พิชัย รัตตกุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกิดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2469 ที่กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน โดยเป็นลูกชายคนโต จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จากนั้นจึงไปศึกษาต่อที่ฮ่องกง หลังจบการศึกษาแล้วได้กลับมาดูแล ธุรกิจของครอบครัว ก่อนจะเข้าสู่วงการเมือง
สมรสกับคุณหญิงจรวย รัตตกุล มีบุตรชาย 2 คนคือ ดร.พิจิตต รัตตกุล และ ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล
[แก้] ประวัติทางการเมือง
นายพิชัยเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และเป็น ส.ส.ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาไม่นาน นายพิชัยได้เป็น 1 ใน 100 ของบุคคลที่ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร และเป็น 1 ใน 2 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ลงชื่อในคราวนั้น (อีกหนึ่งคนคือ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์)
ในสมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายพิชัย ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศถึง 3 ครั้ง ตามวาระของรัฐบาล
ได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2525 หลังจากการครบวาระของ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงนี้ได้ร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งนายพิชัยได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้วย ในปี พ.ศ. 2529 จากนั้นในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายพิชัยและพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลในวาระแรก แต่ในวาระที่ 2 ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายพิชัยและพรรคประชาธิปัตย์ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลเนื่องจากมีเสียงสนับสนุนรัฐบาลในสภา ฯ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดสภาพการเป็นเผด็จการรัฐสภา
ในวาระของการเป็นหัวหน้าพรรคของนายพิชัยนั้น ได้มีเหตุการณ์ความแตกแยกในพรรคเกิดขึ้น เมื่อกลุ่ม "10 มกรา" ที่นำโดยนายวีระ มุสิกพงศ์ ได้ลาออกจากพรรคไป เนื่องจากความขัดแย้งกันในแต่งตั้งหัวหน้าพรรค
จากนั้น เมื่อ นายชวน หลีกภัยเป็นหัวหน้าพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 นายพิชัยได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการเกี่ยวกับต่างประเทศและรับผิดชอบการจัดมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ 1998 และได้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาด้วย
หลังจากนี้ไม่นาน นายพิชัยได้วางมือจากการเมืองเนื่องจากมีอายุที่มากแล้ว จนได้รับฉายาว่า "คุณปู่" แต่ยังมีตำแหน่งเป็นสภาที่ปรึกษาของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ ในแวดวงสังคม นายพิชัย มีตำแหน่งเป็นประธานสโมสรโรตารีในประเทศ และเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานสโมสรโรตารีสากลในระหว่างปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2546
[แก้] อ้างอิง
|
|
---|---|
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) · พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ · พระยามานวราชเสวี · วิลาศ โอสถานนท์ · พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) · หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) · ทวี บุณยเกตุ · นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) · ศิริ สิริโยธิน · คึกฤทธิ์ ปราโมช · ประภาศน์ อวยชัย · ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ · อุทัย พิมพ์ใจชน · กมล เดชะตุงคะ · หะริน หงสกุล · จา่รุบุตร เรืองสุึวรรณ · อุกฤษ มงคลนาวิน · วรรณ ชันซื่อ · มีชัย ฤชุพันธุ์ · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · มารุต บุนนาค · บุญเอื้อ ประเสริฐสุึวรรณ · วันมูหะมัดนอร์ มะทา · พิชัย รัตตกุล · อุทัย พิมพ์ใจชน · โภคิน พลกุล · มีชัย ฤชุพันธุ์ · ยงยุทธ ติยะไพรัช · ชัย ชิดชอบ |
|
|
---|---|
|
|
หมายเหตุ: † รัฐประหาร, * แต่งตั้ง, ! เลือกตั้ง |
|
||
---|---|---|
เสนาบดี |
เจ้าพระยาภาณุวงศ์ มหาโกษาธิบดี · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ |
|
รัฐมนตรี |
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย · พระศรีวิสารวาจา · พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ) · ปรีดี พนมยงค์ · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ · แปลก พิบูลสงคราม · ดิเรก ชัยนาม · หลวงวิจิตรวาทการ · เสนีย์ ปราโมช · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · หลวงอรรถกิติกำจร (อรรถกิจ พนมยงค์) · ปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล · พจน์ สารสิน · นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) · พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ · ถนัด คอมันตร์ · จรูญพันธุ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · ถนอม กิตติขจร · ชาติชาย ชุณหะวัณ · พิชัย รัตตกุล · อุปดิศร์ ปาจรียางกูร · สิทธิ เศวตศิลา · สุบิน ปิ่นขยัน · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · อาสา สารสิน · ปองพล อดิเรกสาร · ประสงค์ สุ่นศิริ · ทักษิณ ชินวัตร · กระแส ชนะวงศ์ · เกษมสโมสร เกษมศรี · อำนวย วีรวรรณ · ประจวบ ไชยสาส์น · สุรินทร์ พิศสุวรรณ · สุรเกียรติ์ เสถียรไทย · กันตธีร์ ศุภมงคล · นิตย์ พิบูลสงคราม · นพดล ปัทมะ |
|
||
---|---|---|
หัวหน้าพรรค | ควง อภัยวงศ์ · เสนีย์ ปราโมช · ถนัด คอมันตร์ · พิชัย รัตตกุล · ชวน หลีกภัย · บัญญัติ บรรทัดฐาน · อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | |
เลขาธิการพรรค | คึกฤทธิ์ ปราโมช · เทพ โชตินุชิต · ชวลิต อภัยวงศ์ · ใหญ่ ศวิตชาติ · ธรรมนูญ เทียนเงิน · ดำรง ลัทธพิพัฒน์ · เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ · มารุต บุนนาค · เล็ก นานา · วีระ มุสิกพงศ์ · สนั่น ขจรประศาสน์ · อนันต์ อนันตกูล · ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ · สุเทพ เทือกสุบรรณ |