กระทรวงสาธารณสุข
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลขที่ 88/20 หมู่4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี |
กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งกรมการพยาบาลขึ้นเมื่อวันที่25 ธันวาคม พ.ศ. 2431 เพื่อให้ควบคุมดูแลกิจการศิริราชพยาบาลสืบแทนคณะกรรมการสร้างโรงพยาบาลวังหน้า กรมพยาบาลมีหน้าที่จัดการศึกษาวิชาแพทย์ ควบคุมโรงพยาบาลอื่น ๆ และจัดการปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน
พ.ศ. 2432 กรมพยาบาลก็ย้ายมาสังกัดในกระทรวงธรรมการ เริ่มมีแพทย์ประจำเมืองขึ้นในบางแห่ง มีการนำยาตำราหลวงออกจำหน่วยในราคาถูกและตั้งกองแพทย์ไปป้องกันโรคระบาด
พ.ศ. 2448 (ร.ศ. 124) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมพยาบาลและตำแหน่งอธิบดีกรมพยาบาล อธิบดีกรมพยาบาลคนสุดท้ายคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา และให้โรงพยาบาลอื่นที่สังกัดกรมพยาบาลไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล ยกเว้นโรงศิริราชพยาบาล คงให้เป็นสาขาของโรงเรียนราชแพทยาลัย ส่วนกองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี กองแพทย์ป้องกันโรคและแพทย์ประจำเมือง ยังคงสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการตามเดิม
พ.ศ. 2451 กระทรวงมหาดไทยได้ขอโอนกองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี กองแพทย์ป้องกันโรค และแพทย์ประจำเมืองมาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งในชั้นแรกให้สังกัดอยู่ในกรมพลำภังค์
ต่อมากระทรวงมหาดไทยมีความประสงค์จะปรับปรุง กิจการของกรมพยาบาลให้กว้างขวางและก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนชื่อกรมพยาบาลเป็นกรมประชาภิบาล และได้รับพระบรมราชานุญาตตามสำเนาพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2459
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ได้ประกาศตั้งกรมสาธารณสุข โดยเปลี่ยนจากกรมประชาภิบาล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข กรมสาธารณสุขอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2485 จึงได้มีการสถาปนากรมสาธารณสุขขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุข
[แก้] ตรากระทรวงสาธารณสุข
เมื่อได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นแล้ว ทางราชการ ได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีกและมีงูพันคบเพลิงเป็นตรากระทรวงสาธารณสุข
เครื่องหมายดังกล่าวมีประวัติดังนี้ คือ ในวงการแพทย์ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ปรากฏว่ามีเครื่องหมายที่แสดงถึงอาชีพอยู่ 2 ชนิด คือ
1. คธากับงูของเอสกูลาปิอุส (Esculapius) เทพเจ้า แห่งแพทย์สมัยกรีก
2. ไม้ศักดิ์สิทธิ์ หรือ Cadkuccus ของเทพเจ้าอะพอลโล (Appollo)
คธาของเอสกูลาปิอุส ซึ่งมีงูพันอยู่โดยรอบนั้นแพทยสมาคมอเมริกันได้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำสมาคมอยู่แล้ว ตำนานของเครื่องหมายนี้มีว่าในสมัยประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะที่เอสกูลาปิอุสกำลังทำการบำบัดโรคให้แก่ผู้ป่วยรายหนึ่ง ซึ่งมีนามว่ากลอคุส (Glovcus) ภายในสถานที่ทำงานของเขานั้นมีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและขึ้นพันคธาของหมอโดยการณ์ปรากฏเช่นนี้จึงเป็นที่เชื่อถือกันในครั้งนั้นว่า งูตัวนั้นได้บันดาลให้หมอ เอสกูลาปิอุส มีความเฉลียวฉลาดสามารถในการบำบัดโรคยิ่งนัก เพราะในสมัยโบราณนับถือว่างูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบันดาลให้เกิดความมั่งคั่งสมบูรณ์ของบ้านเมือง และทำให้โรคต่าง ๆ หายได้ งูในกาลก่อนจึงนับว่าเป็นเครื่องหมายแห่งสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด อำนาจและสุขภาพอันดี ส่วนคธานั้นคือ เครื่องหมายแห่งการป้องกันภัยต่างๆ และเป็นประดุจเครื่องนำและช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ศึกษาในทางวิทยาศาสตร์
ส่วนไม้ศักดิ์สิทธิ์ (Caduccus) ซึ่งมีลักษณะเป็นคธาเกลี้ยง มีปีก และมีงูพันอยู่ 2 ตัว มีตำนานว่าเมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล วันหนึ่งในขณะที่เทพเจ้าอะปอลโลกำลังท่องเที่ยวอยู่ในดาร์คาเดีย (Arcadia) ได้พบงู 2 ตัว กำลังกัดกันอยู่ โดยมิประสงค์จะให้สัตว์ศักดิ์สิทธิ์นี้ต่อสู้และประหัดประหารกันอะปอลโลจึงได้ใช้ไม้เท้าที่ถือนั้นแยกงูทั้งสองออกจากกันเสีย ไม้เท้านั้นจึงได้กลายเป็นเครื่องหมายแห่งความสงบตั้งแต่นั้นมา ภายหลังได้มีผู้เติม ปีก 2 ปีก ติดกับหัวไม้เท้านั้น ซึ่งแสดงถึงความว่องไวและปราดเปรียว
[แก้] หน้าที่และความรับผิดชอบ
[แก้] หน่วยงานในสังกัด
ตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกาศให้กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- กรมการแพทย์
- กรมควบคุมโรค
- กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- กรมสุขภาพจิต
- กรมอนามัย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
||
---|---|---|
พ.อ.ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ · น.อ.หลวงศุภชลาศัย · ทวี บุณยเกตุ · พล.ต.อ.อดุลย์ อดุลย์เดชจรัส · พ.อ.หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์) · แสง สุทธิพงศ์ · ประจวบ บุนนาค · พล.ร.ต.เล็ก สุมิตร · พระยาบริรักษ์เวชชการ · พล.ท.ประยูร ภมรมนตรี · จอมพลอากาศฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี · ศ.นพ.เฉลิม พรมมาศ · พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) · พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ · ศ.นพ.อุดม โปษกฤษณะ · คล้าย ละอองมณี · ประชุม รัตนเพียร · สวัสดิ์ คำประกอบ · พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ · ศ.ร.ท.นพ.ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ · นพ.บุญสม มาร์ติน · นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว · ทองหยด จิตตวีระ · มารุต บุนนาค · เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ · พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ · ชวน หลีกภัย · ประจวบ ไชยสาส์น · ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ · นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ · บุญพันธ์ แขวัฒนะ · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · เสนาะ เทียนทอง · มนตรี พงษ์พานิช · สมศักดิ์ เทพสุทิน · รักเกียรติ สุขธนะ · กร ทัพพะรังสี · สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ · ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล · พินิจ จารุสมบัติ · นพ.มงคล ณ สงขลา · ไชยา สะสมทรัพย์ |
|
|
---|---|
สำนักนายกรัฐมนตรี · กลาโหม · การคลัง · การต่างประเทศ · การท่องเที่ยวและกีฬา · การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ · เกษตรและสหกรณ์ · คมนาคม · ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม · เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร · พลังงาน · พาณิชย์ · มหาดไทย · ยุติธรรม · แรงงาน · วัฒนธรรม · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี · ศึกษาธิการ · สาธารณสุข · อุตสาหกรรม |