อักษรจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรจีนเป็นอักษรระบบอักษรภาพชนิดหนึ่ง ใช้แทนความหมายของคำ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซัง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต่า
พ.ศ. 2442 หวัง ยิรง ( Wang Yirong) นักวิชาการจากปักกิ่ง พบสัญลักษณ์คล้ายอักษรบนกระดูกมังกรที่เขาได้รับจากเภสัชกร ในเวลานั้น กระดูกมังกรซึ่งมักเป็นซากฟอสซิลของสัตว์ ยังใช้ในการแพทย์แผนจีน กระดูกสัตว์เหล่านั้นพบมาก ในซากปรักหักพังของเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ซัง ทางเหนือของมณฑลเหอหนาน
เนื้อหา |
[แก้] ระบบการเขียนภาษาจีน
อักษรจีนอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ฮั่นจื้อ 漢字 [汉字] (hànzi). สัญญลักษณ์แต่ละตัวแสดงคำในภาษาจีนและความหมาย มีจุดกำเนิดจากรูปคน สัตว์ หรือสิ่งอื่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป รูปร่างของอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างและไม่เหมือนกับสิ่งที่เลียนแบบอีกต่อไป สัญญลักษณ์หลายตัวเกิดจากสัญญลักษณ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน
ระบบอักษรจีนไม่มีข้อกำหนดเรื่องจำนวนอักษร พจนานุกรมที่ใหญ่ที่สุดมี 56,000 ตัว แต่ส่วนใหญ่มีที่ใช้น้อย การรู้อักษรจีนเพียง 3,000 ตัวจะสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาจีนได้ราว 99 % ในการอ่านวรรณคดี งานเขียนทางเทคนิคหรือหนังสือโบราณ ต้องรู้ประมาณ 6,000 ตัว
[แก้] ขีด
อักษรจีนประกอบด้วยขีดตั้งแต่ 1-64 ขีด ในพจนานุกรมจะเรียงอักษรตามหมวดนำและจำนวนขีด เมื่อเขียนอักษรจีน อักษรแต่ละตัวจะมีระยะห่างเท่าๆ กัน ไม่ขึ้นกับจำนวนขีดที่มีอยู่ อักษรที่รวมเป็นคำประสมจะไม่รวมกลุ่มเป็นอักษรเดียวกัน เพราะฉะนั้นในการอ่านภาษาจีน นอกจากต้องรู้ถึงความหมายและการออกเสียงของแต่ละคำแล้ว ยังต้องรู้ด้วยว่าอักษรใดรวมเป็นคำเดียวกัน
อักษรจีนต่อไปนี้เป็นอักษรจีนที่มีขีดมากที่สุดและเขียนยุ่งยากมากที่สุด
"การปรากฏตัวของมังกรบนฟ้า" 84 ขีด จำนวนขีดมากที่สุดในภาษาญี่ปุ่น (ไทโทะ) ไม่มีในยูนิโคด |
"ก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง" 57 ขีด เขียนยุ่งยากที่สุด คือไม่รู้ว่าจะขีดเส้นไหนก่อนหลัง (biáng) ไม่มีในยูนิโคด |
[แก้] อักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนราว 2,000 ตัวที่ใช้ในประเทศจีนและประเทศสิงคโปร์ได้เปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่เขียนง่ายขึ้น แต่ในไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊าและมาเลเซียยังใช้อักษรตัวเต็มอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อักษรทั้ง 2 แบบก็ยังได้รับความนิยมจนปัจจุบัน
ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนอักษรจีนเป็นตัวย่อ รัฐบาลจีนออกแถลงการให้เหตุผลว่า ต้องการให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้อักษรจีนมากขึ้น จึงต้องลดจำนวนขีดของตัวอักษรลงมาเพื่อลดระดับความยาก โดยย่อหมวดนำหรือตัดบางส่วนออก เเละย่อรูปรวม
[แก้] ใช้เขียน
- ภาษาจีนทุกสำเนียง
- อักษรจีนที่มีการดัดแปลงไปเล็กน้อยใช้เขียนภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น
- เคยใช้เขียนภาษาเวียดนามที่เรียกอักษรจื๋อโนม
[แก้] อ้างอิง
|
|
---|---|
ภาษาจีนราชการ | จีนกลาง (จีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน) • สำเนียงกวางโจว (ฮ่องกง มาเก๊า และ กวางเจา โดยพฤตินัย ) |
ภาษาหลัก | จีนกลาง • กั้น • กวางตุ้ง • แคะ • เซียง • หมิ่น • อู๋ จิ้น • ฮุย • ผิง |
ภาษาย่อยในภาษาหมิ่น | หมิ่นจง • หมิ่นตง • หมิ่นเป่ย์ • หมิ่นหนาน (ฮกเกี้ยน) • ปู๋เซียน • ไห่หนาน • สำเนียงแต้จิ๋ว |
อักษรจีน | อักษรจีนตัวเต็ม • อักษรจีนตัวย่อ • อักษรจีนกวางตุ้งตัวย่อ • พินอิน • จู้อิน ฝูฮ่าว |
ภาษาอื่นๆที่พูดในจีน | จ้วง • ทิเบต • มองโกล • อุยกูร์ • คาซัค • คีร์กิซ • ม้ง • เมี่ยน • แมนจู • ไทลื้อ ฯลฯ |
รับอิทธิพลจากภาษาจีน | เกาหลี • ญี่ปุ่น • เวียดนาม |
|
||
---|---|---|
ประวัติศาสตร์อักษร | ||
รายชื่อ | แบ่งตามชนิดอักษร • แบ่งตามทิศทางการเขียน | |
อักษรไร้สระ (Abjad) |
ซัลเตอร์ • ซอกเดีย • ซาบาเอียน • ซามาริทัน • ซีเรียค • ทิฟินาค • ดิเวส อกุรุ • นาบาทาเอียน • เบอร์เบอร์โบราณ • เปอร์เซียกลาง • พาร์เทียน • ฟินิเชียน • มันดาอิก • ยาวี • ยูการิติก • อราเมอิก • อาระเบียใต้ • อาหรับ • ฮีบรู • ฮีบรูระยะแรก | |
อักษรสระประกอบ (Abugidas) |
ตระกูลอักษรพราหมี: กทัมพะ • กลิงคะ • กวิ • กันนาดา • กันนาดาโบราณ • ไกถิ •ขอม (ขอมไทย ขอมบาลี) • เขมร • ขโรษฐี • คยาห์ • คุชราต • คุปตะ • คุรมุขี • จาม • ชวา • ชักมา • ซุนดา • ซุนดาโบราณ • โซยอมโบ • ดิเวส อกุรุ • ตกริ • ตักบันวา • เตลุกุ • โตชาเรียน • ทมิฬ • ทิเบต • เทวนาครี • ไทดำ • ไทใต้คง • ไทย • ไทลื้อ • ไทใหญ่ • ไทอาหม • ธรรมลาว • เนปาล • บาตัก • บายบายิน • บาหลี • บูฮิด • เบงกาลี • ปัลลวะ (คฤนถ์) • พม่า • พราหมี • พัก-ปา • ม้ง • มอญ • มณีปูรี • มาลายาลัม • มิถิลักศาร์ • โมดี • รานจารา • เรดยัง • ลนตารา • ลัณฑา • ล้านนา • ลาว • ลิมบู • เลปชา • วารังกสิติ • ศารทา • โสวรัสตระ • สิงหล • สิทธัม • โสรัง สมเป็ง • ไสโลติ นครี • โอริยา • ฮานูโนโอ • อื่นๆ: Boyd's Syllabic Shorthand • กีเอซ • Hebrew cursive • เบรลล์ญี่ปุ่น • เมรอยติก •Pitman Shorthand • พอลลาร์ด เมียว • • ทานา • Thomas Natural Shorthand |
|
อักษรสระ-พยัญชนะ (Alphabets) |
Linear: กรีก • กลาโกลิติก • เกาหลี (ฮันกึล) • โกธิก • คอปติก • จอร์เจีย • ซีริลลิก • โซมาลี • บัสซา • เบยทากุกจู • โบสถ์สลาโวนิกโบราณ • เปอร์มิกโบราณ • ฟราเซอร์ • มองโกเลีย • แมนจู • รูนส์ • ละติน • เวเนติก • สันตาลี • อเวสตัน • อีทรัสคัน ออร์คอน • อาร์เมเนีย • อิตาลีโบราณ • อึนโก • เอลบ์ซาน • โอคัม • ไอริช • ฮังการีโบราณ • ชวเลขอีเคลกติก • ชวเลขกาเบลสแบร์เกอร์ • ชวเลขเกรกก์ • Greco-Iberian alphabet • Mandaic • Neo-Tifinagh • Ol Chiki • Shavian alphabet • ไทลื้อ (ประยุกต์) • Visible Speech • Zhùyīn fúhào • สัทอักษรสากล Non-linear: เบรลล์ • เบรลล์ฮีบรู • เบรลล์เกาหลี • Maritime flags • รหัสมอร์ส • New York Point • Semaphore line • Flag semaphore |
|
อักษรภาพ (Ideograms & Pictograms) |
Blissymbol • DanceWriting • ตงปา • Mi'kmaq • New Epoch Notation Painting • SignWriting | |
อักษรแทนคำ (Logograms) |
พื้นฐานจากอียิปต์: เดโมติก • เฮียราติก • เฮียโรกลิฟฟิก พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอนาโตเลีย (คาเรีย ไลเดีย ไลเซีย ลูเวีย) • รูปลิ่ม(อัคคาเดีย สุเมเรีย อีลาไมต์) • ตงปา • มายา • ตันกัท • อี้ (เดิม) |
|
อักษรกึ่งแทนพยางค์ (Semi-syllabaries) |
Full semi-syllabaries: เซลติเบเรียน • ไอบีเรีย Redundant semi-syllabaries: Southwestern script |
|
อักษรแทนพยางค์ (Syllabaries) |
กเปลเล • คะตะคะนะ • คาโรไลน์ •ไซเปรียท •อักษรนดยุกา • นหวู่ซู • มันโยงะนะ •เมนเด • รูปลิ่มเปอร์เซียโบราณ • อักษรโลมา •ไลเนียร์บี • ไว • อฟากา • อี้ (ประยุกต์) • ฮิระงะนะ • Woleaian • Yugtun อักษรพื้นเมืองในแคนาดา: อักษรคาร์เรีย • ครี •เชอโรกี •แบล็กฟุต • อินุกติตุต •โอจิบเว |