วัณโรค
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัณโรค (Tuberculosis) |
|
---|---|
ภาพเอกซเรย์ทรวงอกของผู้ป่วยวัณโรค | |
การจำแนกประเภทโรค และแหล่งข้อมูลอื่น | |
ICD-10 | A15.-A19. |
ICD-9 | 010-018 |
OMIM | 607948 |
DiseasesDB | 8515 |
MedlinePlus | 000077 000624 |
eMedicine | med/2324 emerg/618 radio/411 |
MeSH | C01.252.410.040.552.846 |
วัณโรค คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เล็กมากคือเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ติดต่อโดยการสูดอากาศที่มีตัวเชื้อนี้เข้าไป ซึ่งเชื้อโรคชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความคงทนต่ออากาศแห้ง ความเย็น ความร้อน สารเคมี และอยู่ในอากาศได้นาน ยกเว้นไม่ทนทานต่อแสงแดด คนส่วนใหญ่มักคิดว่าวัณโรคเป็นโรคเกี่ยวกับปอด แต่ความจริงแล้ว เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายเช่น ที่ต่อมน้ำเหลือง กระดูก เยื่อหุ้มสมอง ปอด แต่ที่พบและเป็นปัญหามากที่สุดในปัจจุบันคือ "วัณโรคปอด" มักพบในคนแก่คนที่ร่างกายอ่อนแอจากการเป็นโรคอื่น ๆ มาก่อน เช่น หวัด หัด ไอกรน พวกติดยาและโรคเอดส์และในคนที่ตรากตรำทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ ขาดอาหาร ดื่มเหล้าจัด หรือในคนที่มีประวัติใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรค เช่น นอนห้องเดียวกัน หรืออยู่บ้านเดียวกัน และพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นวัณโรคแทรกซ้อนกันมาก และทำให้วัณโรคที่เคยลดลง มีการแพร่กระจายมากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้แพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากติดต่อได้ง่ายโดยระบบทางเดินหายใจและมีอันตรายถึงชีวิต
เนื้อหา |
[แก้] อาการ
- ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ไอเจ็บหน้าอก หรือไอมีเลือดออก
- มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือเย็น
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
[แก้] การปฏิบัติตนเมื่อเป็นวัณโรค
- กินยาตามชนิดและขนาดที่แพทย์สั่งให้อย่างสม่ำเสมอจนครบกำหนด
- หลังกินยาไประยะหนึ่ง อาการไอและอาการทั่วๆไปจะดีขึ้น อย่าหยุดกินยาเด็ดขาด
- ควรงดสิ่งเสพติดทุกชนิด เช่น เหล้า บุหรี่ ฯลฯ
- สวมผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
- เปลี่ยนผ้าปิดจมูกที่สวม บ่อยๆเพราะผ้าปิดจมูกเอง ก็เป็นพาหะได้เช่นกัน
- บ้วนเสมหะลงในภาชนะ หรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด
- จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทสะดวก ให้แสงแดดส่องถึงและหมั่นนำเครื่องนอนออกตากแดด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อปลา และนม ไข่ ผัก และผลไม้
- นอนกลางวันอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อนำโปรตีนจากอาหารรัปประทานเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
- ไม่เที่ยวในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เพราะ อาจนำเชื้อไปแพร่ให้ผู้อื่น หรือ ติดเชื้อโรคจากผู้อื่นเข้าสู่ร่างกายเพิ่มเติม
- ในระยะ 6 เดือนแรกหลังจากติดเชื้อ (เรียกว่า "ระยะแพร่เชื้อโรค") ผู้ป่วยควรจะนอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเท และ นอนแยกห้องกับสมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงการรับประทานอาหาร การใช้ถ้วยชาม และเสื้อผ้า ควรแยกล้าง หรือ แยกซักต่างหาก และต้องนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- หลังจากแพทย์ลงความเห็นว่าพ้นจากระยะแพร่เชื้อโรคแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวได้ดังเช่นเดิม เช่น การนอน การรับประทานอาหาร และซักผ้าร่วมกับสมาชิกผู้อื่น โดยในระยะนี้ผู้ป่วยต้องทางยาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 12 เดือน (โรควัณโรคจะต้องใช้เวลาในการรักษารวมทั้งสิ้น 18 เดือน)
[แก้] การป้องกัน
- ถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบไปรับการตรวจรักษาโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
- ประชาชนทั่วไป ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซ์เรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
- ในเด็กควรได้รับการฉีดัคซีนบีซีจี (Bacilus Calmette Guerin) รวมถึงผู้ที่ทำการทดสอบทูเบอร์คูลินเทสท์ (Tuberculin test) ให้ผลเป็นลบ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
[แก้] แนวทางการรักษา
ในปัจจุบัน ประชาชนสามารถเลือกรับบริการในสิ่งที่ดีที่สุดได้หากท่านป่วยเป็นวัณโรค
กินยาเองมีโอกาศหายเพียง 50% เพราะพบว่ามักจะไม่กินยาสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการรักษา 6 เดือน และยังทำให้เชื้อดื้อยาอีกด้วย
รักษาแบบหายแน่นอน ประกันการักษา ในระยะเวลา 6 เดือน โดยเลือกได้ 3 แบบ
- มากินยาที่สถานบริการทุกวันโดยมีเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการกินยาทุกครั้งและลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
- กินยาโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขพระหรือครูเป็นผู้กับกับดูแล
- กินยาโดยมีญาติเป็นผู้กำกับดูแลให้กำลังใจผู้ป่วยพร้อมทั้งดูแลการกลืนยาทุกวัน
[แก้] วัณโรคกับเอดส์
วัณโรคและโรคเอดส์ เป็นแนวร่วมมฤตยูที่สามารถเพิ่มผลกระทบให้มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อเอดส์ โดยผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ จะมีผลกระทบต่อวัณโรค ทั้งในส่วนของการวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้นในด้านการรักษา ผู้ป่วยมักขาดยา กินยาไม่สม่ำเสมอ นำไปสู่การดื้อยา ทำให้มีอัตราการรักษาหายต่ำ และจะส่งผลให้อัตราการตายสูง นอกจากนี้ ยังพบอัตราการกลับเป็นวัณโรคซ้ำมากขึ้น รวมทั้ง นำเชื้อวัณโรคดื้อยาแพร่กระจายแก่ผู้อื่นได้ง่าย
![]() |
วัณโรค เป็นบทความเกี่ยวกับ การแพทย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ วัณโรค ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |