พ.ศ. 2509
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี: 2506 2507 2508 - พ.ศ. 2509 - 2510 2511 2512 |
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2509 |
- รัตนโกสินทรศก | 185 |
- ปีนักษัตร | มะเมีย |
ปฏิทินเกรกอเรียน | ค.ศ. 1966 (MCMLXVI) |
ปฏิทินเกาหลี | 4299 |
ปฏิทินคอปติก | 1682 – 1683 |
จุลศักราช | 1328 |
ปฏิทินจูเลียน | 2011 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ปีโชวะที่ 41 (昭和41年) |
- ปีจักรพรรดิ | ปีโคกิที่ 2626 (皇紀2626年) |
- ยุคโจมง | 11966 |
ปฏิทินบาฮาอี | 122 – 123 |
มหาศักราช | 1888 |
อับ อูรเบ กอนดิตา | 2719 |
ปฏิทินอาร์เมเนีย | 1415 (ԹՎ ՌՆԺԵ) |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1958 – 1959 |
ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ | 1385 – 1386 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2021 – 2022 |
- ศกสมวัต | 1888 – 1889 |
- กลียุค | 5067 – 5068 |
ปฏิทินฮีบรู | 5726 – 5727 |
พุทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
เนื้อหา |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี : จอมพล ถนอม กิตติขจร (พ.ศ. 2506-2516)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2509
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม-มิถุนายน
- 9 มกราคม - วันก่อตั้งโรงเรียนหอวัง
- 25 มกราคม - วันสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 3 กุมภาพันธ์ - ยานลูนา 9 ของโซเวียต เป็นยานลำแรกของโลกที่ลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ และส่งภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์มายังโลก
- 1 มีนาคม - ยานเวเนรา 3 ของสหภาพโซเวียต พุ่งชนดาวศุกร์ เป็นยานอวกาศลำแรก ที่สัมผัสพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงอื่น
- 9 มีนาคม - วันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- 11 มีนาคม - ฝ่ายทหารของอินโดนีเซีย กดดันให้ประธานาธิบดีซูการ์โน ลงจากตำแหน่ง
- 14 มีนาคม - ธนาคารกรุงไทย เปิดดำเนินการเป็นวันแรก
- 1 เมษายน - วันสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- 3 พฤษภาคม - งานประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508
- 5 พฤษภาคม - จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ทำพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร
- 26 พฤษภาคม - ประเทศกายอานาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
- 29 พฤษภาคม - ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ร่วมลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ (มีผลบังคับใช้ 8 มิ.ย. 2511)
[แก้] กรกฎาคม-ธันวาคม
- 6 กรกฎาคม - ประเทศมาลาวีกลายเป็นสาธารณรัฐ
- 14 กรกฎาคม - ริชาร์ด สเปก ฆาตกรรมนักศึกษาพยาบาล 8 ศพในหอพักที่เมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
- 30 กรกฎาคม - อังกฤษชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก ด้วยการเอาชนะทีมชาติเยอรมนี 4-2 ประตู
- 31 กรกฎาคม - ก่อตั้งสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาสา-ASA)
- 23 สิงหาคม - ยานลูนาร์ออร์บิเตอร์ 1 ขององค์การนาซา ถ่ายภาพโลกภาพแรก
- 30 กันยายน - ประเทศบอตสวานาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
- 4 ตุลาคม - บาซูโตได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร และเปลี่ยนชื่อเป็นเลโซโท
- 25 ตุลาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ ลินดอน บี. จอห์นสัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ในโอกาสมาเยือนจุฬาฯ เพื่อเยี่ยมชมกิจการของมหาวิทยาลัย และได้ลงนามความร่วมมือทางการศึกษาต่างๆ ณ หอประชุมจุฬาฯ
- 30 พฤศจิกายน - ประเทศบาร์เบโดสได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
- 2 ธันวาคม - จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมพลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เนื่องในวโรกาสที่มีพระชนมพรรษาเข้าปีที่ 40 และขอพระบรมราชานุญาตขนานนามพระคทาองค์ใหม่เป็นพิเศษว่า พระคทาจอมทัพภูมิพล
- 9-20 ธันวาคม - เอเชียนเกมส์ 1966 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย
- 18 ธันวาคม - นักดาราศาสตร์ค้นพบเอพิมีเทียส หนึ่งในดาวบริวารของดาวเสาร์ แต่ถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเจนัส ดาวบริวารอีกดวงหนึ่งเป็นเวลา 12 ปี เนื่องจากวงโคจรแทบจะซ้อนทับกัน
- 30 ธันวาคม - ชาติชาย เชี่ยวน้อย เอาชนะทีเคโอยก 9 วอลเตอร์ แม็คโกแวน นักมวยชาวอังกฤษ ได้เป็นแชมป์โลกคนที่ 2 ของไทย
[แก้] ไม่ทราบวัน
- ศาลาพระเกี้ยวในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างแล้วเสร็จ
- เริ่มการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในประเทศจีน
[แก้] วันเกิด
- 19 มกราคม - สเตฟาน เอ็ดเบิร์ก นักเทนนิสชาวสวีเดน อดีตมือหนึ่งของโลก
- 29 มกราคม - โรมาริโอ นักฟุตบอลชาวบราซิล
- 9 กุมภาพันธ์ - กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักประพันธ์รางวัลซีไรต์ (ถึงแก่กรรม 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
- 20 กุมภาพันธ์ - ซินดี ครอว์ฟอร์ด นางแบบชาวอเมริกัน
- 21 มีนาคม - โชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์ อาจารย์และนักเขียนรางวัลซีไรต์ (นามปากกา โชคชัย บัณฑิต')
- 25 มีนาคม - ชนะ ป.เปาอินทร์ และ สงคราม ป.เปาอินทร์ นักมวยสากล
- 2 เมษายน - เทดดี เชอริงแฮม นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 7 เมษายน - เท่ง เถิดเทิง นักแสดงตลก
- 7 เมษายน - พัฒน์ อ.ยุทธนากร นักมวยสากล
- 8 เมษายน - หม่อมหลวงสราลี กิติยากร
- 9 เมษายน - ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ สถาปนิกและอาจารย์
- 11 พฤษภาคม - สรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ดำเนินรายการและผู้ประกาศข่าว
- 16 พฤษภาคม - เจเน็ต แจ็กสัน นักร้องชาวอเมริกัน
- 24 พฤษภาคม - เอริค คันโตนา นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- 10 มิถุนายน - นิกโก้ โธมัส อดีตแชมป์โลกมวยสากลชาวอินโดนีเซีย
- 28 มิถุนายน - จอห์น คิวแซค นักแสดงชาวอเมริกัน
- 30 มิถุนายน - ไมค์ ไทสัน นักมวยชาวอเมริกัน
- 12 กรกฎาคม - ทาอิจิ นักดนตรีชาวญี่ปุ่น
- 25 กรกฎาคม - ริคาร์โด้ โลเปซ นักมวยชาวเม็กซิกัน
- 7 สิงหาคม - จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียชาวอเมริกัน
- 14 สิงหาคม - ฮัลลี เบอร์รี นักแสดงหญิง
- 2 กันยายน - พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นักร้อง/นักแสดง
- 9 กันยายน - อดัม แซนด์เลอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 22 ตุลาคม - ยูริ อาร์บาชาค็อฟ นักมวยชาวรัสเซีย
- 31 ตุลาคม - คริสติน่า อากีล่าร์ นักร้องชาวไทย
- 6 พฤศจิกายน - คาเอะ อารากิ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
- 9 พฤศจิกายน - เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ นักเขียนรางวัลซีไรต์
- 12 พฤศจิกายน - เดวิด ชวิมเมอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เฟรนดส์)
- 20 ธันวาคม - ยูมิ โทมะ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 5 พฤษภาคม - จิตร ภูมิศักดิ์ นักประพันธ์และนักคิด (เกิด 25 กันยายน พ.ศ. 2473)
- 13 กรกฎาคม - เจ้าหญิงเบียทริซ แห่งเอดินเบอระและแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา (ประสูติ 20 เมษายน พ.ศ. 2427)
- 10 ธันวาคม - เสถียร โพธินันทะ นักปราชญ์แห่งวงการพระพุทธศาสนา (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2472)
- 15 ธันวาคม - วอลต์ ดิสนีย์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2444)