บิณฑบาต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ | |
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · เบญจธรรม · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
|
สถานีย่อย |
---|
บิณฑบาต (อ่านว่า บินทะบาด) เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว
โดยทั่วไปคำนี้หมายถึงกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนาในการออกเดินถือ "บาตร" รับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการ ออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ ( หรือในสามัญเรียกว่าการ "โปรดสัตว์" ) เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้
[แก้] ความหมาย
นัยหนึ่งคำนี้หมายถึงเป็นคำเรียกก้อนข้าวที่ชาวบ้านใส่ลงในภาชนะที่รองรับ เช่นบาตรของพระภิกษุ
บิณฑบาต ในคำวัดหมายถึงอาหารสำหรับถวายพระซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งใน ๔ สำหรับพระสงฆ์ จะถวายโดยใส่บาตรหรือใส่ภาชนะอื่นใดก็เรียกเหมือนกัน
บิณฑบาต หมายถึงการที่ภิกษุสามเณรไปรับอาหารที่เขาถวายโดยบาตรก็ได้ เช่นใช้ว่า "พระออกไปบิณฑบาตกันแต่เช้า ยังไม่กลับจากบิณฑบาตเลย"
บิณฑบาต หมายถึงการที่พระสงฆ์ขอร้องมิให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ เช่นใช้ว่า "อาตมาขอบิณฑบาตเถอะ อย่าได้ถึงกับฆ่าแกงกันเลย"
บิณฑบาต มักเขียนผิดไปว่า บิณฑบาตร โดยอาจเข้าใจว่าเป็นคำเดียวกับบาตร ซึ่งออกเสียงเหมือนกัน
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548