎาคม - แดเนียล แรดคลิฟฟ์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 110 พฤศจิกายน - เรนะ ทานากะ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 19 ธันวาคม - พิรัชต์ นิธิไพศาลกุล (ไมค์ จากวงกอล์ฟ-ไมค์) นักร้องศิลปินชาวไทย
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 23 มกราคม – ซัลวาดอร์ ดาลี จิตรกรชาวสเปน (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)
- 30 เมษายน - เจ้าหญิงบังจา มกุฏราชกุมารีองค์สุดท้ายของเกาหลี
- 3 มิถุนายน – อยาตุลเลาะห์ รูฮัลลาห์ โคไมนี ผู้นำอิสลามชาวอิหร่าน (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2443)
- 29 สิงหาคม ปีเตอร์ สกอตต์ นักธรรมชาติวิทยา จิตรกร และนักสำรวจชาวอังกฤษ (เกิด 14 กันยายน พ.ศ. 2452)
- 28 กันยายน – เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ (เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2460)