ภาษาชวา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาชวา Basa Jawa, Basa Jawi |
||
---|---|---|
พูดใน: | เกาะชวา (ประเทศอินโดนีเซีย), ประเทศซูรินาเม นิวแคลิโดเนีย | |
จำนวนผู้พูด: | ทั้งหมด 80–100 ล้านคน (รวมถึงคนพูดเป็นภาษาที่ 2) | |
อันดับ: | 12 | |
ตระกูลภาษา: | ออสโตรนีเซียน มาลาโย-โพลีนีเซียน นิวเคลียร์มาลาโย-โพลีนีเซียน ซุนดา-สุลาเวสี ภาษาชวา |
|
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | jv | |
ISO 639-2: | jav | |
ISO 639-3: | มีหลากหลาย: jav — ภาษาชวา jvn — ภาษาชวาแคริบเบียน jas — ภาษาชวานิวแคลิโดเนีย osi — ภาษาโอซิง tes — ภาษาเต็งเกอร์ |
|
หมายเหตุ: บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซที่รองรับยูนิโคดเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์ | ||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษาชวา คือภาษาพูด ของผู้ที่อาศัยอยู่บนตอนกลางและตะวันออกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย เป็นภาษาแม่ของมากกว่า 75,500,000 คน ภาษาชวาอยู่ในภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน จึงสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซียและภาษามาเลย์ ผู้พูดภาษาชวา พูดภาษาอินโดนีเซียด้วย สำหรับวัตถุประสงค์ทางการและธุรกิจ และเพื่อสื่อสารกับชาวอินโดนีเซียอื่น ๆ มีชุมชนผู้พูดภาษาชวาขนาดใหญ่ในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐสลังงอและยะโฮร์ ( คีร์ โตโยรัฐมนตรีของสลังงอ เป็นชนพื้นเมืองของชวา) อย่างไรก็ดี ภาษาชวาไม่สามารถเข้าใจกันกับภาษามาเลย์ได้
เนื้อหา |
[แก้] สัทวิทยา
[แก้] พยัญชนะ
พยัญชนะ:
Labial | เสียงจากฟัน | Alveolar | Retroflex | Palatal | Velar | เสียงจากเส้นเสียง | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงกัก | p b | t d | ʈ ɖ | tʃ dʒ | k g | ʔ | |
Fricative | s | (ʂ) | h | ||||
เสียงกึ่งสระ | w | l | r | j | |||
เสียงนาสิก | m | n | (ɳ) | ɲ | ŋ |
[แก้] สระ
สระ:
สระหน้า | สระกลาง | สระหลัง |
---|---|---|
i | u | |
e | ə | o |
(ɛ) | (ɔ) | |
a |
[แก้] ไวยากรณ์
[แก้] การเรียงประโยค
ภาษาชวาสมัยใหม่เรียงประโยคแบบ ประธาน-กริยา-กรรม ในขณะที่ภาษาชวาโบราณเรียงประโยคแบบ กริยา-ประธาน-กรรม หรือ กริยา-กรรม-ประธาน ตัวอย่างเช่น ประโยค "เขาเข้ามาในพระราชวัง" เขียนได้ดังนี้
- ชวาโบราณ: Těka (กริยา) ta sira (ประธาน) ri ng (คำชี้เฉพาะ) kadhatwan (กรรม)
- ชวาสมัยใหม่: Dheweke (ประธาน) těka (กริยา) neng kĕdhaton (กรรม)
[แก้] คำกริยา
ไม่มีการผันคำกริยาตามบุคคลหรือจำนวน ไม่มีการแสดงกาลแต่ใช้การเติมคำช่วย เช่น "เมื่อวานนี้" "แล้ว" แบบเดียวกับภาษาไทย ระบบของคำกริยาในการแสดงความแตกต่างของประธานและกรรมค่อนข้างซับซ้อน
[แก้] คำศัพท์
ภาษาชวามีศัพท์มากมายที่เป็นคำยืมและคำดั้งเดิมของภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย ภาษาสันสกฤตมีอิทธิพลต่อภาษาชวามาก คำยืมจากภาษาสันสกฤตมักเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดี และยังคงใช้อยู่ คำยืมจากภาษาอื่นๆมี ภาษาอาหรับ ภาษาดัตช์ และภาษามาเลย์
ภาษาชวามีคำยืมจากภาษาอาหรับน้อยกว่าภาษามาเลย์ โดยมากเป็นคำที่ใช้ในศาสนาอิสลาม เช่นpikir ("คิด" มาจากภาษาอาหรับfikr), badan ("ร่างกาย"), mripat ("ตา" คาดว่ามาจากภาษาอาหรับ ma'rifah, หมายถึง "ความรู้" หรือ "วิสัยทัศน์"). คำยืมจากภาษาอาหรับนี้มีศัพท์พื้นเมืองและคำยืมจากภาษาสันสกฤตที่มีความหมายเหมือนกันใช้อยู่ด้วย เช่น pikir = galih, idhĕp (ออสโตรนีเซีย), manah, cipta, หรือ cita (ภาษาลันสกฤต), badan = awak (ออสโตรนีเซีย), slira, sarira, หรือ angga (ภาษาสันสกฤต), และ mripat = mata (ออสโตรนีเซีย), soca, หรือ netra (ภาษาสันสกฤต)
ต่อไปนี้เป็นตารางเปรียบเทียบศัพท์จากภาษาต่างๆ
ภาษาชวา | ภาษาอินโดนีเซีย | ภาษาดัตช์ | ภาษาไทย |
---|---|---|---|
pit | sepeda | fiets | จักรยาน |
pit montor | sepeda motor | motorfiets | จักรยานยนต์ |
sepur | kereta api | spoor, i.e. (rail)track | รถไฟ |
|
|
---|---|
กลุ่มฟอร์โมซา | กาวาลัน • ซาฮารัว • ไซซิยัต • บูนัน • ไปวัน • อตายัล • บาซาย • บาบูซะห์ |
กลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย |
|