สมการของแมกซ์เวลล์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมการของแมกซ์เวลล์ (Maxwell's equations) ประกอบด้วยสมการ 4 สมการ ตั้งชื่อตาม เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์(James Clerk Maxwell) โดย โอลิเวอร์ เฮวิไซด์ (Oliver Heaviside) สมการทั้ง 4 นี้ใช้อธิบายถึงพฤติกรรมของ สนามไฟฟ้า และ สนามแม่เหล็ก รวมถึงปฏิกิริยาที่มีต่อสารต่างๆ
เนื้อหา |
[แก้] รายละเอียดโดยย่อ
[แก้] รูปทั่วไป
รูป อนุพันธ์ | รูป ปริพันธ์ |
---|---|
กฎของเกาส์ (Gauss' law) : | |
กฎของเกาส์สำหรับสนามแม่เหล็ก (ความไม่มีอยู่ ของแม่เหล็กขั้วเดียว) (magnetic monopole) : | |
กฎของฟาราเดย์ (Faraday's law of induction) : | |
กฎของแอมแปร์ (Ampère's law + Maxwell's extension) : | |
โดยที่:
สัญลักษณ์ | ความหมาย | หน่วยในระบบเอสไอ |
---|---|---|
สนามไฟฟ้า | โวลต์ ต่อ เมตร | |
ความเข้มสนามแม่เหล็ก | แอมแปร์ ต่อ เมตร | |
ความหนาแน่นฟลักซ์ไฟฟ้า | คูลอมบ์ ต่อ ตารางเมตร | |
ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก เรียกอีกอย่างว่า การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก |
เทสลา, เวบเบอร์ ต่อ ตารางเมตร | |
ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าอิสระ | คูลอมบ์ ต่อ ลูกบาศก์เมตร | |
ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า | แอมแปร์ ต่อ ตารางเมตร | |
เวกเตอร์ผลต่างเชิงอนุพันธ์ของพื้นผิว A ซึ่งมีขนาดน้อยมาก และมีทิศทางตั้งฉากกับพื้นผิว S |
ตารางเมตร | |
ผลต่างเชิงอนุพันธ์ของปริมาตร V ซึ่งล้อมรอบด้วยพื้นผิว S | ลูกบาศก์เมตร | |
เวกเตอร์ผลต่างเชิงอนุพันธ์ของเส้นสัมผัสเส้นรอบขอบ C ที่ล้อมรอบพื้นผิว S | เมตร |
และ
- คือ ตัวดำเนินการ ไดเวอร์เจนซ์ (หน่วย SI: 1 ต่อ เมตร)
- คือ ตัวดำเนินการ เคิร์ล (หน่วย SI: 1 ต่อ เมตร)
[แก้] ความสัมพันธ์ตามคุณสมบัติของเนื้อสาร (constitutive relationships)
ความสัมพันธ์ตามคุณสมบัติของเนื้อสาร หรือ "constitutive relationships" ใช้ในการแสดงถึงพฤติกรรมความสัมพันธ์ของค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในเนื้อสารตัวกลาง ในระดับใหญ่(macroscopic) ซึ่งเป็นการพิจารณาพฤติกรรมโดยเฉลี่ยของสนาม ในสารตัวกลางที่มีปรมาตรที่ใหญ่กว่าขนาดของอะตอม และโมเลกุล โดยความสัมพันธ์นี้จะอยู่ในรูป
- (กฎของโอห์ม สำหรับสารตัวนำ)
ลักษณะคุณสมบัติอาจแบ่งตาม
เป็นเชิงเส้น/ไม่เป็นเชิงเส้น (linear/non-linear) : ในสารที่มีคุณสมบัติไม่เป็นเชิงเส้นนั้นความสัมพันธ์ด้านบนที่กล่าวมาจะไม่อยู่ในรูปเชิงเส้น ในกรณีที่เป็นสารที่มีคุณสมบัติเชิงเส้น ความสัมพันธ์ข้างต้นสามารถเขียนอยู่ในรูป
โดยที่
- เรียกว่า ค่าความซาบซึมได้ของสนามไฟฟ้า (permittivity หรือ ค่าความสามารถเก็บประจุ (capacitivity)
- μ เรียกว่า ค่าความซาบซึมได้ของสนามแม่เหล็ก (permeability) หรือ ค่าความสามารถเหนี่ยวนำ (inductivity)
- σ เรียกว่า ค่าความนำไฟฟ้า (conductivity)
เป็นเนื้อเดียว/ไม่เป็นเนื้อเดียว (homogeneous/nonhomogeneous) : สารที่เป็นเนื้อเดียวค่าของคุณสมบัติเนื้อสารจะไม่เปลี่ยนแปลงตามตำแหน่งในเนื้อสาร
ดิสเพอซีฟ/ไม่ดิสเพอซีฟ (dispersive/nondispersive) : สารที่ไม่เป็นดิสเพอซีฟ ค่าคุณสมบัติของเนื้อสารจะไม่เปลี่ยนแปลงตามความถี่ ของสนามที่กระทำกับเนื้อสาร
ไอโซโทรปิค/แอนไอโซโทรปิค (isotropic/anisotropic) : สารที่มีคุณสมบัติไอโซโทรปิค ค่าคุณสมบัติจะไม่ขึ้นกับทิศทางของสนามที่กระทำกับเนื้อสาร ในสารที่มีคุณสมบัติแอนไอโซโทรปิคนั้น ค่าคุณสมบัติจะเขียนอยู่ในรูป เทนเซอร์อันดับ 2 ในสามมิติ (เมทริกซ์ ขนาด3×3)
[แก้] Guage Invariant
Stub
[แก้] Vector Potential
Stub
[แก้] Lagrangian
Action ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่มี source นั้นเขียนได้ดังนี้
โดยที่
Euler-Lagrange Equation ของ Action นี้คือ Guass's Law และ Faraday's Law
สมการของ maxwell อีกสองสมการสามารถหาได้จาก Bianchi identity.
สมการของแมกซ์เวลล์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ฟิสิกส์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สมการของแมกซ์เวลล์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ฟิสิกส์ |