ประคำ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ | |
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · เบญจธรรม · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
|
สถานีย่อย |
---|
ประคำ หมายถึงลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนาหรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง เรียกโดยทั่วไปว่า ลูกประคำ
ประคำ ทำด้วยวัสดุต่างชนิด เช่นไม้จันทน์ ไม้เนื่อแข็ง ผลไม้ตากแห้ง หินสี พลาสติก ตลอดถึงหยก โดยเจาะรูตรงกลาง ร้อยด้วยด้ายหรือเอ็นเป็นพวง พวงหนึ่งนิยมมีจำนวน 108 ลูก หรือน้อยกว่านั้นตามต้องการ ที่นิยม 108 เพราะถือคติตามบทบริกรรมภาวนาคือ อิติปิโส 108
ประคำ นิยมพกติดตัวไปในที่ต่างๆ โดยถือไปบ้าง ห้อยคอไปบ้าง เพื่อสะดวกในการใช้ได้ทันทีเมื่อมีโอกาส เช่นขณะนั่งรถ นั่งรอเวลา หรือขณะอยู่คนเดียวเงียบๆ
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548