ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL ) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน)
[แก้] ประวัติศาสตร์
ความเป็นไปได้ของต้นกำเนิดร่วมของภาษาต่าง ๆ เหล่านี้ เสนอเป็นครั้งแรกโดย เซอร์ วิลเลียม โจนส์ ซึ่งได้สังเกตเห็นความเหมือนกันระหว่างภาษาที่เก่าแก่ที่สุด 4 ภาษาที่รู้จักในยุคนั้น คือ ภาษาละติน ภาษากรีก ภาษาสันสกฤต และ ภาษาเปอร์เซีย การเปรียบเทียบภาษาเหล่านี้ และภาษาเก่าแก่อื่น ๆ อย่างมีระบบ โดยฟรานซ์ บอปป์ สนับสนุนทฤษฎีนี้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิชาการเคยเรียกภาษากลุ่มนี้ว่า "ภาษากลุ่มอินโด-เจอร์เมนิก" (Indo-Germanic) หรือ "อารยัน" (Aryan) อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏชัดเจนว่า ความคล้ายคลึงนี้ มีอยู่ในภาษาของยุโรปส่วนใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อให้ครอบคลุมมากขึ้นเป็น อินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ตัวอย่างเช่น มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่าง ภาษาสันสกฤต และ ภาษาย่อยของภาษาลิทัวเนียและภาษาลัตเวียที่พูดในสมัยก่อน
ภาษาบรรพบุรุษที่เป็นต้นกำเนิด (ที่ได้สืบสร้างขึ้นมาใหม่) เรียกว่าภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, PIE). มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นถิ่นกำเนิด (เรียกว่าอูร์เฮย์มัต "Urheimat") ที่ตั้งที่เป็นไปได้มากที่สุดในปัจจุบันคือที่ราบทางเหนือของทะเลดำและทะเลแคสเปียน (ตามทฤษฎีของเคอร์แกน) หรืออนาโตเลีย (ตามทฤษฎีของโคลิน เร็นฟริว) ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีของเคอร์แกนสักจะตั้งอายุของภาษาต้นกำเนิดเป็นประมาณ 4000 ปีก่อน ค.ศ. ส่วนผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีของถิ่นกำเนิดในอนาโตเลียมักจะกำหนดอายุของภาษานี้เป็นช่วงหลายสหัสวรรษก่อนหน้านี้ (อินโด-ฮิตไตต์)
[แก้] กลุ่มย่อย
กลุ่มย่อยต่าง ๆ ของตระกูลอินโด-ยูโรเปียนรวมถึง (ตามลำดับตามประวัติศาสตร์ของการปรากฏครั้งแรก) :
- ภาษากลุ่มอนาโตเลีย — แขนงที่มีหลักฐานปรากฏเก่าแก่ที่สุด จากช่วงศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสตกาล; สูญพันธุ์ ที่เด่นที่สุดคือภาษาของฮิตไตต์
- ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน — รวมถึงภาษาสันสกฤต, มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่ สหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล, อเวสถาน และภาษาเปอร์เซีย
- ภาษากรีก — มีหลักฐานภาษาไมซิเนียนที่ไม่สมบูรณ์ จากศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล; โฮเมอร์ มีอายุในช่วง ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล. ดูประวัติศาสตร์ของภาษากรีก.
- ภาษากลุ่มอิตาลิก — รวมถึงภาษาละติน รวมถึงภาษาที่สืบมาจากภาษานี้ คือภาษากลุ่มโรมานซ์ ปรากฏตั้งแต่ สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล.
- ภาษากลุ่มเคลติก — คำจารึกภาษาโกลิช (Gaulish) มีอายุตั้งแต่ ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล; เอกสารภาษาไอริชโบราณจากคริสต์ศตวรรษที่ 6
- ภาษากลุ่มเจอร์เมนิก (รวมถึงภาษาอังกฤษ) — หลักฐานที่ปรากฏครั้งแรกคือคำจารึกอักษรรูนจากประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 2, เอกสารที่มีเรื่องราวที่เก่าแก่ทีสุดเป็นภาษาโกธิค, คริสต์ศตวรรษที่ 4
- ภาษาอาร์เมเนีย — มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5
- ภาษากลุ่มโตคาเรียน — ภาษาสูญพันธุ์ของชาวโตคาเรียน ปรากฏ 2 ภาษาย่อย มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6โดยประมาณ
- ภาษากลุ่มบัลโต-สลาวิก — รวมถึงภาษากลุ่มบอลติกและภาษากลุ่มสลาวิก; ภาษากลุ่มสลาวิกมีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เอกสารที่เก่าแก่ที่สุดเป็นภาษา Old Church Slavonic, คริสต์ศตวรรษที่ 9; ภาษากลุ่มบอลติกมีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14
- ภาษาแอลเบเนีย — มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16; มีการเสนอความสัมพันธ์กับภาษาอิลเลเรียน ดาเซียน หรือ เธรเซียน
นอกจาก 10 แขนงที่ได้กล่าวไว้แล้ว ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่สูญพันธุ์ที่รู้จักน้อยมาก:
- ภาษากลุ่มอิลลีเรียน, สูญพันธุ์ ไม่สมบูรณ์ คาดว่าสัมพันธ์กับภาษาเมสซาเปียน มีการเสนอความสัมพันธ์กับภาษาแอลเบเนียบ้าง
- ภาษาเวเนติก, สูญพันธุ์ ไม่สมบูรณ์. ใกล้เคียงกับอิตาลิก
- ภาษาเมสซาเปียน, สูญพันธุ์ ไม่สมบูรณ์, ภาษายังอ่านไม่ออก
- ภาษาฟรีเจียน — ภาษาสูญพันธุ์ของฟรีเจียโบราณ, ไม่สมบูรณ์
- ภาษาไปโอเนีย, สูญพันธุ์ ไม่สมบูรณ์.
- ภาษาเธรเซียน — สูญพันธุ์ ไม่สมบูรณ์.
- ภาษาดาเซียน — สูญพันธุ์ ไม่สมบูรณ์.
- ภาษามาซิโดเนียโบราณ ตามปรากฏ ใกล้เคียงกับภาษากรีก ภาษาฟรีเจียน และอาจใกล้เคียงกับภาษาเธรเซียนด้วย
นอกจากนี้ ยังมีภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ในปัจจุบัน
|
---|
อินโด-ยูโรเปียน • จีน-ทิเบต • ไนเจอร์-คองโก • แอฟโร-เอเชียติก • ออสโตรนีเซียน • ดราวิเดียน • อัลตาอิก • ไท-กะได • ออสโตรเอเชียติก • ยูราลิก |