ภาษามอญ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามอญ ဘာသာမန္ ( Phesa Mon เพียซาโม่น ) |
||
---|---|---|
เสียงอ่าน: | pʰesa mɑn | |
พูดใน: | พม่า ไทย | |
ภูมิภาค: | เอเชียอาคเนย์ | |
จำนวนผู้พูด: | พม่า: 742,900 ทั้งหมด: 850,530 (Ethnologue, 2004) | |
ตระกูลภาษา: | ออสโตร-เอเชียติก มอญ-เขมร มอนิก ภาษามอญ |
|
ระบบการเขียน: | อักษรมอญ แต่สามารถใช้อักษรพม่าแทนได้ | |
สถานะทางการ | ||
ภาษาทางการใน: | ไม่มี เป็นภาษาชนกลุ่มน้อย ที่ยอมรับในพม่าและไทย | |
องค์กรควบคุม: | ไม่มี | |
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | ไม่มี | |
ISO 639-2: | — | |
ISO 639-3: | mnw | |
หมายเหตุ: บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซที่รองรับยูนิโคดเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์ | ||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษามอญ คือภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก สาขามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย พูดโดยชาวมอญ ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 13 ราว พ.ศ. 1314 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ
ภาษามอญ ในจารึกสมัยกลางเป็นทั้งภาษามอญและอักษรมอญ ประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา พม่ารับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่าเป็นครั้งแรก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม คือ ตัวอักษรที่เรียกว่า อักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้กลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะกลม เกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน
ภาษามอญปัจจุบัน เป็นภาษาในระยะพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลาประมาณ 400 ปีเศษ ในยุคนี้เป็นจารึกในใบลาน มีลักษณะกลม ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน[1]
การจัดตระกูลภาษา ถือว่าอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเซียติค (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในแถบอินโดจีนและทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเมื่อพิจารณาลักษณะทางไวยากรณ์ ภาษามอญ จัดอยู่ในประเภทภาษาคำติดต่อ (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group) ซึ่งมีนักภาษาศาสตร์ ชื่อ วิลเฮม สชมิต (Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)
พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงภาษามอญไว้ว่า “ภาษามอญ นั้นมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ซึ่งมีรูปภาษาคำติดต่อปน ลักษณะคำมอญ จะมีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ ส่วนคำหลายพยางค์ เป็นคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลีและสันสกฤต และคำที่เกิดจากการเติมหน่วยคำผสาน กล่าวคือ การออกเสียงของคำซึ่งไม่เน้นการออกเสียงในพยางค์แรก จะสร้างคำโดยการใช้การผสานคำ (affixation) กับคำพยางค์แรก เพื่อให้มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้หน่วยผสานกลางศัพท์ และการใช้สระต่าง ๆ กับพยางค์แรก ในคำสองพยางค์ ก็จะเป็นการช่วยเน้นให้พยางค์แรกเด่นชัดขึ้นด้วย แต่พยางค์หลังเป็นส่วนที่มีความหมายเดิม
กล่าวคือ ภาษามอญ เป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผันคำนาม คำกริยา ตามกฏบังคับทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำที่ทำหน้าประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย[2]
เนื้อหา |
[แก้] ไวยากรณ์
การเรียงประโยคเป็นแบบ ประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์เติมหลังคำนาม กริยาวิเศษณ์เติมหลังคำกริยา คำที่บอกจำนวนอยู่หน้าหรือหลังนามก็ได้ ส่วนคำที่บ่งชี้จำนวนอยู่หลังคำนาม การบอกกาลใช้การเติมคำบอกกาลเช่น "แล้ว" "จะ" เข้าในประโยคแบบเดียวกับภาษาไทย รูปประธานถูกกระทำแสดงโดยการเติมคำบ่งชี้ประธานถูกกระทำไว้หน้ากริยาสำคัญ
[แก้] สัทศาสตร์
ไม่มีเสียงวรรณยุกต์แต่มีการแบ่งเสียงพยัญชนะเป็นเสียงโฆษะและอโฆษะแบบเดียวกับภาษาเขมร
[แก้] พยัญชนะ
โอษฐชะ (Bilabial) |
ทันตชะ (Dental) |
ตาลุชะ (Palatal) |
จากเพดานอ่อน (Velar) |
จากเส้นเสียง (Glottal) |
|
---|---|---|---|---|---|
เสียงหยุด (Stops) |
p, pʰ, ɓ | t, tʰ, ɗ | c, cʰ | k, kʰ | ʔ |
เสียงเสียดแทรก (Fricatives) |
s | ç * | h | ||
เสียงนาสิก (Nasals) |
m | n | ɲ | ŋ | |
พยัญชนะเหลว (Liquids) |
w | l, r | j |
* ç พบเฉพาะคำที่ยืมจากภาษาพม่า
[แก้] สระ
หน้า | กลาง | หลัง | |
---|---|---|---|
สระปิด | i | u | |
สระกึ่งปิด | e | o | |
สระกึ่งเปิด | ɛ | ʌ | ɔ |
สระเปิด | a |
[แก้] อ้างอิง
- จำปา เยื้องเจริญและจำลอง สารพัดนึก. แบบเรียนภาษามอญ.กทม.มหาวิทยาลัยศิลปากร.2528
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
ภาษากลุ่มมุนดา | ภาษามุนดารี ภาษาสันตาลี ภาษาโสรา ภาษาโฮ |
ภาษากลุ่มมอญ-เขมร |
|