ประภาส จารุเสถียร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพลประภาส จารุเสถียร | |
|
|
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 |
|
สมัยก่อนหน้า | สุกิจ นิมมานเหมินท์ |
---|---|
สมัยถัดไป | พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
|
|
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 |
|
สมัยก่อนหน้า | จอมพลถนอม กิตติขจร |
สมัยถัดไป | พลเอกกฤษณ์ สีวะรา |
|
|
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 |
|
สมัยก่อนหน้า | พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ |
สมัยถัดไป | พลตำรวจเอกประจวบ สุนทรางกูร |
|
|
เกิด | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 ตำบลหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี |
ถึงแก่อสัญกรรม | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (84 ปี) |
สมรสกับ | ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร |
จอมพลประภาส จารุเสถียร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 — 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก อธิบดีกรมตำรวจและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
จอมพล ประภาส จารุเสถียร (นามเดิม ตุ๊) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 ปีฉลู ณ ตำบลหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของพระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า) และเจ้าบัวตอง (ณ ลำปาง) จารุเสถียร สมรสกับ ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร(บุตรของเรือตรีวอน และนางฮวย ปานประสิทธิ์)
[แก้] บุตรธิดา
มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คนได้แก่
- ร้อยโทตวงสิทธิ์ จารุเสถียร
- ร้อยเอกหญิงสุมิตรา จารุเสถียร
- คุณสุภาพร กิตติขจร (สมรสกับ พันเอกณรงค์ กิตติขจร)
- พลโทประยุทธ จารุเสถียร
- คุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา (สมรสกับ พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
- คุณหญิงศุภนภา อัตตะนันทน์ (สมรสกับ พลเอกสมทัต อัตตะนันทน์)
[แก้] การรับราชการ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ได้รับพระราชทานยศเป็น ร.ต.ประจำกองพันทหารราบที่ 6
- 27 มกราคม พ.ศ. 2478 ประจำกองบังคับการกองทัพบก เลื่อนยศเป็น ร.ท.
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 โอนเป็นตำรวจ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองตำรวจภูธร จว.ชัยภูมิ ปรับยศเป็น ร.ต.อ.(รับราชการเป็นตำรวจได้ 4 เดือน)
- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 โอนกลับเป็นทหาร ประจำในกองทัพบก ปรับยศเป็น ร.อ.
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1 และได้รับพระราชทานยศเป็น พลโท
- 1 มกราคม พ.ศ. 2502 ได้รับพระราชทานเป็น พลเอก
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บัญชาการทหารบก และพระราชทานยศให้เป็น จอมพล
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ อีกตำแหน่งหนึ่ง
[แก้] ตำแหน่งและหน้าที่ราชการพิเศษ
- โปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์เวร และเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- เป็นสมาชิกสภาผู้แทนประเภท 2
- พ.ศ. 2499 เข้ารับการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร กรมเสนาธิการกลาโหม ชุดที่ 1
- 23 กันยายน พ.ศ. 2500 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐบาลนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี
- 1 มกราคม พ.ศ. 2501 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในคณะรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
- 7 กันยายน พ.ศ. 2506 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 11 กันยายน พ.ศ. 2506 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลทหารสูงสุด
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ้นตำแหน่งและสิ้นสุดสภาพรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 27 ธันวาคม พ.ศ. 2515 โปรดเกล้าฯให้เป็นนายตำรวจราชสำนักพิเศษ
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- นพรัตน์ราชวราภรณ์ (น.ร.)
- ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่านหน้า (ป.จ.)
- รามาธิบดี ชั้นเสนางคบดี (ร.ม.บ.)
- มหาประถมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
- เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 1 และ ฯลฯ
- ยอร์ชที่ 1 ชั้นที่ 1 จากรัฐบาลกรีซ ,จากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ,สเปน ,อิตาลี ฯลฯ
[แก้] บทบาททางการเมือง
ภายหลังการอสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2506 แล้ว จอมพลถนอม กิตติขจร จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ บทบาทของจอมพลประภาสเปรียบเสมือนมือขวาคนสำคัญของจอมพลถนอม โดยเป็นรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งบุคคลิกส่วนตัวของจอมพลถนอมแล้ว เป็นคนพูดน้อย มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์ จึงได้รับการยอมรับจากประชาชนในระยะแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายาว่า " นายก ฯ คนซื่อ " แต่จอมพลประภาสกลับไม่ได้รับความไว้วางใจเฉกเช่นจอมพลถนอม อันเนื่องมาจากปัญหาการคอร์รัปชั่นและการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบหลายประการ โดยที่จอมพลประภาสเสมือนเป็นปากกระบอกเสียงให้แก่จอมพลถนอม ด้วยความเป็นคนพูดเก่ง มีลีลาแพรวพราว และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งคู่ก็แน่บแน่นกัน โดยที่ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ลูกชายของจอมพลถนอม ก็ได้สมรสกับลูกสาวของจอมพลประภาสด้วย
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้ว จอมพลประภาส ได้เดินทางออกนอกประเทศ โดยไปอยู่ที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน และหวนกลับคืนมาสู่ประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2519 แต่ถูกต่อต้านอย่างหนัก จึงเดินทางกลับ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่นาน
|
||
---|---|---|
เจ้ากรมทหารบก | ||
เจ้ากรมยุทธนาธิการ | ||
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม | ||
ผู้บัญชาการทหารบก |
พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต · อดุล อดุลเดชจรัส · ผิน ชุณหะวัณ · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · กฤษณ์ สีวะรา · บุญชัย บำรุงพงศ์ · เสริม ณ นคร · เปรม ติณสูลานนท์ · ประยุทธ จารุมณี · อาทิตย์ กำลังเอก · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุจินดา คราประยูร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ · เชษฐา ฐานะจาโร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · สนธิ บุญยรัตกลิน · อนุพงษ์ เผ่าจินดา |
|
||
---|---|---|
กองโปลิศ กรมกองตระเวน |
เอส.เย.เอมส์ · พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) · เอ.เย.ยาดิน · อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน · พระยาวาสุเทพ |
|
กรมตำรวจ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ · พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) · พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) · พระยาอนุสรณ์ธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ) · อดุล อดุลเดชจรัส · พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) · พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมภะ) · หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ) · เผ่า ศรียานนท์ · ไสว ไสวแสนยากร · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ประเสริฐ รุจิรวงศ์ · ประภาส จารุเสถียร · ประจวบ สุนทรางกูร · พจน์ เภกะนันทน์ · ศรีสุข มหินทรเทพ · มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น · สุรพล จุลละพราหมณ์ · ณรงค์ มหานนท์ · เภา สารสิน · แสวง ธีระสวัสดิ์ · สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ · ประทิน สันติประภพ · พจน์ บุณยะจินดา · ประชา พรหมนอก |
|
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ประชา พรหมนอก · พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ · สันต์ ศรุตานนท์ · สุนทร ซ้ายขวัญ(รักษาราชการแทน) · โกวิท วัฒนะ · เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส · พัชรวาท วงษ์สุวรรณ |
|
||
---|---|---|
พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) · พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) · เอ.จี.เอลลิส · แปลก พิบูลสงคราม · หม่อมเจ้ารัชฎาภิเษก โสณกุล · มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์ · ประภาส จารุเสถียร · แถบ นีละนิธิ · อรุณ สรเทศน์ · เติมศักดิ์ กฤษณามระ · เกษม สุวรรณกุล · จรัส สุวรรณเวลา · เทียนฉาย กีระนันทน์ · ธัชชัย สุมิตร · สุชาดา กีระนันทน์ · ภิรมย์ กมลรัตนกุล |
ประภาส จารุเสถียร เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ประภาส จารุเสถียร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |