แมนเชสเตอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: Manchester ฟังเสียง ) เป็นเมืองในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแคว้นอังกฤษ มีชื่อเสียงจากการเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก และได้การยอมรับจากหลายฝ่ายว่าเป็นเมืองรอง (second city) ของสหราชอาณาจักร [1][2] แมนเชสเตอร์เป็นศูนย์กลางศิลปะ สื่อ และธุรกิจขนาดใหญ่ เมืองมีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากการกีฬา โดยมีสโมสรฟุตบอล 2 สโมสร ได้แก่ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และแมนเชสเตอร์ซิตี และสโมสรคริกเก็ต แลงคาเชียร์ เคาน์ตี้ และเป็นเจ้าภาพ Commonwealth Games ครั้งที่ 17 เมื่อ ค.ศ. 2002
ชื่อของเมืองมาจากชื่อสมัยโบราณของอังกฤษ Mamucium รวมกับ ceaster จากภาษาละติน Castra แมนเชสเตอร์เป็นเขตเมืองที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น ชาวเมืองแมนเชสเตอร์ เรียกในภาษาอังกฤษว่า แมนคูเนียน (Mancunian)
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
[แก้] ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มต้น
แมนเชสเตอร์ไม่มีหลักฐานการอยู่อาศัยของยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก มีเพียงการค้นพบชุมชนกสิกรรมขนาดใหญ่ระหว่างการก่อสร้างลานวิ่งที่สองของท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์[3]
มีการตั้งรกรากในแมนเชสเตอร์แล้วในยุคโรมันเป็นอย่างช้า[4] นายพลโรมัน ไนอุส ยูลิอุส อากริโคลา (Gnaeus Julius Agricola) ได้ก่อสร้างป้อมที่มีชื่อว่า มามูคิอุม ราว 70 ปีหลังคริสตกาล ที่บริเวณเนินเขา ซึ่งแม่น้ำเมดลอกและแม่น้ำเออร์เวลล์ มาบรรจบกัน ฐานของป้อมรุ่นสุดท้ายยังคงปรากฏอยู่ที่คาสเซิลฟิลด์ ชาวโรมันถอนตัวออกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 และการตั้งถิ่นฐานได้ย้ายไปยังจุดที่แม่น้ำเออร์เวลล์และแม่น้ำเอิร์กบรรจบกันตั้งแต่ก่อนชัยชนะของชาวนอร์แมนที่อังกฤษในปีพ.ศ. 1609[5]
โทมัส เดอลาแวร์ เจ้าคฤหาสถ์ ได้ก่อตั้งโบสถ์ของวิทยาลัยขึ้นสำหรับตำบลในปีพ.ศ. 1964 โดยปัจจุบันเป็นมหาวิหารแมนเชสเตอร์ และสถานที่วิทยาลัยได้เป็นที่ตั้งของห้องสมุดเชแทมและโรงเรียนดนตรีเชเทม[3][5]
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 แมนเชสเตอร์มีช่างทอผ้าชาวฟลามส์ไหลบ่ามาจำนวนมาก โดยมักถือว่าเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมสิ่งทอในภูมิภาค[6] แมนเชสเตอร์กลายมาเป็นศูนย์กลางสำคัญของการผลิตและค้าขายขนแกะและลินิน
เริ่มมีการใช้ฝ้ายปริมาณมากในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 17 โดยเริ่มต้นที่ผ้าฝ้ายผสมลินินเนื้อหยาบ แต่เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 18 ผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ก็เริ่มมีการผลิตและก็ได้เป็นวัสดุสำคัญแทนที่ขนสัตว์[5] แม่น้ำเออร์เวลล์และเมอร์ซีย์สามารถแล่นเรือผ่านได้ในปีพ.ศ. 2279 เปิดเส้นทางจากแมนเชสเตอร์ไปยังท่าเรือนฝั่งเมอร์ซีย์ คลองบริดจ์วอเทอร์ (Bridgewater canal) เปิดใช้ในปีพ.ศ. 2304 นำถ่านหินจากเหมืองที่เวอร์สลีย์มายังใจกลางแมนเชสเตอร์ คลองนี้ขยายต่อไปยังเมอร์ซีย์ในปีพ.ศ. 2319 การแข่งขันและประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นทำให้ต้นทุนถ่านหินและค่าขนส่งฝ้ายดิบลดลงถึงครึ่งหนึ่ง[5][3] แมนเชสเตอร์กลายมาเป็นตลาดสำคัญของสิ่งทอจากเมืองรอบๆ[5] ตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า เปิดขึ้นในปีพ.ศ. 2272[7] และคลังสินค้าจำนวนมาก ช่วยพัฒนาการพานิชย์ของเมือง ในปีพ.ศ. 2323 ริชาร์ด อาร์กไรท์ (Richard Arkwright) เริ่มก่อสร้างโรงฝ้ายแห่งแรกของแมนเชสเตอร์[3][7]
[แก้] การปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปั่นฝ้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่แลงคาเชอร์ใต้และเชสเชอร์เหนือ เขตรอบนอกของแมนเชสเตอร์ และในช่วงหนึ่งแมนเชสเตอร์ได้เป็นศูนย์กลางการผลิตฝ้ายที่มีการผลิตมากที่สุด[8] และในเวลาต่อมา เป็นตลาดสินค้าฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก[5][9] แมนเชสเตอร์มีฉายาว่า "คอตตอโนโพลิส" และ "แวร์เฮาส์ซิตี" ในยุควิกตอเรีย[8]
แมนเชสเตอร์พัฒนาอุตสาหกรรมในหลากหลายสาขา ทำให้ได้รับยกย่องว่า ในปีพ.ศ. 2378 "แมนเชสเตอร์เป็นเมืองอุตสาหกรรมแรกและที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไม่มีข้อสงสัย"[9] ธุรกิจทางวิศวกรรมเริ่มแรกเกี่ยวข้องกับการค้าฝ้าย แต่ภายหลังขยายไปยังการผลิตทั่วไป อุตสาหกรรมเคมีก็เริ่มต้นจากการผลิตน้ำยาฟอกสีและย้อมสี และจึงขยายไปยังสาขาอื่น การค้าขายได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจการเงิน เช่น การธนาคารและการประกันภัย การค้าขายและประชากรที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีระบบขนส่งและจัดจำหน่าย ทำให้มีการขยายระบบคลอง และแมนเชสเตอร์กลายมาเป็นเมืองปลายทางหนึ่งในทางรถไฟโดยสารระหว่างเมืองสายแรกของโลก นั่นคือทางรถไฟลิเวอร์พูล-แมนเชสเตอร์ การแข่งขันระหว่างการขนส่งหลากหลายรูปแบบทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำ[5] ในปีพ.ศ. 2421 จีพีโอ หรือสำนักงานไปรษณีย์ ให้บริการโทรศัพท์ครั้งแรกกับบริษัทในแมนเชสเตอร์[10]
มีการขุดคลอง แมนเชสเตอร์ ชิป เคอนาล (Manchester Ship Canal) ช่วยให้เรือจากมหาสมุทรตรงเข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์ได้ โดยนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลกเกิดขึ้นบนชายฝั่งคลองนี้ที่แทรฟฟอร์ดพาร์ก[5] ในฐานะศูนย์กลางของระบอบทุนนิยม ก็ได้มีการจลาจลจากกลุ่มชนชั้นแรงงาน แมนเชสเตอร์เป็นหัวข้อศึกษาในเรื่อง ความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงานในอังกฤษ (Die Lage derarbeitenden Klasse in England) ของฟรีดริช เองเงิลส์ โดยเองเงิลส์ได้ใช้เวลาพอสมควรในและรอบๆแมนเชสเตอร์[11] จำนวนโรงปั่นฝ้ายในแมนเชสเตอร์ขึ้นถึงจุดสูงสุด 108 แห่งในปีพ.ศ. 2396[8] ในปีพ.ศ. 2456 ร้อยละ 65 ของฝ้ายในโลกผลิตขึ้นในบริเวณนี้ แต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งลดโอกาสการส่งออกในเวลาต่อมา[5]
[แก้] สงครามโลกครั้งที่สอง
บริเวณแมนเชสเตอร์มีการระดมกำลังอย่างหนัก เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆของสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แมนเชสเตอร์เป็นเป้าหมายหลักแห่งหนึ่งของกองทัพอากาศเยอรมนี และการโจมตีทางอากาศได้ขยายไปยังเป้าหมายพลเรือนด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของศูนย์กลางเมืองถูกทำลาย มีผู้เสียชีวิต 376 คนและบ้านถึง 30,000 หลัง[12] มหาวิหารแมนเชสเตอร์เป็นที่หนึ่งที่โดนโจมตีอย่างหนัก โดยต้องใช้เวลาฟื้นฟูถึง 20 ปี[13]
หลังจากสงครามสงบลง อุตสาหกรรมและการค้าฝ้ายยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และตลาดแลกเปลี่ยนได้ปิดตัวลงในพ.ศ. 2511[5] ในปีพ.ศ. 2506 ท่าเรือแมนเชสเตอร์เป็นท่าเรืออันดับสามของประเทศ[14] มีการจ้างงานกว่า 3,000 คน แต่คลองไม่สามารถรองรับเรือบรรทุกขนาดใหญ่ได้ การจราจรจึงลดลง และท่าเรือต้องปิดในปีพ.ศ. 2525[15] อุตสาหกรรมหนักซบเซาลงตั้งแต่ช่วงหลังปีพ.ศ. 2500 และลดจำนวนลงอย่างมากหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจในรัฐบาลของมาร์กาเรต แทตเชอร์ (ตั้งแต่พ.ศ. 2522) แมนเชสเตอร์มีงานน้อยลงถึง 150,000 งานระหว่างปีพ.ศ. 2504 และ 2526[5]
การฟื้นฟูเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 2530 โดยมีสิ่งใหม่ๆเช่น เมโทรลิงก์ บริดจ์วอเทอร์คอนเสิร์ตฮอลล์ และแมนเชสเตอร์อีฟนิงนิวส์อารีนา การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มชื่อเสียงในต่างประเทศ[16]
[แก้] เหตุการณ์ระเบิด
วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2539 กลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (ไออาร์เอ หรือพีไออาร์เอ) วางระเบิดขนาดใหญ่ใกล้ห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 200 คน สร้างความเสียหายอย่างหนักแก่อาคารโดยรอบ มีการจ่ายเงินประกันภัยสูงถึงกว่าสี่ร้อยล้านปอนด์[17]
จากการลงทุนหลังเหตุระเบิดและคอมมอนเวลท์เกมส์ครั้งที่ 17 ศูนย์กลางของเมืองแมนเชสเตอร์ได้มีการปฏิรูปหลายสิ่ง[16] มีหลายแห่งที่สร้างขึ้นหรือปรับปรุงใหม่ และได้กลายมาเป็นแหล่งชอปปิ้งและบันเทิงยอดนิยม แมนเชสเตอร์แอมเดลเป็นศูนย์การค้ากลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร[18]
[แก้] ประชากรศาสตร์
เปรียบเทียบข้อมูลประชากร[19][20] | |||
---|---|---|---|
สำมะโนประชากร 2544 | แมนเชสเตอร์ | มหานครแมนเชสเตอร์ (Greater Manchester) |
อังกฤษ |
ประชากรทั้งหมด | 441,200 | 2,547,700 | 49,138,831 |
เกิดในต่างประเทศ | 15.0% | 7.2% | 9.2% |
ผิวขาว | 81.0% | 91.0% | 91.0% |
เอเชีย | 9.1% | 5.7% | 4.6% |
ผิวดำ | 4.5% | 1.2% | 2.3% |
อายุ 75 ปีขึ้นไป | 6.4% | 7.0% | 7.5% |
คริสต์ | 62.4% | 74% | 72% |
มุสลิม | 9.1% | 5.0% | 3.1% |
จากการสำรวจจำนวนประชากรในปีพ.ศ. 2544 แมนเชสเตอร์มีประชากร 392,819 คน ลดลงจากปีพ.ศ. 2534 9.2 เปอร์เซนต์ ในจำนวนนี้ ประมาณ 8.3 หมื่นคนอายุต่ำกว่า 16 ปี 2.85 แสนคนอายุระหว่าง 16-74 ปี และ 2.5 หมื่นคนอายุ 75 ปีขึ้นไป[21]
75.9 เปอร์เซนต์ของประชากรแมนเชสเตอร์ระบุว่าตนเกิดในสหราชอาณาจักร แมนเชสเตอร์มีอัตราการจ้างงานต่อประชากรต่ำเป็นลำดับสองของสหราชอาณาจักร โดยให้เหตุผลว่า มีประชากรที่เป็นนักศึกษาจำนวนมาก[21] จากการประมาณการกลางปี พ.ศ. 2549 แมนเชสเตอร์มีประชากรประมาณ 4.52 แสนคน เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอังกฤษตะวันตกเฉียงเหนือ[22] ในประวัติศาสตร์ ประชากรของแมนเชสเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงยุควิกตอเรีย โดยพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 766,311 ในปีพ.ศ. 2474 ก่อนที่จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น[23]
[แก้] วัฒนธรรม
แมนเชสเตอร์มีชื่อเสียงมากในเรื่องชีวิตกลางคืน วัฒนธรรมคลับดีเจสมัยใหม่เริ่มขึ้นที่เมืองนี้ และคลับที่นี่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ การเริ่มต้นของดนตรีเฮาส์ แมดเชสเตอร์ซาวนด์ (Madchester sound) และดนตรีแนว Ibiza
แมนเชสเตอร์เป็นต้นกำเนิดของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากมาย ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น New Order, The Smiths, The Chemical Brothers, M People, Badly Drawn Boy, Oasis, Elbow, Simply Red, Take That และ The Stone Roses
ในเมืองมีโรงละคร ศูนย์แสดงงานศิลปะ และพิพิธภัณฑ์จำนวนมาก
ยกเว้นลอนดอนแล้ว แมนเชสเตอร์มีประชากรเกย์และเลสเบี้ยนมากที่สุดในประเทศ
[แก้] อ้างอิง
- ^ "Manchester 'England's second city'", BBC, 12 กันยายน ค.ศ. 2002, เรียกดู 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2006.
- ^ "Manchester 'close to second city'", BBC, 29 กันยายน ค.ศ. 2005, เรียกดู 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2006.
- ^ 3.0 3.1 3.2 3.3 Hartwell, Clare (2001). Pevsner Architectural Guides: Manchester. London, England: Penguin Books, 11–17, 155, 256, 267–268. ISBN 0140711317.
- ^ Rogers, Nicholas (2003). Halloween: from Pagan Ritual to Party Night. Oxford University Press, 18. ISBN 0195168968.
- ^ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 Kidd, Alan (2006). Manchester: A History. Lancaster, Lancashire: Carnegie Publishing Ltd, 12, 15–24, 224. ISBN 1859361285.
- ^ Pevsner, Nikolaus (1969). Lancashire, The Industrial and Commercial South. London, England: Penguin Books Ltd, Pg. 265. ISBN 0-14-071036-1.
- ^ 7.0 7.1 Hylton, Stuart (2003). A History of Manchester. Phillimore & Co Ltd, Pg. 1–10, 22, 25, 42, 63–67, 69. ISBN 1860772404.
- ^ 8.0 8.1 8.2 McNeil, R. & Nevell, M (2000). A Guide to the Industrial Archaeology of Greater Manchester. Association for Industrial Archaeology. ISBN 0-9528930-3-7.
- ^ 9.0 9.1 Hall, Peter (1998). "The first industrial city: Manchester 1760-1830", Cities in Civilization. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 0-297-84219-6.
- ^ Events in Telecommunications History. BT Archives (1878). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-07-30
- ^ Marx-Engels Internet Archive – Biography of Engels. Marx/Engels Biography Archive (1893). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-12-21 (อังกฤษ)
- ^ Hardy, Clive (2005). "The blitz", Manchester at War, (2nd edition), First Edition, pg. 75–99. ISBN 1-84547-096-6. (อังกฤษ)
- ^ Manchester Cathedral – Historical Timeline. Manchester Cathedral Online (2004). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-12-21 (อังกฤษ)
- ^
• Pevsner, Nikolaus (1969). Lancashire, The Industrial and Commercial South. London, England: Penguin Books Ltd, Pg. 267. ISBN 0140710361. (อังกฤษ) Parkinson-Bailey, John J (2000). Manchester: an Architectural History. Manchester: Manchester University Press, Pg. 127. ISBN 0719056063. (อังกฤษ) - ^ Manchester Ship Canal and The Docks. Salford City Council (2005). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-07-06 (อังกฤษ)
- ^ 16.0 16.1
• Parkinson-Bailey, John J (2000). Manchester: an Architectural History. Manchester: Manchester University Press. ISBN 0719056063. (อังกฤษ)
• Hartwell, Clare; Matthew Hyde, Nikolaus Pevsner (2004). Lancashire: Manchester and the South-East. New Haven, CT & London, England: Yale University Press. ISBN 0300105835. (อังกฤษ) Hartwell, Clare (2001). Pevsner Architectural Guides: Manchester. London, England: Penguin Books. ISBN 0140711317. (อังกฤษ) - ^ Panorama – The cost of terrorism. BBC (2004). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-07-09 (อังกฤษ)
- ^ Manchester Arndale – UK's largest in-town shopping centre. Prudential plc (2007). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-09-06 (อังกฤษ)
- ^ United Kingdom Census 2001 (2007-01-17). 2001 Census; Key facts sheets. manchester.gov.uk. เรียกข้อมูลวันที่ 2007-07-10
- ^ United Kingdom Census 2001 (2001). Manchester (Local Authority). neighbourhood.statistics.gov.uk. เรียกข้อมูลวันที่ 2007-07-10
- ^ 21.0 21.1 Manchester profile of 2001 census. Office for National Statistics (2003). เรียกข้อมูลวันที่ 2006-10-25
- ^ Mid-year estimates for 2006 (XLS). Office of National Statistics (2007). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-09-13
- ^ Shapely, Peter (2002–3). "The press and the system built developments of inner-city Manchester" (PDF). Manchester Region History Review 16: 30–39 เรียกข้อมูลวันที่ 2007-11-22.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Manchester City Council สภาเมืองแมนเชสเตอร์