ภาษากาสี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากาสี Khasi |
||
---|---|---|
พูดใน: | อินเดีย, บังกลาเทศ | |
จำนวนผู้พูด: | 865,000 คน ส่วนใหญ่ในรัฐเมฆาลัย, อินเดีย (2540) | |
ตระกูลภาษา: | ออสโตร-เอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร ภาษากลุ่มมอญ-เขมรเหนือ ภาษากลุ่มกาสี ภาษากาสี |
|
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | ไม่มี | |
ISO 639-2: | kha | |
ISO 639-3: | kha | |
หมายเหตุ: บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซที่รองรับยูนิโคดเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์ | ||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษากาสีเป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติกใช้พูดในรัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย อยู่ในสาขามอญ-เขมร และใกล้เคียงกับภาษากลุ่มมุนดาที่เป็นภาษาตระกูลออสโตรเชียติกที่มีผู้พูดในอินเดียกลาง มีผู้พูด 865,000 คน ในรัฐเมฆาลัย มีผู้พูดบางส่วนในหุบเขาตามแนวชายแดนด้านรัฐอัสสัมและในบังกลาเทศตามแนวชายแดนอินเดีย ภาษากาสีมีเรื่องเล่าพื้นบ้านมากมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของชื่อต่างๆของภูเขา แม่น้ำ สัตว์และอื่นๆ
[แก้] ระบบการเขียน
ในอดีตภาษากาสีไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง William Carey ดัดแปลงอักษรเบงกาลีมาใช้เขียนเมื่อราว พ.ศ. 2356 – 2381 มีหนังสือที่เขียนด้วยอักษรนี้จำนวนมาก เช่น Ka Niyiom Jong Ka Khasi Thomas Jones มิชชันนารีชาวเวลส์ เขียนภาษานี้ด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2384 โดยการออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาเวลส์ จากจุดนี้จึงมีการพัฒนาอักษรละตินสำหรับภาษากาสีเองขึ้นมา อักษรละตินที่ใช้เขียนภาษากาสีได้แก่
- อักษรตัวใหญ่ A, B, K, D, E, G, Ng, H, I, Ï, J, L, M, N, Ñ, O, P, R, S, T, U, W, Y.
- อักษรตัวเล็ก a, b, k, d, e, g, ng, h, i, ï, j, l, m, n, ñ, o, p, r, s, t, u, w, y.
|
|
---|---|
ภาษากลุ่มมุนดา | ภาษามุนดารี ภาษาสันตาลี ภาษาโสรา ภาษาโฮ |
ภาษากลุ่มมอญ-เขมร |
|