See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) - วิกิพีเดีย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) (นามเดิม: เกี่ยว โชคชัย) เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เคยรักษาการแทนพระสังฆราช และปัจจุบันเป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์ สูงอันดับสองของมหาเถรสมาคม รองจาก สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม[1][2][3][4][5] สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นพระสงฆ์มหานิกาย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2471บ้านเฉวง ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี บรรพชาเป็นสามเณรวัดภูเขาทอง อำเภอเกาะสมุย ได้อุปสมบทที่วัดสระเกศ เมื่อปี พ.ศ. 2492

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 9 และเป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2508 เมื่อปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งเป็น รองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อปี พ.ศ. 2533 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนามหาเถรสมาคม

เนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมีพระอาการประชวร และเสด็จเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก[6][7] มหาเถรสมาคม จึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในต้นปี พ.ศ. 2547 ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคม จึงมีมติให้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ (เนื่องจาก พระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม คือสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี มีอาการอาพาธ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่[2][3]) ทำหน้าที่ประธาน การแต่งตั้งดังกล่าวทั้งสองครั้ง ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากกลุ่ม หลวงตาบัว นายสนธิ ลิ้มทองกุล และนายทองก้อน วงศ์สมุทร[8][4][9][10]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติครอบครัว และการศึกษา

เกี่ยว โชคชัย เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2471 (ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง)[11]บ้านเฉวง ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนบุตร 6 คน ของนายฮุ้ยเลี้ยน แซ่โหย้ (เลื่อน โชคชัย) และนางยี แซ่โหย้ (ยี โชคชัย) ครอบครัวโชคชัยมีอาชีพทำสวน

เกี่ยว โชคชัยสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2483 ก่อนที่จะถึงกำหนดวันเดินทางไปศึกษาต่อยังโรงเรียนในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี เด็กชายเกี่ยวเกิดมีอาการ ป่วยไข้ขึ้นมาอย่างกะทันหัน บิดา มารดาจึงบนบานว่า หากเด็กชายเกี่ยวหายจากป่วยไข้ ก็จะให้บวชเป็นเณร ภายหลังจากบนบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลบ่อผุด โดยมีเจ้าอธิการพัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์[12]

ความตั้งใจเดิมของสามเณรเกี่ยว คือ การบวชแก้บน สัก 7 วัน แล้วก็จะลาสึกไปรับการศึกษาในฝ่ายโลก แต่เมื่อบวชแล้วได้เปลี่ยนใจ ไม่คิดจะสึกตามที่เคยตั้งใจไว้ โยมบิดามารดาจึงได้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับหลวงพ่อพริ้ง (พระครูอรุณกิจโกศล) เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย[13]

วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

ในเวลาต่อมา หลวงพ่อพริ้งได้นำไปฝากไว้กับอาจารย์เกตุ คณะ 5 ณ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร สงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นในเวลาไม่นาน กรุงเทพมหานครถูกเครื่องบินทิ้งระเบิด หลวงพ่อพริ้งจึงได้รับตัวพาไปฝากท่านอาจารย์มหากลั่น ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งได้พากลับไปที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในเวลานั้น ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลาสิกขาบทไปแล้ว หลวงพ่อพริ้งจึงพาฝากไว้กับ พระครูปลัดเพียบ (ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนา เป็นพระธรรมเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ)

ท่านได้ศึกษาธรรมะจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และศึกษาปริยัติธรรม สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร ต่อมา เมื่อมีอายุครบอุปสมบท ก็ได้อุปสมบทในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ที่วัดสระเกศ โดยมี เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช อยู่ ญาโณทโย (ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวโรดม) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ จนถึงปี พ.ศ. 2497 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค[14][15]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[16] และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ[17]

[แก้] สมณศักดิ์

เจ้าประคุณ สมเด็จฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้ง เลื่อนและสถาปนาสมณศักดิ์ โดยลำดับ ดังนี้

[แก้] งานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์

[แก้] พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2510

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ภาพเมื่อเป็นพระราชาคณะที่ พระเทพคุณาภรณ์ ปี 2507:องค์กลางในรูป
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ภาพเมื่อเป็นพระราชาคณะที่ พระเทพคุณาภรณ์ ปี 2507:องค์กลางในรูป

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เริ่มต้นงานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2494 โดยเป็น เป็นครูสอนปริยัติธรรม ต่อได้เป็นกรรมการตรวจ ธรรมสนามหลวง ในปี พ.ศ. 2496 และเป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง ในปี พ.ศ. 2497 ในปีเดียวกัน ได้เป็นกรรมการพิเศษแผนกตรวจสำนวนแปลวินัยปิฏก ฉบับ พ.ศ. 2500 ของคณะสงฆ์ และในปี พ.ศ. 2498 ได้ไปร่วมประชุมฉัฏฐสังคีติ ณ สหภาพพม่า

ในปี พ.ศ. 2500 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เป็นอาจารย์สอนบาลี ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในปีต่อมาได้เลื่อนเป็นหัวหน้าแผนกบาลีธรรม และเป็นอาจารย์สอนพระสูตร และประธานหัวหน้าแผนกคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในปีพ.ศ. 2502 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี และหัวหน้าแผนกธรรมวิจัย ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2506 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม ในปี พ.ศ. 2507 ได้รับเลือกเป็น เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 9 (เขตปกครองจังหวัด ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด) ในปี พ.ศ. 2508 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 9 และเป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช

[แก้] เจ้าอาวาสวัดสระเกศ

ในปี พ.ศ. 2513 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับเลือกเป็นกรรมการร่างหลักสูตร ร.ร. พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ

[แก้] กรรมการมหาเถรสมาคม

ในปี พ.ศ. 2516 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งเป็น รองสมเด็จพระราชาคณะ เป็นพระองค์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้รับสถาปนาแต่งตั้งขึ้นเป็นชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่มีอายุไม่ถึง 50 ปี[18]

ภาพ:สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในพิธีทรงตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ ประจำปี พ.ศ. 2549
ภาพ:สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในพิธีทรงตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ ประจำปี พ.ศ. 2549

ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 10 (เขตปกครอง จังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครพนม, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ) ในปี พ.ศ. 2528 ได้ เป็นประธานกรรมาธิการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในปี พ.ศ. 2532 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะหนใหญ่หนตะวันออก และในปี พ.ศ. 2534 ได้เป็นประธานกรรมการจัดการชำระและพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ในปี พ.ศ. 2540 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของมหาเถรสมาคม และเป็นประธานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย

นอกจากนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงพิมพ์กรมการศาสนา และได้แสดงธรรมทางสถานีวิทยุ 919 ในรายการ “ของดีจากใบลาน” เป็นประจำ

[แก้] ภารกิจต่างประเทศ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เริ่มต้นงานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2505 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปดูการศาสนาและเพื่อศาสนสัมพันธ์ที่เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2510 ได้เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปสังเกตการณ์ การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลาว ศรีลังกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2512 เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูต

ในปี พ.ศ. พ.ศ. 2515 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ไปสังเกตการณ์การศึกษาทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2525 ได้รับตำแหน่งรองประธานสภาสงฆ์แห่งโลก[16][19]

[แก้] ผลงานด้านหนังสือ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีผลงานด้านการเขียนที่เป็นหนังสือดังหลายเล่ม ประกอบด้วย ธรรมะสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนา, ดีเพราะมีดี (พิมพ์ ธ.ค. พ.ศ. 2540), ทศพิธราชธรรม (พิมพ์ ธ.ค. พ.ศ. 2541), วันวิสาขบูชา (พิมพ์ พ.ศ. 2542)[20][21], การนับถือพระพุทธศาสนา, ปาฐกถาธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ), โอวาทพระธรรมเทศนาและบทความสมเด็จพระพุฒาจารย์, การดำรงตน, และ คุณสมบัติ 5 ประการ[16]

[แก้] รักษาการแทนพระสังฆราช และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

[แก้] ก่อนการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

[แก้] รักษาการแทนพระสังฆราช

หนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” ที่ พศ 0006/3 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547
หนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” ที่ พศ 0006/3 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547

ตามที่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงประชวร และเสด็จประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระศาสนกิจได้สะดวก[6][7] ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้ขอความเห็นจากคณะแพทย์และคณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเทพสารเวที ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน เสนอที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคมในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2547 ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม มีมติอนุโมทนาสนองข้อเสนอดังกล่าว โดยให้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นการชั่วคราว และโดยที่สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธ สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์มีอายุถึง 96 พรรษา (ณ เวลานั้น) อีกทั้งยังอาพาธ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน จึงเห็นสมควรให้สมเด็จพระราชาคณะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ลำดับถัดไป ได้แก่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โดยมีสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะอื่นอีก 5 รูป เป็นผู้ช่วยปฏิบัติหน้าที่ โดยที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยมีนาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตร เป็นผู้ลงนาม[22] ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงมีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 อย่างไรก็ตาม ในปลายปี พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ได้กล่าวหาว่า ลายมือเขียน “ทราบและเห็นชอบ” ไม่ได้เป็นของสมเด็จพระสังฆราช แต่เป็นของ พระเทพสารเวที เลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช[23]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 เช่น เป็นประธานในพิธีวันวิสาขบูชาโลก ในช่วง 30 พ.ค. ถึง 3 มิ.ย. ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่คณะสงฆ์ในโลกทั้ง 3 นิกาย คือ เถรวาท มหายาน และวัชรยาน ได้มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกันในสถานที่เดียวกัน[24]

[แก้] ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ภาพ:ปัจจุบันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็น ประธาน คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (สังเกตร่ม)
ภาพ:ปัจจุบันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็น ประธาน คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (สังเกตร่ม)

ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2547 เพื่อให้มี คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[25] มหาเถรสมาคม มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุม เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ให้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด ทั้งจากฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตนิกาย โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทำหน้าที่ประธาน[4]

นอกจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์แล้ว พระราชาคณะอีก 6 รูปในคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีดังต่อไปนี้

  1. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร (มหานิกาย, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2487, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยเป็นพระผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองจากสมเด็จพระพุฒาจารย์)[5][26]
  2. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ( ช่วง วรปุญโญ ป.ธ. 9)เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ (มหานิกาย, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2488, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2538)[27]
  3. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม (มหานิกาย, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2471)
  4. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม (ธรรมยุต, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2483, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2543)[28]
  5. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (ธรรมยุต, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2480, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2544)[29]
  6. สมเด็จพระญาณวโรดม เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส (ธรรมยุต, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2480, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2546)[30][31]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึงปี พ.ศ. 2549 เช่น เป็นประธานในพิธีวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี พ.ศ. 2548 โดยมีผู้นำศาสนาพุทธจาก 41 ประเทศเข้าร่วม และกล่าวเปิดประชุมโดยการประกาศให้ผู้นำศาสนาพุทธทั่วโลกร่วมกันยกย่ององค์พระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงเป็นองค์พุทธมามกะประเสริฐยิ่งในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พร้อมแนะให้ใช้หลักแห่งพุทธะดับความร้อนรุ่มของโลก[32]

[แก้] ข้อวิจารณ์ กรณีแต่งตั้งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

นายสนธิ ลิ้มทองกุล และหลวงตาบัว ได้กล่าวว่า สมเด็จพระญาณสังวรฯ ไม่ได้ทรงพระประชวร แต่เพราะทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วเท่านั้น จริงๆ แล้ว ทรงแจ่มใส ปฏิบัติพระศาสนกิจได้ การแต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จึงมิชอบ[8][4] หลวงตาบัวยังได้กล่าวหาว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นมหาโจรด้วย และทำอะไรไม่ได้ดีไว้หลายอย่าง[9] ช่วง มีนาคม ปี พ.ศ. 2548 หลวงตาบัวจึงได้มอบหมายให้ ประธานศิษย์ นายทองก้อน วงศ์สมุทร ถวายฎีกาแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานบิณฑบาตถอดสมณศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ฐานขัดพระธรรมวินัย ดำเนินการประชุมมหาเถรสมาคมโดยไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ และร่วมมือกับนายวิษณุ เครืองาม ทำลายหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา และขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณี ตลอดจนศีลธรรมอันดี[10][33] ในเวลาต่อมา หลวงตามหาบัวได้นำคณะสงฆ์และฆราวาสนับหมื่น ไปชุมนุมใหญ่ต้านสมเด็จพระพุฒาจารย์[34] ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ออกมากล่าวว่า "กรณีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ถวายฎีกาเป็นการปกป้องสถาบันศาสนา และสถาบันกษัตริย์ไม่ให้อ่อนแอ"[35] อย่างไรก็ตาม ช่วง สิงหาคม ปี พ.ศ. 2549 หลวงตามหาบัว ได้ออกคำสั่งให้นายทองก้อน ออกจากวัด และห้ามยุ่งเกี่ยวกับเรื่องใดๆของวัดป่าบ้านตาดอีกต่อไป เนื่องจากประพฤติไม่เหมาะสมอย่างรุนแรง เกี่ยวกับการบริหารสถานีวิทยุเสียงธรรมชุมชน จึงทำให้แนวร่วมต่อต้านสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้อ่อนแอลงระยะหนึ่ง[36]

ในทางตรงข้าม คอลัมนิสต์แมงเม่า แห่ง หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้ออกมากล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชอย่างถูกต้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย[37] และผู้สนับสนุนสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้มีการรวมตัวกันเพื่อแสดงความเคารพและความสนับสนุนเป็นจำนวนมาก[5]

[แก้] หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้มีผู้ปลอมแปลงร่างพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ให้ยกเลิก คณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเดิม และตั้งคณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชใหม่ โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นประธาน และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นที่ปรึกษา[38] ในวันต่อมา คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ไม่ทราบว่าใครส่งพระบัญชาปลอมมาให้ดู[39] ส่วนเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ยืนยันว่า ไม่ทราบจริงๆ ว่าผู้ใดทำเอกสารปลอม คณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ให้ผู้แทนแจ้งความร้องทุกข์แก่พนักงานสอบสวน เพื่อหาผู้กระทำการปลอมพระบัญชา[40]

ในช่วงเวลาเดียวกัน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กว่า 30 คน นำโดยนายไพศาล พืชมงคล ได้เตรียมยื่นหนังสือเสนอร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เพื่อให้ สนช.พิจารณาและตราเป็น พ.ร.บ. โดยเสนอให้ นับอาวุโสของสมเด็จและพระราชาคณะโดยพรรษา (แทนการนับอาวุโสตามสมณศักดิ์) ซึ่งจะทำให้พระราชาคณะ ที่มีอาวุโสสูงสุด เป็นพระฝ่ายธรรมยุตินิกาย[41][42] พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2534 (ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในเวลานั้น) กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะได้รับโปรดเกล้าเป็น สมเด็จพระสังฆราช ต้องมีอาวุโสทางสมณศักดิ์สูงที่สุด โดยดูจากการที่พระสงฆ์รูปนั้น ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ (ชั้นสุพรรณบัตร คือการจารึกชื่อ ราชทินนามลงบนแผ่นทองคำ) ก่อนพระสงฆ์รูปอื่น ๆ[5] ในเวลาเดียวกัน ได้มีผู้เรียกร้องให้ รัฐบาลทหาร เสนอร่างกฎหมายแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์ เข้าสู่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเปลี่ยนให้ พระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เป็น พระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ของพระมหากษัตริย์ โดยไม่มีข้อจำกัด ในเรื่องของความอาวุโสทางพรรษาหรือสมณศักดิ์[43]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามปกติในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 และต้นปี พ.ศ. 2550 เช่น เป็นประธาน สังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยครั้งหลังสุดที่เคยมีการชำระพระไตรปิฎก คือ เมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา เมื่อครั้งมหามงคลดิถีที่มีพระชนมพรรษาจะบรรจบครบ 5 รอบนักษัตร ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530[44]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ พระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคมคือ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แต่สมเด็จพระพุทธปาพจนบดีมีอายุถึง 99 พรรษา (ชาตกาล 2 มีนาคม พ.ศ. 2451) และอาพาธ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ บางแหล่งข่าวจึงเรียก สมเด็จพระพุฒาจารย์ ว่าเป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุด ซึ่งเป็นการเรียกที่ผิด
  2. ^ 2.0 2.1 เดลินิวส์ วงการศาสนาปีลิง มีแต่สีสันและความเร้าใจ, 30 ธันวาคม 2547
  3. ^ 3.0 3.1 มติชน, ตั้ง ‘สมเด็จพระพุฒาจารย์’ ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช 15 ม.ค. 2547
  4. ^ 4.0 4.1 4.2 4.3 ผู้จัดการออนไลน์, สำนักนายกฯแถลง “สมเด็จญาณฯ” ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชแต่เพียงพระองค์เดียว, 3 พฤศจิกายน 2548
  5. ^ 5.0 5.1 5.2 5.3 The Nation, Special to The Nation: What is happening to Buddhism in Thailand is completely political and unBuddhist, 9 November 2006
  6. ^ 6.0 6.1 ข่าวสด, พระหนุนแต่งตั้งผู้ทำการแทนสมเด็จพระสังฆราช , 20 ม.ค. 2547
  7. ^ 7.0 7.1 ข่าวสด, พระหนุนแต่งตั้งผู้ทำการแทนสมเด็จพระสังฆราช, 20 ม.ค. 2547
  8. ^ 8.0 8.1 The Nation, Sondhi: Wissanu is a liar, 26 November 2005
  9. ^ 9.0 9.1 ผู้จัดการ Online, “หลวงตาบัว” เจิมยกแรก ซัด “สมเด็จเกี่ยว” เป็นมหาโจร!, 4 มีนาคม 2548
  10. ^ 10.0 10.1 ผู้จัดการรายวัน, ถวายฎีกาถอดสมเด็จเกี่ยว, 4 มีนาคม 2548
  11. ^ สยามรัฐ, 11 มกรา...มุทิตาสักการะ...79 ปีสมเด็จเกี่ยวผู้เปี่ยมเมตตา, 11 มกราคม 2550
  12. ^ ตามชีวประวัติในเว็บไซต์ของวัดสระเกศฯ ถ้าตามชีวประวัติที่ทางมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานีได้ทำวิจัย เกี่ยว โชคชัย ได้ บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดภูเขาทองตอนอายุ 12 ปี ถ้าตามชีวประวัติในเว็บไซต์ของธรรมะไทย เกี่ยว โชคชัย ได้ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (อายุ 18 ปี)
  13. ^ ชีวประวัติในเว็บไซต์ของธรรมะไทย ระบุว่า โยมบิดา เป็นผู้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับหลวงพ่อพริ้ง ส่วนชีวประวัติที่ทางมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานีได้ทำวิจัย ระบุว่า โยมมารดาเป็นผู้พาสามเณรเกี่ยวไปฝาก
  14. ^ ธรรมะไทย, วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
  15. ^ มติชน, ตั้ง ‘สมเด็จพระพุฒาจารย์’ ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช, 15 ม.ค. 2547
  16. ^ 16.0 16.1 16.2 16.3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี, สมเด็จพระพุฒาจารย์
  17. ^ คม-ชัด-ลึก, มรภ.ชัยภูมิ ถวายปริญญาสมเด็จฯเกี่ยว, 22 มีนาคม พ.ศ. 2550
  18. ^ เสียงใต้รายวัน, ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ "เจ้าคุณเสนาะ"รูปที่4ขึ้นรองสมเด็จฯอายุน้อยที่สุด, 4 มี.ค. 2549
  19. ^ ฐานข้อมูล บุคคลสำคัญ ปราชญ์ชาวบ้าน แหล่งเก็บข้อมูล สำนักวิทยบริการราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ร..9), Monday April 09 2001
  20. ^ บทความที่น่าสนใจ - หนังสือธรรมมะ
  21. ^ ห้องสมุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ELIB Gateway, เลขรหัส 1000007162
  22. ^ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 3ง, 14 มกราคม พ.ศ. 2547
  23. ^ ผู้จัดการออนไลน์ เปิดหลักฐานจับโกหก แถลงการณ์สำนักนายกฯ แอบอ้างสมเด็จพระสังฆราช, 4 พฤศจิกายน 2548
  24. ^ คม-ชัด-ลึก, พุทธศาสนา ๓ นิกาย ร่วมจัดงานวันวิสาขบูชาโลก, 29 มีนาคม พ.ศ. 2550
  25. ^ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79ง, 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  26. ^ ข่าวสด, ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร), คอลัมน์ มงคลข่าวสด, 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
  27. ^ วัดปากน้ำ, ประวัติย่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญมหาเถร ป.ธ. ๙)
  28. ^ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ประวัติ(โดยละเอียด) สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
  29. ^ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร (วัดเกาะ เยาวราช), ประวัติโดยสังเขป สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
  30. ^ มติชนรายวัน, 7 รายพระนาม คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ "สมเด็จพระสังฆราช"
  31. ^ วัดไทย ลาสเวกัส, รายนามคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ชุดปัจจุบัน พ.ศ. 2549
  32. ^ ผู้จัดการออนไลน์ 18, เปิดวิสาขบูชาโลก "สมเด็จเกี่ยว" แนะใช้พุทธศาสนาดับความร้อนรุ่มของโลก, 18 พฤษภาคม 2548
  33. ^ คม-ชัด-ลึก, ฎีกา "ทองก้อน : ทองขาว" เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาจริงหรือ ?, 19 เมษายน พ.ศ. 2550
  34. ^ ผู้จัดการออนไลน์, คนนับหมื่นชุมนุมใหญ่ ต้านสมเด็จเกี่ยว-วิษณุ, 5 มีนาคม 2548
  35. ^ ผู้จัดการออนไลน์, สนธิ ชี้ หลวงตาบัว ถวายฎีกาเพื่อปกป้องศาสนา, 5 มีนาคม 2548
  36. ^ คม-ชัด-ลึก, หลวงตาบัวอัปเปหิลูกศิษย์คนดังออกจากวัด, 11 สิงหาคม พ.ศ. 2549
  37. ^ แมงเม่า, คอลัมน์นิสต์ กระจกบานเล็ก : รำคาญ, เดลินิวส์, 8 มีนาคม 2548
  38. ^ ไทยรัฐ, 'สังฆราช' มีบัญชา เปลี่ยนปธ. คณะผู้ปฏิบัติฯแทน, 7 พฤศจิกายน 2549
  39. ^ ไทยรัฐ, ปธ.ปฏิบัติสังฆราช ยังคงเดิม 'สมเด็จพุฒาจารย์', 8 พฤศจิกายน 2549
  40. ^ คม-ชัด-ลึก, ร่างพระบัญชาพ่นพิษขู่บึ้มวัดบวรฯ, 9 พฤศจิกายนพ.ศ. 2549
  41. ^ คม-ชัด-ลึก, ยึดพรรษา-ชงปลดสมเด็จกี่ยว, 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  42. ^ คม-ชัด-ลึก, สมเด็จวัดชนะฯไม่รู้จะปลดสมเด็จเกี่ยว ชี้เอาจริงไม่ต้องผ่านมส., 7 พฤศจิกายนพ.ศ. 2549
  43. ^ ผู้จัดการออนไลน์, คอลัมน์เซี่ยงเส้าหลง, [เรื่องฉาวใกล้ตัวนายกฯ “กัญจนา สปินด์เลอร์” โดนแฉพฤติกรรม “ไม่เป็นหญิงไทย” !!], 18 ตุลาคม 2549
  44. ^ ไทยรัฐ, ชำระพระไตรปิฎกถวาย “ในหลวง”, 30 มกราคม พ.ศ. 2550

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -