ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำแหน่งประมุข | องค์พระประมุขแห่งออสเตรีย พระมหากษัตริย์แห่งคาสตีล พระมหากษัตริย์แห่งอารากอน พระมหากษัตริย์แห่งสเปน พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระมหากษัตริย์แห่งฮังการี สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก |
สถาปนา | ศตวรรษที่ 12 (เค้านท์อ๊อตโต้ที่ 2 แห่งฮับส์บูร์ก) |
ล่มสลาย | พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780): (ออสเตรีย) พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700): (สเปน) พ.ศ. 2183 (ค.ศ. 1640): (โปรตุเกส) |
- องค์สุดท้าย | สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซ่าแห่งออสเตรีย (ออสเตรีย) สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลอสที่ 2 แห่งสเปน (สเปน) |
สืบทอดเป็น | ฮับส์บูร์กสายลีโอโพลด์เดียน ฮับส์บูร์กสายอัลเบอร์ไทน์ ฮับส์บูร์กสเปน ฮับส์บูร์ก-โปรตุเกส |
ดินแดน | ออสเตรีย, ฮังการี, โบฮีเมีย, โปรตุเกส, เม็กซิโก, สเปน, และ โปรตุเกส |
เชื้อชาติ | ออสเตรีย, สเปน, และเยอรมัน |
ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก หรือ ฮับส์บวร์ก (อังกฤษ: House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) (เยอรมัน: Haus de Habsburg) เป็นพระราชวงศ์ที่มีความสำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปน และ ประเทศออสเตรีย โดยรวมเวลาการปกครองทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษเลยทีเดียว แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองของราชวงศ์ในตำแหน่งของ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่างๆถึง 1,800 รัฐเลยทีเดียว
พระราชอิสริยยศต่างๆขององค์พระประมุขแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กมีดังนี้
- พระมหากษัตริย์แห่งเยอรมัน (ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 – ปีพ.ศ. 2349
- สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์,
- องค์พระประมุขแห่งออสเตรีย
- พระมหากษัตริย์แห่งฮังการี (ปีพ.ศ. 1980 – พ.ศ. 1982, พ.ศ. 1988 – พ.ศ. 1990, และพ.ศ. 2069 – ปัจจุบัน),
- พระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย (ปีพ.ศ. 1849 – พ.ศ. 1850 , พ.ศ. 1980 – พ.ศ. 1982, พ.ศ. 1996 – พ.ศ. 2000, พ.ศ. 2069 – พ.ศ. 2461,
- พระมหากษัตริย์แห่งโครเอเชีย (ปีพ.ศ. 1849 – พ.ศ. 1850 , พ.ศ. 1980 – พ.ศ. 1982, พ.ศ. 1996 – พ.ศ. 2000, พ.ศ. 2069 – พ.ศ. 2461,
- พระมหากษัตริย์แห่งสเปน (ปีพ.ศ. 2059 – พ.ศ. 2243),
- พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส (ปี พ.ศ. 2123 – พ.ศ. 2183),
- พระมหากษัตริย์แห่งกาลิเซียและโลโดมีเรีย (ปีพ.ศ. 2315 – พ.ศ. 2461),
- แกรนด์พรินซ์แห่ง ทรานซิลวาเนีย (ปี พ.ศ. 2233 – พ.ศ. 2461)
- แกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี (ปีพ.ศ. 2280 – พ.ศ. 2344, และ พ.ศ. 2357 – ปัจจุบัน).
- อาร์คดยุคแห่งออสเตรีย-เอสต์ (ปีพ.ศ. 2314 – ปัจจุบัน).
ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆที่ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศอื่น ได้แก่...
- สมเด็จพระราชาธิบดี-พระราชสวามีแห่งอังกฤษ (King-consort of England); (ปีพ.ศ. 2097 - พ.ศ. 2101)
- ดยุคแห่งปาร์มา (ปีพ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2390)
- ดยุคแห่งโมเดน่า (ปีพ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2402)
- สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก (ปีพ.ศ. 2407 - พ.ศ. 2410)
- สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (ปีพ.ศ. 2317 – พ.ศ. 2336)
- สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส (ปี พ.ศ. 2353 – พ.ศ. 2357)
- สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งบราซิล (ปี พ.ศ. 2365 – พ.ศ. 2369)
- สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส (ปีพ.ศ. 2365)
[แก้] ประวัติโดยย่อของพระราชวงศ์ฮับส์บูร์ก
[แก้] จากท่านเค้านท์แห่งฮับส์บูร์กจนถึงสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมัน
ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก เป็นชื่อที่ตั้งมาจากปราสาทฮับส์บูร์ก (Habsburg Castle หรือที่ชาวสวิตรู้จักกันในนาม Hawk Castle) เมื่อประมาณศตวรรษที่ 12 โดยช่วงแรก พระราชวงศ์จะทรงประทับที่แค้วนสวาเบีย (ปัจจุบันคือเมืองอาร์กอว์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้น เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) จากนั้น พระราชวงศ์ก็ได้ขยายอำนาจออกไปตั้งแต่เมืองอัลเซส, ไบรส์กอว์, อาร์กอว์, และธูร์กอว์ (ปัจจุบัน เมืองทั้งหมดตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี) และในที่สุดก็สามารถมีอำนาจปกครองจักรวรรดิได้ทั้งหมด โดยตั้งเมืองหลวงคือ กรุงเวียนนา (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย)
จากนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงขยายอำนาจ ทรงนำประเทศต่างๆมาผนวกรวมกับจักรวรรดิโดยการอภิเษกสมรส เช่น สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแมรี่แห่งเบอร์กันดี ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทหญิงแห่งเบอร์กันดี หลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนก็ได้ทรงผนวกเบอร์กันดีเข้ารวมกับจักรวรรดิ นอกจากนี้ ยังทรงนำดินแดนใกล้เคียงเบอร์กันดีมารวมกับจักรวรรดิอีกด้วย ต่อมา พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 1 แห่งคาสตีล หรือสมญาพระนามว่า ฟิลลิปผู้หล่อเหลา (Philip the Handsome) ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฮวนนาแห่งสเปน องค์รัทายาทหญิงแห่งสเปน จากนั้น พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงนำสเปน, พื้นที่ทางตอนใต้ของอิตาลี มาผนวกกับจักรวรรดิ ต่อมาในปีพ.ศ. 2123 พระราชโอรสของพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปน ได้ทรงผนวกโปรตุเกสรวมเข้าเป็นอาณานิคม...
ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในตอนแรก ทรงตั้งดินแดนศูนย์กลางของกรุงเวียนนา เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ โดยต่อมาทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างพระราชวังเชินบรุนน์ขึ้น (Schönbrunn Palace) โดยให้เป็นพระราชฐานแปรฤดูร้อน ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซ่าแห่งออสเตรีย ทรงมีพระบัญชาให้ก่อสร้างพระตำหนักเพิ่มเติมภายในพระราชวัง พระราชวังเชินบรุนน์จึงมีความยิ่งใหญ่ สวยงามจวบจนทุกวันนี้
[แก้] สายสกุลของราชวงศ์: ฮับส์บูร์ก ออสเตรีย และสเปน
เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2064 สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปน) ได้ทรงมอบโอนแผ่นดินออสเตรียให้กับพระอนุชาของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น ก็มีการแยกสายสกุลฮับส์บูร์ก-ออสเตรีย และฮับส์บูร์ก-สเปน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยสายสกุลทางออสเตรียได้ดำรงพระยศ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2099เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังได้ดินแดนของราชอาณาจักรฮังการี และโบฮีเมียตั้งแต่ปีพ.ศ. 2069 แต่มีช่วงหนึ่งที่ถูกจักรวรรดิออตโตมานยึดครอง ฮังการีและโบฮีเมีย อยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโตมานเป็นเวลาถึง 150 ปี โดยต่อมา ได้สามารถพิชิตเอาชนะ และได้ดินแดนฮังการีคืนมาระหว่างปีพ.ศ. 2226 – พ.ศ. 2242
สายสกุลฮับส์บูร์ก-สเปนได้ล่มสลายลงเมื่อปีพ.ศ. 2243 หลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน (War of the Spanish Succession) เช่นเดียวกับสายสกุลฮับส์บูร์ก-ออสเตรีย ซึ่งถูกยุบลงหลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (War of the Austrian Succession) อย่างไรก็ตาม องค์รัชทายาทองค์สุดท้ายแห่งายสกุลฮับส์บูร์ก-ออสเตรีย อาร์คดัชเชสมาเรีย เทเรซ่า ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทหญิงทางพฤตินัย (Heiress Presumptive) ได้ทรงอภิเษกสมรสกับ ดยุคฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอร์เรน องค์พระประมุขแห่งลอร์เรน (ทั้ง 2 พระองค์ทรงเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น ทั้ง 2 พระองค์ทรงเป็นพระญาติกัน) โดยหลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว สายสกุลฮับส์บูร์ก-ออสเตรีย ได้ถูกยุบลง โดยการเปลี่ยนราชสกุลฮับส์บูร์ก เป็นราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน และให้พระบรมวงศานุวงศ์รุ่นต่อๆมาดำรงอยู่ในราชสกุลนี้จวบจนถึงปัจจุบัน...
[แก้] พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการี
ตำแหน่งประมุข | สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระมหากษัตริย์แห่งฮังการี |
สถาปนา | พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) |
ล่มสลาย | พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) |
ประมุขราชวงศ์ | |
- องค์แรก | สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซ่าแห่งออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ |
- องค์ปัจจุบัน | สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งออสเตรีย |
สืบทอดเป็น | ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน ออสเตรีย-เอสต์ |
ดินแดน | ออสเตรีย และ ฮังการี |
เชื้อชาติ | ออสเตรีย, ฮังการี, และเยอรมัน |
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347 ซึ่งเป็นเวลาก่อน 2 ปี ก่อนที่จักรวรรดิเก่าจะถูกล้มล้าง โดย 3 เดือนต่อมา นโปเลียนก็ได้สถาปนาตนเองเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส (Emperor of the French) เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน
สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ จึงทรงฉลองพระราชอิสริยยศใหม่ คือ…
His Imperial and Royal Apostolic Majesty "We, Francis the First, by the grace of God Emperor of Austria; Apostolic King of Hungary, Bohemia, Dalmatia, Croatia, Slavonia, and Jerusalem. King of Galicia and Lodomeria; Archduke of Austria; Duke of Lorriane, Salzburg, Würzburg, Franconia, Styriaia, Carinthia, and Carniola; Grand Duke of Cracow; Grand Prince of Transylvania; Margrave of Moravia; Duke of Sandomir, Masovia, Lublin, Upper and Lower Silesia, Auschwitz and Zator, Teschen, and Friule; Prince of Berchtesgaden and Mergentheim; Princely Count of Habsburg, Gorizia, and Gradisca and Tyrol; and Margrave of Upper and Lower Lusatia and Istria".
ในช่วงของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรีย-ฮังการี พ.ศ. 2410 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนชาวฮังการีก่อการปฏิวัติเพื่อเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ต้องทรงไปไกล่เกลี่ยการจลาจลด้วยพระองค์เอง โดยทรงเจรจากับผู้นำปฏิวัติของฮังการี ในที่สุด ฮังการียอมจำนน และสลายการจลาจล จากนั้น สมเด็จพระจักรพรรดิจึงทรงรวมดินแดนออสเตรีย และฮังการีไว้ด้วยกัน ในชื่อจักรวรรดิใหม่ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเจริญรุ่งเรืองจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1…
ราชวงศ์ฮับส์บูร์กเริ่มระส่ำระส่าย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดจากการที่นักอนุรักษ์นิยม ลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ และพระชายา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียรับผิดชอบ แต่ทางการเซอร์เบียเมินเฉย เป็นเหตุให้ออสเตรีย ประกาศสงครามกับเซอร์เบียทันที จนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ออสเตรีย ซึ่งมีเยอรมนี เข้าช่วย ได้แพ้สงครามในที่สุด องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย (สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4 แห่งฮังการี) ได้ทรงประกาศแยกออสเตรีย และฮังการีออกจากกัน ทำให้มีการล้มล้างจักรวรรดิ เป็นเหตุให้จักรวรรดิล่มสลายลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังไม่ได้ทรงสละราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย จวบจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465
[แก้] การเรียกร้องการหวนคืนบัลลังก์
พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการีไร้อำนาจ และ แทบจะไร้ความหวังต่อการหวนคืนบัลลังก์โดยประชาชนที่ยังจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์อิมพีเรียล จนกระทั่งเมื่ออาร์คดัชเชสอาเดลเลดแห่งออสเตรีย พระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ล ได้ทรงเรียกร้องหวนคืนบัลลังก์ให้กับพระเชษฐาของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งออสเตรีย ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตโดยทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคต เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ได้ทรงเรียกร้องหวนคืนบัลลังก์ออกทางสื่อต่างๆ ทำให้รัฐบาลออสเตรีย และรัฐบาลฮังการีได้ร่วมมือกันประชุมหารือเรื่องการกลับมาของพระราชวงศ์อิมพีเรียล แต่การประชุมครั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด เป็นเหตุให้ยุติการประชุมชั่วคราว
จนกระทั่งเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีกลุ่มประชาชนที่จงรักภักดีในพระราชวงศ์อิมพีเรียล ได้ตั้งการชุมนุมเรียกร้องการฟื้นฟูสถาปนา พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการีขึ้น ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ต่อมาเวลา 18 นาฬิกา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสถาปนาพระราชวงศ์อิมพีเรียลให้กลับมาครองบัลลังก์ และยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในออสเตรีย และฮังการีอีกด้วย การชุมนุมนี้มีขึ้น ณ ใจกลางกรุงเวียนนา โดยมีหัวข้อชุมนุมเรียกร้องเป็นภาษาเยอรมันว่า 89 Jahre Republik Sind Genug! แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า 89 Years are enough for the Republic: 89 ปี...มากพอแล้วสำหรับการเป็นสาธารณรัฐ การชุมนุมของทั้ง 2 ประเทศนี้ ทำให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนในรัฐสภาทั้งในออสเตรียและฮังการี รวมทั้งประธานาธิบดีของทั้ง 2 ประเทศต่างหารือกันอีกด้วย ทั้งนี้ อาจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของทั้ง 2 ประเทศ และอาจมีแนวโน้มว่า พระราชวงศ์อิมพีเรียลอาจกับมาเรืองอำนาจอีกครั้ง และพระองค์เองอาจมีโอกาสได้กลับมาเป็นองค์พระประมุขเต็มตัวก็เป็นได้...
[แก้] แผนผังราชสกุลในปัจจุบัน
ดูเพิ่มเติมที่: แผนผังราชวงศ์ฮับส์บูร์ก
[แก้] รายพระนาม
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก: สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
บทความหลัก: สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
แม็กซีมีเลียนที่ 1 | พ.ศ. 2051 – พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1508 – ค.ศ. 1519) |
|
คาร์ลที่ 5 | พ.ศ. 2062 – พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1519 – ค.ศ. 1556) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 | พ.ศ. 2099 – พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1556–ค.ศ. 1564) |
|
แม็กซีมีเลียนที่ 2 | พ.ศ. 2107 – พ.ศ. 2119 (ค.ศ. 1564–ค.ศ. 1576) |
|
รูดอล์ฟที่ 2 | พ.ศ. 2119 – พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1576 – ค.ศ. 1612) |
|
แม็ทเธียส | พ.ศ. 2155 – พ.ศ. 2162 (ค.ศ. 1612 – ค.ศ. 1619) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 2 | พ.ศ. 2162 – พ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1619 – ค.ศ. 1637) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 3 | พ.ศ. 2180 – พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1637 – ค.ศ. 1657) |
|
ลีโอโพลด์ที่ 1 | พ.ศ. 2201 – พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1658 – ค.ศ. 1705) |
|
โจเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2248 – พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1705 – ค.ศ. 1711) |
|
คาร์ลที่ 6 | พ.ศ. 2254 – พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1711 – ค.ศ. 1740) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน: สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ อาร์คดยุคแห่งออสเตรีย
สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ทรงมีแต่พระราชธิดา ก่อนหน้านี้ ทรงมีพระราชโอรส แต่ทรงสิ้นพระชนม์กะทันหัน พระองค์จึงทรงแต่งตั้ง สถาปนาพระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์คดัชเชสมาเรีย เทเรซ่า ให้เป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย (Heiress Presumptive) โดยทรงออกพระราชกฤษฎีกาพิเศษ เพื่อรับรองให้พระบรมวงศานุวงศ์เพศหญิงสามารถขึ้นครองราชย์สมบัติได้ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลเสด็จสวรรคต อาร์คดัชเชสมาเรีย เทเรซ่าก็ได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี และโบฮีเมีย ส่วนตำแหน่งองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดยุคฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอร์เรน (Duke Francis III Stephen of Lorraine) หลังจากอภิเษกสมรส ก็ทรงสถาปนา แต่งตั้งพระราชสวามีเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ให้พระราชสวามีเป็นองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่พระราชอำนาจ และการบริหารบ้านเมืองจะเป็นของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงร่วมกันก่อตั้งราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรนขึ้น (Habsburg-Lorraine) และมีพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงดำรงอยู่ในราชสกุลนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน…
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
ฟรานซ์ที่ 1 พร้อมด้วย มาเรีย เทเรซ่า | พ.ศ. 2288 – พ.ศ. 2308 (ค.ศ. 1745 – ค.ศ. 1765) |
|
โจเซฟที่ 2 | พ.ศ. 2308 – พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1765 – ค.ศ. 1790) |
|
ลีโอโพลด์ที่ 2 | พ.ศ. 2333 – พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1792) |
|
ฟรานซ์ที่ 2 | พ.ศ. 2335 – พ.ศ. 2349 (ค.ศ. 1792 – ค.ศ. 1806) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก: อาร์คดยุคแห่งออสเตรีย
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
แม็กซีมีเลียนที่ 1 | พ.ศ. 2051 – พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1508 – ค.ศ. 1519) | |
คาร์ลที่ 5 | พ.ศ. 2062 – พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1519 – ค.ศ. 1556) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน: สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
บทความหลัก: สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
ฟรานซ์ที่ 1 | พ.ศ. 2347 – พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1804 – ค.ศ. 1835) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 | พ.ศ. 2378 – พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1835 – ค.ศ. 1848) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน และราชสกุลฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน: สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน และราชสกุลฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน (Habsburg-Lorraine & Habsburg-Lothringen) อันที่จริงแล้วคือราชสกุลเดียวกัน สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟทรงแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในเรื่องของการใช้ราชสกุล เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนทางด้านภาษา โดยให้มีการใช้ 2 ราชสกุลนี้สลับกันเป็นรุ่นๆ ตัวอย่างเช่น สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟทรงดำรงอยู่ในราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน ดังนั้น พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ จะทรงดำรงอยู่ในราชสกุลฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน (เช่น อาร์คดยุครูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งทรงอยู่ในราชสกุลฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน ดังนั้น พระธิดาของพระองค์ อาร์คดัชเชสเอลิซาเบธ มารีจะทรงอยู่ในราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน สลับกันไปเป็นรุ่นๆ)
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล | ราชสกุล |
ฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2391 – พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1848 – ค.ศ. 1916) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
คาร์ลที่ 1 | พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1916 – ค.ศ. 1922) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน |
สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ล ทรงถูกขับออกจากราชสมบัติจากหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปีพ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) แต่พระองค์ก็ยังทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิ และองค์พระประมุขแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กจนสวรรคตเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465 หลังจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ อาร์คดยุคออตโต ก็ทรงได้สืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ต่อไป ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 10 พรรษาเท่านั้น สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้า พระบรมราชชนนี จึงทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2473
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล | ราชสกุล |
ออตโตที่ 1 | พ.ศ. 2465 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1922) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน |
[แก้] มกุฏราชกุมาร
รูป | พระนาม | สถานะ | ราชสกุล |
อาร์คดยุคคาร์ล มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1981) เมื่อได้ครองราชย์ จะทรงฉลองพระปรมภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งออสเตรีย (Karl II of Austria) |
รัชทายาททางนิตินัย (Heir Apparent) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน |
ดูเพิ่มที่ ลำดับการสืบสันตติวงศ์ราชบัลลังก์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการี
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี
บทความหลัก: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี
ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชอาณาจักรฮังการี ก็ได้ถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิออสเตรียตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
[แก้] ฮับส์บูร์กสายอัลเบอร์ไทน์: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
อัลเบรชท์ที่ 2 | พ.ศ. 1980 – พ.ศ. 1982 (ค.ศ. 1437 – ค.ศ. 1439) |
|
ลาดิสเลาส์ที่ 5 โพสธูมัส | พ.ศ. 1987 – พ.ศ. 1990 (ค.ศ. 1444 – ค.ศ. 1457) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 | พ.ศ. 2069 – พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1526–ค.ศ. 1564) |
|
แม็กซีมีเลียนที่ 1 | พ.ศ. 2106 – พ.ศ. 2119 (ค.ศ. 1563–ค.ศ. 1576) |
|
รูดอล์ฟที่ 1 | พ.ศ. 2119 – พ.ศ. 2151 (ค.ศ. 1572 – ค.ศ. 1608) |
|
แม็ทเธียส | พ.ศ. 2151 – พ.ศ. 2162 (ค.ศ. 1608 – ค.ศ. 1619) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 2 | พ.ศ. 2161 – พ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1637) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 3 | พ.ศ. 2168 – พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1625 – ค.ศ. 1657) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 4 | พ.ศ. 2190 – พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1647 – ค.ศ. 1654) |
|
ลีโอโพลด์ที่ 1 | พ.ศ. 2198 – พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1655 – ค.ศ. 1705) |
|
โจเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2230 – พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1687 – ค.ศ. 1711) |
|
คาร์ลที่ 3 | พ.ศ. 2254 – พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1711 – ค.ศ. 1740) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
มาเรีย เทเรซ่า | พ.ศ. 2284 – พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1741 – ค.ศ. 1780) |
|
โจเซฟที่ 2 | พ.ศ. 2323 – พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1780 – ค.ศ. 1790) |
|
ลีโอโพลด์ที่ 2 | พ.ศ. 2333 – พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1792) |
|
ฟรานซ์ที่ 1 | พ.ศ. 2335 – พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1792 – ค.ศ. 1835) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 5 | พ.ศ. 2378 – พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1835 – ค.ศ. 1848) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน และราชสกุลฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล | ราชสกุล |
ฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2391 – พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1848 – ค.ศ. 1916) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
คาร์ลที่ 4 | พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1916 – ค.ศ. 1922) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน | |
ออตโตที่ 2 | พ.ศ. 2465 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1922) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน |
[แก้] สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโบฮีเมีย
บทความหลัก: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
รูดอล์ฟที่ 1 | พ.ศ. 1849 – พ.ศ. 1850 (ค.ศ. 1306 – ค.ศ. 1307) |
[แก้] ฮับส์บูร์กสายอัลเบอร์ไทน์: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโบฮีเมีย
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
อัลเบรชท์ที่ 1 | พ.ศ. 1980 – พ.ศ. 1982 (ค.ศ. 1437 – ค.ศ. 1439) |
|
ลาดิสเลาส์ โพสธูมัส | พ.ศ. 1996 – พ.ศ. 1990 (ค.ศ. 1453 – ค.ศ. 1457) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโบฮีเมีย
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 | พ.ศ. 2069 – พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1526–ค.ศ. 1564) |
|
แม็กซีมีเลียนที่ 1 | พ.ศ. 2106 – พ.ศ. 2119 (ค.ศ. 1563–ค.ศ. 1576) |
|
รูดอล์ฟที่ 2 | พ.ศ. 2119 – พ.ศ. 2154 (ค.ศ. 1572 – ค.ศ. 1611) |
|
แม็ทเธียส | พ.ศ. 2154 – พ.ศ. 2161 (ค.ศ. 1611 – ค.ศ. 1618) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 2 | พ.ศ. 2164 – พ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1621 – ค.ศ. 1637) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 3 | พ.ศ. 2168 – พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1625 – ค.ศ. 1657) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 4 | พ.ศ. 2190 – พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1647 – ค.ศ. 1654) |
|
ลีโอโพลด์ที่ 1 | พ.ศ. 2198 – พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1655 – ค.ศ. 1705) |
|
โจเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2230 – พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1687 – ค.ศ. 1711) |
|
คาร์ลที่ 2 | พ.ศ. 2254 – พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1711 – ค.ศ. 1740) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโบฮีเมีย
ก่อนหน้านี้ โบฮีเมีย เป็นประเทศที่ไม่ได้รวมกับจักรวรรดิ ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซ่า โบฮีเมียดู้กผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
มาเรีย เทเรซ่า | พ.ศ. 2286 – พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1743 – ค.ศ. 1780) |
|
โจเซฟที่ 2 | พ.ศ. 2323 – พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1780 – ค.ศ. 1790) |
|
ลีโอโพลด์ที่ 2 | พ.ศ. 2333 – พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1792) |
|
ฟรานซ์ที่ 1 | พ.ศ. 2335 – พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1792 – ค.ศ. 1835) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 5 | พ.ศ. 2378 – พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1835 – ค.ศ. 1848) |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน และราชสกุลฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโบฮีเมีย
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล | ราชสกุล |
ฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2391 – พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1848 – ค.ศ. 1916) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
คาร์ลที่ 3 | พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1916 – ค.ศ. 1922) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน | |
ออตโตที่ 1 | พ.ศ. 2465 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1922) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน |
[แก้] ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเยอรมัน
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
รูดอล์ฟที่ 1 | พ.ศ. 1816 – พ.ศ. 1834 (ค.ศ. 1273 – ค.ศ. 1291) |
[แก้] ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก: เค้านท์แห่งฮับส์บูร์ก
ก่อนที่สมเด็จพระราชาธิบดีรูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี จะทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประมุขแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็น เค้านท์แห่งฮับส์บูร์ก (Count of Habsburg) ปกครองดินแดนฮับส์บูร์กทางตอนเหนือ (ปัจจุบันคือทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี และประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
- เค้านท์กันแทร็มแห่งฮับส์บูร์ก สมญาพระนามว่า กันแทร็มผู้ร่ำรวย (Guntram the Rich) (ประมาณปีพ.ศ. 1473 – พ.ศ. 1528; (ca. 930–985))
- แลนเซอลินแห่งอัลเท็นบวร์ก ทรงปกครองพร้อมด้วยพระอนุชา, เค้านท์แร็ดบอท
- เค้านท์รูดอล์ฟที่ 1 แห่งฮับส์บูร์ก โดยมีเวอร์เนอร์ที่ 1 บิชอปแห่งสแตรสเบิร์ก, และ แลนดอล์ฟ เป็นอุปราช
- แร็ดบอทแห่งเคล็ทกอว์ ซึ่งเป็นผู้สร้างปราสาทฮับส์บูร์ก ประมาณปีพ.ศ. 1528 – พ.ศ. 1578; (ca. 985–1035) นอกจากนี้ทรงสถาปนาให้พระราชโอรส 2 พระองค์ เค้านท์ออตโตที่ 1 แห่งฮับส์บูร์ก ไปเป็นเค้านท์แห่งซันโกว์ (Sundgau) และ เค้านท์อัลเบรชท์ที่ 1 ไปเป็นเค้านท์แห่งอัลเซส (Alsace)
- เค้านท์เวอร์เนอร์ที่ 1 แห่งฮับส์บูร์ก (ประมาณปีพ.ศ. 1573 – พ.ศ. 1639; (1030–1096). โดยทรงปกครองควบคู่กับ เค้านท์ออตโตที่ 2 แห่งฮับส์บูร์ก และทรงแต่งตั้งสถาปนาพระราชโอรส เค้านท์อัลเบรชท์ที่ 2 ให้ไปปกครองดินแดนมูรี (Muri) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1654 – พ.ศ. 1684; (1111–1141) หลังจากที่เค้านท์ออตโตสวรรคต
- เค้านท์ออตโตที่ 2 แห่งฮับส์บูร์ก ทรงปกครองพร้อมด้วย เค้านท์เวอร์เนอร์ที่ 1 จนสิ้นพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. 1654 (d. 1111)
- เค้านท์เวอร์เนอร์ที่ 2 แห่งฮับส์บูร์ก ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 1678 – พ.ศ. 1710; (around 1135 – d. 1167)
- เค้านท์อัลเบรชท์ที่ 3 แห่งฮับส์บูร์ก รู้จักกันในพระนาม อัลเบรชท์ผู้ร่ำรวย (Albrecht the Rich) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1710 – พ.ศ. 1742; (1167 – 1199). ในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงทำให้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาของอาณาจักรได้ ทั่วทั้งแผ่นดินพูดภาษาเยอรมันกันทั้งหมด รวมทั้งพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปัจจุบัน
- เค้านท์รูดอล์ฟที่ 2 แห่งฮับส์บูร์ก ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1742 – พ.ศ. 1775; (1199 – 1232)
- เค้านท์อัลเบรชท์ที่ 4 แห่งฮับส์บูร์ก ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1775 – พ.ศ. 1782; (1232 – 1239) พระราชบิดาในเค้านท์รูดอล์ฟที่ 5 แห่งฮับส์บูร์ก ซึ่งภายหลังได้เป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีพระนามว่า รูดอล์ฟที่ 1 พระองค์ทรงปกครองพร้อมกับเค้านท์รูดอล์ฟที่ 3 แห่งฮับส์บูร์ก ทำให้มีการแยกแผ่นดินฮับส์บูร์กออกเป็น 2 ส่วน โดยเค้านท์อัลเบรชท์ได้ปกครองแผ่นดินทางตะวันตกส่วนเค้านท์รูดอล์ฟได้ปกครองแผ่นดินทางตะวันออก นอกจากนี้ เค้านท์อัลเบรชท์ทรงเป็นต้นราชตระกูลของอาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ และพระชายาโซฟี ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์ก ดังนั้น จึงพบว่า ทั้ง 2 พระองค์ทรงเป็นพระญาติกัน
[แก้] ดยุคแห่งออสเตรีย
เมื่อแผ่นดินฮับส์บูร์กถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน แผ่นดินฮับส์บูร์กฝั่งตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหม่ จากเค้านท์เป็นดยุค โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ราชรัฐออสเตรีย (Duchy of Austria) ซึ่งในปัจจุบันคือรัฐโลเวอร์ ออสเตรีย และ ตางตะวันออกของรัฐอัปเปอร์ ออสเตรีย ประเทสออสเตรีย นอกจากนี้ แคว้นออสเตรีย ยังได้ผนวกสตีเรีย (Duchy of Styria) และ คารินเธีย รวมทั้ง คานิโอล่า และทีรอล รวมเข้ากับออสเตรียในปีพ.ศ. 1906
ต่อมา องค์พระประมุขของแผ่นดินฮับส์บูร์กฝั่งตะวันตกสวรรคต และไม่มีองค์รัชทายาท ดยุคแห่งออสเตรียจึงเข้าไปปกครองแผ่นดินทางตะวันตกแทน ซึ่งได้แก่ อัลเซส ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี รวมทั้งโวราร์ลเบิร์ก แต่สูญเสียดินแดนลุ่มแม่น้ำไรน์ และทะเลสาบคอนสแตนส์ เพื่อที่จะขยายแผ่นดินไปถึงสมาพันธรัฐสวิสเก่า (Old Swiss Confederacy) แต่ในที่สุด ก็สามารถปกครองแผ่นดินดังกล่าวจนถึงปีพ.ศ. 1922 หลังจากนั้น ก็ถูกปกครองในตำแหน่งใหม่คือ เค้านท์แห่งทีรอล (Princely Count of Tyrol) ดังพระนามที่จะกล่าวด้านล่างนี้
- ดยุครูดอล์ฟที่ 2 แห่งออสเตรีย พระราชโอรสในรูดอล์ฟที่ 1 ดยุคแห่งสตีเรีย; พ.ศ. 1825 – พ.ศ. 1826 (1282–1283) ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระอนุชาของพระองค์เอง
- ดยุคอัลเบรชท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย พระอนุชาในดยุครูดอล์ฟ ผู้ซึ่งเชื่อว่า ทรงลอบปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์เอง; พ.ศ. 1826 – พ.ศ. 1851 (1282–1308) ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปีพ.ศ. 1841
- ดยุครูดอล์ฟที่ 3 แห่งออสเตรีย; เป็นประมุขชั่วคราวตั้งแต่ปีพ.ศ. 1841 – พ.ศ. 1850 (1298–1307)
- ดยุคฟรีดริชที่ 1 แห่งออสเตรีย หรือรู้จักกันในนาม ฟรีดริชผู้หล่อเหลา (Friedrich the Handsome; (Friedrich der Schöne); พ.ศ. 1851 – พ.ศ. 1873 (1308–1330) ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิลุดวิกที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1868
- ดยุคลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งออสเตรีย; พ.ศ. 1851 – พ.ศ. 1869 (1308–1326)
- ดยุคอัลเบรชท์ที่ 2 แห่งออสเตรีย; ดยุคแห่งวอร์เดอร์เอิสเตอร์ไรค์ (Vorderösterreich) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1869 – พ.ศ. 1901 (1326–1358), และดยุคแห่งออสเตรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1873 – พ.ศ. 1901 (1330–1358), และดยุคแห่งคารินเธีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1878 – พ.ศ. 1901 (1335-1358)
- ออตโตผู้ร่าเริง
Otto the Jolly (der Fröhliche) ปกครองพร้อมกับดยุคอัลเบรชท์; ดยุคแห่งออสเตรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1873 – พ.ศ. 1882 (1330–1339) และดยุคแห่งคารินเธียตั้งแต่ปี พ.ศ. 1906 - ดยุครูดอล์ฟที่ 4 แห่งออสเตรีย รู้จักกันในนาม รูดอล์ฟผู้ก่อตั้ง (Rudolf the Founder (der Stifter)); ดยุคแห่งออสเตรียและสตีเรียตั้งแต่ปีพ.ศ. 1901 – พ.ศ. 1908 (1358–1365), และดยุคแห่งทีรอล ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1906
หลังจากที่ดยุครูดอล์ฟที่ 4 เสด็จสวรรคต พระอนุชาของพระองค์ ดยุครูดอล์ฟที่ 3 และ ดยุคลีโอโพลด์ที่ 3 แห่งออสเตรีย ได้ทรงปกครองแผ่นยดินฮับส์บูร์กด้วยกันตั้งแต่ปีพ.ศ. 1908 – พ.ศ. 1922 (1365 – 1379), ขณะที่ทรงราชย์ ได้มีการแยกแผ่นดินออกเป็น 2 อาณาจักรตามสนธิสัญญานอยเบิร์ก (Treaty of Neuberg) โดยดยุคอัลเบรชท์ทรงปกครองแคว้นออสเตรีย (ทำให้มีการก่อตั้งฮับส์บูร์กสายอัลเบอร์ไทน์ (Albertine Line) ส่วนดยุคลีโอโพลด์ได้ทรงปกครองแคว้นสตีเรีย, คานิโอล่า, คารินเธีย, วินดิช มาร์ช, ทีรอล, และเฟอร์เธอร์ ออสเตรีย (ต่อมามีการก่อตั้งฮับส์บูร์กสายลีโอโพลดีน Leopoldine Line)…
[แก้] ฮับส์บูร์กสายอัลเบอร์ไทน์: ดยุคแห่งออสเตรีย
- ดยุคอัลเบรชท์ที่ 3 แห่งออสเตรีย; ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1929 – พ.ศ. 1938 (1386-1395)
- ดยุคอัลเบรชท์ที่ 4 แห่งออสเตรีย; พ.ศ. 1938 – พ.ศ. 1947 (1395–1404)
- ดยุคอัลเบรชท์ที่ 5 แห่งออสเตรีย; พ.ศ. 1947 – พ.ศ. 1982 (1404–1439) ภายหลังทรงได้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1981 โดยทรงฉลองปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิอัลเบรชท์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- ลาดิสเลาส์ โพสธูมัส พ.ศ. 1987 – พ.ศ. 1990 (1444 – 1457)
[แก้] ฮับส์บูร์กสายลีโอโพลดีน: ดยุคแห่งสตีเรีย, คารินเธีย และทีรอล
- ดยุคลีโอโพลด์ที่ 3 แห่งออสเตรีย, ดยุคแห่งสตีเรีย, คารินเธีย, ทีรอล, และเฟอร์เธอร์ ออสเตรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1908 – พ.ศ. 1929 (1365-1386) ทรงสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิเซ็มแพ็ช
- ดยุควิลเฮล์มแห่งออสเตรีย; ดยุคแห่งอินเนอร์ ออสเตรีย, คารินเธีย และสตีเรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1929 – พ.ศ. 1949 (1386–1406)
- ดยุคลีโอโพลด์ที่ 4 แห่งออสเตรีย, ดยุคแห่งออสเตรีย และอินเนอร์ ออสเตรียตั้งแต่ปีพ.ศ. 1949 – พ.ศ. 1954 (1406-1411), ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งเฟอร์เธอร์ ออสเตรียในปีพ.ศ. 1934, ดยุคแห่งทีรอลตั้งแต่ปีพ.ศ. 1938 – พ.ศ. 1945
[แก้] สายลีโอโพลดีน-อินเนอร์ ออสเตรีย
- เอิร์นส์ผู้แข็งแกร่ง
Ernst the Iron (der Eiserne) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1949 – พ.ศ. 1967 (1406–1424) ทรงเป็นดยุคแห่งอินเนอร์ ออสเตรียจนถึงปีพ.ศ. 1954 - ดยุคฟรีดริชที่ 5 แห่งออสเตรีย; พ.ศ. 1983 – พ.ศ. 2036 (ค.ศ. 1440 – ค.ศ. 1493) ต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระนามฟรีดริชที่ 3 ในปีพ.ศ. 1983 ดยุคแห่งอินเนอร์ ออสเตรียตั้งแต่ปีพ.ศ. 1967 และทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดีลาดิสเลาส์ โพสธูมัสแห่งโบฮีเมีย (ระหว่างปีพ.ศ. 1982 – พ.ศ. 1995 (1439–1446))
- ดยุคอัลเบรชท์ที่ 6 แห่งออสเตรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1989 – พ.ศ. 2006 (1446–1463)
[แก้] สายลีโอโพลดีน-ทีรอล
- ดยุคฟรีดริชที่ 4 แห่งออสเตรีย ดยุคแห่งทีรอล และเฟร์เธอร์ ออสเตรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1945 – พ.ศ. 1982 (1402–1439)
- ดยุคซีจิสมันด์แห่งออสเตรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1982 – พ.ศ. 1989 (1439–1446)
[แก้] การรวมแผ่นดินคืนของฮับส์บูร์ก
เนื่องจากดยุคซีจิสมันด์ทรงไม่มีพระราชบุตรเลย และทรงรับสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นพระราชบุตรบุญธรรม เมื่อสิ้นรัชกาลของดยุคซีจิสมันด์แล้ว พระราชโอรสบุญธรรมก็ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาบุญธรรมเป็นดยุค และเมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระจักรพรรดิ พระราชบิดาแล้ว พระองค์ก็ทรงสืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อ และในการที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นองค์พระประมุข 2 ประเทศนี่เอง จึงทรงรวมแผ่นดินฮับส์บูร์ก 2 ส่วนเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง โดยพระองค์ทรงแต่งตั้งพระองค์เองเป็นดยุคแห่งออสเตรียตั้งแต่ปีพ.ศ. 2028 – พ.ศ. 2033
[แก้] พระมหากษัตริย์แห่งเยอรมัน และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อตอนรวมแผ่นดินใหญ่ฮับส์บูร์ก
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
รูดอล์ฟที่ 1 | พ.ศ. 1816 – พ.ศ. 1834 (ค.ศ. 1273 – ค.ศ. 1291) |
|
อัลเบรชท์ที่ 1 | พ.ศ. 1841 – พ.ศ. 1851 (ค.ศ. 1298 – ค.ศ. 1308) |
|
อัลเบรชท์ที่ 2 | พ.ศ. 1981 – พ.ศ. 1982 (ค.ศ. 1438 – ค.ศ. 1439) |
|
ฟรีดริชที่ 3 | พ.ศ. 1983 – พ.ศ. 2036 (ค.ศ. 1440 – ค.ศ. 1493) |
[แก้] ฮับส์บูร์กสเปน และฮับส์บูร์กโปรตุเกส: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปน และสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโปรตุเกส
- สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 1 แห่งคาสตีล, พระราชโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นผู้ก่อตั้งสายสกุลฮับส์บูร์กสเปน ในปีพ.ศ. 2039 โดยทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถฮวนนาแห่งคาสตีล เมื่อพระองค์ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อปีพ.ศ. 2049 ก็ทรงมอบบัลลังก์คาสตีลในการรวมชาติสเปนโดยพระราชโอรสของพระองค์
- สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปน พ.ศ. 2059 – พ.ศ. 2099 (1516–1556), ผู้ทรงรวมสายสกุลฮับส์บูร์กสเปน และสายสกุลฮับส์บูร์กออสเตรียไว้ด้วยกัน
- สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปน พ.ศ. 2099 – พ.ศ. 2141 (1556–1598), ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 1 แห่งโปรตุเกส ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2123 และทรงเป็นพระมหากษัติรย์ พระราชสวามีแห่งอังกฤษ (King Consort of England) ในนาม ฟิลลิปที่ 1 ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2097
- สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 3 แห่งสเปน และทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 2 แห่งโปรตุเกส ตั้งแต่พ.ศ. 2141 – พ.ศ. 2164 (1598–1621)
- สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 4 แห่งสเปน พ.ศ. 2164 – พ.ศ. 2208 (1621–1665) และทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลลิปที่ 3 แห่งโปรตุเกส ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2164 – พ.ศ. 2183 (1621–1640) โดยทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโปรตุเกสองค์สุดท้ายของสายสกุลฮับส์บูร์กสเปน-โปรตุเกส
- สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลอสที่ 2 แห่งสเปน พ.ศ. 2208 – พ.ศ. 2243 (1665–1700)
สายสกุลฮับส์บูร์กสเปนได้สิ้นสุดลงหลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน: แกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี
สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ ซึ่งทรงเป็นแกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี ได้ทรงมอบราชบัลลังก์ทัสคานีให้กับพระราชโอรสองค์โต อาร์คดยุคลีโอโพลด์ ตั้งแต่บัดนั้น ราชรัฐทัสคานีได้อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จนถึงการรวมชาติอิตาลี
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
ฟรานซ์ที่ 1 | พ.ศ. 2288 – พ.ศ. 2308 (ค.ศ. 1745 – ค.ศ. 1765) |
|
โจเซฟที่ 2 | พ.ศ. 2308 – พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1765 – ค.ศ. 1790) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 3 | ครั้งที่ 1: พ.ศ. 2333 – พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1800) ครั้งที่ 2: พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1814 – ค.ศ. 1824) |
|
ลีโอโพลด์ที่ 2 | พ.ศ. 2367 – พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1824 – ค.ศ. 1859) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 4 | พ.ศ. 2402 – พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1859 – ค.ศ. 1908) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 5 | พ.ศ. 2451 – พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1908 – ค.ศ. 1942) |
|
เฟอร์ดินานด์ที่ 6 | พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1942 – ค.ศ. 1948) |
|
ก๊อทเฟรด | พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1948 – ค.ศ. 1984) |
|
ลีโอโพลด์ ฟรานซ์ | พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1984 – ค.ศ. 1993) |
|
ซีจิสมันด์ | พ.ศ. 2536 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1993) |
ดูเพิ่มที่ ลำดับการสืบสันตติวงศ์ราชบัลลังก์ทัสคานี
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน และราชสกุลฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน: อาร์คดยุคแห่งออสเตรีย-เอสต์
พระราชอิสริยยศแห่งออสเตรีย-เอสต์ (Austria-Este) เป็นพระราชอิสริยยศที่เกิดจากการอภิเษกสมรสของอาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ คาร์ล พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซ่าแห่งออสเตรีย ที่ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย เบียทริซ ริคคิอาร์ด้าแห่งเอสต์ องค์รัชทายาทหญิงแห่งแคว้นโมเดน่าและเรจจิโอ้ โดยหลังจากการอภิเษกสมรส มีการรวมพระราชอิสริยยศออสเตรีย และเอสต์ รวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงได้มีการก่อตั้งราชสกุล หรือพระราชอิสริยยศออสเตรีย-เอสต์ขึ้น และได้มีพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ทรงดำรงพระราชอิสริยยศนี้ตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา…
รูป | พระนาม | รัชกาล | ราชสกุล |
อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ คาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2314 – พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1771 – ค.ศ. 1814) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
ฟรานเซสโก้ที่ 4 | พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1814 – ค.ศ. 1846) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
ฟรานเซสโก้ที่ 5 | พ.ศ. 2389 – พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1846 – ค.ศ. 1875) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2418 – พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1875 – ค.ศ. 1914) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน | |
อาร์คดยุคคาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1922) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน | |
อาร์คดยุคโรเบิร์ตแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1922 – ค.ศ. 1996) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
อาร์คดยุคลอเรนซ์แห่งออสเตรีย-เอสต์ เจ้าฟ้าชายแห่งเบลเยียม | พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1996) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน และราชสกุลฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน: ดยุคแห่งโมเดน่า
แคว้นโมเดน่า ได้ปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์ก หลังจากการประชุมที่เวียนนา มีมติให้ยกดินแดนโมเดน่าให้กับราชวงศ์ฮับส์บูร์ก โดยได้ปกครองจนถึงการรวมชาติอิตาลี…
รูป | พระนาม | รัชกาล | ราชสกุล |
ฟรานเซสโก้ที่ 4 | พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1814 – ค.ศ. 1846) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
ฟรานเซสโก้ที่ 5 | พ.ศ. 2389 – พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1846 – ค.ศ. 1875) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2418 – พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1875 – ค.ศ. 1914) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน | |
อาร์คดยุคคาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1922) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน | |
อาร์คดยุคโรเบิร์ตแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1922 – ค.ศ. 1996) |
ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน | |
อาร์คดยุคลอเรนซ์แห่งออสเตรีย-เอสต์ เจ้าฟ้าชายแห่งเบลเยียม | พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1996) |
ฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน: สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก
สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ทรงเชื้อเชิญ อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ แม็กซีมีเลียน พระโอรสองค์รองในอาร์คดยุคฟรานซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย และทรงเป็นพระราชอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ให้ไปครองราชย์บัลลังก์อิมพีเรียลแห่งเม็กซิโก โดยการครองบัลลังก์นี้ นำไปสู่การก่อตั้งจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 พระองค์และพระชายา เจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเม็กซิโก แต่ในขณะที่ทรงราชย์นั้น ไม่ค่อยราบรื่นดีนัก เพราะเนื่องจากมีผู้ที่ต่อต้านพระองค์อยู่มากมาย จนในที่สุด ก็ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ โดยคณะปฏิวัติสาธารณรัฐนิยม พระองค์ทรงถูกประหารชีวิตเมื่อปีพ.ศ. 2410 โดยผู้นำปฏิวัติเบนิโต ยัวเรซ (ภายหลังได้เป็นประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก) ส่วนสมเด็จพระจักรพรรดินีมเหสี ก็ทรงเสด็จอพยพกลับมาตุภูมิ...
รูป | จักรพรรดิ | รัชกาล |
แม็กซีมีเลียนที่ 1 | พ.ศ. 2407 – พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1864 – ค.ศ. 1867) |
[แก้] ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก: สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 18 ออสเตรียได้ส่งอาร์คดัชเชสหลายพระองค์ไปอภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศส เพื่อผลประโยชน์ทางการทูต และพันธมิตรระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เพื่อรักษาสมดุลในจักรวรรดิ หลังจากที่นโปเลียนได้รุกรานออสเตรีย และได้ยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ลง
[แก้] สายฮับส์บูร์ก
รูป | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
เจ้าหญิงเอลีนอร์แห่งฮับส์บูร์ก, เจ้าหญิงแห่งคาสตีล | พ.ศ. 2041 – พ.ศ. 2101 (ค.ศ. 1498 – ค.ศ. 1558) |
สมเด็จพระราชาธิบดีมานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีมานูเอลเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงไปอภิเษกสมรสอีกครั้งกับสมเด็จพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส |
[แก้] สายฮับส์บูร์ก-ออสเตรีย
รูป | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์คดัชเชสเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2097 – พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1554 – ค.ศ. 1592) |
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส |
[แก้] สายฮับส์บูร์ก-สเปน
รูป | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
เจ้าหญิงแอนน์แห่งสเปน | พ.ศ. 2144 – พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1601 – ค.ศ. 1666) |
สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส | |
เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่าแห่งสเปน | พ.ศ. 2181 – พ.ศ. 2226 (ค.ศ. 1638 – ค.ศ. 1683) |
สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน
รูป | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์คดัชเชสมาเรีย แอนโตเนียแห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2298 – พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1755 – ค.ศ. 1793) |
สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส |
[แก้] ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน: สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส
รูป | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2334 – พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1791 – ค.ศ. 1847) |
สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส |
หลังจากนโปเลียนถูกขับออกจากราชบัลลังก์ พระองค์ก็เสด็จกลับกรุงเวียนนา และนอกจากพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีมเหสีแห่งฝรั่งเศสแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นดัชเชสแห่งปาร์มาด้วย (Duchess of Parma) โดยแคว้นปาร์มาได้ถูกโอนให้เป็นแผ่นดินของราชวงศ์ฮับส์บูร์กหลังจากการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) แต่อยู่ได้ไม่นาน ก็ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรอิตาลี ในเหตุการณ์การรวมชาติอิตาลี (Italian unification)
[แก้] ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก: สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
[แก้] สายฮับส์บูร์ก
รูป | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
เจ้าหญิงเอลีนอร์แห่งฮับส์บูร์ก, เจ้าหญิงแห่งคาสตีล | พ.ศ. 2041 – พ.ศ. 2101 (ค.ศ. 1498 – ค.ศ. 1558) |
สมเด็จพระราชาธิบดีมานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีมานูเอลเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงไปอภิเษกสมรสอีกครั้งกับสมเด็จพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส | |
เจ้าหญิงแคเธอรีนแห่งฮับส์บูร์ก, เจ้าหญิงแห่งสเปน | พ.ศ. 2050 – พ.ศ. 2121 (ค.ศ. 1507 – ค.ศ. 1578) |
สมเด็จพระราชาธิบดียูฮาวที่ 3 แห่งโปรตุเกส |
[แก้] สายฮับส์บูร์ก-ออสเตรีย
รูป | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์คดัชเชสมารี แอนน์แห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2226 – พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1683 – ค.ศ. 1754) |
สมเด็จพระราชาธิบดียูฮาวที่ 5 แห่งโปรตุเกส |
[แก้] ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน
รูป | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2340 – พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1797 – ค.ศ. 1826) |
สมเด็จพระราชาธิบดีเปโตรที่ 4 แห่งโปรตุเกส (สมเด็จพระจักรพรรดิเปโตรที่ 1 แห่งบราซิล) |
[แก้] สถานที่ฝังพระบรมศพ และพระศพ
พระบรมศพ ของสมเด็จพระจักรพรรดิ สมเด็จพระจักรพรรดินี และพระบรมวงศานุวงศ์ของราชสกุลฮับส์บูร์ก, ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน, และฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน จะนำไปฝังไว้ที่ วิหารฮับส์บูร์ก กรุงเวียนนา
[แก้] ดูเพิ่ม
- จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- จักรวรรดิออสเตรีย
- จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- ราชอาณาจักรฮังการี
- แผนผังราชวงศ์ฮับส์บูร์ก
- แผนผังราชวงศ์ลอร์เรน
- ฮับส์บูร์กสายลีโอโพลด์เดียน
- ฮับส์บูร์กสายอัลเบอร์ไทน์
- ฮับส์บูร์กสเปน
- ฮับส์บูร์ก-โปรตุเกส
[แก้] อ้างอิง
- Brewer-Ward, Daniel A. The House of Habsburg: A Genealogy of the Descendants of Empress Maria Theresia. Clearfield, 1996.
- Evans, Robert J. W. The Making of the Habsburg Monarchy, 1550-1700: An Interpretation. Clarendon Press, 1979.
- McGuigan, Dorothy Gies. The Habsburgs. Doubleday, 1966.
- Wandruszka, Adam. The House of Habsburg: Six Hundred Years of a European Dynasty. Doubleday, 1964 (Greenwood Press, 1975).
- Crankshaw, Edward. The Fall of the House of Habsburg. Sphere Books Limited, London, 1970. (first published by Longmans in 1963)
- Palmer Alan. "Napoleón and Marie Louise" Ariel Mexico 2003
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- "Erzherzog Dr. Otto von Habsburg" (Autorisierte Ehrenseite) in German
- Habsburg Biographies
- Habsburg Resource Centre on SurnameWeb
- http://www.ac.wwu.edu/~stephan/Rulers/hapsburg3.html
- Genealogical tree of the house of Habsburg (up until Maria Theresia)
- An Online Gotha - House of Habsburg-Lothringen (Maria Theresia's decendants}
- The Hapsburg Monarchy (Wickham Steed, 1913)) eLibrary Austria Project full text (ebook)
- Genealogy of the Habsburgs from Genealogy.eu
- Hier finden Sie den Link zur Internet-Videoplattform "Youtube", auf welcher der Beitrag der Nachrichtensendung "Zeit im Bild" des österreichischen Republiksfernsehens abrufbar ist
- Auch in der "großen weiten Welt" finden sich Nachrichten über unser Projekt - sogar auf US-amerikanischen und indischen (!) Seiten
- Nicht sonderlich seriös für ein angebliches Qualitätsblatt - im Vorfeld schreibt die deutsche "Die Welt" vom "mächtigen Häufchen" und spielt damit die Zahl der Monarchisten in Österreich künstlich herunter
- Habsburg: Restoration?
- http://in.news.yahoo.com/071112/43/6n4wh.html