See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 - วิกิพีเดีย

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
Benedict XVI
Papa Benedictus Sextus Decimus
พระนามเดิม โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (Joseph Alois Ratzinger)
ขึ้นดำรงตำแหน่ง 19 เมษายน พ.ศ. 2548
สิ้นสุดตำแหน่ง อยู่ในตำแหน่ง
สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2
สมัยถัดไป อยู่ในตำแหน่ง
เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (อายุ 81 ปี)
รัฐบาเยอร์น ธงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนี

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (ละติน: Benedictus XVI, อังกฤษ: Benedict XVI) มีพระนามเดิมว่า พระคาร์ดินัล โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (ภาษาละติน Iosephus Ratzinger, ภาษาอังกฤษ Joseph Alois Ratzinger) เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) เป็นชาวเยอรมัน

เนื้อหา

[แก้] วัยเด็ก

ทรงเป็นบุตรชายของ โจเซฟ และมาเรีย รัตซิงเกอร์ ประสูติในหมู่บ้านมาร์เคลท์ อำ อินน์ (Marktl am Inn) ในแคว้นบาวาเรีย, ประเทศเยอรมนี ไม่ไกลจากชายแดนออสเตรีย ทรงมีพี่น้อง 2 คน คนหนึ่งเป็นหญิงชื่อมาเรีย (เช่นเดียวกับพระมารดาของพระองค์) อีกคนหนึ่งเป็นพี่ชายคนโต ชื่อ จอร์จ (บวชเป็นบาทหลวงเช่นเดียวกับพระองค์) พระองค์ได้เข้าไปศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นบาทหลวงในบ้านเณร ในเมือง Traunstein เมื่อปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้น พระองค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยยุวชนฮิตเลอร์ (เด็กชายทุกคนในปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ต้องเข้าร่วม) เมื่อกองทัพเยอรมันต้องการกำลังทหาร พระองค์ก็ถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นพลปืนต่อต้านอากาศยาน ซึ่งพระองค์มีหน้าที่ดูแลเครื่องบินและต่อมาทรงย้ายไปประจำที่ศูนย์สื่อสารทางโทรศัพท์ ต่อมาในปี 1944 (พ.ศ. 2487) พระองค์และเพื่อนร่วมชั้นก็ออกจากกองต่อต้านอากาศยาน แต่กลับถูกเกณฑ์อีกครั้งเพื่อไปประจำที่ชายแดนซึ่งติดต่อกับฮังการี พระองค์มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ไว้ป้องกันกองทัพรถถังโซเวียต ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น พระองค์ก็ออกจากกองทัพและมุ่งหน้ากลับบ้าน สามสัปดาห์ผ่านไปพระองค์ก็ได้รับหมายเรียกให้รับการฝึกเป็นทหารราบ แต่ทรงไม่เคยต้องออกไปยังแนวหน้า

ในเดือนเมษายน 1945 (พ.ศ. 2488) (ก่อนหน้านาซีจะยอมแพ้ไม่นาน) พระองค์ก็หนีทัพและกลับไปยังหมู่บ้านของพระองค์ แต่ภายหลังสงคราม พระองค์ถูกจับในฐานะเชลยเนื่องจากทัพฝ่ายพันธมิตรสรุปว่าพระองค์เป็นทหาร พระองค์ต้องไปเข้าค่ายกักกันเชลยศึก พระองค์ออกจากค่ายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2488 พระองค์ได้เริ่มด้วยเท้าเป็นระยะทาง 120 กิโลเมตรเพื่อกลับหมู่บ้าน แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรถส่งนมที่พาพระองค์ไปส่งที่เมืองเธราน์ชไตน์ (Traunstein) เมื่อพระองค์กลับถึงบ้าน ก็ได้พบกับพี่ชายซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากค่ายเชลยศึกในอิตาลีเช่นเดียวกัน

[แก้] การศึกษา

ในปี 1945 (พ.ศ. 2488) หลังจากที่พระองค์กลับถึงบ้าน พระองค์ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่บ้านเณรแห่งหนึ่งในเมืองไฟรซิงก์ (Freising) หลังจากนั้นก็ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยลุดวิก-แม็กซิมิเลียน (Ludwig-Maximilian) ในเมืองมิวนิก ในที่สุด เมื่อปี 1951 (พ.ศ. 2494) พระองค์ก็ได้บวชเป็นบาทหลวงโดยมีผู้บวชให้คือ พระคาร์ดินัลเฟาฮาเบอร์ (Faulhaber) แห่งเมืองมิวนิก ระหว่างนั้นพระองค์ยังทรงเขียนวิทยานิพนธ์ขึ้น 2 ฉบับ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบุญออกัสติน (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2496) และนักบุญโบนาเวงตูร์ (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2500) ในปี 1958 (พ.ศ. 2501) พระองค์ก็ได้เป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยไฟรซิงก์

[แก้] งานทางศาสนา

ต่อมาพระองค์เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยบอนน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เมื่อพระองค์ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ ในปี 1966 (พ.ศ. 2509) พระองค์ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาเทววิทยา ณ มหาวิทยาลัยตูบิงเกน (Tübingen) (ระหว่างนี้เองที่พระองค์ได้เห็นขบวนการมากมายที่อาจทำให้คำสอนของคาทอลิกผิดเพื้ยนไป เช่นขบวนการเรียกร้องสิทธิของพวกรักร่วมเพศ) ในปี 1969 (พ.ศ. 2512) พระองค์ก็กลับไปยังบาวาเรีย แคว้นเกิดของพระองค์เพื่อไปสอนที่มหาวิทยาลัยรีเกนสบูรก์ (Regensburg)

ในปี 1972 (พ.ศ. 2515) พระองค์ได้ร่วมกับฮันส์ เอิร์ส วอน บาลธาซาร์, อองริ เดอ ลูบัค และวอลเตอร์ แกสแปร์ ก่อตั้งวารสารทางศาสนาขึ้นมาชื่อว่าคอมมูนิโอ (Communio, ปัจจุบันวารสารนี้ตีพิมพ์ใน 17 ภาษา และเป็นหนึ่งวารสารคาธอลิกที่สำคัญที่สุด) พระองค์ยังเป็นผู้ที่เขียนบทความลงในวารสารนี้อีกด้วย

[แก้] พระคาร์ดินัล

ในเดือนมีนาคม 1977 (พ.ศ. 2520) ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครสังฆราชแห่งเมืองมิวนิก และในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 (ในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาใน พ.ศ. 2548 พระองค์เป็นหนึ่งในพระคาร์ดินัลที่มีสิทธิเลือก 3 คนที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2)

25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งให้เป็นสมณมนตรีของสมณกระทรวงว่าด้วยข้อความเชื่อ นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่ง

  • ประธานคณะกรรมการพระคัมภีร์
  • คณะกรรมการเทววิทยาระดับนานาชาติในสันตะสำนัก
  • ผู้ประสานงานสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2526)
  • ประธานของผู้แทน สมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2526)

6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าคณะพระคาร์ดินัล

30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ได้รับเลือกเป็นหัวหน้า (Dean) คณะพระคาร์ดินัล

พ.ศ. 25292535 เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาธอลิก

10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมาเรียซานติสสิมาอัสสุนตา Maria Santissima Assunta

13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ในสันตะสำนัก (Pontifical Academy of Sciences)

ทรงเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการสมณกระทรวงของสันตะสำนัก ( Curial Membership )

  • พระศาสนจักรตะวันออก
  • พิธีกรรม
  • พระสังฆราช
  • การประกาศพระวรสารสู่ปวงชน
  • การศึกษาคาธอลิก

และเลขาธิการของรัฐวาติกัน (Second Section) ด้านความสัมพันธ์กับรัฐอื่น


[แก้] สมเด็จพระสันตะปาปา

หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 สิ้นพระชนม์ในวันที่ 2 เมษายน 2548 พระองค์ก็ทรงได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2548 เมื่ออายุ 78 ปี เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาที่มีอายุมากที่สุดที่เคยได้รับเลือก นับตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 (พ.ศ. 2273) และเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาชาวเยอรมันพระองค์แรกตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 (1522–1523) (สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 ทรงเป็นชาวเยอรมันด้วย เพราะในสมัยของพระองค์ เนเธอร์แลนด์ถูกรวมอยู่ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Empire) ซึ่งปกครองโดยบรรพบุรุษของชาวเยอรมันในปัจจุบัน) (สมเด็จพระสันตะปาปาองค์สุดท้ายก่อนหน้าพระองค์ที่มาจากดินแดนที่อยู่ในเขตเยอรมนีปัจจุบัน คือสมเด็จพระสันตะปาปาวิกเตอร์ที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งในปี 1055-1057)

การเลือกตั้งพระสันตะปาปาคราวนี้ใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น และมีการลงคะแนนทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งพระสันตะปาปาครั้งที่ผ่านๆ มา

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า:
สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2
พระสันตะปาปา (สมัยที่ {{{สมัยที่}}})
พ.ศ. 2548-
สมัยถัดไป:
ยังดำรงตำแหน่งอยู่


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -