See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม - วิกิพีเดีย

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

ตราประจำโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
พลํ สงฺฆฺสส สามคฺคี
(สามัคคีคือพลัง)

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมเป็นสถานศึกษาของรัฐประจำจังหวัดเชียงราย[1] [2] ก่อตั้งขึ้นโดยพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เมื่อ พ.ศ. 2451 ตรงกับปีที่สี่สิบเอ็ดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมมีชื่อว่า "โรงเรียนประจำจังหวัดเชียงรายสามัคคีวิทยาคม" จัดเป็นสถานศึกษาอันดับที่ 22 ของประเทศไทย อันดับที่ 4 ของภาคเหนือ และอันดับที่ 1 ของจังหวัดเชียงราย

ปัจจุบันจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษารูปแบบสหศึกษา เป็นสถานมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และเป็นส่วนราชการในบังคับของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ[3]

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมได้รับยกย่องและเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือในสาธารณะอย่างกว้างขวาง จัดเป็นสถานศึกษาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในแต่ละปีจึงมีบุคคลจำนวนมหาศาลสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นนักเรียนของสถานศึกษา ซึ่งสามารถรับได้เพียงหยิบมือหนึ่งเท่านั้น[4]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ดูบทความหลักที่ ประวัติโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

ย้อนหลังไปประมาณกว่าหนึ่งร้อยปี ราชการส่วนจังหวัดเชียงรายโดยพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย รับพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศจัดตั้งโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมขึ้นใน พ.ศ. 2451 เพื่อ 1) ให้กุลบุตรและกุลสตรีทั้งหลายได้รับการศึกษาโดยทั่วถึงกันโดยไม่แบ่งเหล่ากำเนิด เพศ ศาสนา และภูมิลำเนา 2) พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ และ 3) ป้องปัดภัยจากการล่าอาณานิคม[5]

เมื่อแรกได้ชื่อว่า “โรงเรียนประจำจังหวัดเชียงรายสามัคคีวิทยาคม” ด้วยเหตุที่ถือกำเนิดจากความพร้อมอกพร้อมใจและเห็นดีเห็นงามร่วมกันของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาชนเชียงรายทั้งปวง ที่ตั้งแรกคือที่ดินประมาณหนึ่งไร่บริเวณเชิงดอยวัดงำเมือง จัดการสอนระดับประถมศึกษาสายสามัญ รับทั้งนักเรียนชายและหญิง และทั้งฆราวาสและสมณเพศ[6]

พ.ศ. 2478 บรรดาผู้ปกครองได้ร้องขอต่อทางราชการให้จัดสร้างที่ทำการสถานศึกษาใหม่ ด้วยสถานที่ขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยแก่การคมนาคม นายข่วง สุคนธสรรค์ รักษาการครูใหญ่ของสถานศึกษาจึงประสานกับนายบุญสิงห์ บุญค้ำ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย จัดซื้อที่ดินจากนายเรย์ ดับเบิลยู. แบตแทลล์ (Ray W. Battelle) หัวหน้าคณะมิชชันนารีชาวอเมริกาประจำจังหวัด ณ บริเวณวัดป่าแดง ถนนบรรพปราการ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และที่ดินข้างเคียงอีกจำนวนหนึ่ง ประกอบเข้ากับที่ดินที่มีผู้บริจาคให้อีกจำนวนหนึ่ง สถาปนาอาคารถาวรจนแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2480 และพระพนมนครานุรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานในพิธีเปิดอาหารหลักเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481[7]

ในยุคถัดมา สถานศึกษาได้พัฒนาตนในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการด้านการศึกษาของสังคม ตลอดจนได้รับการยกย่องและสดุดีจากสถาบันต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศเรื่อยมา กระทั่ง พ.ศ. 2551 มีอายุครบหนึ่งร้อยปี จึงได้จัดงานเฉลิมฉลองขึ้น ระหว่างวันที่ 9-20 กุมภาพันธ์ 2551 ใช้ชื่องานว่า "ร้อยใจ ร้อยไมตรี 100 ปี สามัคคีวิทยาคม พ.ศ. 2551" โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภชอาคารหนึ่งร้อยปีของสถานศึกษาด้วย

ปัจจุบันสถานศึกษายังคงจัดและส่งเสริมการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้แก่ประชาชนทั่วไป และมีวิวัฒนาการโดยไม่ขาดสาย

[แก้] หัวหน้าสถานศึกษา

ครูใหญ่
รายชื่อครูใหญ่ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง เหตุที่พ้นตำแหน่ง
1. เรืออากาศตรีจิตร พ.ศ. 2457พ.ศ. 2459 (สองปี) -
2. เรืออากาศตรีปุย ยูววรรณ พ.ศ. 2459พ.ศ. 2465 (หกปี) -
3. เรืออากาศตรีเชื้อ กุศลวงศ์ พ.ศ. 2465พ.ศ. 2468 (สามปี) -
4. เรืออากาศตรีอำนวย มฆัษเฐียร พ.ศ. 2468พ.ศ. 2470 (สองปี) -
5. เรืออากาศตรีขุน มีนะนันท์ พ.ศ. 2470พ.ศ. 2472 (สองปี) (วารที่หนึ่ง)
พ.ศ. 2473พ.ศ. 2475 (สองปี) (วาระที่สอง)
-
6. เรืออากาศตรีด้าย บูรณะกร พ.ศ. 2472พ.ศ. 2473 (หนึ่งปี) -
7. เรืออากาศตรีอินทรทัต สิโรรส พ.ศ. 2475พ.ศ. 2478 (สามปี) -
อาจารย์ใหญ่
รายชื่ออาจารย์ใหญ่ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง เหตุที่พ้นตำแหน่ง
8. นายข่วง สุคนธสรรค์ พ.ศ. 2478พ.ศ. 2481 (สี่ปี) -
9. นายอุทิศ ปัจฉิมาภิรมย์ พ.ศ. 2481พ.ศ. 2484 (หกปี) ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน[8]
10. นายโสภิศ สุขเกษม พ.ศ. 2484พ.ศ. 2496 (สิบสองปี) -
11. นายประสิทธิ์ ธนะปัญโญ พ.ศ. 2496พ.ศ. 2505 (เก้าปี) ย้ายไปเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน[9]
12. นายม้วน ธนะชัยขันธ์ พ.ศ. 2505พ.ศ. 2512 (เจ็ดปี) -
13. นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ พ.ศ. 2512พ.ศ. 2520 (แปดปี) ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่[10]
ผู้อำนวยการ
รายชื่อผู้อำนวยการ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง เหตุที่พ้นตำแหน่ง
14. นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ พ.ศ. 2520พ.ศ. 2527 (เจ็ดปี) ย้ายไปรักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชียงราย[11]
15. นายประสิทธิ์ แสนไชย พ.ศ. 2527พ.ศ. 2530 (สามปี) -
16. นายอรุณา อาษา พ.ศ. 2530พ.ศ. 2532 (สามปี) -
17. นายบุญส่ง ไชยลาม พ.ศ. 2532พ.ศ. 2537 (ห้าปี) -
18. นายธารา จาตุประยูร พ.ศ. 2537พ.ศ. 2543 (หกปี) เกษียณอายุราชการ[12]
19. นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ พ.ศ. 25439 มกราคม พ.ศ. 2550 (หกปีเก้าวัน) ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเชียงราย[13]
20. นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ 9 มกราคม พ.ศ. 255025 มกราคม พ.ศ. 2551 (หนึ่งปีสิบเจ็ดวัน) พ้นจากความเป็นข้าราชการครู[14]
21. นายกิตติชัย ทองปัญญา 25 มกราคม พ.ศ. 2551—ปัจจุบัน -

[แก้] หมายเหตุ

  1. นายปรีชา พัวนุกลนนท์ ลาออกจากการเป็นข้าราชการตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาประจำจังหวัดเชียงรายในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2551[14]
  2. นายกิตติชัย ทองปัญญา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาลำดับที่ 1 รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ชื่อ ผลงาน ปีที่สำเร็จการศึกษา
วงการบันเทิง
ณัฐกานต์ ล้อนพรัตน์, นางสาว นางแบบนิตยสาร นางแบบโฆษณา นางแบบสินค้า[15] พ.ศ. 2549
ณิชมล องคะสุวรรณ, นางสาว[16] นักดนตรีและนักร้อง
- รางวัลชนะเลิศ ประเภทเปียโนเดี่ยวรุ่นกลางพร้อมการขับร้อง ในเทศกาลดนตรีแห่งประเทศไทยของยามาฮ่า พ.ศ. 2548 (Yamaha Thailand Music Festival 2005) รับประทานถ้วยรางวัลจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
- รางวัลระดับเหรียญทอง ประเภทเปียโนเดี่ยวรุ่นกลาง ในเทศกาลดนตรีแห่งประเทศไทยของยามาฮ่า พ.ศ. 2547 (Yamaha Thailand Music Festival 2004)
- รางวัลระดับเหรียญเงิน ประเภทเปียโนเดี่ยวรุ่นกลาง ในเทศกาลดนตรีแห่งประเทศไทยของยามาฮ่า พ.ศ. 2545 (Yamaha Thailand Music Festival 2003)
พ.ศ. 2551
ธิติรัตน์ โรจน์แสงรัตน์, นางสาว - ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2550 [17]

- นักร้องประจำวง "ซียูแบนด์" (CU Band) วงดนตรีสากลแห่งสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[18]

พ.ศ. 2549
ศศิธร อินศิธร, นางสาว
ศศิธร อินศิธร
นักดนตรี นักร้อง นักแสดง นางแบบนิตยสาร นางแบบโฆษณา นางแบบสินค้า[19] [20] พ.ศ. 2550
เสาวลักษณ์ ด้วงทรง, นางสาว นางแบบนิตยสาร นางแบบโฆษณา นางแบบสินค้า นักแสดง พิธีกร พ.ศ. 2550
วงการศิลปกรรม
ถวัลย์ ดัชนี, นาย จิตรกร และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ประจำ พ.ศ. 2544 -
เดชา บุญค้ำ, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ภูมิสถาปนิก และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ประจำ พ.ศ. 2549 -
วงราชการ
ทัญพิสิษฐ์ ผ่องใส, ร้อยโท[21] - รองผู้บังคับกองร้อยทหารช่างสนามที่ 1 ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการ กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ (พ.ศ. 2546—ปัจจุบัน)

- นักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 40
- นักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 51

- นักเรียนนายร้อยของสถาบันยุทธนาการแห่งมลรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia Military Institute) สหรัฐอเมริกา ชั้นปี พ.ศ. 2548 โดยได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหม

- นักเรียนนายร้อยโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร (Defence Academy of United Kingdom) เมืองสวินดอน (Swindon) สหราชอาณาจักร โดยร่วมชั้นเรียนกับนักเรียนนายร้อยแห่งราชวิทยาลัยยุทธนาการแซนด์เฮิสต์ (Royal Military Academy Sandhurst) ชั้นปี พ.ศ. 2546

- เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาวรรณกรรมไทย ประจำ พ.ศ. 2537 โดยได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในวันเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2538

- นักเขียนและนักแต่งกลอนของวารสารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ นามปากกา "กวีราชวัลลภ"

- เจ้าของวรรณกรรมที่ชนะเลิศการประกวดการเขียนจดหมายเยาวชนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2537 หัวข้อ "จดหมายเล็กเพียงใด เดินทางไกลไปทั่วแดน" จัดโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ เผยแพร่ทั่วไป

-
บุษรินทร์ ติยะไพรัช วรพัฒนานันท์, นาง สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการของรัฐสภา (พ.ศ. 2543) [22] -
ประสิทธิ์ แสนไชย, นาย[23] - ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2535-2537)

- ผู้อำนวยการโรงเรียนจักรคำคณาทร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (พ.ศ. 2532-2535)

- ผู้อำนวยการโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2530-2532)

-
ยงยุทธ ติยะไพรัช, นาย[24] - โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสมัยรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

- ประธานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง (พ.ศ. 2551)

-
ยงยุทธ ฮงประยูร, พลตำรวจตรี อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย[25] -
เรือง เจริญไชย, นาย[26] - รองอธิบดีกรมสามัญศึกษา (พ.ศ. 2521—2527)

- เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2527—2531)

- รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2531—2533)

- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (พ.ศ. 2533—2535)

- ผู้อำนวยการศูนย์โบราณคดีและศิลปกรรมระดับภูมิภาคในองค์การรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organisation's Regional Centre for Archaeology and Fine Arts) (พ.ศ. 2535—ไม่ปรากฏ)

-
วิเศษ ศรีสุวรรณ์, นาย[27] - อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

- อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-

[แก้] สัญลักษณ์

พระพุทธมณีไมตรีรัตนะ
พระพุทธมณีไมตรีรัตนะ
  • คำขวัญ "พลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี" (แปลว่า "สามัคคีคือพลัง")
  • ปรัชญา "เรียนเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม นำพัฒนา"
  • ภาษิต "ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน"
  • ตรา อักษรย่อของสถานศึกษาประดิษฐ์ด้วยเกลียวเชือกอันคล้องกันโดยมั่นคงเสมือนความสามัคคี ลอยอยู่กลางหมู่เมฆเป็นการเชิดชูไว้ในที่สูง ประดิษฐานอยู่ใต้อุณาโลมเปล่งรัศมีเสมือนความรุ่งโรจน์ของสถานศึกษา ใต้อักษรมีปี พ.ศ. ที่ก่อตั้งสถานศึกษาและมีแถบคำขวัญของสถานศึกษา
  • ปฏิมา "พระพุทธมณีไมตรีรัตนะ" เดิมไม่มีนาม คงเรียกตามลักษณะทางศิลปกรรมว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 3" ต่อมา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานนามดังกล่าวแก่ปฏิมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เนื่องในการจัดงานร้อยใจ ร้อยไมตรี 100 ปีสามัคคีวิทยาคม พ.ศ. 2551 เพื่อเฉลิมการมีอายุครบร้อยปีของสถานศึกษาใน พ.ศ. 2551 พระพุทธมณีไมตรีรัตนะเป็นปฏิมาปางสมาธิ ประกอบขึ้นจากสัมฤทธิ์สีดำ มีขนาดประมาณเด็กโตนั่ง หน้าตักกว้างสิบเจ็ดนิ้ว ขัดสมาธิราบ ปลายองคุลีเสมอกันทุกองค์ ชายสังฆาฏิเป็นง่ามเขี้ยวตะขาบยาวจรดพระนาภี ปฏิมามีสิงหลักษณะ พรหมลักษณะ และพุทธลักษณะสอดตล้องกับความเชื่อทางศาสนา กรมศิลปากรคาดว่ามีอายุประมาณสี่ร้อยถึงห้าร้อยปีก่อน และสร้างขึ้นในสมัยเชียงแสน[28] เดิมจุฬาของปฏิมาสูญหายไป และได้สร้างใหม่ทดแทนในการจัดสร้างวัตถุทางศาสนาเนื่องในงานหนึ่งร้อยปีดังกล่าว ปัจจุบันเป็นพระประธานห้องประชุมอาคาร 1
  • เพลง "เพลงมาร์ชสามัคคีวิทยาคม" เรียกโดยย่อว่า "เพลงมาร์ชสามัคคีฯ" สภาข้าราชการครูของสถานศึกษาแต่งขึ้นใน พ.ศ. 2483 เพื่อใช้เป็นเพลงเชียร์กีฬา มีเนื้อหาเชิญชวนให้มาเล่นกีฬา และขอให้เล่นอย่างมีคุณธรรมและวิริยอุตสาหะเพื่อเชิดชูเกียรติยศของสถานศึกษา[29] ฟังเพลงมาร์ชฯ ได้ที่นี่

[แก้] พื้นที่ของสถานศึกษา

[แก้] อาณาบริเวณของสถานศึกษา

[แก้] พื้นที่ของสถานศึกษา

อาคาร 1 สถาปัตยกรรมสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
อาคาร 1 สถาปัตยกรรมสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมตั้งอยู่กลางใจเมืองเชียงราย และมีสถานบำบัดความต้องการพื้นฐานหลายประเภทของมนุษย์ตั้งอยู่รายรอบ โดยมีทั้งห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หอพักนักเรียน โรงแรม ตลอดจนวัดพุทธศาสนาและสถานที่ทางศาสนาของลัทธิอื่น

ส่วนพื้นที่ของสถานศึกษานั้น มีเนื้อที่ประมาณห้าสิบไร่ ห้างาน สองร้อยตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียนสิบสามหลัง และอาคารประกอบห้าหลัง เป็นห้องเรียนทั้งหมดเก้าสิบห้อง และห้องปฏิบัติการทางวิชาการสี่สิบห้อง อาคารหลักมีดังต่อไปนี้

  • อาคาร 1 ชั้นหนึ่งเป็นที่ตั้งของ สำนักผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ สำนักบริหารกิจการนักเรียน สำนักบริหารทั่วไป และสำนักบริหารวิชาการ ส่วนชั้นสองเป็นหอเกียรติยศของสถานศึกษา อาคาร 1 นี้เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอาคารทั้งปวง ตั้งแต่มีการจัดตั้งที่ทำการถาวรของสถานศึกษาใน พ.ศ. 2481 เป็นต้นมา ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์น้อยครั้ง สถาปัตยกรรมของอาคาร 1 เป็นแบบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บานประตูและบานหน้าต่างล้วนเป็นแบบพับสลักกลอน เป็นต้น
  • อาคาร 2 เป็นที่ตั้งของ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และห้องสมุดศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • อาคาร 3 เป็นที่ตั้งของ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี แผนกคอมพิวเตอร์ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลาง
  • อาคาร 4 เป็นที่ตั้งของ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และห้องสมุดภาษาไทย
  • อาคาร 5 เป็นที่ตั้งของ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์
  • อาคาร 6 เป็นที่ตั้งของ ห้องสมุดเจริญไชย หรือห้องสมุดกลาง สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • อาคาร 7 ชั้นบนเป็นที่ตั้งของ หอประชุมกลาง และชั้นล่างสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ถัดมาด้านหลังอาคาร 7 ได้แก่โรงพลศึกษา และธรรมสถาน สำหรับใช้ปฏิบัติธรรมของบุคลากร และเป็นที่จำวัตรของพระสงฆ์
  • อาคาร 8 เป็นที่ตั้งของ สำนักอำนวยการโครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ
  • อาคาร 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ภายในสถานศึกษาได้จัดให้มีสวนพฤกชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างอาคารต่าง ๆ โดยสวนประกอบด้วยไม้พื้นเมือง ไม้ดอก ไม้หอม แต่ไม่มีไม้ยืนต้น นอกจากนี้ยังมีโรงอาหารสองโรงตั้งอยู่หลังอาคาร 9 โรงหนึ่งมีชื่อว่า "โรงอาหารสินธานี" อีกโรงว่า "โรงอาหาร 2" ด้านหลังโรงอาหารทั้งสองโรงเป็นหมู่บ้านพักข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ทั้งนี้ด้านหลังสถานศึกษายังเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายและวิทยาลัยพาณิชยการเชียงรายอีกด้วย

[แก้] การศึกษา

[แก้] การจัดการศึกษา

การประชุมนักเรียนและคณาจารย์ในโครงการ "กิฟเต็ดภาษา" แห่งเขตการศึกษาภาคเหนือ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547
การประชุมนักเรียนและคณาจารย์ในโครงการ "กิฟเต็ดภาษา" แห่งเขตการศึกษาภาคเหนือ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547
  • โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1—6 (ช่วงชั้นที่ 3—4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน[30] แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล กับทั้งมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยังจัดโครงการพิเศษนอกเหนือไปจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางสมรรถภาพของผู้เรียน
  • ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1—3 จัดชั้นเรียนปีละสิบสองห้อง รวมทั้งระดับได้สามสิบหกห้อง ทั้งนี้ ในแต่ละปีแบ่งห้องเรียนตามการจัดการศึกษาดังนี้
    • ห้องที่เก้าและห้องที่สิบ : สำหรับนักเรียนในโครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยนักเรียนเหล่านี้จะได้รับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในขั้นสูงเป็นพิเศษกว่าระดับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน[31]
    • ห้องที่สิบเอ็ดและห้องที่สิบสอง : สำหรับนักเรียนในโครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ นักเรียนในโครงการดังกล่าวจะได้รับการศึกษาทุกรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นวิชาภาษาไทย โดยสถานศึกษาได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีคุณวุฒิต้องตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นครูสอน ทั้งนี้ ครูชาวต่างประเทศเหล่านี้มีสถานะเป็นลูกจ้างชั่วคราว[32]
    • ห้องที่หนึ่งถึงห้องที่แปด : จัดการศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4—6 จัดชั้นเรียนปีละสิบห้าห้อง รวมทั้งระดับได้สี่สิบห้าห้อง ทั้งนี้ ในแต่ละปีแบ่งห้องเรียนตามแผนการเรียนรู้ดังนี้[33]
    • แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา (ห้องที่หนึ่ง)
    • แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาจีน (ห้องที่สอง)
    • แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น (ห้องที่สาม)
    • แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส (ห้องที่สี่)
    • แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ (ห้องที่ห้าถึงห้องที่เจ็ด)
    • แผนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ห้องที่แปดถึงห้องที่สิบห้า)
  • [34]โครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการที่สถานศึกษาจัดขึ้นเพิ่มเติมจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ริเริ่มโดยสภาการศึกษา มีสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กำกับดูแล และมีคณาจารย์กับทั้งคณะวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำกับ ดูแล และศึกษาวิจัยเฉพาะผู้มีความสามารถพิเศษทางภาษาอีกฝ่ายหนึ่ง[35] [36] การดำเนินการเริ่มจากการคัดกรองนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางสาขาวิชานั้นอย่างแท้จริงมาเข้ารับการศึกษาระดับสูงและรอบด้านเพื่อให้แตกฉานในสาขาวิชาดังกล่าวอย่างแท้จริง นักเรียนผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4—6 โดยจะมีการจัดการศึกษารูปแบบพิเศษดังกล่าวตลอดทั้งสามปี และผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการนี้จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองเป็นรายปีจาก สกศ.[37] โครงการนี้มักเรียกกันโดยชื่อภาษาอังกฤษว่า "กิฟเต็ด" (gifted) ซึ่งแปลว่า "มีพรสวรรค์" หรือ "ผู้มีพรสวรรค์" และมักเรียกนักเรียนในโครงการว่า "เด็กกิฟเต็ด" เช่น นักเรียนในโครงการดังกล่าวฝ่ายภาษาไทย มักเรียก "เด็กกิฟเต็ดไทย" ฝ่ายวิทยาศาสตร์มักเรียก "เด็กกิฟเต็ดวิทย์" เป็นต้น
  • ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- แผนกเกษตรกรรม
- แผนกคหกรรม
- แผนกคอมพิวเตอร์

[แก้] การรับบุคคลเข้าศึกษา

[แก้] ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1

การรับรายงานตัวนักเรียน ม. 1 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548
การรับรายงานตัวนักเรียน ม. 1 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548

ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับนี้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา สถานศึกษาดำเนินการสองวิธีดังต่อไปนี้[38]

1. การจับสลาก ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาและมีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอเมืองเชียงรายเป็นผู้มีสิทธิจับสลาก ในแต่ละปีสถานศึกษาจะกำหนดจำนวนนักเรียนที่จะได้เข้าศึกษาด้วยวิธีนี้ และการจับสลากมักมีขึ้นราวต้นเดือนเมษายน

2. การสอบคัดเลือก ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาจะเข้ารับการทดสอบทางวิชาการในสาขาวิชาและตามวัน เวลา พฤติการณ์ที่สถานศึกษากำหนด เครื่องมือในการทดสอบนั้นสถานศึกษายังเป็นผู้จัดทำขึ้นเองตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย สำหรับห้องเรียนพิเศษ (ห้องที่เก้าถึงห้องที่สิบสอง) นั้น ผู้ผ่านการทดสอบทางวิชาการยังต้องเข้ารับการสอบสัมภาษณ์อีกชั้นหนึ่งด้วย โดยเฉพาะห้องที่เก้าและห้องที่สิบซึ่งจัดโครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ การสอบสัมภาษณ์จะดำเนินไปโดยใช้ภาษาอังกฤษ และผู้ปกครองจะต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ด้วย การสอบคัดเลือกมักมีขึ้นหลังการจับสลาก

[แก้] ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับนี้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา สถานศึกษาดำเนินการสามวิธีดังต่อไปนี้[39] [40]

1. สำหรับห้องที่แปดถึงห้องที่สิบห้า (ดู "การจัดการศึกษา" ด้านบน) ใช้วิธีการสอบคัดเลือก ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาสมัครเข้าทดสอบทางวิชาการ เครื่องมือในการทดสอบนั้นสถานศึกษาจัดทำขึ้นตามมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และเมื่อผ่านการทดสอบตามประกาศของสถานศึกษา และผู้ผ่านการทดสอบเข้ารายงานตัวแล้ว ก็ถือเป็นนักเรียนของสถานศึกษาโดยสมบูรณ์

2. สำหรับนักเรียนเก่าของสถานศึกษา ใช้วิธีการคัดเลือก นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม มีสิทธิยื่นคะแนนเฉลี่ยของการศึกษา (GPA : Grade Point Average) ต่อคณะกรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้งเพื่อให้พิจารณาคัดเลือก โดยต้องระบุแผนการเรียนรู้ที่ตนประสงค์สามแผนตามลำดับ และเมื่อผ่านการคัดเลือกตามประกาศของสถานศึกษา และเข้ารายงานตัวแล้ว ก็ถือเป็นนักเรียนของสถานศึกษาโดยสมบูรณ์ ในกรณีนี้ ผู้ที่ไม่ผ่านก็มักไปสอบคัดเลือกตามข้อ 3.

3. สำหรับนักเรียนทั่วไป ใช้วิธีการสอบคัดเลือก นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไม่ว่าจากสถานศึกษาใด มีสิทธิสมัครเข้าทดสอบเช่นเดียวกับข้อ 1. แต่ไม่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เช่นกับโครงการนั้น ส่วนการอื่น ๆ ดำเนินเช่นเดียวกัน

ในแต่ละปีมักมีผู้สมัครเข้าคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อทั้งระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4 จำนวนหลายหมื่นคน แต่สถานศึกษาสามารถรับได้เพียงระดับละหกร้อยคนเท่านั้น[41]

[แก้] การสำเร็จการศึกษา

ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1—3 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4—6 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้] ปัญหาของโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

[แก้] การย้ายหัวหน้าโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมคนที่ 19

นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่
นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่

ปลาย พ.ศ. 2549 ผู้อำนวยการสถานศึกษาบางแห่งในจังหวัดเชียงรายว่างลง นายสุทัศน์ พันธยากร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 (สพท.ชร. 1) โดยมติของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 (อคกศ.ชร. 1) จึงมีคำสั่งลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2549[42] ให้ย้ายสลับผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัดเชียงรายจำนวนสามสิบสองสถานศึกษา และให้แต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาเพิ่ม

ตามคำสั่งดังกล่าว 1) นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ ผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ให้ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเชียงราย 2) นายทวีศักดิ์ พิพัฒนาศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเชียงราย ให้ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคระห์ และ 3) นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคระห์ ให้ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป[43]

ในการนี้ นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ แถลงว่าตนไม่ยินยอมย้ายไปตามคำสั่งดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นธรรม และกลั่นแกล้งตน ซึ่งตนได้ร้องศาลปกครองและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แล้ว คำร้องของนายกิตติโชตกล่าวโทษข้าราชการหลายฝ่าย ทำให้เกิดความไม่สงบในการบริหารราชการของจังหวัดเชียงราย[44]

อย่างไรก็ดี ผู้อำนวยการ สพท.ชร. 1 แถลงว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากสถานศึกษาหลายแห่งมีปัญหาทุจริตและถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนอยู่ และหัวหน้าสถานศึกษาบางคนก็ใกล้ครบวาระแล้ว ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งย่อมมีโทษทางวินัย ส่วนการฟ้องร้องต่อองค์กรใด ๆ ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล[45]

เพื่อระงับเหตุนั้น นายอมรพันธ์ นิมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มีคำสั่งให้ชะลอการโยกย้ายผู้อำนวยการสถานศึกษาดังกล่าวไว้ก่อน โดยจะได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อง และขอคำปรึกษาจากคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ สพฐ. ต่อไป ซึ่งต่อมา เลขาธิการ สพฐ. ได้แนะนำให้ยึดแนวทางตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/13966 ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549[46] ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่ามติ อกคศ.ชร. 1 และคำสั่งผู้อำนวยการ สพท.ชร. 1 ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายจึงให้ดำเนินการต่อไปได้โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป และให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งแต่เท่านี้

[แก้] การขู่วางระเบิดโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

สืบเนื่องจากเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานครเมื่อปลาย พ.ศ. 2549 และต้นปี พ.ศ. 2550 นั้น วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 พันตำรวจตรีสุรชาติ บุญเจริญ สารวัตรปราบปราม สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงราย ได้นำกำลังเข้าตรวจค้นพื้นที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โดยได้รับการประสานจากนายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาว่า ก่อนหน้านี้มีชายลึกลับเสียงแหบโทรศัพท์เข้ามาว่า ได้วางระเบิดไว้ในสถานศึกษาเรียบร้อยแล้ว ให้อพยพนักเรียนออกไปภายในยี่สิบนาที แต่ไม่ได้ตั้งข้อเรียกร้องประการใด พอดีกับเป็นช่วงเลิกเรียน จึงสั่งให้ใช้เสียงตามสายประกาศให้นักเรียนกลับบ้านทันที ทั้งนี้ จากการตรวจค้นไม่พบวัตถุต้องสงสัย เจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่าอาจเป็นฝีมือของบุคคลที่ต้องการสร้างสถานการณ์หรือความไม่สงบ อย่างไรก็ดี ได้จัดกำลังเฝ้าสถานศึกษาไว้ระยะหนึ่ง เพราะเป็นที่ชนพลุกพล่าน[47]

ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดดังกล่าว

[แก้] ความไม่ปลอดภัยในสวัสดิการด้านโภชนาการ

สถานศึกษาผลิต จัดให้บริการแก่บุคลาการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และจัดจำหน่ายซึ่งน้ำดื่มจากกระบวนซึมผ่านหมุนเวียน (reverse osmosis) ชื่อ "น้ำดื่มสันป่าแดง" โดยได้รับการรับรองจากกรมทรัพยากรธรณี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขให้ผลิตแจกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป[48] ดังนั้น น้ำดื่มที่มีไว้ให้บริการในสถานศึกษาจึงเป็นน้ำดื่มสันป่าแดงดังกล่าว

อย่างไรก็ดี เครื่องแจกจ่ายน้ำของสถานศึกษา เป็นต้นว่า เครื่องทำน้ำเย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ล้วนผลิตขึ้นจากตะกั่วหรือมีตะกั่วเป็นส่วนประกอบ ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีคำสั่งห้ามจำหน่าย ใช้ และหรือซ่อมแซมซึ่งวัตถุดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป[49] เนื่องเพราะพิษจากสารตะกั่วเป็นผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างร้ายแรง[50] ทั้งนี้ จากรายงานภายในของสถานศึกษาประจำปีการศึกษา 2550 พบว่า สถานศึกษายังคงใช้เครื่องแจกจ่ายน้ำประเภทดังกล่าวอยู่ และยังไม่มีการพิจารณาดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับกรณีนี้[51]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ พัฒนาการทางด้านการศึกษาของเชียงราย . (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chiangrai-yesterday.com/content/view/41/28/. (20 เมษายน 2551).
  2. ^ ประวัติโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.samakkhi.ac.th/school1.htm. (20 เมษายน 2551).
  3. ^ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. (2546, 6 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 62 ก. หน้า 13.
  4. ^ Kruthai.info. (2551, 21 มีนาคม). ชี้เปิดสอบ 100% ทำยอดสมัครร.ร.ดังลด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kruthai.info/board03/show.php?Category=news&No=236. (20 เมษายน 2551).
  5. ^ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2535). หนังสือที่ระลึกงานฉลองรางวัลพระราชทานโรงเรียนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2533 วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2535. เชียงราย : เชียงรายโฆษณาและการพิมพ์. หน้า 21.
  6. ^ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2549). ลำปาง : ลำปางบรรณกิจพริ้นติ้ง. หน้า 4.
  7. ^ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2535). หนังสือที่ระลึกงานฉลองรางวัลพระราชทานโรงเรียนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2533 วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2535. เชียงราย : เชียงรายโฆษณาและการพิมพ์. หน้า 23.
  8. ^ ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสุริยานุเคราะห์และศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๐ จนถึงปัจจุบัน. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://srisawat.endutot.com/informations.php?cid=3. (12 พฤษภาคม 2551).
  9. ^ โรงเรียนจักรคำคณาทร. (2551, 27 เมษายน). วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A3. (12 พฤษภาคม 2551).
  10. ^ อ.บรรจง พงศ์ศาสตร์. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.yupparaj.ac.th/director/banjong/index.htm. (12 พฤษภาคม 2551).
  11. ^ ประวัติย่อของโรงเรียนเมืองเชียงราย. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mcr-school.ac.th/index_files/data_mcr/history_mcr.html. (12 พฤษภาคม 2551).
  12. ^ สำนักงานติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาชั้นพื้นฐาน. (2551, 12 พฤษภาคม). ข้อมูลคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://evaluation.obec.go.th/areadbase/index.php?module=board_area&wp=1&tilte_area=561. (12 พฤษภาคม 2551).
  13. ^ ผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pcccr.ac.th/pcr/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=13. (12 พฤษภาคม 2551).
  14. ^ 14.0 14.1 INNnews. (2551, 2 มีนาคม). ผลนับคะแนนเลือกตั้งส.ว.ไม่เป็นทางการครบ100%. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.innnews.co.th/politic.php?nid=92787. (9 พฤษภาคม 2551).
  15. ^ นงนุช ไตรแสง (บรรณาธิการ). (2549). เรื่องเล่าของบรรดาเรา : ก่อนฝากให้น้อง. เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 10) , หน้า 22.
  16. ^ นงนุช ไตรแสง (บรรณาธิการ). (2548). อันเนื่องมาจากปก : นักเปียโนรางวัลชนะเลิศแห่งประเทศไทย ณิชมน องคะสุวรรณ. เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 9) , หน้า 5.
  17. ^ เว็บไซต์ของชาวจุฬาฯ. (2549). รายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวรอบ ๒. เข้าถึงได้จาก : http://www.baka.chula.ac.th/curepresentative/round2.php. (18 เมษายน 2551).
  18. ^ วงดนตรีสากลสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). รายชื่อสมาชิกที่ผ่านการคัดเลือกตำแหน่ง "นักร้อง". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.cuband.net/temp/FinalAudition2007/Singer_Final.pdf. (18 เมษายน 2551).
  19. ^ สุนิพิฐ นันทชัย. (2549). จากพี่ถึงน้อง : "เยอรมันนีที่ฉันรู้จัก". เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 11) , หน้า 20-21.
  20. ^ นงนุช ไตรแสง (บรรณาธิการ). (2549). จากพี่ถึงน้อง : หยดน้ำแห่งประสบการณ์. เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 11) , หน้า 22.
  21. ^ นงนุช ไตรแสง (บรรณาธิการ). (2548). ศิษย์เก่าที่เราภูมิใจ : ร้อยตรีทัญพิสิษฐ์ ผ่องใส. เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 9) , หน้า 16-17.
  22. ^ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (ม.ป.ป.) นางบุษรินทร์ ติยะไพรัช วรพัฒนานันต์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.senate.go.th/senator/66.htm. (18 เมษายน 2551).
  23. ^ นงนุช ไตรแสง (บรรณาธิการ). (2548). สายสัมพันธ์...บรรดาเราขาวน้ำเงิน : อาจารย์ประสิทธิ์ แสนไชย. เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 9) , หน้า 9.
  24. ^ เลอศักดิ์ พูลพิพัฒน์. (2551, 19 มกราคม). ลิ่วล้อประจำวัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nitessatun.com/inno/view.php?article_id=9. (19 เมษายน 2551).
  25. ^ นงนุช ไตรแสง (บรรณาธิการ). (2549). สายสัมพันธ์...บรรดาเราขาวน้ำเงิน : ศิษย์เก่าที่เราภูมิใจ พล.ต.ต.ยงยุทธ ฮงประยูร. เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 10) , หน้า 6.
  26. ^ ดร. เรือง เจริญชัย (Dr. Ruang Chareonchai). (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.issy28.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=259505&Ntype=777. (29 เมษายน 2551).
  27. ^ นงนุช ไตรแสง (บรรณาธิการ). (2548). สายสัมพันธ์...บรรดาเราขาวน้ำเงิน : แนะนำนายก สนส. เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 9) , หน้า 18.
  28. ^ http://www.samakkhi.ac.th/swk100y/swk100y.htm
  29. ^ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2535). หนังสือที่ระลึกงานฉลองรางวัลพระราชทานโรงเรียนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2533 วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2535. เชียงราย : เชียงรายโฆษณาและการพิมพ์. หน้า 23.
  30. ^ Aksorn.com. (ม.ป.ป.). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.aksorn.com/Document/curriculum.doc. (20 เมษายน 2551).
  31. ^ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2546). โครงการสำคัญ ปีการศึกษา 2546. (อัดสำเนา). หน้า 29 และ 46.
  32. ^ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2546). โครงการสำคัญ ปีการศึกษา 2546. (อัดสำเนา). หน้า 13-18.
  33. ^ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (ม.ป.ป.). การรับนักเรียนเข้าเรียน ปีการศึกษา 2551. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.samakkhi.ac.th/st2551.htm. (20 เมษายน 2551).
  34. ^ สุภาณี สิงห์ปัน (บรรณาธิการ). (2546). โรงเรียนส่งเสริมนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ. เบิกฟ้าบรรดาเรา, (ฉบับที่ 5). หน้า 16-19.
  35. ^ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2546). โครงการสำคัญ ปีการศึกษา 2546. (อัดสำเนา). หน้า 31.
  36. ^ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (ม.ป.ป.). เครือข่าย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigifted.org/network/n1a.htm. (20 เมษายน 2551).
  37. ^ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (ม.ป.ป.). ธนาคารหลักสูตร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://db.onec.go.th/thaigifted/. (20 เมษายน 2551).
  38. ^ http://www.moe.go.th/cgi-script/csArticles/articles/000003/000351.htm
  39. ^ http://www.moe.go.th/cgi-script/csArticles/articles/000003/000351.htm
  40. ^ http://www.samakkhi.ac.th/st2551.htm
  41. ^ http://www.kruthai.info/board03/show.php?Category=news&No=236
  42. ^ ฟ้าล้านนาเน็ต. (2549, 26 ธันวาคม). ครู ชร.ป่วน หลัง สพท.เชียงรายเขต 1 สั่งโยกย้าย ผ.อ.32 ราย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fahlanna.net/hotNews/View_print.asp?id=574. (29 เมษายน 2551).
  43. ^ เว็บบอร์ด สพท.ชร. 1. (2549, 30 ธันวาคม). เอาไงดี กับบทบาทประธานสมาพันธ์ครูเขต 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://web.chiangrai.net/chiangrai1/webboard/view.php?No=3781. (29 เมษายน 2551).
  44. ^ กรมประชาสัมพันธ์. (2549, 26 ธันวาคม). ผู้บริหารโรงเรียนไม่พอใจ หลัง สพท.ชร.เขต 1 สั่งโยกย้าย ผอ.32 ราย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.moe.go.th/news_center/news26122549_20.htm. (29 เมษายน 2551).
  45. ^ ฟ้าล้านนาเน็ต. (2549, 26 ธันวาคม). ครู ชร.ป่วน หลัง สพท.เชียงรายเขต 1 สั่งโยกย้าย ผ.อ.32 ราย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fahlanna.net/hotNews/View_print.asp?id=574. (29 เมษายน 2551).
  46. ^ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549, 18 ธันวาคม). เรื่อง การย้ายและแต่งตั้งข้าราชการครูสายงานบริหารสถานศึกษา. หนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/13966.
  47. ^ ไทยรัฐ. (2550, 13 มกราคม). พัลลภ-โต้ โยงพัวพันบึม ไม่ทำบัดซบ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairath.com/offline.php?section=hotnews&content=33274. (29 เมษายน 2551).
  48. ^ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2549). ลำปาง : ลำปางบรรณกิจพริ้นติ้ง. หน้า 130.
  49. ^ สำนักจัดการความรู้ กรมควบคมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). สคบ.สั่งห้ามขายสารไบโอเทคนิค เครื่องทำน้ำเย็น-หม้อก๋วยเตี๋ยวที่ใช้ตะกั่วทำ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kmddc.go.th/kmcms/View/contentview.jsp?contentID=CNT0000337. (19 เมษายน 2551).
  50. ^ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. (ม.ป.ป.). การปนเปื้อนของตะกั่วในเครื่องทำน้ำเย็นและหม้อต้มก๋วยเตี๋ยว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.lo.moph.go.th/home/index.php?option=com_content&task=view&id=193&Itemid=0. (19 เมษายน 2551).
  51. ^ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2551). รายงานภายในโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ปีการศึกษา 2550. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจพรินติ้ง. หน้า.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -