การถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน (Korean romanization) คือการเขียนภาษาเกาหลี โดยใช้อักษรโรมันในการแทนเสียง ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ระบบหลักที่นิยมใช้ ได้แก่
- ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 เป็นระบบที่ใช้ในปัจจุบันในประเทศเกาหลีใต้แทนที่ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ โดยเริ่มใช้ใน ปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลเกาหลีได้ใช้ระบบนี้ในการเปลี่ยนแปลงป้ายบอกทาง หนังสือเรียนต่างๆ พัฒนาโดยสถาบันภาษาเกาหลีแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2538 และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 โดยได้ปรับปรุงการใช้งาน คำศัพท์หลายคำที่ออกเสียงไม่ตรงกับต้นฉบับภาษาเกาหลี รวมถึงการใช้ตัวอักษรแบบธรรมดาไม่มีสัญลักษณ์พิเศษเหนือตัวอักษรโรมันซึ่งยากต่อการใช้งาน
- ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ (McCune-Reischauer, MR) เป็นระบบแรกที่มีการใช้งาน เริ่มพัฒนาใน ปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) และได้รับการยอมรับในวงกว้าง ซึ่งในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการใช้ระบบที่ดัดแปลงจากระบบนี้ นำมาใช้เป็นระบบอย่างเป็นทางการของประเทศในช่วง พ.ศ. 2527-2543
- ระบบเยล เป็นระบบที่พัฒนาใช้ในวงการภาษาศาสตร์ พัฒนาโดย ซามูเอล เอลโม มาร์ตินที่มหาวิทยาลัยเยลใน ปี พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)
[แก้] ตัวอย่างของระบบต่างๆ
ความหมาย | ฮันกุล (ฮันจา) | MC 2000 (การออกเสียง) | แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ | เยล |
---|---|---|---|---|
กำแพง | 벽 (壁) | byeok (byeog) | pyŏk | pyek |
บนกำแพง | 벽에 | byeoge (byeog-e) | pyŏge | pyek ey |
ครัว | 부엌 | bueok (bueok) | puŏk | puekh |
วิกิพีเดีย | 위키백과 (百科) | wikibaekgwa (wikibaeggwa) | wikibaekkwa | wikhi payk.kwa |
ฮันกุล | 한글 | hangeul | han'gŭl | hānkul |
ตัวอักษร | 글자 (字) | geulja | kŭlcha | kulqca |
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
การถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ การถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |