See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สังคมวิทยา - วิกิพีเดีย

สังคมวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิงก์ข้ามภาษาที่แทรกในบทความนี้ ผู้เขียนอาจใส่ไว้เพื่อความสะดวกสำหรับผู้อ่านและผู้ร่วมปรับปรุงแก้ไขบทความ ให้โยงไปถึงบทความที่เกี่ยวข้องในภาษาอื่นเพื่อการตรวจสอบหรืออ่านเพิ่มเติม เนื่องจากคำ หรือวลีนั้นๆ ยังไม่มีคำแปลหรือคำอธิบายที่เหมาะสมในภาษาไทย เมื่อหมดความจำเป็นแล้ว ลิงก์ข้ามภาษาจะถูกตัดออกหรือเปลี่ยนเป็นข้อความที่ไม่มีลิงก์แทน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย

สังคมวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฏเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน

สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

เมื่อเทียบกับสาขาวิชาอื่น ๆ ในสังคมศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์, รัฐศาสตร์, มานุษยวิทยา, หรือจิตวิทยา วิชาสังคมวิทยาจัดเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างใหม่ อย่างไรก็ตาม ประวัติของการศึกษาด้านนี้ สามารถสืบสาวไปได้ยาวนานโดยมีรากฐานมาจากความรู้ทั่วไปของมนุษย์, ผลงานทางศิลปะ, และปรัชญา

การศึกษาสังคม ในลักษณะที่เป็นสาขาวิชาที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ เริ่มขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้นหลักจากสภาวะความเป็นสมัยใหม่ (modernity) อันเป็นผลมาจากทั้งการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม และพัฒนาการทางการเมือง ผลก็คือสภาพสังคมในยุคนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย เช่น เกิดการขยายตัวของเมือง หรือการที่ชนชั้นนายทุนเข้ามามีอำนาจแทนที่เจ้าขุนมูลนาย. ความเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้นักคิดหลายคนพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยอาศัยวิธีคิดวิเคราะห์เช่นเดียวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ผู้ที่บัญญัติคำว่า sociology คือ ออกุสต์ คองต์ (Auguste Comte) โดยมีรากศัพท์มาจาก socius ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า กลุ่มคน และคำว่า logia แปลว่า การศึกษา คองต์ตั้งเป้าว่าจะเชื่อมรวมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ทั้งหมด รวมทั้งประวัติศาสตร์, จิตวิทยา, และเศรษฐศาสตร์. สังคมวิทยาของเขานั้น มีลักษณะร่วมสมัยกับความคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 กล่าวคือ เขาเชื่อว่าวิวัฒนาการทางสังคมจะมีลักษณะเป็นลำดับขั้น และถ้าเข้าใจลำดับกระบวนการนี้ได้ ก็จะสามารถชี้ทางแก้ปัญหาสังคมได้ด้วย

หนังสือเล่มแรกที่ใช้คำว่า 'สังคมวิทยา' ในชื่อหนังสือเขียนขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) นักปรัชญาชาวอังกฤษ. ในสหรัฐอเมริกา มีการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยาครั้งแรกที่ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐแคนซัส ลอว์เร็นซ์ (University of Kansas, Lawrence) เมื่อ พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890). สำหรับภาควิชาสังคมวิทยาแบบเต็มรูปแบบที่แรกนั้น ตั้งขึ้นที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก โดย Albion W. Small ในปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ที่สหรัฐอเมริกา. ส่วนในฝั่งยุโรป ภาควิชาสังคมวิทยาถูกตั้งเป็นที่แรก ที่ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) โดย อีมิล เดอร์ไคหม์ (Emile Durkheim) ในมหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ (University of Bordeaux), และต่อมาที่เยอรมนี เมื่อ พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) โดย มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่ มหาวิทยาลัยมิวนิก (Lugwig Maximilians University of Munich), และที่โปแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) โดย Florian Znaniecki. ส่วนในสหราชอาณาจักร ภาควิชาสังคมวิทยาแห่งแรกนั้น ก่อตั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

นักทฤษฎีทางสังคมวิทยาในยุคบุกเบิกตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ คาร์ล มาร์กซ (Karl Marx), เฟอร์ดินานด์ โทเอนนีส์ (Ferdinand Toennies), อีมิล เดอร์ไคหม์, วิลเฟรดโด ปาเรโต (Vilfredo Pareto) และ มักซ์ เวเบอร์. ในลักษณะเช่นเดียวกับคองต์ นักคิดเหล่านี้ไม่มีใครเรียกตนเองว่าเป็น 'นักสังคมวิทยา' แท้ๆ งานของพวกเขาศึกษาตั้งแต่เรื่อง ศาสนา การศึกษา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา ศีลธรรม ปรัชญา และ เทววิทยา. อย่างไรก็ตาม ยกเว้นเพียงมาร์กซ์เท่านั้น ผลงานของพวกเขาที่มีผลมาจนถึงทุกวันนี้ก็เป็นทางด้านสังคมวิทยา และทฤษฎีของพวกเขาหลายๆ อันก็ยังสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ปัจจุบันได้

เมื่อเริ่มแรก การศึกษาด้านสังคมวิทยาถูกมองว่า ไม่ต่างจากการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ หรือ ชีววิทยา ดังนั้นเหล่านักคิดด้านสังคมจึงได้นำวิธีการ รวมถึงระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ โดยแทบไม่มีการปรับเปลี่ยน แนวทางดังกล่าวที่เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลลัพธ์ที่วัดได้ ทำให้สาขาสังคมวิทยาแตกต่างจาก เทววิทยา หรือ อภิปรัชญา แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยคองต์ ทำให้เกิดระเบียบวิธีวิจัยที่เรียกว่า ปฏิฐานนิยม โดยมีรากฐานมาจากปรัชญาสายธรรมชาตินิยม

กระทั่งสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์เช่น วิลเฮม ดิลธี หรือ ไฮน์ริช ริคเคอร์ต ก็ได้ตั้งข้อสงสัยกับการนำแนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม มาใช้ในการศึกษาสังคม โดยกล่าวว่า โลกธรรมชาตินั้นแตกต่างจากโลกของสังคม ทั้งนี้เนื่องจากสังคมมนุษย์มีลักษณะหนึ่งเดียวบางประการ เช่น การให้ความหมาย, การใช้สัญลักษณ์, การตั้งกฎเกณฑ์และบรรทัดฐาน, และการให้คุณค่า โดยทั้งหมดนี้รวมเรียกว่าเป็นวัฒนธรรม มุมมองนี้ได้ถูกพัฒนาต่อโดย แมกซ์ เวเบอร์ ผู้นำแนวคิดอปฏิฐานนิยม (antipositivism) หรือสังคมวิทยาแนวมนุษย์นิยม ซึ่งวางอยู่บนหลักการที่ว่า สังคมวิทยาต้องมุ่งศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และคุณค่าทางวัฒนธรรม นี่ทำให้เกิดข้อถกเถียง เกี่ยวกับการแบ่งแยกระหว่างงานวิจัยเชิงจิตวิสัย (subjective) และงานวิจัยเชิงวัตถุวิสัย (objective) และก่อให้เกิดการศึกษาด้านอรรถปริวรรตศาสตร์ (hermeneutics)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ภาควิชาในมหาวิทยาลัยไทย

[แก้] อ้างอิง

  • John J. Macionis, Sociology (10th Edition), Prentice Hall, 2004, ISBN 0131849182
  • Piotr Sztompka, Socjologia, Znak, 2002, ISBN 8324002189
  • จำนงค์ อดิวัฒน์สิทธิ์ และ คณะ, สังคมวิทยา, 1993, ISBN 9745750387


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -