ฮีเลียม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||||||||||||||||||||||
ทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ, สัญลักษณ์, หมายเลข | ฮีเลียม, He, 2 | ||||||||||||||||||||||||
อนุกรมเคมี | ก๊าซมีตระกูล | ||||||||||||||||||||||||
หมู่, คาบ, บล็อก | 18, 1, s | ||||||||||||||||||||||||
ลักษณะ | ไม่มีสี |
||||||||||||||||||||||||
มวลอะตอม | 4.002602 (2) กรัม/โมล | ||||||||||||||||||||||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | 1s2 | ||||||||||||||||||||||||
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน | 2 | ||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติทางกายภาพ | |||||||||||||||||||||||||
เฟส | ก๊าซ | ||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่น | (0 °C, 101.325 kPa) 0.1786 กรัม/ลิตร |
||||||||||||||||||||||||
จุดหลอมเหลว | (at 2.5 MPa) 0.95 K (-272.2 °C) |
||||||||||||||||||||||||
จุดเดือด | 4.22 K(-268.93 °C) | ||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการหลอมเหลว | 0.0138 กิโลจูล/โมล | ||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการกลายเป็นไอ | 0.0829 กิโลจูล/โมล | ||||||||||||||||||||||||
ความร้อนจำเพาะ | (25 °C) 20.786 J/(mol·K) | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติของอะตอม | |||||||||||||||||||||||||
โครงสร้างผลึก | hexagonal or bcc | ||||||||||||||||||||||||
พลังงานไอออไนเซชัน | ระดับที่ 1: 2372.3 กิโลจูล/โมล | ||||||||||||||||||||||||
ระดับที่ 2: 5250.5 กิโลจูล/โมล | |||||||||||||||||||||||||
รัศมีอะตอม (คำนวณ) | 31 pm | ||||||||||||||||||||||||
รัศมีโควาเลนต์ | 32 pm | ||||||||||||||||||||||||
รัศมีวานเดอร์วาลส์ | 140 pm | ||||||||||||||||||||||||
อื่น ๆ | |||||||||||||||||||||||||
การนำความร้อน | (300 K) 151.3 mW/(m·K) | ||||||||||||||||||||||||
เลขทะเบียน CAS | 7440-59-7 | ||||||||||||||||||||||||
ไอโซโทปที่น่าสนใจ | |||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||
แหล่งอ้างอิง |
ฮีเลียม (อังกฤษ:Helium) เป็นธาตุเคมีที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และเป็นหนึ่งในก๊าซเฉื่อยหรือก๊าซมีตระกูลในตารางธาตุ มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวที่ต่ำที่สุดในกลุ่มธาตุ มีสถานะเป็นแก๊สอย่างเดียว ยกเว้นในสภาพพิเศษ เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 2 ในเอกภพ บนโลกพบมากที่สุดในแก๊สธรรมชาติ นำไปใช้ในอติสีตศาสตร์ (วิชาความเย็นยิ่งยวด (cryogenics)) ในระบบการหายใจสำหรับทะเลลึก ในการเติมใส่ลูกโป่ง และเป็นก๊าซที่ใช้ในการป้องกันหลายวัตถุประสงค์ ฮีเลียมไม่มีพิษและไม่ปรากฏผลทางชีววิทยา
[แก้] ประวัติการค้นพบ
มีการค้นพบฮีเลียม เมื่อปี ค.ศ. 1868 ในบรรยากาศรอบดวงอาทิตย์ โดย โจเซฟ นอร์มัน ล็อกเยอร์ เขาได้สังเกตเห็นเส้นสีเหลืองในสเปคตรัมของดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับธาตุใดๆ ที่รู้จักกันบนโลก ล็อกเยอร์ ใช้คำศัพท์ภาษากรีกที่เรียกดวงอาทิตย์ (เฮลิออส : Helios) มาตั้งชื่อธาตุนี้ ว่า ฮีเลียม (Helium) นอกจากนี้ เซอร์ วิลเลียม แรมเซย์ ได้ค้นพบฮีเลียมบนโลก (ค.ศ. 1895) ในธาตุที่มียูเรเนียม เป็นเส้นสีเหลืองสด ไม่เหมือนธาตุใดในสเปกตรัมที่ตรงกับที่สังเกตจากดวงอาทิตย์
ฮีเลียมที่มีอยู่ในเอกภพ มีมากเป็นอันดับสองรองจากไฮโดรเจน และมีปริมาณหนาแน่นในดาวฤกษ์ ซึ่งถูกสังเคราะห์ได้จากไฮโดรเจนนั่นเอง โดยอาศัยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น แม้ว่าฮีเลียมจะปรากฏในบรรยากาศของโลกเพียงหนึ่งส่วนใน 186,000 ส่วน (0.0005%) และมีปริมาณน้อยที่ปรากฏในแร่กัมมันตรังสี โลหะจากอุกกาบาต และน้ำพุแร่ แต่ฮีเลียมปริมาณสูงพบได้ในฐานะส่วนประกอบ (มากถึง 7.6%) ในก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะในรัฐเทกซัส, นิวเม็กซิโก, แคนซัส, โอคลาโฮมา, แอริโซนา และยูทาห์) นอกจากนั้นก็พบได้บ้างในแคนาดา, สหภาพรัสเซีย, แอฟริกาใต้ และในทะเลทรายซาฮาร่า
[แก้] การนำไปใช้ประโยชน์
- ก๊าซฮีเลียมมีความหนาแน่นที่ต่ำมาก จึงนำไปใช้บรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทนก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้ ภายหลังจากการระเบิดของเรือเหาะฮินเดนบวร์กของเยอรมัน และทราบสาเหตุว่ามาจากการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจน
- มีการนำก๊าซฮีเลียมไปผสมในอากาศสำหรับนักดำน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบนด์ (Bends)
- ฮีเลียมเหลว (ซึ่งมีอุณหภูมิ -269 องศาเซลเซียส) นำไปใช้เกี่ยวกับตัวนำยิ่งยวด (Superconductor)
ฮีเลียม เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ฮีเลียม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |