See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย - วิกิพีเดีย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
วันพระราชสมภพ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๑๐
วันสวรรคต พ.ศ. ๒๓๖๗
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระราชมารดา สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระมเหสี สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระราชบุตร 73 พระองค์
การครองราชย์
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ทรงราชย์ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๕๒
ระยะเวลาครองราชย์ 16 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลถัดมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาล วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๑๐-พ.ศ. ๒๓๖๗ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๕๒ - พ.ศ. ๒๓๖๗) รัชกาลที่ ๒ แห่งราชจักรีวงศ์

พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พึ่งถวายพระนามเรียกเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ เนื่องจากพระปรมาภิไธยที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ของรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ จะเหมือนกันทุกตัวอักษร เพราะในเวลานั้นยังไม่มีธรรมเนียมที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์ จนถึงรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา จึงทรงได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ว่า ในแต่ละรัชกาลจะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน เว้นแต่สร้อยพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่อณุโลมให้ซ้ำกันได้บ้าง ส่วนคำนำหน้าพระนาม รัชกาลที่ ๔ ก็ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์ หรือ ปรเมนทร์ เป็นคำนำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับรัชกาลว่าจะเป็นเลขคี่หรือเลขคู่

เดิมทีเดียวคนสมัยก่อนมักเรียกรัชกาลที่ ๑ ว่า แผ่นดินต้น และเรียกรัชกาลที่ ๒ ว่า แผ่นดินกลาง เหตุเพราะพระนามในพระสุพรรณบัฎเหมือนกัน รัชกาลที่ ๓ จึงไม่โปรดให้ใช้ตามอย่างรัชกาลที่ ๑ และ ๒ เพราะเหตุเช่นนั้นจะทำให้ประชาชนสมัยนั้นเรียกว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งดูไม่เป็นมงคล

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์

เนื้อหา

[แก้] พระนามเต็ม

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

พระปรมาภิไธยที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ของรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ เหมือนกันทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน ในแต่ละพระองค์ จนในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ว่า ในแต่ละรัชกาลจะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน เว้นแต่สร้อยพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่อณุโลมให้ซ้ำกันได้บ้าง ส่วนคำนำหน้าพระนาม รัชกาลที่ ๔ ก็ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์ หรือปรเมนทร์" เป็นคำนำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับรัชกาลว่าจะเป็นเลขคี่หรือเลขคู่ เดิมทีเดียวคนสมัยก่อนมักเรียกรัชกาลที่ ๑ ว่าแผ่นดินต้น และเรียกรัชกาลที่ ๒ ว่าแผ่นดินกลาง เหตุเพราะพระนามในพระสุพรรณบัฎเหมือนกัน รัชกาลที่ ๓ จึงไม่โปรดให้ใช้ตามอย่างรัชกาลที่ ๑ และ ๒ เพราะเหตุเช่นนั้น จะทำให้ประชาชนสมัยนั้นเรียกว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งดูไม่เป็นมงคล

[แก้] พระปรีชาสามารถ

พระราชลัญจกรประจำพระองค์
พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้

[แก้] ด้านกวีนิพนธ์

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ ๒ นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓) สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่นๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้


[แก้] ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม

นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๒ นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย

[แก้] ด้านดนตรี

กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้

[แก้] พระภรรยา พระราชโอรส พระราชธิดา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมี พระราชโอรส - พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์

ดูที่ พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๒

[แก้] ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย ในรัชกาลที่ ๑ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า

สถาปนาพระราชชนนีขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระราชชนนีในรัชกาล ๒

กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง ดูเรื่อง ธงชาติไทย

  • พ.ศ. ๒๓๑๐
    • ๒๔ กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชสมภพ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม พระนามเดิม ฉิม
  • พ.ศ. ๒๓๒๕
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    • ทรงได้รับการสถาปนาพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
  • พ.ศ. ๒๓๕๒
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต
    • พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางกราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    • เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ
    • สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
  • พ.ศ. ๒๓๕๓
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิเกียเข้งแห่งอาณาจักรจีน
    • ราชทูตญวนเข้ามาถวายราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งทูลขอเมืองบันทายมาศคืน ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานคืนให้
  • พ.ศ. ๒๓๕๔
    • โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่างๆ
    • โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา"
    • ออกพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น
    • จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    • เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่
    • โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ"
    • โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา
    • อิน จัน แฝดสยามคู่แรกของโลกถือกำเนิดขึ้น
  • พ.ศ. ๒๓๕๕
    • โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วผลึก (พระพุทธบุษยรัตน์) จากเมืองจำปาศักดิ์มายังกรุงเทพฯ
  • พ.ศ. ๒๓๕๖
    • พม่าให้ชาวกรุงเก่านำสาส์นจากเจ้าเมืองเมาะตะมะมาขอทำไมตรีกับสยาม
    • พระองค์เจ้าชายทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
  • พ.ศ. ๒๓๕๗
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะสมณทูตเดินทางไปศรีลังกา
    • โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง นครเขื่อนขันธ์ ขึ้นที่บริเวณพระประแดง เพื่อสำหรับรับข้าศึกที่มาทางทะเล
  • พ.ศ. ๒๓๕๙
    • โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น ๙ ประโยค
  • พ.ศ. ๒๓๖๐
  • พ.ศ. ๒๓๖๑
    • ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพน โดยสร้างถนนท้ายวังคั่น
    • โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการออกแบบและสร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
    • คณะสมณทูตที่พระองค์ทรงส่งไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ ประเทศลังกาเดินทางกลับ
    • เจ้าเมืองมาเก๊า ส่งทูตเข้ามาถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี
  • พ.ศ. ๒๓๖๒
  • พ.ศ. ๒๓๖๓
    • ฉลองวัดอรุณราชวราราม
    • สังคายนาบทสวดมนต์ภาษาไทยครั้งแรก ในประเทศไทย
    • โปรตุเกสตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ นับเป็นสถานกงสุลต่างชาติแห่งแรกของสยาม
  • พ.ศ. ๒๓๖๕
    • เซอร์จอห์น ครอฟอร์ด เป็นทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
  • พ.ศ. ๒๓๖๗
    • เสด็จสวรรคต

[แก้] ดูเพิ่ม

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

[แก้] อ้างอิง


รัชสมัยก่อนหน้า:
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระมหากษัตริย์ไทย
ราชวงศ์จักรี
พ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗
รัชสมัยถัดไป:
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชสมัยก่อนหน้า:
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ราชวงศ์จักรี
พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๒๓๕๒
รัชสมัยถัดไป:
กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -