จอมพล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยศทหาร | ||
กองทัพเรือ | กองทัพบก | กองทัพอากาศ |
---|---|---|
จอมพลเรือ | จอมพล | จอมพลอากาศ |
พลเรือเอก | พลเอก | พลอากาศดเอก |
พลเรือโท | พลโม | พลอากาศโท |
พลเรือตรี | พลตรี | พลอากาศตรี |
พลเรือจัตวา | พลจัตวา | พลอากาศจัตวา |
นาวาเอก (พิเศษ) | พันเอก (พิเศษ) | นาวาอากาศเอก (พิเศษ) |
นาวาเอก | พันเอก | นาวาอากาศเอก |
นาวาโท | พันโท | นาวาอากาศโท |
นาวาตรี | พันตรี | นาวาอากาศตรี |
Lieutenant | Captain | Flight Lieutenant |
Sub-Lieutenant | Lieutenant | Flying Officer |
Warrant Officer | Warrant Officer | Warrant Officer |
Petty Officer | Sergeant | Sergeant |
Leading Rate | Corporal | Corporal |
พลทหาร | พลทหาร | พลทหาร |
จอมพล เป็นยศทหารขั้นสูงกว่าพลเอก แต่รองจากจอมทัพ มีทั้งยศทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ
เนื้อหา |
[แก้] คำเรียกชื่อยศจอมพลในภาษาต่างๆ
- ภาษาบอสเนีย : Feldmaršal
- ภาษาเดนมาร์ก : Feltmarskal
- ภาษาเยอรมัน : Marschall
- ภาษาสเปน : Mariscal de Campo
- ภาษาอังกฤษ (อังกฤษ) : Field Marshal
- ภาษาอังกฤษ (อเมริกา) : General of the Army (ยศนายพล 5 ดาว)
- ภาษาเปอร์เซีย : بزرگارتشتاران
- ภาษาฟินแลนด์ : Sotamarsalkka
- ภาษาฝรั่งเศส : Maréchal
- ภาษาฮีบรู : מרשל (דרגה)
- ภาษาโครเอเชีย : Feldmaršal
- ภาษาอูรดู : سالار المیدان
- ภาษาญี่ปุ่น : 元帥
- ภาษานอร์เวย์ : Feltmarskalk
- ภาษาโปแลนด์ : Marszałek
- ภาษาโปรตุเกส : Marechal-de-campo
- ภาษารัสเซีย : Маршал
- ภาษาสโลวีเนีบ : Feldmaršal
- ภาษาสวีเดน : Fältmarskalk
- ภาษายูเครน : Фельдмаршал
- ภาษาจีน : 大将 (ต้าเจียง)
- ภาษาเกาหลี : วอนซู (ฮันกึล: 원수; ฮันจา: 元帥; โรมัน: Wonsu)
- ภาษาเวียดนาม : Nguyên soái
- ภาษาอาหรับ : مشير (Mushir)
[แก้] ยศจอมพลในประเทศไทย
ในประเทศไทย ยศจอมพลมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริตามแบบธรรมเนียมทหารในต่างประเทศ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จเรทหารทั่วไป เป็นพระองค์แรก ต่อมาได้โปรดพระราชทานยศจอมพลแก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ สมเด็จพระอนุชาธิราช เสนาธิการทหารบก และพระราชทานยศจอมพลเรือแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต่อมาเมื่อโปรดให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ย้ายมาเป็นเสนาธิการทหารบก ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพล ให้ด้วย
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีการปรับสายการบังคับบัญชาทหาร จากกองทัพน้อย กองพล กรม กองพัน เหลือเพียงระดับกองพัน จึงไม่มีการพระราชทานยศจอมพล จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการขอพระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และยศจอมพลให้แก่ผู้บัญชาการทหารบก ยศจอมพลเรือแก่ผู้บัญชาการทหารเรือ และยศจอมพลอากาศแก่ผู้บัญชาการทหารอากาศ และต่อมาได้มีการขอพระราชทานยศจอมพลสามเหล่าทัพให้เฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพียงตำแหน่งเดียว
นายทหารผู้ได้รับพระราชทานยศจอมพลคนสุดท้าย คือ จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2515 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการแต่งตั้งยศจอมพลอีกเลย มีเพียงยศ พลเอก พลอากาศเอก พลเรือเอก ซึ่งพระราชทานโปรดเกล้าฯ แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529
ในการพระราชทานยศจอมพล จะทรงพระราชทานคทาจอมพล ที่มีลักษณะเป็นรูปครุฑพ่าห์ ด้านล่างของด้ามคทาประดิษฐ์เป็นรูปทรงมัณฑ์ 3 ยอด ประดับด้วยแก้วผลึกสีเขียวสลับแดง ที่ด้ามมีจารึกพระนามจอมพลพร้อมด้วยวันที่ได้รับพระราชทาน [1]
ปัจจุบัน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม จะรับเงินเดือนอัตรา จอมพล (น.9) แต่ไม่ได้รับพระราชทานโปรดเกล้ายศจอมพล
[แก้] เครื่องหมายยศจอมพลของ 3 เหล่าทัพ
ภาพธงที่แสดงในที่นี้ เป็นธงตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
เครื่องหมายยศ | จอมพล | จอมพลเรือ | จอมพลอากาศ |
---|---|---|---|
อินทรธนู |
|
|
|
ธงหมายยศ |
|
|
|
[แก้] จอมพลของกองทัพไทย
พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่ง จอมทัพไทย ดำรงพระยศจอมพล จำนวน 5 พระองค์ คือ
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
- พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งดำรงพระยศเป็นจอมพล และนายทหารของกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย และกองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งมียศจอมพล มีทั้งสิ้น 17 ท่าน
- จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
- จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
- จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[2]
- จอมพล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)
- จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
- จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
- จอมพลผิน ชุณหะวัณ
- จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ)
- จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
- จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
- จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
- จอมพลถนอม กิตติขจร
- จอมพลประภาส จารุเสถียร
- จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์[3]
สำหรับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงพระยศ พลเอก พลอากาศเอก พลเรือเอก
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- http://hisswuboard.7.forumer.com/a/_post70.html
- http://board.dserver.org/s/suttipun/00000039.html
- http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/commander/index2.htm
- ^ http://www.osknetwork.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=23746
- ^ กองทัพเรือได้ขอพระราชทานพระยศจอมพลเรือแด่สมเด็จพระบรมราชชนกเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2541 [1]
- ^ ได้รับพระราชทานยศจอมพล หลังจากเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อ พ.ศ. 2515 (ขณะเสียชีวิตมียศเป็นพลโท ตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1)