See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
แฮร์รี่ พอตเตอร์ - วิกิพีเดีย

แฮร์รี่ พอตเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้าปกของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ฉบับภาษาไทย
หน้าปกของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ฉบับภาษาไทย

แฮร์รี่ พอตเตอร์ คือชุดนวนิยายแฟนตาซี ประพันธ์โดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง เกี่ยวข้องกับเด็กชายพ่อมดชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยหนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2540 และฉบับภาษาไทยในปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันมีหนังสือในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ออกมาแล้วจำนวนเจ็ดเล่ม โดยเล่มเจ็ดซึ่งเป็นเล่มสุดท้ายของชุดมีชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ฉบับภาษาอังกฤษออกวางจำหน่ายทั่วโลกในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และฉบับภาษาไทยออกวางจำหน่ายในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550[1] หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ผ่านมา ได้รับการตีพิมพ์ทั่วโลกรวมแล้วมากกว่า 325 ล้านเล่ม และมีการแปลเป็นภาษาต่างๆถึง 64 ภาษา[2]

เนื้อเรื่องจากห้าเล่มแรก ได้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส ภาคที่หกกำหนดที่จะเริ่มต้นถ่ายทำในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550[3] และกำหนดออกฉายวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[4] นอกจากนี้ ยังมีการนำไปสร้างเป็นวิดีโอเกมและสินค้าอื่นๆอีกหลายชนิด

โครงเรื่องหลักของนวนิยายชุดนี้เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับพ่อมดร้ายลอร์ดโวลเดอมอร์ และวางฉากหลักอยู่ที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ วรรณกรรมชุดนี้มีผู้ผลิตหลายสำนักพิมพ์ ได้แก่สำนักพิมพ์บลูมส์บิวรี่ รับผิดชอบพิมพ์จำหน่ายในสหราชอาณาจักร สำนักพิมพ์สกอลาสติกในสหรัฐอเมริกา สำนักพิมพ์เรนโคสต์บุ๊คส์ในแคนาดา และสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์เป็นผู้วางจำหน่ายฉบับภาษาไทย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติการพิมพ์

หน้าปกของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรก ของสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี
หน้าปกของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรก ของสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี

ความคิดเกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์เข้ามาในหัวของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ขณะที่เธอนั่งรถไฟจากแมนเชสเตอร์มายังลอนดอนในปีพ.ศ. 2533 โดยเธอเขียนในเว็บไซต์ส่วนตัวของเธอว่า

ฉันเขียนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุหกขวบ แต่ฉันไม่เคยตื่นเต้นกับความคิดไหนมากขนาดนี้มาก่อน [...] ฉันเพียงแค่นั่งและก็คิด เป็นเวลาถึง 4 ชั่วโมง และรายละเอียดทั้งหมดก็ผุดขึ้นมาในหัวของฉัน และเด็กผู้ชายใส่แว่นผมดำผอมติดกระดูกที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นพ่อมดคนนี้ก็กลายเป็นความจริงสำหรับฉันขึ้นเรื่อยๆ[5]

หลังจากนั้นโรว์ลิ่งใช้เวลาถึงหกปีก่อนที่แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์จะตีพิมพ์เป็นครั้งแรก โดยโรว์ลิ่งได้วางโครงเรื่องสำหรับเจ็ดภาค และรายละเอียดต่างๆของตัวละครและจักรวาลในนิยายชุดนี้ ช่วงเวลาหกปีนี้ได้รวมถึงการหย่าจากสามีและให้กำเนิดลูกสาวของโรว์ลิ่งด้วย

ในปีพ.ศ. 2539 โรว์ลิงเขียนต้นฉบับของหนังสือเล่มแรกเสร็จ และหาคนที่จะเป็นตัวแทนของเธอ ตัวแทนคนถึงสองที่เธอได้ติดต่อ คริสโตเฟอร์ ลิตเติล ได้ตกลงที่จะเป็นตัวแทนของโรว์ลิงและส่งต้นฉบับไปที่สำนักพิมพ์บลูมสบิวรี หลังจากที่แปดสำนักพิมพ์ก่อนหน้านี้ได้ปฏิเสธ บลูมสบิวรีเสนอค่าตอบแทนล่วงหน้าเป็นเงิน 2,500 ปอนด์สเตอร์ลิง สำหรับการตีพิมพ์ Harry Potter and the Philosopher's Stone[6] แม้ว่าโรว์ลิงจะไม่ได้วางกลุ่มอายุเป้าหมายเมื่อครั้งที่เธอเริ่มเขียน สำนักพิมพ์ได้วางกลุ่มอายุเป้าหมายเริ่มแรกไว้ที่ 9 ถึง 11 ปี[7] สำนักพิมพ์ได้ขอให้โรว์ลิงเลือกนามปากกาที่ไม่บ่งบอกเพศ เนื่องจากกลัวว่าเด็กผู้ชายในวัยนี้จะไม่สนใจหากทราบว่าผู้แต่งนั้นเป็นผู้หญิง โรว์ลิงเลือกใช้ชื่อย่อว่า "เจ. เค. โรว์ลิ่ง" จากโจแอน แคทลีน โดยแคทลีนนั้นเป็นชื่อของย่าของเธอ[8][9]

หนังสือเล่มแรกได้รับการตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรโดยบลูมสบิวรีในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 และหลังจากนั้นในสหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 โดยสำนักพิมพ์สกอลาสติก สกอลาสติกต้องการให้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Harry Potter and the Sorcerer's Stone เนื่องจากเกรงว่าผู้อ่านชาวอเมริกันอาจไม่คุ้นชินกับคำว่า philosopher (นักปราชญ์) หรือแก่นเรื่องเกี่ยวกับเวทมนตร์หรือการเล่นแร่แปรธาตุ ที่ philosopher's stone (ศิลานักปราชญ์ ฉบับแปลไทยใช้คำว่าศิลาอาถรรพ์) มีความเกี่ยวข้องอยู่ โรว์ลิ่งออกหนังสือเล่มต่อๆมาตามมาในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้รักษาความสนใจของผู้อ่านและสร้างกลุ่มผู้อ่านที่ภักดีขึ้นได้[10]

หนังสือประกอบ
  • ควิดดิชในยุคต่างๆ (พ.ศ. 2544)
  • สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (พ.ศ. 2544)

[แก้] เนื้อเรื่อง

ระวังเสียอรรถรส ข้อความด้านล่างนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

[แก้] โครงเรื่อง

เรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ซึ่งเป็นเล่มแรก เริ่มต้นด้วยการเฉลิมฉลองของโลกเวทมนตร์ จากการหายตัวไปของลอร์ดโวลเดอมอร์ พ่อมดที่สร้างความหวาดกลัวต่อโลกเวทมนตร์มาเป็นเวลานาน โดยโวลเดอมอร์ได้บุกไปที่บ้านของครอบครัวพอตเตอร์ และฆ่าพ่อแม่ของแฮร์รี่ แต่กลับล้มเหลวและหายตัวไปหลังจากพยายามฆ่าแฮร์รี่ ซึ่งเป็นเพียงเด็กชายวัยหนึ่งปี แฮร์รี่ได้รับการดูแลโดยนำไปฝากไว้กับครอบครัวเดอร์สลีย์ ซึ่งเป็นญาติทางฝ่ายแม่ ครอบครัวเดอร์สลีย์เป็น "มักเกิ้ล" หรือมนุษย์ที่ไร้พลังเวทมนตร์[11] แต่สำหรับพ่อมดแม่มดที่ไม่มีพลังวิเศษ เรียกว่า สควิป

แฮร์รี่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างไม่ดีนักในครอบครัวเดอร์สลีย์ และถูกตัดขาดจากโลกเวทมนตร์ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ประหลาดหลายอย่างก็เกิดขึ้นในชีวิตวัยเด็กของแฮร์รี่จากพลังเวทมนตร์ในตัว แฮร์รี่ได้รับการติดต่อจากโลกเวทมนตร์ครั้งแรกก่อนวันเกิดปีที่สิบเอ็ดโดยจดหมายจากโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ แต่แฮร์รี่ไม่มีโอกาสได้อ่าน จนกระทั่งวันเกิดปีที่สิบเอ็ด แฮร์รี่จึงได้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับโลกพ่อมด และได้เข้าร่วมโรงเรียนเวทมนตร์ เรื่องราวแต่ละเล่มในชุดเป็นเรื่องราวของแฮร์รี่ในแต่ละปีหลังจากได้เข้าฮอกวอตส์ ซึ่งแฮร์รี่ได้เรียนเวทมนตร์ และได้พบกับอุปสรรคหลายๆ ประการ รวมทั้งการกลับมาของโวลเดอมอร์

[แก้] ตัวละคร

ตัวละครสำคัญในนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้แก่

  • แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นตัวเอกของนิยายชุดนี้ แฮร์รี่เป็นเด็กชายพ่อมดกำพร้า ลักษณะสำคัญคือมีแผลเป็นรูปสายฟ้าบนหน้าผาก มีชื่อเสียงในโลกเวทมนตร์หลังจากรอดชีวิตจากความพยายามฆ่าโดยลอร์ดโวลเดอมอร์
  • ลอร์ดโวลเดอมอร์ เป็นตัวร้ายหลักของเรื่อง ลอร์ดโวลเดอมอร์เป็นพ่อมดที่มีพลังสูงและเป็นอมตะจากการใช้ศาสตร์มืด เขาเป็นผู้ฆ่าพ่อแม่ของแฮร์รี่ ลอร์ดโวลเดอมอร์เป็นพ่อมดที่ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกพ่อมดหวาดกลัวถึงขนาดไม่กล้าเอ่ยชื่อออกมา
  • รอน วีสลีย์ เพื่อนสนิทของแฮร์รี่ โดยแฮร์รี่พบบนรถไฟไปยังฮอกวอตส์ครั้งแรก รอนเป็นลูกคนที่หกจากเจ็ดคนในครอบครัววีสลีย์ที่มีฐานะไม่ดีนัก
  • เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ เพื่อนสนิทของแฮร์รี่อีกคนหนึ่ง เกิดจากครอบครัวมักเกิ้ล เฮอร์ไมโอนี่เป็นคนที่ฉลาด ชอบอ่านหนังสือ
  • เดรโก มัลฟอย นักเรียนสลิธีรินปีเดียวกับแฮร์รี่ ไม่ถูกกับแฮร์รี่ เป็นซีกเกอร์ของสลิธีรินในปี 2
  • จินนี่ วีสลีย์ ลูกคนสุดท้องของครอบครัววีสลีย์ เธอเป็นคนเปิดห้องแห่งความลับ ใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ และแต่งงานกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ ใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต มีลูกด้วยกัน 3 คน
  • อัลบัส ดัมเบิลดอร์ อาจารย์ใหญ่ของฮอกวอตส์ เป็นพ่อมดที่ได้รับการนับถือสูง เป็นผู้ให้แนะนำและช่วยเหลือแฮร์รี่ เป็นผู้ที่ชนะ เกลเลิร์ต กรินเดลวัลด์ เพื่อนรักในสมัยหนุ่มของเขา
  • เกลเลิร์ต กรินเดลวัลด์ พ่อมดฝ่ายมืด ผู้คลั่งใคล้ศาสตร์มืด อดีตเพื่อนรักอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฮอกวอตส์ อัลบัส ดัมเบิลดอร์ เคยวางแผนเปลี่ยนแปลงโลกเวทมนตร์กับอัลบัส ดัมเบิลดอร์แต่ความสัมพันธ์ต้องแตกหักเมื่อ เกลเลิร์ต กรินเดลวัลด์ หันไปฝักไฝ่ฝ่ายมืด และสุดท้ายโดนกำจัดโดยอัลบัส ดัมเบิลดอร์
  • รูเบอัส แฮกริด คนดูแลสัตว์ของฮอกวอตส์ ต่อมาได้เป็นอาจารย์สอนวิชาการดูแลสัตว์วิเศษ เป็นบุคคลแรกที่แฮร์รี่รู้จักจากโลกเวทมนตร์ แฮกริดเคยถูกไล่ออกจากฮอกวอตส์เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เปิดห้องแห่งความลับ
  • เซเวอร์รัส สเนป อาจารย์สอนวิชาปรุงยาซึ่งแฮร์รี่ไม่ชอบ โดยสมัยเด็กเคยเป็นคู่ปรับของเจมส์ พอตเตอร์ พ่อของแฮร์รี่ หนึ่งในผู้สร้าง แผนที่ตัวกวนและเพื่อนของเขา สเนปเคยเป็นสมุนของโวลเดอมอร์ แต่ก็เป็นบุคคลที่ดัมเบิลดอร์เชื่อใจ สเนปเป็นผู้สังหารดัมเบิลดอร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม และถูกฆ่าโดย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตแล่ะก่อนทีเขาจะตายได้มอบความทรงจำทั้งหมดที่อธิบายว่าทำไมเขาถึงต้องสังหาร อัลบัส ดัมเบิลดอร์และไขข้อข้องใจของแฮร์รี่ทุกเรื่อง
  • ซิเรียส แบล็ก นักโทษคนแรกที่สามารถหนีออกจากคุกอัซคาบันได้ เป็นพ่อทูนหัวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นอะนิเมะจัส (กริม (สุนัขสีดำตัวใหญ่)) หนึ่งในผู้สร้างแผนที่ตัวกวน เสียชีวิตเพราะถูกฆ่าโดย เบลลาทริกซ์ เลสแตรงจ์ ใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ด้วยคำสาป อะวาดา เคดาฟรา
  • รีมัส ลูปิน อาจารย์สอนวิชาการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันหนึ่งในผู้สร้างแผนที่ตัวกวน เพื่อนรักของ เจมส์ พอตเตอร์ เป็นมนุษย์หมาป่า
  • ปีเตอร์ เพ็ตติกรูว์ อดีตเพื่อนรักของ เจมส์ พอตเตอร์ หนึ่งในผู้สร้างแผนที่ตัวกวน เป็นอะนิเมะจัสแปลงร่างเป็น หนู เป็นทาสรับใช้ของโวลเดอมอร์ เป็นผู้ที่มีส่วนที่ทำให้ คนที่รู้ว่าใคร ฟื้นคืนชีพขึ้นมา
  • เจมส์ พอตเตอร์ พ่อของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นหนึ่งในผู้สร้างแผนที่ตัวกวนเป็นอะนิเมะจัส แปลงร่างเป็นกวางตัวผู้ได้ เป็นเพื่อนสนิทของ ซิเรียส แบล็ก และ รีมัส จอห์น ลูปิน ถูกฆ่าโดย ลอร์ดโวลเดอมอร์
  • ลิลี่ พอตเตอร์ แม่ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เกิดจากมักเกิ้ล ถูกฆ่าโดย ลอร์ดโวลเดอมอร์
  • ลูน่า เลิฟกู๊ดเป็นหนึ่งในสมาชิกของกองทัพดัมเบิลดอร์ ปรากฏตัวครั้งแรกในภาคห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟินิกซ์พ่อ

ของเธอเป็นบรรณาธิการนิตยสาร ควิบเบลอร์

  • เฟร็ดและจอร์จ วีสลีย์พี่ชายฝาแฝดของรอน ชอบหาเรื่องป่วนและรู้เรื่องคาถาวุ่นวายต่างๆและชอบทำอะไรตลกๆด้วย แต่ในภาคเจ็ดแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต จอร์จถูกคำสาปของสเนปที่หู (เป็นอุบัติเหตุ จริงๆแล้วเสนปต้องการจะเสกคาถา "เซ็กตรัมเซมปร้า" ใส่ผู้ผู้เสพความตายแต่พลาด) จึงทำให้หูขาด ส่วนเฟร็ดถูกแรงจากการระเบิดกำแพงฮอกวอตส์จึงตาย ทั้งคู่มีร้านเล่นกลตลกวุ่นวายอยู่ที่ฮอกส์มี้ดชื่อร้าน เกมกลวีสลีย์
  • เบลลาทริกซ์ เลสแตรงค์ลูกพี่ลูกน้องของซิเรียส แบล็ก ซึ่งเป็นพ่อทูนหัวของแฮร์รี่ เป็นหนึ่งในผู้เสพความตาย เป็นผู้ที่จงรัก

ภักดีต่อโวลเดอมอร์มาก แต่ถูกฆ่าตายในภาคที่ 7แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตโดยมอลลี่ วีสลีย์ แม่ของรอน

  • ด็อบบี้เอลฟ์ที่เคยเป็นเอลฟ์ประจำบ้านของครอบครัวมัลฟอย แต่แฮร์รี่ช่วยให้เป็นอิสระในภาคที่ 2 [[แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่ง

ความลับ]]ด็อบบี้ตาโตเท่าลูกเทนนิสและใบหูใหญ่ ถูกเบลลาทริกซ์ฆ่าตายในภาค 7

ใหญ่ของฮอกวอตส์ในช่วงที่อัลบัส ดัมเบิลดอร์เป็นอาจารย์ใหญ่

  • ดัดลีย์ เดอร์สลีย์เป็นลูกพี่ลูกน้องของแฮร์รี่ เป็นลูกของเวอร์นอน เดอร์สลีย์และเพ็ตทูเนีย เดอร์สลีย์ แฮร์รี่ช่วยดัดลีย์จากผู้คุมวิญ-ญาณ 2 ตน ในภาคห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟินิกซ์

[แก้] แก่นเรื่อง

จากผู้แต่ง แก่นเรื่องหลักนั้นเกี่ยวข้องกับความตาย เธอได้เคยกล่าวว่า

หนังสือของฉันเกี่ยวข้องอย่างมากกับความตาย มันเริ่มต้นขึ้นด้วยการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ มันมีเรื่องเกี่ยวกับการครอบงำจิดใจของโวลเดอมอร์เกี่ยวกับการเอาชนะความตายและการค้นหาความเป็นอมตะไม่ว่าจะด้วยราคาใดๆ จุดหมายของทุกคนที่มีเวทมนตร์ ฉันเข้าใจว่าทำไมโวลเดอมอร์ต้องการเอาชนะความตาย พวกเราทุกคนกลัวมัน[12]

แก่นเรื่องของแฮร์รี่ พอตเตอร์ยังเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นเช่นความรัก อคติ ผู้แต่งได้กล่าวว่าสารเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในโครงเรื่องทั้งหมด และเติบโตในเนื้อเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการพยายามแทรกข้อคิดที่เธอต้องการบอก[13]

โรว์ลิ่งเรียกตัวเธอเองว่าเป็นพวกฝ่ายซ้าย และในแฮร์รี่ พอตเตอร์ก็มีเนื้อหาการเมืองอยู่ แต่ผู้อ่านแต่ละคนก็จะนำมุมมองของตัวเองใส่เข้าไปด้วย[14] นอกจากนี้ผู้แต่งกล่าวว่า นัยทางด้านศีลธรรมของเรื่องนี้ชัดเจนมากสำหรับเธอ โดยหัวใจอยู่ที่การเลือกระหว่างสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ง่ายดาย ดังที่อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ตัวแทนของฝ่ายดี กล่าวไว้ในท้ายเล่มสี่[15]

[แก้] ลำดับเวลา

เนื้อเรื่องในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ไม่มีการระบุถึงปีตามปฏิทินจริงมากนัก อย่างไรก็ตามมีการอ้างอิงถึงปีจริงบางส่วนในเนื้อเรื่อง ซึ่งทำให้สามารถวางเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ตามปีปฏิทินจริงได้ ซึ่งต่อมาข้อมูลได้รับการยืนยันจากการยอมรับของผู้แต่ง ลำดับเวลาซึ่งนำเสนอในดีวีดีภาพยนตร์ และแผนผังตระกูลแบล็กซึ่งผู้แต่งได้นำออกประมูลการกุศล

ลำดับเวลาที่ยอมรับกันทั่วไปคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดในปีพ.ศ. 2523 และเรื่องราวในหนังสือเล่มแรกเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2534 เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ลำดับเวลาได้อยู่ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ บทที่ 8 ซึ่งแฮร์รี่ ได้เข้าร่วม"งานเลี้ยงวันตาย ปีที่ห้าร้อย" ของผีตนหนึ่ง และมีการระบุปีบนเค้กวันตายว่า "ตายวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1492" (พ.ศ. 2035) ซึ่งแปลว่าเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2535[16]

จบเนื้อหาส่วนที่เสียอรรถรสแล้ว ข้อความด้านบนนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

[แก้] ความสำเร็จทางการค้า

ความนิยมของแฮร์รี่ พอตเตอร์สร้างความสำเร็จทางการเงินอย่างมากให้กับผู้แต่ง สำนักพิมพ์ และผู้ถือสิทธิ์สินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ขายได้มากกว่า 350 ล้านฉบับทั่วโลก[2] ทั้งนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส และต่อมาได้นำไปสร้างเป็นวิดีโอเกมและสินค้าอื่นอีกจำนวนมาก ซึ่งสร้างความมั่งคั่งให้กับโรว์ลิ่ง รายงานบางฉบับจัดอันดับความมั่งคั่งของเธอสูงกว่าสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2[17][18]

ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550 ร้านหนังสือ บาร์นสแอนด์โนเบิล ในสหรัฐอเมริกา ประกาศว่าหนังสือเล่มที่เจ็ดของชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้ทำลายสถิติยอดสั่งจองล่วงหน้าของร้าน โดยมีการสั่งของผ่านเว็บไซต์มากกว่า 500,000 เล่ม[19]

ความนิยมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ทำให้มีการสร้างสวนสนุก โลกพ่อมดของแฮรี่ พอตเตอร์ ที่ ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา กำหนดเปิดปี พ.ศ. 2552[20]

[แก้] การแปล

หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นอีกอย่างน้อย 64 ภาษา[2] โดยภาษาแรกที่มีการแปลคือภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หลังจากนั้นก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆมากมาย รวมถึงภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ[21] โดยเป็นงานเขียนที่ยาวที่สุดในภาษากรีกโบราณนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3[22] การแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีความยากลำบากหลายประการ เช่น การถ่ายทอดวัฒนธรรมโรงเรียนประจำแบบอังกฤษ การใช้ภาษาที่แสดงถึงบุคลิกภาพหรือสำเนียง รวมถึงการคิดค้นศัพท์ใหม่ๆของผู้แต่งด้วย[23]

ผลงานในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับแปลภาษาไทยได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ โดยมีผู้แปลมาแล้วสามคน ได้แก่สุมาลี บำรุงสุข แปลเล่มที่หนึ่ง สอง ห้า หกและเจ็ด วลีพร หวังซื่อกุลแปลเล่มที่สาม และงามพรรณ เวชชาชีวะแปลเล่มที่สี่ หน้าปกฉบับภาษาไทยนั้นใช้ภาพแบบเดียวกับหน้าปกฉบับอเมริกัน ซึ่งเป็นผลงานของแมรี กรองด์เปร

[แก้] คำชื่นชมและวิจารณ์

[แก้] ภาพยนตร์

ในปีพ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิ่งขายสิทธิการสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับ Warner Bros. ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง[24] โรว์ลิ่งยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงใช้ภาษาอังกฤษบริเตน[25] ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟองโซ กัวรอง ภาคที่สี่โดยไมค์ นีเวลล์ และภาคที่ห้าโดยเดวิด เยตส์[26] บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิ่ง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิ่งได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความตรงต่อหนังสือ[27]

ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ห้าภาคที่ผ่านมา มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอมมา วัตสัน และรูเพิร์ต กรินท์ โดยแสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปีพ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน[28] Warner Bros. ได้ยืนยันว่านักแสดงหลักสามคนนี้จะร่วมแสดงในภาพยนตร์ภาคที่หกและเจ็ดด้วย[29]

มีข่าวยืนยันออกมาแล้วของ W.B.ว่าภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต จะถูกแบ่งเป็นสองตอนกำกับโดย David Yates และ Steve Kloves จะกลับมาทำหน้าที่ขียนบทเช่นเดิม และทาง J.K. Rowling ก็เซ็นต์ยอมรับแล้วด้วย[30] ซึ่งก็ทำให้ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์อยู่จนถึงปี พ.ศ. 2554 เลยทีเดียว รวมแล้วตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคสุดท้ายใช้เวลานานกว่า 10 ปีเลยทีเดียว

  1. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544)
  2. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545)
  3. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (2 มิถุนายน พ.ศ. 2547)
  4. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)
  5. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550)
  6. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551) [31]
  7. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตอน 1 (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)[32]
  8. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตอน 2 (พฤษภาคม พ.ศ. 2554)[33]

[แก้] วิดีโอเกม

อิเลคโทรนิค อาร์ต ได้ผลิตวิดีโอเกมในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ออกมาแล้วหกเกม โดยมีห้าเกมที่ดำเนินเนื้อเรื่องตามเนื้อหาห้าเล่มแรก ในขณะที่เกมควิดดิชเวิลด์คัพไม่ได้ดำเนินตามเนื้อเรื่องของหนังสือ

  • แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์
  • แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ
  • แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน
  • แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี
  • แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์
  • แฮร์รี่ พอตเตอร์: ควิดดิชเวิลด์คัพ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Final 'Potter' launch on July 21 ซีเอ็นเอ็น 1 กุมภาพันธ์ 2550 (อังกฤษ)
  2. ^ 2.0 2.1 2.2 "Potter book sales top 325 million", USA Today, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (อังกฤษ)
  3. ^ Potter star signs for final films บีบีซีนิวส์ 2 มีนาคม 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 15-07-2550 (อังกฤษ)
  4. ^ Harry Potter and the Half-Blood Prince (2008) IMDb เรียกข้อมูลวันที่ 15-07-2550 (อังกฤษ)
  5. ^ ชีวประวัติเจ. เค. โรว์ลิง JKRowling.com (อังกฤษ)
  6. ^ Nigel Newton บิสเนสวีก (อังกฤษ)
  7. ^ http://www.kidsreads.com/harrypotter/jkrowling.html (อังกฤษ)
  8. ^ Savill, Richard. "Harry Potter and the mystery of J K's lost initial," The Daily Telegraph (อังกฤษ)
  9. ^ HPL: Muggle Encyclopedia: R hp-lexicon (อังกฤษ)
  10. ^ "Books' Hero Wins Young Minds", New York Times, 12 กรกฎาคม 2542
  11. ^ เจ. เค. โรว์ลิ่ง, แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์. บทที่ 1
  12. ^ 'There would be so much to tell her...'. เรียกข้อมูลวันที่ 14-05-2550
  13. ^ "Mzimba, Lizo, moderator. Interview with Steve Kloves and J.K. Rowling", Quick Quotes Quill, กุมภาพันธ์ 2546 (อังกฤษ)
  14. ^ Jeff Jensen (2000). 'Fire' Storm. ew.com. เรียกข้อมูลวันที่ 2007-07-07 (อังกฤษ)
  15. ^ http://www.accio-quote.org/articles/2000/1000-vancouversun-wyman.htm (อังกฤษ)
  16. ^ The Years in Which the Stories Take Place The Harry Potter Lexicon เรียกข้อมูลวันที่ 24-05-2550 (อังกฤษ)
  17. ^ "J.K. Rowling Richer than the Queen", BBC, 27 เมษายน พ.ศ. 2546 (อังกฤษ)
  18. ^ "Harry Potter Brand Wizard", Business Week, 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (อังกฤษ)
  19. ^ New Harry Potter breaks pre-order record. RTÉ.ie Entertainment (2007-04-13). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-04-23 (อังกฤษ)
  20. ^ นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 269 หน้า 146
  21. ^ Reynolds, Nigel. Harry Potter and the Latin master's tome take on Virgil, Telegraph.co.uk 02-12-2001 เรียกข้อมูลวันที่ 11-05-2550 (อังกฤษ)
  22. ^ Castle, Tim. Harry Potter? It's All Greek to Me เรียกข้อมูลวันที่ 11-05-2550 (อังกฤษ)
  23. ^ Cheung, Grace. The magic words, ThaiDay 01-12-2548 เรียกข้อมูลวันที่ 11-05-2550 (อังกฤษ)
  24. ^ "WiGBPd About Harry", Australian Financial Review, 19 กรกฎาคม 2543. เรียกข้อมูลวันที่ 12-05-2550
  25. ^ "Harry Potter and the Philosopher's Stone", Guardian Unlimited, 16 พฤศจิกายน 2544. เรียกข้อมูลวันที่ 12-05-2550
  26. ^ "David Yates to Direct Harry Potter and the Order of the Phoenix for Warner Bros. Pictures", Time Warner, 19 มกราคม 2548. เรียกข้อมูลวันที่ 12-05-2550
  27. ^ "Mzimba, Lizo, moderator. Interview with Steve Kloves and J.K. Rowling", Quick Quotes Quill, กุมภาพันธ์ 2546. เรียกข้อมูลวันที่ 12-05-2550
  28. ^ "Press Release: Radcliffe, Grint, and Watson Selected", Warner Brothers, 21 สิงหาคม 2543. เรียกข้อมูลวันที่ 12-05-2550
  29. ^ "Daniel Radcliffe, Rupert Grint and Emma Watson to Reprise Roles in the Final Two Installments of Warner Bros. Pictures' Harry Potter Film Franchise", Warner Bros., 23 มีนาคม 2550. เรียกข้อมูลวันที่ 12-05-2550
  30. ^ แม่แบบ:The L.A. Time
  31. ^ Confirmed: HBP movie release date, MuggleNet, 4 สิงหาคม 2549
  32. ^ แม่แบบ:The L.A. Time
  33. ^ แม่แบบ:The L.A. Time

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
แฮร์รี่ พอตเตอร์


แฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์
(Harry Potter and the Philosopher's Stone)
หนังสือ ภาพยนตร์ เกม
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ
(Harry Potter and the Chamber of Secrets)
หนังสือ ภาพยนตร์ เกม
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน
(Harry Potter and the Prisoner of Azkaban)
หนังสือ ภาพยนตร์ เกม
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี
(Harry Potter and the Goblet of Fire)
หนังสือ ภาพยนตร์ เกม
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์
(Harry Potter and the Order of the Phoenix)
หนังสือ ภาพยนตร์ เกม
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม
(Harry Potter and the Half-Blood Prince)
หนังสือ ภาพยนตร์  
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต
(Harry Potter and the Deathly Hallows)
หนังสือ ภาพยนตร์  
ตัวละคร : แฮร์รี่ พอตเตอร์ · รอน วีสลีย์ · เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ · ลอร์ดโวลเดอมอร์
สถานที่: ฮอกวอตส์


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -