สี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี คือการรับรู้ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ของแสง ในทำนองเดียวกันกับที่ระดับเสียง (หรือโน้ตดนตรี) คือการรับรู้ความถี่หรือความยาวคลื่นของเสียง
มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีต่างจากคนอื่น หรือไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้น, และผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง
บางครั้งเราเรียกแขนงของวิชาที่ศึกษาเรื่องของสีว่า รงคศาสตร์ วิชานี้จะครอบคลุมเรื่องของการรับรู้ของสีโดยดวงตาของมนุษย์, แหล่งที่มาของสีในวัตถุ, ทฤษฎีสีในวิชาศิลปะ, และฟิสิกส์ของสีในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า
[แก้] ฟิสิกส์ของสี
สีในช่วงสเปกตรัมที่มองเห็น
สี | ช่วงความยาวคลื่น | ช่วงความถี่ |
---|---|---|
สีแดง | ~ 625-740 nm | ~ 480-405 THz |
สีส้ม | ~ 590-625 nm | ~ 510-480 THz |
สีเหลือง | ~ 565-590 nm | ~ 530-510 THz |
สีเขียว | ~ 500-565 nm | ~ 600-530 THz |
สีน้ำเงิน | ~ 485-500 nm | ~ 620-600 THz |
สีคราม | ~ 440-485 nm | ~ 680-620 THz |
สีม่วง | ~ 380-440 nm | ~ 790-680 THz |
สเปกตรัมแสงที่มองเห็น แบบต่อเนื่อง |
||
สเปกตรัมคอมพิวเตอร์ |
Color | /nm | /1014 Hz | /104 cm-1 | /eV | /kJ mol-1 |
---|---|---|---|---|---|
อินฟราเรด | >1000 | <3.00 | <1.00 | <1.24 | <120 |
แดง | 700 | 4.28 | 1.43 | 1.77 | 171 |
ส้ม | 620 | 4.84 | 1.61 | 2.00 | 193 |
เหลือง | 580 | 5.17 | 1.72 | 2.14 | 206 |
เขียว | 530 | 5.66 | 1.89 | 2.34 | 226 |
น้ำเงิน | 470 | 6.38 | 2.13 | 2.64 | 254 |
ม่วง | 420 | 7.14 | 2.38 | 2.95 | 285 |
Near ultraviolet | 300 | 10.0 | 3.33 | 4.15 | 400 |
Far ultraviolet | <200 | >15.0 | >5.00 | >6.20 | >598 |