การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ | |
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · เบญจธรรม · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
|
สถานีย่อย |
---|
ภาษาบาลี หรือภาษามคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำปฐมสังคายนา พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำหรับจดจำพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการแปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน[1]
พระสงฆ์ไทยน่าจะมีการศึกษาภาษาบาลีมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏในสมัยทวารวดี มีหลักฐานการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีอย่างเป็นระบบในสมัยอยุธยา [2]
การศึกษาบาลีรุ่งเรืองยิ่งในสมัยล้านนา มีการแต่งคัมภีร์บาลีขึ้นมากมาย คัมภีร์ที่แต่งในครั้งนั้นยังใช้เป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันด้วย
การศึกษาภาษาบาลีตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมานั้น มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปภัมภ์ให้การสนับสนุนตลอดมา มีการอุทิศพระราชมณเฑียรเป็นที่เล่าเรียนศึกษาของพระสงฆ์ มีการยกย่องและถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์ผู้มีความรู้ภาษาบาลี จนถึงแม้พระมหากษัตริย์ไทยบางพระองค์ ที่ทรงเป็นปราชญ์เชี่ยวชาญในภาษาบาลี สามารถลงบอกบาลี (สอน) แก่พระสงฆ์สามเณรด้วยพระองค์เองก็มีตลอดมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การจัดสอบบาลีหรือการสอบสนามหลวงจัดว่าเป็นการวัดความรู้ชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทยโดยพระบรมราชูปถัมภก์ สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่พระปริยัติธรรมบาลีได้ องค์พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณจะยกย่องและให้เกียรติถวายสมณศักดิ์โดยเฉพาะ
อนึ่ง การเล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐให้ความสำคัญมาตลอด ดังที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรัสไว้ใน อธิบายเรื่องการสอบพระปริยัติธรรม ว่า "การสอบพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร นับเป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่ง ด้วยอยู่ในพระราชกิจของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก"
ในปัจจุบันมีการจัดการศึกษาบาลีอย่างเป็นระบบ โดยแม่กองบาลีสนามหลวงรับผิดชอบดูแลโดยภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล
[แก้] ประวัติการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย
[แก้] สมัยทวารวดี
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย เริ่มมีตั้งแต่สมัยที่พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ดังหลักฐานทางประวัติศาสตร์จารึกคาถา "เย ธมฺมาฯ" ที่พระปฐมเจดีย์ จากหลักฐานนี้จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า การศึกษาภาษาบาลีและการจารึกพระไตรปิฎกในแถบประเทศไทยน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี
[แก้] สมัยสุโขทัย
[แก้] สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ได้มีการศึกษาบาลีของพระสงฆ์ไทยนั้นเริ่มมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยและอาจจะมีมาก่อนหน้านั้นก้ได้ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ได้อาราธนานิมนต์พระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชซึ่งได้ศึกษามาจากลังกา มาตั้งวงศ์และเผยแพร่ที่กรุงสุโขทัย[3]
ต่อมาทั้งล้านนา มอญ และเขมร ต่างก็นิยมฝ่ายลังกาวงศ์จึงได้ส่งพระสงฆ์ไปเรียนที่ลังกาบ้าง มีการนิมนต์พระลังกามาเป็นอุปัชฌาย์ในเมืองของตนบ้าง การเผยแพร่พระพุทธศาสนาสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ในดินแดนแถบสุโขทัยจึงรุ่งเรืองมานับแต่นั้น ทำให้พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และศาสนาพราหมณ์ซึ่งเจริญมาแต่ก่อนนั้น หมดความนิยมไป
เมื่อคณะสงฆ์ได้รวมกันเป็นคณะเดียวกันแล้ว จึงได้แบ่งธุระ ออกเป็น 2 พวก[4]คือ พวกที่สมาทานคันถธุระ ก็เล่าเรียนภาษาบาลี พระไตรปิฎก คณะสงฆ์ฝ่ายนี้มักเลือกวัดที่อยู่ใกล้บ้าน จึงได้ชื่อว่า "คณะคามวาสี" ส่วนพวกที่สมาทานวิปัสสนาธุระ ก็จะบำเพ็ญหาความสงบสุขอยู่ตามวัดในป่า จึงได้ชื่อว่า "คณะอรัญวาสี" อย่างไรก็ตามทั้ง 2 คณะ ก็รวมอยู่ในนิกายเดียวกันคือ มหานิกาย[5]
สำหรับพระไตรปิฎกที่พระสงฆ์ใช้ศึกษานั้นนำมาจากลังกา เป็นตัวอักษรสิงหล และได้ปริวรรตเป็นตัวอักษรขอม ถึงแม้ว่าจะมีการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาในสมัยนี้แล้วก็ตามเพราะในสมัยนั้นคนไทยรับอิทธิพลของขอมไว้ทุกด้าน ตัวอักษรขอมก็มีมาก ส่วนตัวอักษรไทนที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นไม่พอที่จะเขียนภาษาบาลี จึงใช้อักษรขอมไปก่อนและก็ใช้กันมาเรือย ๆ จนเข้าใจผิดกันต่อมาว่า อักษรขอมเป็นอักษรจารึกพระไตรปิฎก เป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ จนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นเป็นอักษรไทย เพื่อลบล้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอักษรขอม
[แก้] สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท
พระพุทธศาสนาซึ่งเจริญขึ้นครั้งแรกในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น มาเจริญถึงขีดสุดในยุคสมัยนี้ เพราะพระองค์ทรงเป็นปราชญ์ และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จารึกอักษรขอมเรียกพระองค์ว่า "กมรเต็งอัญศรีสุริยพงษ์รามมหาธรรมราชา" ทรงศึกษาพระพุทธศาสนามาตั้งแต่พระเยาว์ เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชย์ จึงเป็น "กษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ลาผนวชในขณะที่ยังครองราชสมบัติอยู่"
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
พระองค์ได้ทรงอุทิศพระราชมณเฑียรเป็น โรงเรียนพระปริยัติธรรม แก่พระสงฆ์สามเณร ซึ่งต่อมาในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้ถือเป็นแบบอย่าง คือ ให้วังเป็นที่สอนหนังสือ[2]
[แก้] สมัยล้านนา
อาณาจักรล้านนาเริ่มขึ้นโดยพระยามังราย หรือเม็งราย เป็นสหายสามเส้า ระหว่างพ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัยกับพระยางำเมือง แห่งเมืองพะเยา ทั้งสามพระองค์เคยทำสัตย์ปฏิญญาณต่อกันและรักกันมาก ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1840 ให้ชื่อว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" อันเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาสืบมา
[แก้] พระเจ้าติโลกราช
สมัยล้านนามีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ แต่ยุคที่พระพุทธศานาเจริญที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "ยุคทองของพระพุทธศาสนา" แห่งอาณาจักรล้านนาก็ว่าได้ คือในสมัยของพระเจ้าติโลกราช ผู้ครองนครเมืองเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 1985 - 2020
[แก้] การสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ 1 ในประเทศไทย
ในสมัยพระเจ้าติโลกราชนี้มีการจัดทำสังคายนาพระธรรมวินัยชำระพระไตรปิฎก จารึกลงในใบลาน เป็นภาษาบาลีอักษรล้านนาไทย การสังคายนาครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 8 ต่อจากลังกา และเป็นครั้งที่ 1 ของดินแดนไทย กระทำที่วัดโพธาราม เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 ทำอยู่ 1 ปีจึงสำเร็จ วัตถุประสงค์คือขจัดความขัดแย้งกันระหว่างสงฆ์ 2 นิกาย คือลังกาเก่ากับลังกาใหม่ เมื่อแล้วเสร็จทรงฉลองสมโภชสร้างหอมณเฑียรในมหาโพธาราม เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก เหตุการณ์นี้เกิดตรงกับสมัย พระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา
ผลของการสังคายนาครั้งนี้ทำให้พระพุทธศาสนาในล้านนามีความเข้มแข็ง รุ่งเรืองและเป็นที่เลื่องลือไปถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วย เมื่อพระศาสนารุ่งเรืองบ้านเมืองก็เป็นปึกแผ่น เป็นที่ยำเกรงของอาณาจักรใกล้เคียงเช่น สุโขทัย และอยุธยา เป็นต้น
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
พระสงฆ์ในอาณาจักรล้านนามีหลายคณะทั้งลังกา รามัญ และชาวพื้นเมือง แต่ไม่มีการขัดแย้งหรือแข่งดีกัน ต่างคนต่างศึกษา คณะสงฆ์ล้านนาจึงแตกฉานในพระไตรปิฎกมาก จนสามารถแต่งคัมภีร์ต่าง ๆได้มากมาย และคัมภีร์ที่แต่งนี้ล้วนแต่งด้วยภาษาบาลีทั้งสิ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยต่าง ๆ เช่น สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์แล้ว ไม่มีพระสงฆ์สมัยใดที่ชำนาญภาษาบาลี แต่งคัมภีร์เป็นภาษาบาลีมากมาย เช่นสมัยล้านนาเลย คัมภีร์ที่แต่งไว้ในครั้งนั้นยังใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันอีกด้วย บางเรื่องก็สูญหายไป เหลือแต่เพียงชื่อคัมภีร์[6]
[แก้] สมัยอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มจาก สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ที่ทรงจัดการบ้านเมืองเข้าเป็นปึกแผ่น แต่ยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก คงจะเป็นยุคสมัยของ "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ"
[แก้] สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระองค์ได้ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. 1967 การเสด็จออกผนวชในครั้งนี้นอกจากจะเป็นพระราชศรัทธาของพระองค์ และส่งเสริมพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นผลกระตุ้นให้เจ้าเมืองอื่นที่สนับสนุนพระพุทธศสนาเกิดการตื่นตัวอีกด้วย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสนับสนุนให้เจ้านาย และราษฎร์บวชเป็นพระภิกษุสามเณร ดังเช่นในปี พ.ศ. 2027 ทรงโปรดให้พระโอรส (ต่อมาคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2) ผนวชเป็นสามเณร พร้อมด้วยพระนัดดาอีกหลายองค์ เข้าใจว่า "ประเพณีที่เจ้านายผนวช และข้าราชการใหญ่ออกบวช เพื่อเป็นการเล่าเรียนระยะหนึ่งนั้น คงจะเริ่มมาแต่ครั้งนี้"
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์ในสมัยอยุธยา
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
การจัดการศึกษาในสมัยอยุธยา คงยึดตามแนวการจัดสมัยสุโขทัย ดังปรากฏในพงศาวดารว่า ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เมื่อก่อนเป็นเจ้านายผู้ใหญ่ มีพระนามว่า "พระศรีสิงห์" ต่อมาได้ลาผนวชไปเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 2163 พระเจ้าทรงธรรม ได้เสด็จลงพระที่นั่งจอมทอง 3 หลัง บอกบาลีแก่พระภิกษุสามเณรทุกวัน มีพระภิกษุสามเณรจากอารามต่าง ๆ ไปเรียนเป็นจำนวนมาก[7]
[แก้] สมัยธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงครองราชย์สมบัติเพียง 15 ปี (พ.ศ. 2311-2325) สมัยนี้เป็นสมัยที่บ้านเมือง เริ่มตั้งตัว เป็นระยะแห่งการกอบกู้ชาติ พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยยิ่งกว่ากษัตริย์พระองค์ใด ๆ แต่กระนั้น ก็น่าสรรเสริญน้ำพระทัยของพระองค์ที่พระองค์ไม่ทรงทอดทิ้งพระราชกรณียกิจทางด้านพระศาสนา
[แก้] การรวบรวมพระไตรปิฎกหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา
เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2310 วัดวา และบ้านเมือง ถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก คัมภีร์พระไตรปิฎกก็สูญหายไปด้วย จึงทรงโปรดให้รวบรวมพระไตรปิฎกโปรดให้สืบหาต้นฉบับตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่เหลืออยู่ นำมาคัดลอกไว้เพื่อจะสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้น ในคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช และเจ้าพระฝางที่อุตรดิตถ์ พระองค์ก็ทรงโปรดฯ ให้นำพระไตรปิฎกในเมืองนั้นมาสมทบสอบทานต้นฉบับด้วย แต่การสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวง ยังมิทันสำเร็จ ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
พระองค์ได้โปรดให้มีกรมสังฆการีธรรมการ ทำบัญชีพระสงฆ์ หากพระสงฆ์รูปใดบอกเรียนพระไตรปิฎกได้มาก ก็ทรงถวายไตรจีวรผ้าเทศเนื้อละเอียด แล้วพระราชทานจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์สามเณรเหล่านั้น ตามที่ได้เล่าเรียนได้มากและน้อย
[แก้] สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระพุทธศาสนาในสมัยนี้ เจริญรุ่งเรืองไม่แพ้ยุคใดที่แล้วมา ทั้งนี้ เพราะมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ส่งเสริมปรับปรุงพระพุทธศาสนาในทุก ๆ ด้าน
[แก้] รัชกาลที่ 1 : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครองราย์เมื่อ พ.ศ. 2325 โดยได้ยึดแบบแผนบ้านเมืองและการพระศาสนามาจากสมัยอยุธยา
พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ จากสภาพที่บอบช้ำ เสียหายจากภัยสงคราม ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาธิราช ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้ว่าบ้านเมืองยังอยู่ในภาวะที่ต้องทำศึกสงครามขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา
พระองค์มีพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่จะสร้างชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นในทุกด้าน ดังปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน ในพระราชนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งดังนี้
ตั้งใจจะอุปถัมภก | ยอยกพระพุทธศาสนา |
ป้องกันขอบขัณฑสีมา | รักษาประชาชนและมนตรี ๚ะ๛ |
[แก้] การรวบรวมพระไตรปิฎกและส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์
ทรงเห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่สร้างไว้สมัยกรุงธนบุรี ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก พระองค์จึงโปรดให้ทำการรวบรวมพระไตรปิฎกสืบต่อจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ด้วยพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำการตรวจสอบชำระความถูกต้อง จึงโปรดให้ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ พระเถระผู้ใหญ่ และพระเปรียญ ตกลงเรื่องสังคายนา จัดหาผู้รู้ได้ 218 รูป ราชบัณฑิต 32 คน เป็นกรรมการชำระ
จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการประชุมสงฆ์ เพื่อชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวง ที่ทำไว้ให้ถูกต้อง โดยให้พระสงฆ์ 100 รูป มีสมเด็จพระสังฆราช (ศรี)เป็นประธาน ประชุมกันที่พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปลายปี พ.ศ. 2331 ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก โดยแบ่งงานกันทำดังนี้
พระสงฆ์ผู้ทรงคันถธุระ 218 รูป กับราชบัณฑิต 32 คน จัดแบ่งออกเป็น 4 กอง
- กองที่ 1 สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆัง ฯ เป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฎก
- กองที่ 2 พระพนรัตสุข วัดพระศรีสรรเพชญ์ ฯ เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก
- กองที่ 3 พระพิมลธรรม วัดพระเชตุพน ฯ เป็นแม่กองชำระพระสัททาวิเสส
- กองที่ 4 พระพุฒาจารย์เป้า เป็นแม่กองชำระพระปรมัตถปิฎก (อภิธรรมปิฎก)
การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองของไทย ได้ทำการสังคายนาที่ พระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ์ (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) เมื่อปี พ.ศ. 2331
เมื่อทำการชำระพระไตรปิฎกเสร็จ ก็ทรงโปรดให้คัดลอกจำลองสร้างเป็นฉบับหลวงขึ้น เรียกว่า "ฉบับทองใหญ่" รวมทั้งหมด 354 คัมภีร์ นำไปเก้บที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และยังทรงโปรดให้สร้างอีก 2 ฉบับคือ ฉบับรองทรง 1 ฉบับทองชุบ 1
นอกจากนี้ พระองค์ไม่ทรงมุ่งให้พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระองค์เองก็ยังสนใจในการด้านศึกษา และปฏิบัติธรรมด้วย เช่น ตอนเช้าเสด็จทรงบาตร บำเพ็ญศีลทาน ตอนเพลถวายภัตตาหารเพล เวลาเย็นออกท้องพระโรง สดับพระธรรมเทศนาเป็นประจำ และมีพระราชประสงค์จะบำรุงสังฆมณฑล โดยทรงชักจูงหมู่พระสงฆ์ให้ค้นคว้าพระไตรปิฎก การมีพระราชปุจฉาก็เป็นการกระตุ้นทางอ้อมส่วนหนึ่งให้พระสงฆ์ต้องค้นคว้าพระไตรปิฎก เพื่อจะไปถวายวิสัชนาพระองค์
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
ในสมัยนี้เริ่มมีการจัดสอบพระปริยัติธรรมเหมือนในสมัยอยุธยา โดยลอกแบบมาจากสมัยอยุธยา คือมีการบอกหนังสือพระทั้งภิกษุและสามเณรในพระบรมมหาราชวัง
การศึกษาบาลีในครั้งนั้นเริ่มจากการอ่านเขียนอักษรขอม เมื่ออ่านออกแล้วจึงให้อ่านหนังสือพระมาลัย แล้วท่องสูตรมูลกัจจายน์ เรียนสนธิ เรียนนาม อาขยาตกิตก์ อุณณาทการก จบแล้วขึ้นคัมภีร์เรียนอรรถกถา ธัมมบทมังคลทีปนี สารัตถสังคหะ ปฐมสมันตปาสาทิกา วิสุทธิมัคค์ฎีกาสารัตถทีปนี เมื่อเรียนจบคัมภีร์ดังกล่าวแล้วก็จะมีขีดความสามารถที่จะอ่านพระไตรปิฎกให้เข้าใจได้ [8]
[แก้] รัชกาลที่ 2 : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
[แก้] การสร้างพระไตรปิฎก
เนื่องจากพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น สูญหายไปบางคัมภีร์เพราะวัดต่าง ๆ ขอยืมไปคัดลอก บางคัมภีร์ก็ชำรุด จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างซ่อมจนบริบูรณ์ ทั้งยังให้โปรดให้สร้างฉบับใหม่ขึ้นอีก เรียกว่า "ฉบับรดน้ำแดง" แต่การครั้งนี้มิได้มีการชุมนุมคณะสงฆ์เพื่อชำระ เพียงแต่ซ่อม และจารฉบับใหม่เท่านั้น
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
[แก้] = การกำหนดเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเล่าเรียนบาลี=
แต่เดิมมา การเรียนการสอนของพระสงฆ์กำหนดไว้เพียง 3 ชั้น[2] คือ
- บาเรียนตรี เรียน พระสูตร
- บาเรียนโท เรียน พระสูตร-พระวินัย
- บาเรียนเอก เรียน พระสูตร-พระวินัย-พระอภิธรรม
การเรียนคงจะมิได้เรียนทั้งหมด แต่จะคัดเลือกบางเรื่องบางคัมภีร์ในแต่ละปิฎกมาเรียน ความรู้จึงอาจจะไม่เพียงพอเผยแผ่ พระองค์จึงได้ทรงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เป็น 9 ประโยค กำหนดหลักสูตรให้ยากขึ้นตามลำดับ ต้องสอบได้ 3 ประโยคเสียก่อน จึงจะได้เป็นเปรียญ (พระมหา) เมื่อสอบได้ 4 ประโยค ก็เรียกว่า เปรียญ 4 ประโยค จนสอบได้ประโยค 9 เรียกว่า เปรียญ 9 ประโยค
[แก้] = การสอบไล่เปรียญธรรมบาลี =
การเรียนได้อาศัยตามวัดต่าง ๆ แต่การสอบนั้น สอบที่วัดมหาธาตุบ้าง สอบในโบสถ์วัดพระแก้วบ้าง วันเวลาไม่แน่นอน แล้วแต่กรรมการจะกำหนด บางปีก็ไม่มีสอบ การสอบคือให้นักเรียนแปลต่อหน้ากรรมการ 3-4 รูป มีครูเข้าฟังเป็นพยาน 20-30 รูป ถ้านักเรียนแปลเก่ง ๆ อาจจะผ่านจากประโยค 1-2-3 ถึง 9 ในวันเดียวกันก็ได้ แล้วแต่ความสามารถ เมื่อสอบประโยค 3 ได้ เรียกว่า มหาเปรียญ
[แก้] = เปรียญวังหน้า-เปรียญวังหลวง=
ในสมัยนี้ วังหน้าคือ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ หรือ ร.3 ในครั้งนั้น ทรงประสงค์จะสนับสนุนการศึกษาจึงให้ผู้ที่สอบประโยค 2 มาเป็น "เปรียญวังหน้า"[8] เมื่อสอบได้ประโยค 3 จึงให้ไปเป็น "เปรียญวังหลวง"
[แก้] การพระราชทานอุปสมบทนาคหลวงชาวต่างประเทศ
กล่าวถึงตอนปลายรัชกาลที่ 1 มีพระภิกษุชาวเมืองลังกาชื่อ พระวลิตร กับสามเณร 2 รูป ชื่อ รัตนะปาละ กับหิธายะ เดินทางมากรุงเทพมหานคร ได้โปรดฯ ให้การต้อนรับ โปรดให้พระวลิตร กับสามเณรรัตนะปาละ ไปจำพรรษาอยู่วัดมหาธาตุ ส่วนสามเณรหิธายะ โปรดให้ไปจำพรรษาอยู่วัดพระเชตุพนฯ จนมาถึงสมัยรัชกาลนี้ สามเณรทั้ง 2 รูป ได้ขออุปสมบทในไทย เพราะเห็นว่าพระไทยกับพระลังกาเป็นนิกายเดียวกัน ในลังกาก็มีสยามวงศ์อยู่ ดังนั้น รัชกาลที่ 2 จึงทรงโปรดให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง แล้วพระราชทานนิตยภัต และไตรสืบมา
[แก้] รัชกาลที่ 3 : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
[แก้] การสร้างพระไตรปิฎก
ในรัชกาลนี้มีการสร้างพระไตรปิฎกมากกว่าที่แล้วมา และสร้างด้วยฝีมือปราณีต ตรวจสอบอักขระพยัญชนะ อย่างถี่ถ้วน มีถึง ๕ ฉบับด้วยกัน คือ ฉบับรดน้ำเอก 1 ฉบับรดน้ำโท 1 ฉบับทองน้อย 1 ฉบับชุบย่อ 1 ฉบับอักษรรามัญ 1 นอกจากนี้ยังทรงสร้างถวายวัดต่าง ๆ อีก ๒ ฉบับ คือ ฉบับเทพชุมนุม 1 ฉบับลายกำมะลอ 1 การทำครั้งนี้ นับได้ว่า สมบูรณ์มาก เพราะได้อาศัยคัมภีร์จากลังกา และมอญ มารวมกันตรวจสอบด้วย
พระองค์เห็นว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี และเป็นอักษรขอม จึงมีพระราชประสงค์ให้แปลเป็นภาษาไทย จึงโปรดให้วางฎีกาพระสงฆ์ ที่จะถวายเทศน์เวร ในพระบรมมหาราชวัง ได้เลือกคัมภีร์เทศน์ตามลำดับในพระไตรปิฎก โดยโปรดให้แต่งแปลเป็นสำนวนไทยไปเทศน์ ดังนั้นเราจึงได้คัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยกันมากสมัยนี้
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทรประทับที่วังท่าพระ (บริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรในปัจจุบัน) ทรงบาตรและบริจาคทานเป็นประจำ พระภิกษุที่สอบได้เปรียญ 2 ประโยค ทางวังหลวงยังมิได้โปรดเกล้าให้ถวายสมณศักดิ์เป็น "มหาบาเรียน" พระองค์ก็ขอรับมาเป็น "บาเรียนวังหน้า" ไปก่อน เพื่อเป็นการบำรุงกำลังใจ และทรงส่งเสริมให้เล่าเรียนต่อจนได้เป็น "บาเรียนวังหลวง" ต่อไป
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงถือเป็นพระราชภาระ ที่จะบำรุงการศึกษาพระไตรปิฎก แก่พระภิกษุสามเณร เช่น ทรงจ้างอาจารย์บอกพระปริยัติธรรมแก่ภิกษุสามเณรทุกพระอารามหลวง ส่วนในพระบรมมหาราชวัง ก็โปรดให้สร้างเก๋งขึ้น เพื่อให้พระภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งยังได้ถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสามเณรเหล่านั้นด้วย ต่อมมามีผู้เรียนมากขึ้นก็โปรดให้ย้ายไปบอกพระปริยัติธรรม ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และยังทรงรับอุปถัมภ์แก่ผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ถ้าใครสอบบาลีได้ก็จะพระราชทานรางวัล ถ้าเป็นพระก็จะได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะ และถ้าโยมบิดามารดาทุกข์ยากก็จะทรงเลี้ยงดู ถ้าเป็นทาสผู้อื่น ก็จะโปรดจ่ายพระราชทรัพย์ไปไถ่ถอนให้เป็นอิสระ ถ้าพระภิกษุสามเณรเหล่านั้นลาสิกขาออกมา ก็จะโปรดให้เข้ารับราชการในกรมกอง ตามที่สมัครใจได้
ด้วยพระราชูปถัมภ์ดังกล่าวพระภิกษุสามเณรในรัชกาลที่ 3 จึงมีวิริยะอุตสาหะ เล่าเรียนทั้งในกรุง และหัวเมือง ทำให้มีนักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนาเพิ่มมากกว่าที่แล้วมา โดยเฉพาะพระภิกษุสามเณรก็มีเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกของชาวยุโรป ว่าในกรุงเทพฯ มีประมาณหมื่นรูป ทั่วพระราชอาณาเขตมีประมาณ สองแสนรูป ซึ่งนับว่ามีจำนวนมากเมื่อเทียบกับประชากรในสมัยนั้น ส่วนพระเถรานุเถระต่างก็สนับสนุนกิจการการศึกษาของคณะสงฆ์เพื่อสนองพระราชศรัทธาของพระองค์ และพระสงฆ์ก็ไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง ต่างทำหน้าที่ของตน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงยิ่งนัก
[แก้] พระราชนิพนธ์ขอขมาสงฆ์
พระองค์ทรงปฏิบัติสิ่งที่ไม่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ "พระราชนิพนธ์ขอขมาสงฆ" กล่าวคือ พระองค์ทรงตระหนักว่า พระองค์ทรงว่ากล่าวพระ เคยถามปัญหาพระ อาจจะเป็นการล่วงเกินโดยไม่เจตนา ดังนั้น เมื่อจวนจะเสด็จสวรรคต จึงได้มีพระราชนิพนธ์ขอขมาพระสงฆ์ดังความตอนหนึ่งว่า "... พระราชดำรัสซึ่งเย้าหยอก หรือคมคายใด ๆ ก็ดี ทั้งปวงเป็นพระราชกิริยาอันล่วงเกินไป ในพระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ภิกษุอนุจรองค์ใด ขอให้พระผู้เป็นเจ้าทุกพระองค์จงปลงอัธยาศัย อดโทษถวายอภัยด้วยน้ำใจอันเต็มไปด้วยเมตตากรุณา..."
[แก้] รัชกาลที่ 4 : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[แก้] ออกผนวช
เมื่อมีพระชันษาได้ 14 ปี พระองค์ทรงออกผนวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยครั้งหนึ่งก่อน ต่อมาเมื่อพระชันษาถึง 21 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อทำอุปัชฌาย์วัตรครบ 3 วันแล้ว จึงได้เสด็จไปทำวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ภายหลังได้กลับไปประทับที่วัดมหาธาตุ ตั้งต้นเรียนคันธธุระอย่างจริงจัง และได้พระวิเชียรปรีชา (ภู่) เจ้ากรมราชบัณฑิตซึ่งมีความเชี่ยวชาญยิ่งในขณะนั้น เป็นอาจารย์สอนภาษามคธ ทรงศึกษาอยู่ 3 ปี ก็ทรงรอบรู้ภาษามคธเป็นอย่างดี จนได้เข้าสอบแปลบาลีได้เป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค และต่อมาได้ทรงตั้งคณะธรรมยุตินิกายขึ้น
[แก้] การสร้างพระไตรปิฎก
เมื่อทรงลาผนวชขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระองค์โปรดให้ตรวจสอบพระไตรปิฎก ในหอพระมณเฑียรธรรม ปรากฏว่า คัมภีร์ได้หายไปจากบัญชีหลาเล่ม จึงโปรดให้สร้างฉบับที่ขาดหายไปให้ครบ และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกฉบับใหม่ขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง มีชื่อว่า ฉบับล่องชาติ
[แก้] การศึกษาของสงฆ์
การศึกษาของสงฆ์สมัยนั้น แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ 2 ส่วน คือ คันธธุระ 1 วิปัสสนาธุระ 1 คันธธุระนั้น เรียนหนัก เริ่มต้นด้วยการเรียนภาษาบาลี และแปลพระไตรปิฎก พยายามให้อ่านออกแปลได้ค้นคว้าให้แตกฉาน ส่วนวิปัสสนาธุระนั้น ไม่หนักนัก โดยการเรียนทางสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ใจสะอาดปราศจากกิเลศทั้งปวง เป็นวิธีลัด และถือกันว่าถ้าเก่งทางวิปัสสนาแล้วอาจจะทรงคุณวิทยาอาคมเวทมนตร์ เป็นประโยชน์ในด้านอื่น เช่น วิชาพิชัยสงคราม เป็นต้นด้วย
[แก้] รัชกาลที่ 5 : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2411 ขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา เท่านั้น จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนถึง 5 ปี ครั้น พ.ศ. 2416 มีพระชนมายุ 20 พรรษา จึงทรงอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2416 โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ เป็นพระราชอุปัชฌายะ
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
[แก้] =ให้วัดเป็นโรงเรียน=
เมื่อ พ.ศ. 2428 พระองค์โปรดให้พระราชาคณะ พระครู ฐานานุกรม เปรียญ พระอันดับ เป็นภาระพร่ำสอนแนะนำศิษย์วัด เนื่องจากว่า เวลานั้น โรงเรียนยังไม่แพร่หลาย และได้มีพ่อแม่นำลูกไปฝากวัด เพื่อเล่าเรียนหนังสือไทย ลายมือ วิชาหนังสือและเลขโหรเลขตลาด เป็นต้น เพื่อรักษาวิชาเหล่านี้ไว้เผยแผ่แก่กุลบุตร และพระเณรสืบต่อไป เพราะวิชาการเหล่านี้ เป็นคุณประโยชน์ที่จะเรียนพระไตรปิฎก เป็นการเกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็จะเป็นกำลังแก่ทางราชการ ดังนั้น จึงโปรดแต่งตั้งพระราชาคณะ พระครู ฐานานุกรม เปรียญ อันดับ ให้เป็นครูวัดละ 5 รูป เป็นอย่างน้อย ทั้งพระอารามหลวงและอารามราษฎร์ ถ้าไม่มีพระสงฆ์ก็ให้คฤหัสถ์เป็นครูก็ได้ โดยจะทรงพระราชทานเงินเดือนให้ทั้งสิ้น
[แก้] =มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศไทย=
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งหวังเพื่อจะขยายการศึกษาของชาติให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าการอ่านออกเขียนได้เท่านั้น ทรงพิจารณาว่า การพัฒนาประเทศจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าคนในชาติมีการศึกษาต่ำ พสกนิกรของพระองค์ ควรจะได้เล่าเรียนให้มากเพื่อเป็นกำลัง "สยามใหม่" ให้ทันโลกตะวันตก จึงทรงมีพระราชดำริที่จะจัดการศึกษาให้สูงขึ้น ถึงขั้นวิทยาลัยต่อไป ดังนั้นจึงทรงสถาปนา มหาธาตุวิทยาลัย ขึ้นที่วัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2432 เพื่อเป็นที่เล่าเรียนศึกษาภาษาบาลีชั้นสูง และสถาปนา อาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย[9] ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2439 เพื่อเป็นที่เล่าเรียนวิชาการชั้นสูงสำหรับพระสงฆ์[10] ต่อมา พ.ศ. 2436 ก็โปรดให้เปิดวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทรงพระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย[11] อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ก็ยังไม่พร้อมที่จะเริ่มดำเนินการในรัชกาลนี้
[แก้] รัชกาลที่ 6 : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] รัชกาลที่ 7 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] รัชกาลที่ 8 : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] รัชกาลที่ 9 : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] การจัดการศึกษาของสงฆ์
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] ตำนานสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] สรุปการจัดการศึกษาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] การวัดผลการสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] การลงชื่อสอบสนามหลวง
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] เวลาในการสอบสนามหลวง
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] วิธีสอบความรู้
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] สรุปการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน
ปัจจุบัน สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์ไทย เป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคมซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล ดูแลรับผิดชอบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีระดับชาติ และกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้คัมภีร์เรียนในหลักสูตรเปรียญธรรม 1-9 ให้เหมาะสมกับชั้นเรียนของแต่ละประโยค รวมทั้งการจัดสอบประเมินผลการศึกษาบาลีระดับชาติ โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้รับสนองงาน ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเถรสมาคม
[แก้] หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในปัจจุบัน
แบ่งเป็น 3 ชั้น 9 ประโยคคือ
- ชั้นเปรียญตรี (ชั้นที่ 1) ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึงเปรียญธรรม 3 ประโยค
- ชั้นเปรียญโท (ชั้นที่ 2) ตั้งแต่ เปรียญธรรม 4 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค
- ชั้นเปรียญเอก (ชั้นที่ 3) ตั้งแต่ เปรียญธรรม 7 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค
ดังตารางต่อไปนี้
|
หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี |
สนามหลวงแผนกบาลี | เปรียญธรรม |
---|---|
|
|
|
เปรียญธรรม ๔ ประโยค · เปรียญธรรม ๕ ประโยค · เปรียญธรรม ๖ ประโยค · |
|
เปรียญธรรม ๗ ประโยค · เปรียญธรรม ๘ ประโยค · เปรียญธรรม ๙ ประโยค · |
[แก้] การสอบ
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] การจัดการสอบ
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] การตรวจและประกาศผล
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้) การวัดผลและประเมินผล ในการสอบบาลีสนามหลวง จะมีกำหนดการสอบในแต่ละปีไว้ดังต่อไปนี้ ครั้งที่ ๑ สำหรับเปรียญธรรม ๖,๗,๘,๙ ในสนามสอบเขตกรุงเทพมหานคร สอบในวันขึ้น ๒-๓-๔-๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ครั้งที่ ๒ สำหรับบาลีประโยค ๑-๒ และเปรียญธรรม ๓-๔-๕ ประโยค สอบในวันแรม ๑๐-๑๑-๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี แม่กองบาลีเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการออกปัญหา การดำเนินการสอบ การดำเนินการสอบในต่างจังหวัดนั้น แม่กองบาลีได้มอบหมายให้เจ้าคณะภคต่างๆ แต่งตั้งคณะกรรมการนำข้อสอบจากส่วนกลางไปยังสนามสอบทุกแห่ง โดยเปิดสอบในชั้นประโยค ๑-๒ และ ป.ธ. ๓-๔ แล้วนำใบตอบมาส่งแม่กองบาลีสนามหลวงเพื่อดำเนินการตรวจ โดยนิมนต์พระเถรานุเถระมาประชุมพร้อมกันในสถานที่ที่แม่กองบาลีกำหนด ส่วนประโยค ป.ธ. ๕,๖,๗,๘ และ ๙ ดำเนินการสอบในส่วนกลางตามที่แม่กองบาลีกำหนดให้เป็นสถานที่สอบ การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ได้ให้ใช้เกณฑ์ให้คะแนนเป็นตัวเลข โดยใช้วิธีการหักคะแนนเมื่อพบความผิดในการทำข้อสอบ ถ้าคะแนนที่ถูกหักออกไปเกินกำหนด ก็จะถือว่าสอบตกในวิชานั้นๆ หลักเกณฑ์ในการหักคะแนนในวิชาต่างๆ มีดังนี้ วิชาบุรพภาค (สำหรับประโยค ป.ธ. ๓) ๑. วางรูปจดหมายผิด ให้ตก ๒. วางย่อหน้าผิด หัก ๒ คะแนน ๓. ผิดวรรคตอนถึงเสียรูปหรือเสียความ หักแห่งละ ๑ คะแนน ๔. ใช้ตัวอักษรผิด หัก ๑ คะแนน เมื่อรวมแล้ว ถูกหักเกิน ๑๒ คะแนน ถือว่าสอบตก (และจะถือว่าตกในวิชาอื่นๆ ที่เหลือด้วย) - วิชาแปลไทยเป็นมคธ แปลมคธเป็นไทย และวิชาสัมพันธ์ ๑. ผิดศัพท์ เรียกชื่อสัมพันธ์ผิดในวิภัตติเดียวกัน หักศัพท์ละ ๑ คะแนน ๒. ผิดสัมพันธ์ (เรียกชื่อสัมพันธ์ผิดต่างวิภัตติหรือเข้าสัมพันธ์ผิด) หักแห่งละ ๒ คะแนน ๓. ผิดประโยค (เช่น ใช้ประโยคและกริยาผิดบุรุษ) หักประโยคละ ๖ คะแนน - ในทุกวิชา ถ้าตอบสับข้อ จะถูกหัก ๒ คะแนนต่อ ๑ วิชา ถ้าถูกหัก ๑-๖ คะแนน ให้ “๓ ให้” , ถ้าถูกหักตั้งแต่ ๗ – ๑๒ คะแนน ถือว่าให้ “๒ ให้” แต่ถ้าถูกหักไป ๑๓ – ๑๘ คะแนน ให้ “๑ ให้” ถ้าถูกหักไปเกิน ๑๘ คะแนน ให้ “๐ ให้” ถือว่าสอบตก การตรวจและประกาศผล เมื่อการดำเนินการสอบเสร็จสิ้นแล้ว ทางแม่กองบาลีสนามหลวงจะมีหนังสืออาราธนากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีคุณสมบัติถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประชุมตรวจข้อสอบพร้อมกัน ณ ศาลาประชุมสงฆ์ วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กำหนดให้วันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี รวมเวลาตรวจ ๖ วัน หลังจากการตรวจเสร็จ ทางสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงจะทะยอยประกาศผลการสอบให้ทราบอย่างเป็นทางการในวันสุดท้ายของการตรวจและวัดถัดมา ในสมัยของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร ป.ธ.๙) วัดสามพระยา ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปัญญาบดี แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๓๑) ได้หยิบยกเรื่องการสอบประโยค ๑-๒ ที่ได้ยกเลิกไป โดยจัดให้มีการสอบขึ้นมาใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ และยังถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ ในสมัยของสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชตมหาเถร ป.ธ. ๗) แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๗) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ได้มีนโยบายทางด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เพิ่มเติมดังนี้ ๑. การออกข้อสอบบาลีสนามหลวง ในชั้นประโยค ๑-๒ จะไม่มีการออกคาถาและแก้อรรถคาถา ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนในระดับนี้ จะได้ไม่ต้องเรียนหนักจนเกินไป อีกทั้งสามารถเรียนได้สะดวกขึ้น และมีโอกาสสอบผ่านมากขึ้น ๒. การออกข้อสอบสนามหลวง ในวิชาแปลไทยเป็นมคธ ของนักเรียนชั้นประโยค ป.ธ. ๔ เป็นต้นไป จะมีการออกคาถาด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนจดจำพระพุทธพจน์ได้ขึ้นใจ และต้องท่องจำคาถาให้ได้ โดยเฉพาะคาถาที่เป็นพระพุทธพจน์โดยตรงนั้น นักเรียนต้องท่องจำคาถาตามแบบอย่างเดียว ไม่อนุญาตให้แต่งแก้ ในสมัยของสมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วงวรปุญญมหาเถร ป.ธ.๙) แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. ๒๕๓๘ – ปัจจุบัน) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้มีนโยบายทางด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีเพิ่มเติม ดังนี้ ๑. การเรียนการสอนวิชาแปลมคธเป็นไทย ของประโยค ๑-๒ ที่ข้อสอบจะไม่ออกคาถาและแก้อรรถมาก่อนหน้านี้ ให้ครูในแต่ละสำนักเรียนสอนการแปลคาถาและแก้อรรถให้นักเรียนด้วย ซึ่งอาจจะออกข้อสอบหรือไม่ก็ได้ แต่ทั้งนี้ อย่างน้อยก็เป็นอุปการะแก่การเรียนการสอบชั้นประโยคสูงๆ ในอนาคต ๒. การออกข้อสอบบาลีสนามหลวงนอกจากจะมีการออกคาถา ส่วนประโยคแก้อรรถ ที่รูปประโยคไม่ซับซ้อน ธรรมดา ก็มีสิทธิ์จะออกสอบด้วยเช่นกัน (จะพบได้โดยเฉพาะตั้งแต่ชั้นประโยค ป.ธ. ๖ เป็นต้นไป) ๓. การจัดปฐมนิเทศ กรรมการตรวจข้อสอบประโยคบาลีสนามหลวง โดยเฉพาะกรรมการที่จะได้รับการแต่งตั้งใหม่ อีกทั้ง ได้จัดพิมพ์คู่มือตรวจถวายกรรมการด้วย ๔. เปิดโอกาสให้ครูสอนซึ่งสอนอยู่ในชั้นและวิชานั้น เป็นกรรมการตรวจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกรรมการในส่วนภูมิภาค ๕. การมีนโยบายจัดตั้งสำนักเรียนประจำจังหวัด ๖. การเก็บวิชาที่สอบผ่านแล้วเป็นเวลา ๒ ปี นำร่องในชั้นประโยค ๑-๒ และดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑
[แก้] ข้อวิจารณ์หลักสูตรการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยในสมัยปัจจุบัน
(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- สำนักศาสนาศึกษาวัดเทพลีลา: คู่มือเปิดตำราเรียนบาลี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย , ๒๕๔๕.
- ^ เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. เอกสาร : เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา . อุตรดิตถ์ : วัดคุ้งตะเภา , 2549.
- ^ 2.0 2.1 2.2 สำนักศาสนาศึกษาวัดเทพลีลา: คู่มือเปิดตำราเรียนบาลี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย , ๒๕๔๕.
- ^ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ประวัติลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์
- ^ การศึกษาสมัยลานนาไทยและสุโขทัย (๑๘๐๐-๑๘๙๓) , แม่กองบาลีสนามหลวง
- ^ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ในอาณาจักรสุโขทัย (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย)
- ^ เว็บคนเมืองดอตคอม, มณี พยอมยงค์ : ประวัติและผลงานกวีล้านนา 2516
- ^ ประวัติการศึกษาของสงฆ์สมัยกรุงศรีอยุธยา, แม่กองบาลีสนามหลวง
- ^ 8.0 8.1 การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สมัยปัจจุบัน จากหอมรดกไทย
- ^ ประวัติตึกถาวรวัตถุ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (อาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย)
- ^ ประวัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระราชปรารถในการก่อพระฤกษ์สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย
- ^ ประวัติการก่อตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย"