สังคมศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มวิชาทาง สังคมศาสตร์ คือสาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์้ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์
มานุษยวิทยา การสื่อสารศึกษา ประวัติศาสตร์ และ คติชนวิทยา สามารถจัดว่าเป็นทั้งสาขาวิชาในสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ การศึกษามานุษยวิทยาโดยใช้แนวทางเชิงนิเวศหรือเชิงชีววิทยานั้น จะเกี่ยวข้องอย่างมากกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
[แก้] สาขาหลัก
สาขาหลักในสาขาสังคมศาสตร์คือ
- มานุษยวิทยา
- การสื่อสารศึกษา - การไหลของสารสนเทศผ่านทางสื่อต่าง ๆ
- อาชญาวิทยา
- เศรษฐศาสตร์ - การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่งในสังคม
- คติชนวิทยา
- ภาษาศาสตร์
- รัฐศาสตร์ - ศึกษาการปกครองในระดับกลุ่มและในระดับประเทศ
- นิติศาสตร์
- จิตวิทยา - จิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์
- สังคมวิทยา - วิเคราะห์สังคมมนุษย์และความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม
[แก้] ดูเพิ่ม
|
---|
มานุษยวิทยา · เศรษฐศาสตร์ · การศึกษา · ประวัติศาสตร์ · ภูมิศาสตร์ · ภาษาศาสตร์ · การบริหารจัดการ · การเมือง · จิตวิทยา · สังคมวิทยา |
สังคมศาสตร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ วิชา ความรู้ และศาสตร์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สังคมศาสตร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |