See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี - วิกิพีเดีย

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความสารานุกรมเรื่อง โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ในหน้านี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ แก้ไข และใส่ข้อมูลเพิ่มเติม
ถ้าคุณเป็นผู้เขียนเรื่องนี้หรือต้องการร่วมแก้ไข สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน
ดูรายละเอียดและวิธีการเขียนได้ที่ โครงการวิกิสถานศึกษา โดยเมื่อแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออกได้
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี


ปญฺญา นรานํ รตฺนํ- ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 1 มีนักเรียนประมาณ 3400 คน โดยชื่อโรงเรียนเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5


เนื้อหา

[แก้] ภูมิหลัง

  • ภูมิหลัง

การศึกษาของกระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)ในปี พ.ศ. 2454 – 2455 ได้แบ่งชั้นเรียนวิสามัญ ออกเป็น 9 ชั้น คือ ชั้นมูล 3 ชั้น ชั้นประถม 3 ชั้น และชั้นมัธยม 3 ชั้น ขณะนั้นจังหวัดจันทบุรีมีโรงเรียนวัดจันทนารามแห่งเดียวที่เปิดสอนชั้นสูงสุดคือ ประโยคประถม (ป.3) ผู้ที่จบประโยคประถมแล้วถ้าต้องการศึกษาต่อชั้นมัธยม ต้องไปศึกษา ณ กรุงเทพฯ
กำเนิดโรงเรียน ต้นปี พ.ศ. 2454 ขุนวิภาชวิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส) ธรรมการมณฑลจันทบุรี (ภายหลังได้เลื่อนเป็น พระวิภาชวิทยาสิทธิ์) และครูพูล (ขาว) ผู้ช่วยข้าหลวงธรรมการมณฑลจันทบุรี (ภายหลังได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนชำนิอนุสรณ์ ตำแหน่งธรรมการจังหวัดจันทบุรี) ได้ร่วมกันพิจารณาหาที่ตั้งโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลจันทบุรี (มณฑลจันทบุรี ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด) เพื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่า วัดจันทนารามตั้งอยู่ริมแม่น้ำ น้ำท่วมการเดินทางต้องลงเรือ ส่วนวัดกลาง อยู่บนเนินสูง น้ำไม่ท่วม นักเรียนสัญจรไปมาสะดวก ทั้งมีบริเวณกว้างขวาง และในขณะนั้นวัดกลางเป็นวัดร้าง มีพระภิกษุรูปเดียว มีศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฏิ 3 หลัง ซึ่งพระภิกษุอาศัยอยู่ 1 หลัง กุฏิอีก 2 หลัง สามารถใช้เป็นอาคารเรียนชั่วคราวได้ เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นโรงเรียนประจำมณฑลต่อไป

กลางปี พ.ศ. 2454 ทางราชการได้ส่งครูมาให้ 2 คน คือ ครูพูล (ดำ) และครูกัลป์ ธรรมการมณฑลจึงสั่งโอนนักเรียนประถม 15 คน จากวัดจันทนาราม มาเรียนที่ศาลาการเปรียญวัดกลาง เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2454 และประกาศรับนักเรียนชาย หญิง เข้าเรียนชั้นมูล 1 ที่ศาลาการเปรียญด้วย ต้นปี พ.ศ. 2455 ได้เลื่อนนักเรียนที่สอบไล่ได้ประโยคประถมเป็นนักเรียนฝึกหัดมณฑลจันทบุรี โดยเรียนที่กุฏิร้าง 1 หลัง และให้นักเรียนที่สอบได้ประถมปีที่ 2 ของวัดจันทนาราม มาเรียนประโยคประถมที่วัดกลางโดยเรียนที่กุฏิร้างอีก 1 หลัง พระราชทานนาม “เบญจมราชูทิศ”

ปี พ.ศ. 2455 ข้าราชการในมณฑลจันทบุรี ได้พร้อมใจกัน บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนหลังแรกเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยอาคารหลังนี้ สร้างเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว 6 ห้องเรียน ยาว 12 วา 2 ศอก กว้าง 6 วา มีมุขและระเบียง 3 ด้าน ตัวไม้ใช้ไม้ตะเคียนล้วน ส่วนพื้นและเครื่องบนใช้ไม้ยางบ้าง ตัวอาคารทาสีฟ้าและมีรางน้ำรอบ การทำได้ทำอย่างประณีตงดงามแน่นหนาถาวรทุกประการ (ที่ตั้งอยู่บริเวณอาคาร9ในปัจจุบัน ทางเข้าออก อยู่ด้านถนนเบญจมราชูทิศ) เมื่อสร้างเสร็จเป็นโรงเรียนสมบูรณ์แล้วจึงขอพระราชทานนามโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานว่า “เบญจมราชูทิศ” และเนื่องจากในปีนี้กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา เป็นชั้นประถม 3 ชั้น และมัธยม 8 ชั้น ชั้นมูลไม่มี ดังนั้นที่โรงเรียนวัดจันทนารามคงให้สอนเพียง ชั้น ป.1 – ป.3 ผู้ที่ประสงค์จะเรียนชั้นมัธยมต้องมาเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ซึ่งเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑล (ชาย)

ครั้นวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2456 วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สวรรคตวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 24.45 น. หรืออาจนับเป็นวันที่ 23 ตุลาคม เวลา 0.45 น.) จึงได้จัดการทำพิธีเปิดโรงเรียนโดย ขุนวิภาชวิทยาสิทธ์ ธรรมการมณฑลจันทบุรี อ่านรายงานการก่อสร้างสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลจันทบุรี พระยาตรังคภูมาภิบาล (ถนอม บุณยเกตุ) ประธานในพิธีกล่าวคำประกาศเปิดนาม และประกอบพิธีเปิดนามโรงเรียน เมื่อจัดงานฉลองและบำเพ็ญกุศลแล้วจึงเริ่มการสอนแก่นักเรียนในนามโรงเรียน “เบญจมราชูทิศ” ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2456 เป็นต้นมา โดยได้ใช้ชื่อโรงเรียนทางราชการตามลำดับจากอดีตถึงปัจจุบันดังนี้
พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2461 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ มณฑลจันทบุรี
พ.ศ. 2462 – พ.ศ. 2473 โรงเรียนประจำมณฑลจันทบุรี “เบญจมราชูทิศ”
พ.ศ. 2474 – พ.ศ. 2494 โรงเรียนประจำจังหวัดจันทบุรี “เบญจมราชูทิศ”
พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2503 โรงเรียนจันทบุรี “เบญจมราชูทิศ”
พ.ศ. 2503 – ปัจจุบัน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี

ลำดับการพัฒนาโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
พ.ศ. 2459 - ขยายพื้นที่โรงเรียนจดถนนหลวงทั้ง 4 ด้าน คิดเป็นเนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน
พ.ศ. 2472 รื้ออาคารชั่วคราว 2 หลัง ซึ่งเก็บไม้จากกุฏิวัดมาปลูกสร้าง นำไม้จากอาคาร 2 หลัง มาสร้างมุขใหม่ 2 มุข ต่อจากอาคารเรียนหลังแรก พร้อมทั้งซ่อมแซมทาสีใหม่ทั้งหมด ด้วยงบประมาณจากทางราชการ
พ.ศ. 2478 - สร้างอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น ขนาด 12 ห้องเรียน 1 หลัง ด้วยเงินงบประมาณ (อาคารหลังที่ 2 ที่ตั้งเดิมอยู่บริเวณเสาธงโรงเรียนในปัจจุบัน) และได้รื้อถอนอาคารนี้ไป ใน ปี พ.ศ. 2523 มีแบบจำลองอาคารอยู่ในห้องสมุดโรงเรียนปัจจุบัน - สร้างห้องส้วมไม้ ขนาด 3 ห้อง 1 หลัง
พ.ศ. 2490 - สร้างอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว ขนาด 3 ห้องเรียน 1 หลัง ด้วยเงินงบประมาณ (อาคารหลังที่ 3 ที่ตั้งเดิมถัดไปจากอาคารหลังที่ 2 ไปทางถนนสันติราษฎร์) และได้รื้อถอนอาคารนี้ไปในปี พ.ศ. 2523
พ.ศ. 2492 - อาคารเรือนไม้ปั้นหยาชั้นเดียว (อาคารหลังแรก) ไม่ได้ใช้เป็นอาคารเรียน ทั้งนี้เพราะอายุยาวนาน ไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ มีเพียงเสาอาคาร และได้มีการรื้อถอนอาคารนี้ไป เมื่อใดไม่ปรากฏปี พ.ศ. ที่แน่ชัด
พ.ศ. 2494 - สร้างห้องส้วมขนาด 3 ห้อง 1 หลัง แทนห้องส้วมเก่าที่ชำรุด
พ.ศ. 2496 - สร้างอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น ขนาด 12 ห้องเรียน 1 หลัง ด้วยเงินงบประมาณ (อาคารหลังที่ 4 ที่ตั้งเดิมขนานไปกับถนนสันติราษฎร์) ได้รื้อถอนอาคารนี้ไปในปี พ.ศ. 2523 ภายหลังได้มีการสร้างหอประชุมและโรงอาหาร 1 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง เป็นอาคารไม้พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เพิ่มขึ้นมาอีกในปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ
พ.ศ. 2503 - โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดสอนระดับชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ม.ศ.4 – ม.ศ.5) สายสามัญ แผนกวิทยาศาสตร์โดยรับนักเรียนทั้งชายและหญิง (ปัจจุบันเรียกระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
พ.ศ. 2506 - สร้างประตูรั้วเสาคอนกรีตเสริมเหล็กบานประตูเหล็กดัด 3 ประตู ด้วยเงินบริจาค และสร้างโรงเก็บจักรยาน 1 หลัง บ้านพักครู 1 หลัง ด้วยเงินบำรุงการศึกษาเงินงบประมาณ และเงินที่โรงเรียนจัดหา
พ.ศ. 2507 - ปรับปรุงห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ และครุภัณฑ์โรงฝึกงาน 1 หลัง ด้วยเงินโครงการพัฒนาการศึกษา ส่วนภูมิภาค
พ.ศ. 2509 - สร้างโรงอาหาร และหอประชุม 1 หลัง ด้วยเงินงบประมาณและเงินที่โรงเรียนจัดหา
พ.ศ. 2510 - สร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ 318 โดยสร้างเป็นแบบ 312 จำนวน 12 ห้องเรียน ใต้ถุนสูง (อาคารหลังที่ 5 คือ อาคาร 2 ในปัจจุบัน)สร้างห้องน้ำ ห้องส้วม สำหรับโรงอาหารและหอประชุมด้วยเงินที่โรงเรียนจัดหา

[แก้] ทำเนียบผู้บริหาร

1 นายพูล (ไม่มีนามสกุล) 2454 - 2457 ครูใหญ่

2 นายพร (ไม่มีนามสกุล) 2457 - 2458 ครูใหญ่

3 นายภูน (ไม่มีนามสกุล) 2458 - 2459 ครูใหญ่

4 ขุนสุทธิวาท (เล็ก) 2459 - 2460 ครูใหญ่

5 นายเสน สุขะกาศี 2460 - 2463 ครูใหญ่

6 ขุนอาจดรุณวุฒิ 2463 - 2466 ครูใหญ่

7 ขุนจงจัดนิสสัย (สนิท ศตะกูรมะ) 2466 - 2471 ครูใหญ่

8 ขุนอภิรมจรรยา (ชัย อภิชัยสิริ) 2471 - 2473 ครูใหญ่

9 นายจรูญ แจ่มเจริญ 2473 - 2479 ครูใหญ่

10 นายสุนันท์ ทศานนท์ 2479 - 2483 ครูใหญ่

11 ขุนวรศาสนดรุณกิจ (ฝ้าย บุญเลี้ยง) 2483 - 2486 ครูใหญ่

12 นายวิจิตร หิรัญรัศ 2486 - 2487 ครูใหญ่

13 นายพิษณุ ชัชวาลย์ปรีชา 2487 - 2493 ครูใหญ่

14 นายบัญญัติ ศุภเสน 2493 - 2495 ครูใหญ่

15 นายสอาด บุญสืบสาย 2495 - 2502 ครูใหญ่

16 นายสุด น้ำหอม 2502 - 2504 ครูใหญ่

17 นายชัยวัฒน์ วรรณรัตน์ 2504 - 2525 ผู้อำนวยการ

18 นายบุญเปี่ยม เวชรักษ์ 2525 - 2528 ผู้อำนวยการ

19 นายเอก วรรณทอง 2528 - 2535 ผู้อำนวยการ

20 นายโสภณ ไทรเมฆ 2535 - 2538 ผู้อำนวยการ

21 นายสุรพงศ์ ซื่อตรง 2539 - 2543 ผู้อำนวยการ

22 นายดุษฎี โทบุราณ 2543 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ


[แก้] อ้างอิง

  • หนังสือรุ่น 94 ปีการศึกษา 2548

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี เป็นบทความเกี่ยวกับ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -