See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - วิกิพีเดีย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เข้าข่ายว่าอาจละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเนื้อหาอาจคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น โปรดช่วยกันตรวจสอบลิขสิทธิ์
หากคุณเป็นผู้เขียนต้นฉบับเดิมและต้องการเผยแพร่ในวิกิพีเดีย ให้เขียนคำอธิบายในหน้า"อภิปราย" ของหน้านี้และเมื่อแจ้งเสร็จให้นำป้ายนี้ออก
หากคุณเป็นผู้คัดลอกมาลงแต่ไม่ได้เป็นผู้เขียนเอง ให้ศึกษาวิธีเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ หากคุณรู้ว่าบทความนี้คัดลอกจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ให้ใส่ป้ายละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อรอการลบแทนที่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายวิกิพีเดีย ลิขสิทธิ์ และปัญหาลิขสิทธิ์

ประวัติความเป็นมาของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ก่อตั้งขึ้นมาพร้อม ๆ กับการ จัดตั้ง กระทรวงสาธารณสุขนับถึงบัดนี้เป็น เวลากว่า 50 ปีแล้ว โดยได้มี การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความเหมาะ สมกับภาระ หน้าที่ และให้ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลง โครงสร้าง หลายครั้ง เพื่อให้เกิด ความเหมาะสมกับภาระหน้าที่ และให้ทันต่อสภาพ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม

มี.ค. 2485 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ได้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฏีกา จัดระเบียบราชการ กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ประกอบด้วยส่วนราชการภายใน 6 กอง คือ สำนักเลขานุการ กองเคมี กองชันสูตรโรค กองโอสถศาลา (โอนมาจากกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย) กองเภสัชกรรม และโรงงานเภสัชกรรม (โอนมาจากกรม วิทยาศาสตร์ กระทรวงเศรษฐการ) สถานที่ตั้งอยู่ที่ถนน บำรุงเมือง ยศเส

ก.ย. 2495

ได้มีพระราชกฤษฏีกา แบ่งส่วนราชการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ออกเป็น 6 กองคือ สำนักเลขา นุการกรม กองโอสถศาลา กองชันสูตร ทางการแพทย์ (เปลี่ยนชื่อมาจากกองชันสูตรโรค) กองวิจัยทางแพทย์ กองวิเคราะห์ยาและกองวิเคราะห์อาหารและเครื่องดื่ม (3 กองนี้แยกมาจากกองเภสัชกรรมเดิม) สำหรับกองเคมีได้ยุบไป เนื่องจากงานส่วนใหญ่ เป็นงานที่กรมวิทยาศาสตร์กระทรวงเศรษฐการดำเนินการอยู่แล้ว และเป็นงาน ที่ซ้ำซ้อนกันส่วนโรงงานเภสัชกรรมนั้นได้แยกออกไปเป็นรัฐวิสาหกิจ คือ องค์ การเภสัชกรรมในปัจจุบัน ในระหว่าง พ.ศ. 2506 จนถึง 2510 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการทดลอง วางแผนพัฒนาปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการเป็นการภายใน เพื่อความเหมาะสมขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้ คือ

กองวิจัยทางแพทย์เดิมแยกออกเป็น

สถาบันวิจัยไวรัส สถาบันวิจัยต้นไม้ยา กองควบคุมชีววัตถุ


กองชันสูตรทางแพทย์เดิมแยกออกเป็น 

โรงเรียนพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันพยาธิวิทยา กองชันสูตรทางแพทย์ส่วนภูมิภาค หน่วยวิจัยยุงลายร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก


กองวิเคราะห์ยาเดิมแยกออกเป็น 

สถาบันมาตรฐาน กองนิติวิทยาศาสตร์


กองวิเคราะห์ยาเดิมแยกออกเป็น 

สถาบันมาตรฐานยา กองนิติวิทยาศาสตร์

กองวิเคราะห์อาหารและเครื่องดื่มเปลี่ยนเป็น

สถาบันวิเคราะห์วิจัยอาหาร




นอกจากนั้นได้เริ่มงานบริการป้องกันกัมมันตภาพรังสีในฐานะของกองขึ้นเมื่อปี 2509 และงานใน หน้าที่ของกองโอสถศาลา เมื่อได้โอน ไปรวมไปรวมกับโรงงานเภสัชกรรม ตามพระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509 ลง วันที่ 5 ส.ค. 2509 แล้วเปลี่ยนหน้าที่ของกองนี้เป็น กองบริการวิชาการแทน

พ.ศ. 2517

ได้พระราชกฤษฏีกา แบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เมื่อ วันที่ 2 พ.ศ. 2517 โดยแบ่งส่วน ราชการ ออกเป็น 10 หน่วยงาน คือ สำนัก งานเลขานุการกรม กองพยาธิวิทยาคลินิก (เปลี่ยนชื่อมาจากกองชันสูตรทางแพทย์) กองวิเคราะห์ยา กองวิเคราะห์อาหาร กองพิษวิทยากองวิจัย ทางแพทย์ กองกีฏวิทยาทางแพทย์การป้องกันอันตรายจากรังสี กองบริการชันสูตร สาธารณสุขภูมิภาค สถาบันวิจัยไวรัส

พ.ศ. 2526

ได้มีพระราชกฤษฏีกา แบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2533 แบ่งส่วนราช การออกเป็น 16 หน่วยงาน คือ สำนักงาน เลขานุการกรม กองกีฏวิทยาทางการแพทย์ การป้องกันอันตรายจากรังสี กองพยาธิวิทยาคลินิก กองพิษวิทยา กองมาตรฐานชันสูตรสาธารณสุข กองวิเคราะห์อาหาร กอง วิจัยทางแพทย์ สถาบันวิจัยไวรัส ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 1 สงขลา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 ชลบุรี ศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 นครราชสีมา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 4 ขอนแก่น ศูนย์วิทยา ศาสตร์การแพทย์ 5 เชียงใหม ่ ศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์ 6 พิษณุโลก

พ.ศ. 2529

ได้ย้ายหน่วยงานบางส่วนจากถนนบำรุงเมือง ยศเส มาอยู่ที่ อาคารสถาบันวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติ จ.นนทบุรี ซึ่งได้รับความช่วยเหลือในการก่อสร้างอาคารพร้อมอุปกรณ์ จากรัฐบาลญี่ปุ่น รวมมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท

พ.ศ. 2533

เนื่องจากงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เปลี่ยนแปลงและขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งในด้านบริการ และ ด้านวิชาการ จึงได้มีการปรับปรุงการแบ่งส่วน ราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เสียใหม่ โดยจัดตั้งส่วน ราชการเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งปรับปรุงชื่อส่วนราชการโดยตราเป็นพระราชกฤษฏีกา แบ่งส่วนราช การกรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ.2533 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 แบ่งส่วนราชการเป็น 23หน่วยงาน โดย เพิ่มกอง 4 กอง และศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 แห่ง คือกองชีววัตถุ กองวิเคราะห์อาหารส่งออก กองวิเคราะห์วัตถุเสพติด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ศูนย์วิทยา ศาสตร์การแพทย์ 7 อุบลราชธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 8 ตรัง และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 9 เชียงราย นอกจากนี้ยังได้ ้เปลี่ยนชื่อกอง วิจัยการแพทย์เป็นกองวิจัยและพัฒนาสมุนไพรด้วย

พ.ศ. 2540

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทางด้านวิชาการและบริการจึงได้มีการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เสียใหม่ โดยจัดตั้งส่วนราชการเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงชื่อส่วนราชการ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2540 แบ่งส่วนราชการออกเป็น 24 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กองชีววัตถุ กองแผนงานและวิชาการ กองยา กองรังสีและเครื่องมือแพทย์ กองวัตถุเสพติด กองอาหาร กองอาหารส่งออก สถาบันวิจัยสมุนไพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อีก 12 แห่ง ประกอบด้วยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สุราษฎร์ธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี

พ.ศ. 2545

ได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีการปรับปรุงส่วนราชการตามกฎกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 เป็น 22 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กองชีววัตถุ กองแผนงานและวิชาการ กองรังสีและเครื่องมือแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข สถาบันวิจัยสมุนไพร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ สำนักยาและวัตถุเสพติด และ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 12 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สุราษฎร์ธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครสวรรค์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม

พ.ศ. 2547

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทางด้านวิชาการและบริการจึงได้มีการเพิ่มศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขึ้นจาก 12 เป็น 14 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต ซึ่งจากเดิมทั้ง 2 ศูนย์เคยเป็นสาขาของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลาตามลำดับ

แหล่งอ้างอิง http://www.dmsc.moph.go.th/2008/index.php?option=com_content&task=view&id=31&Itemid=40



บทบาทหน้าที่

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่รับผิดชอบใน การวิเคราะห์ วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการสาธารณสุข ของประเทศด้านการ ป้องกันรักษา ควบคุมโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ การส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน และการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการสาธารณสุขบทบาทหน้าที่ ดังกล่าวของกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์มีทั้งงานบริการ วิชาการ การผลิตและฝึกอบรมบุคลากร ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข

งานบริหาร 

1. งานบริการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอาหารและยา เครื่องสำอาง สารพิษและรังสี ด้านอาหาร ตรวจวิเคราะห์วิจัย เครื่องดื่มน้ำ และภาชนะบรรจุอาหาร ทางจุลชีววิทยาและเคมีเพื่อความปลอด ภัยของผู้บริโภคและเพื่อควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามกฏหมาย รวมทั้งการวิเคราะห์อาหาร เพื่อ ส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ ด้านยา วิเคราะห์วิจัยยารักษาโรคทุกประการ ภาชนะบรรจุยาตรวจ พิสูจน์ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เพื่อควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามกฏ หมายและเพื่อเป็นหลักฐานทางอรรถคดี ด้านเครื่องสำอาง ตรวจวิเคราะห์สารห้ามใช้สารควบคุม ปริมาณ การใช้สารออกฤทธิ์สำคัญ และวัตถุมีพิษในเครื่องสำอาง และสิ่งเป็นพิษต่อสุขภาพ ทด สอบวิธีวิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน ประกอบการ พิจารณาขึ้นทะเบียน การคิดพิกัดอัตราภาษีการนำเข้าและส่งออก ด้านสารพิษวิเคราะห์หาสารพิษ ซึ่งทำให้เกิดการป่วยตายของคน และสัตว์ตรวจระดับยารักษาโรค และสารเสพติดในวัตถุจากร่าง กาย ตรวจวิเคราะห์เครื่องอุปโภคเพื่อหาสารพิษและควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามกฏหมาย ด้าน รังสี ด้านรังสีควบคุมป้องกันอันตรายจากการแผ่รังสีของเครื่องกำเนิดรังสีกัมมันตรังสีที่ใช้ในกิจ การแพทย์และอุตสาหกรรม

2. งานบริการทางด้านตรวจชันสูตรโรคทางห้องปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนการป้องกันโรคและ การรักษาพยาบาลได้แก่ การตรวจวินัจฉัย ตรวจ ชันสูตรและตรวจยืนยันโรคทางบัคเตรีวิทยา เชื้อราวิทยา ไวรัสวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา พาราสิตวิทยา โลหิตวิทยา เคมีคลินิกและควบคุม คุณภาพมาตรฐาน การชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ

งานวิจัยและพัฒนา  

มีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติ เป็นสถานที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนางาน ในสาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านต่างๆ ได้แก่ บัคเตรีวิทยา เชื้อราวิทยา ไวรัสวิทยา พาราสิตวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา โลหิตวิทยาและเคมีคลินิก รวมทั้งศึกษาพาหะนำโรคสำคัญคือ ยุง หนู หมัด เห็บ และไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นทางด้านทดลองผลิตชีววัตถุที่ใช้ในการเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกันโรค ผลิตสารมาตรฐานที่ใช้สำหรับวินิจฉัยโรค น้ำยาตรวจชันสูตร และสำหรับ การควบคุม คุณภาพวัค ซีนและชีววัตถุอื่น งานวิจัยที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง คือด้านสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการวิจัยและพัฒนา สมุนไพรหลายรูปแบบคือ จัดทำสวนสมุนไพรทั่วไปที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อเป็น แหล่งอนุรักษ์และกระจายพันธุ์ กับทำสวนชิงโคนาที่จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาสมุนไพรอย่างครบ วงจรด้านการปลูก การศึกษาสารสำคัญสรรพคุณในการรักษา ขนาดรับประทาน ความเป็นพิษทั้ง ระยะสั้นและยาว การหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับรักษาตลอดจนทดสอบผลในการใช้ทางคลินิก สำหรับสมุนไพรที่ทราบสรรพคุณแน่นอนแล้วจะคัดเลือกเพื่อสนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุข นำไปใช้ในการสาธารณสุขมูลฐาน งานผลิต และฝึกอบรม

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

มีโรงเรียนเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์หลักสูตร 2 ปี ผลิตเจ้า หน้าที่เพื่อปฏิบัติงาน ตามห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคของโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ และหน่วยงานราชการอื่น ซึ่งในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 จะโอนไปขึ้นกับสถาบันพัฒนากำลังคน ด้านสาธารณสุข จัดฝึกอบรมทั้งด้านวิชาการและการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในสาขาวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับงาน ทางวิทยาศาสตร์การแพทย ์ แก่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งของรัฐและเอกชน เช่น เพื่อควบคุมคุณภาพจากโรงพยาบาลของรัฐและบริษัทเอกชน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ควบคุบ คุณภาพอาหารจากโรงงานผลิตอาหาร ทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศ และเพื่อส่งออก ฝึกอบรมเจ้า หน้าที่จากห้องชันสูตรโรค เพื่อฟื้นฟูความรู้เดิมและเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ด้านการตรวจ วินิจฉัยโรค โดยเทคนิควิธีการที่ทันสมัย

แหล่งอ้างอิง http://www.wallusmania.com/dmsc/index.php?option=com_content&task=view&id=34&Itemid=40


หน่วยงานในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

- ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ - สำนักงานเลขานุการ - กองแผนงานและวิชาการ - ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ - กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย - สถาบันวิจัยสมุนไพร - สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข - สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ - กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร(ก.พ.ร.) - กองรังสีและเครื่องมือแพทย์ - กองชีววัตถุ - สำนักยาและวัตถุเสพติด - สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร - ศูนย์วิจัยทางคลินิก - ศูนย์รวมบริการ(OSSC)

แหล่งอ้างอิง http://www.dmsc.moph.go.th/


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -