See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา - วิกิพีเดีย

สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารานุกรมพระพุทธศาสนา
   
สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา
ยินดีต้อนรับสู่สถานีย่อยพระพุทธศาสนาแห่งวิกิพีเดียภาษาไทย
สถานีย่อยนี้เปิดเมื่อ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๕๑
หมวดหมู่ทั้งหมด: ประวัติศาสตร์คัมภีร์นิกายบุคคลปูชนียสถานวันสำคัญอภิธานศัพท์พุทธศาสนา

วิธีใช้งาน · ถามเรื่องการใช้งาน · ถามทุกอย่างที่อยากรู้

ถ้าคุณต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างสารานุกรมวิกิพีเดียในส่วนหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
ขอเชิญแวะได้ที่โครงการวิกิพระพุทธศาสนา


พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มุ่งการพ้นทุกข์หรือพ้นจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากโลภ โกรธ หลง และอวิชชา (การไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ) เน้นการปฏิบัติด้วยปัญญา การทำความเข้าใจ และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง จนมองเห็นเหตุและผล และความเป็นไปตามธรรมชาติที่หมุนเวียนเป็นวัฏจักร จนสามารถนำตัวเองออกจากวัฏจักรที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือวัฏสงสาร

สรณะหรือที่พึ่งอันประเสริฐของพระพุทธศาสนาเรียกว่า พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ โดย "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสรู้"พระธรรม" แล้วทรงสอนให้พระภิกษุได้รู้ธรรมจนหลุดพ้นตามในที่สุด ทรงจัดตั้งชุมชนของพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาและฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้น เรียกว่า "พระสงฆ์" (สงฆ์แปลว่าหมู่,ชุมนุม) แล้วทรงมอบหมายให้พระสงฆ์ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรมเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก (อ่านต่อ...)
สถานีนี้เริ่มสร้างเมื่อ วันวิสาขบูชา พุทธศักราช ๒๕๕๑
บทความแนะนำ


ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นหนึ่งในสามของศาสนาหลักของโลก ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน อ่านต่อ...

เก็บเพชรจากพระโอษฐ์
โสจนฺติ ชนา มมายิเต

"โลกโศกเศร้า เพราะความยึดมั่นว่า เป็นของเรา"


Wikisource วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ: พระไตรปิฎก (เถรวาท)

พระสูตรน่ารู้

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา (คำสอนครั้งแรก) ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลาง เดือนอาสาฬหะหรือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ เนื้อหาของพระสูตรที่สำคัญคืออ่านต่อ...


หมวดหมู่:คัมภีร์ในพุทธศาสนา

มุมธรรมะ
"...ในความสนุกของปุถุชนนั้น มันไม่จริง, มันหลอกลวง มันเป็นมายา, แล้วมันใส่ความทุกข์ให้ผู้นั้น เหมือนกับเหยื่อที่ใครกินเข้าไปแล้วมันติดเบ็ด. นี้เรียกว่า ตกอยู่ใต้อำนาจพญามาร..."

หมวดหมู่:วรรณกรรมพุทธศาสนา

ภาพสวย ๆ จากเว็บ
ผู้สร้างสรรค์: ผู้ใช้:Tmd

สามเณรในพุทธศาสนานิกายเถรวาทขณะออกบิณฑบาต ใกล้กับวัดแห่งหนึ่งในตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

พุทธศิลป์
ผู้สร้างสรรค์: User:Shizhao
หอยสังข์มงคลทองคำ (จีน: 法螺) หนึ่งในแปดสัญลักษณ์พุทธมงคลตามคติความเชื่อของชาวจีน
แนะนำชาวพุทธ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (Buddha) เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า และกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและมีการสร้างพระพุทธเจ้าเพิ่มเติมขึ้นมาจนบางองค์มีลักษณะคล้ายเทพเจ้าของศาสนาฮินดู

ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่า พระพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล อ่านต่อ...


หมวดหมู่:บุคคลในพระพุทธศาสนา

รู้ไหมว่า
การตรวจข้อสอบสนามหลวงในปัจจุบัน
บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา

'เรียกอีกอย่างว่า ชัยมงคลคาถา หรือ บทสวดถวายพระพร เป็นพระคาถาแปดบท ใช้สวดสรรเสริญชัยชนะแปดประการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมนุษย์และอมนุษย์ ที่ได้มาด้วยพระพุทธธรรม มิได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์แต่อย่างใด โดยพระมักสวดต่อท้ายทำวัตรเช้า – เย็น เริ่มด้วย บทพาหุง ตามด้วยบทมหาการุณิโก รวมเรียกว่า พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา อ่านต่อ...


หมวดหมู่:บทสวดมนต์และพระคาถา


Wikisource วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ: บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา

มีส่วนร่วม


นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้:

   ล้างแคชของหน้านี้ [ล้างแคชคืออะไร]
แก้ไข   

ศาสนาที่สำคัญ


สถานีย่อยอื่นๆ การเขียนโปรแกรมการ์ตูนญี่ปุ่นคณิตศาสตร์เคมีดนตรีดาราศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศนิยายวิทยาศาสตร์ประเทศไทยประเทศฝรั่งเศสประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาแพทยศาสตร์ฟิสิกส์ฟุตบอลภาพยนตร์ภาษาโลกของสัตว์โลกวรรณศิลป์วิดีโอเกมวิทยุสมัครเล่นเวลาศาสนาสิ่งลึกลับสถาบันอุดมศึกษาไทย


News
News
Quotes
Quotes
Manuals & Texts
Taoism
Texts
Jainism
Definitions
Religion
Images
Asia
ศาสนาพุทธใน
วิกิข่าว
ศาสนาพุทธใน
วิกิคำคม
ศาสนาพุทธใน
วิกิตำรา
ศาสนาพุทธใน
วิกิซอร์ซ
ศาสนาพุทธใน
วิกิพจนานุกรม
สื่อเกี่ยวกับศาสนาพุทธใน
วิกิคอมมอนส์

สถานีย่อยคืออะไร?


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -