ประวัติศาสตร์ไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติศาสตร์ไทย |
|
---|---|
ก่อนประวัติศาสตร์ | |
บ้านเชียง | ~ 5000 ปีที่แล้ว |
บ้านเก่า | ~ 4500 ปีที่แล้ว |
ยุคประวัติศาสตร์ | |
ทวารวดี | พุทธศตวรรษที่ 5 - 15 |
คันธุลี / พานพาน | พ.ศ. 994 - 1201 |
ละโว้ | พ.ศ. 1191 - 1470 |
ศรีวิชัย | พ.ศ. 1202 - 17?? |
หริภุญชัย | พ.ศ. 1206 - 1836 |
โยนกนาคพันธุ์ | พ.ศ. 1315 - 1582 |
เงินยางเชียงแสน | พ.ศ. 1445 - 1804 |
สงครามสามนคร | พ.ศ. 1467 - 1470 |
ละโว้-อโยธยา | พ.ศ. 1470 - 1893 |
สุโขทัย | พ.ศ. 17?? - 2017 |
เพชรบุรี | พ.ศ. 17?? - ???? |
ล้านนา | พ.ศ. 1802 - 2482 |
นันทบุรี | พ.ศ. 1825 - ???? |
นครศรีธรรมราช | พ.ศ. 1830 - ???? |
อยุธยา | พ.ศ. 1893 - 2310 |
- ชุมนุมสุกี้พระนายกอง | พ.ศ. 2310 |
- ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก | พ.ศ. 2310 - 2311 |
- ชุมนุมนครศรีธรรมราช | พ.ศ. 2310 - 2312 |
- ชุมนุมเจ้าพิมาย | พ.ศ. 2310 - 2311 |
- ชุมนุมเจ้าพระฝาง | พ.ศ. 2310 - 2313 |
- ชุมนุมพระเจ้าตาก | พ.ศ. 2310 |
ธนบุรี | พ.ศ. 2310 - 2325 |
รัตนโกสินทร์ - ปฏิรูปการปกครอง |
พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน พ.ศ. 2475 |
ไม่สามารถระบุเวลาได้ | |
เวียงปรึกษา | ศรีจนาศะ |
นครภูกามยาว | ศรีโคตรบูรณ์ |
ลังกาสุกะ | หลั่งยะสิว |
ตามพรลิงค์ | |
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง | |
เขมรัฐเชียงตุง | ไทมาว (โกสัมพี) |
หอคำเชียงรุ่ง | น่านเจ้า |
ร่มขาวเชียงทอง | ล้านช้าง |
สิบสองเจ้าไท | ฟูนัน |
รามัญประเทศ | หงสาวดีตองอู |
สถานีย่อย | |
ประเทศไทย | ประวัติศาสตร์ |
ประวัติศาสตร์ไทย คือประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการปกครองจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
เนื้อหา |
[แก้] ยุคเริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น
มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย
ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว
[แก้] ภาคกลาง
[แก้] ภาคใต้
[แก้] ภาคอีสาน
[แก้] ภาคเหนือ
[แก้] ยุคสมัยสุโขทัย
ในปี พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์
อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
[แก้] 1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
[แก้] 2. การปกครองหัวเมือง
หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี 2 ลักษณะคือ
(1) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(2) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ
[แก้] ยุคสมัยล้านนา
ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดย พระเจ้าเม็งรายมหาราช และได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยพม่าในปีพ.ศ. 1901 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม
[แก้] ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา
อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย
การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้
อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว
[แก้] ยุคสมัยกรุงธนบุรี
ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่อาณาจักรพม่าออกจากอยุธยา และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง
- การปกครองส่วนกลาง
- ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมดูแล
- ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกดูแล
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งจตุสดมภ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ส่วน คือ เวียง วัง คลัง นา
- การปกครองหัวเมืองชั้นใน
- หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตตวา) คือหัวเมืองที่มีขนาดเล็กง่ายต่อการเดินทางไป มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
- หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ตรี ตามลำดับความสำคัญ มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าเมือง โดยได้รับการเเต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
- หัวเมืองประเทศราช คือ มีเจ้านายปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลาที่กำหนดและต้องส่งกองทัพมาช่วยเมื่อราชธานีเกิดศึกสงคราม ได้เเก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช
[แก้] ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ข้อเสียของการปกครองในสมัยอยุธยาได้ถูกพยายามกำจัดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ การกำหนดตัวบุคคลผู้จะเข้าสู่อำนาจมีความชัดเจนและเด็ดขาด ปัญหาความขัดแย้งเนื่องด้วยการแก่งแย่งอำนาจจึงเบาบางลง อย่างไรก็ตามปัญหาการรุกรานจากชาติตะวันตกกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก็ทำให้ฝ่ายปกครองต้องมีสมาธิในการบริหาร การตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาประเทศอย่างทันท่วงทีทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ก็ส่งผลให้แนวคิดทางการเมืองการปกครองใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทย
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เศรษฐกิจของโลกตกต่ำเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยเป็นอันมาก และทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจปกครองซึ่งถูกมองว่ามีการหาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้องทั้งที่ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากแค้น ในที่สุดจึงเกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนการปกครองของประเทศเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยหวังว่าจะทำให้ประชาชนสามารถมีปากมีเสียงเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองได้อย่างถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงแรกนั้นยังไม่เหมาะกับสภาพทางสังคมของไทย ประชาชนไม่สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยไว้กับตนได้ อำนาจอธิปไตยจึงถูกดึงให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ
หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อปี พ.ศ. 2535 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
ทวีปเอเชีย | ไทย · ลาว · พม่า · กัมพูชา · เวียดนาม · จีน · ญี่ปุ่น · เกาหลี · อินเดีย |
ทวีปยุโรป | อังกฤษ · ฝรั่งเศส · สเปน · อิตาลี · เยอรมนี · รัสเซีย · กรีซ · โปรตุเกส · เนเธอร์แลนด์ · ออสเตรีย · โปแลนด์ · สวีเดน |
ทวีปอเมริกา | สหรัฐอเมริกา · แคนาดา · เม็กซิโก |