ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดปราจีนบุรี) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยา และเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตร ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศรี เปี่ยมสมบูรณ์ มีบุตร-ธิดารวม 3 คน
เนื้อหา |
[แก้] การศึกษา
- มัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- พ.ศ. 2515 รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2518 Master of Science, มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2522 Ph.D., มหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต สหรัฐอเมริกา
[แก้] การเมือง
เป็นหนึ่งใน 23 ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในช่วงสองปีแรกของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่สร้างผลงานออกตรวจสถานบันเทิงกลางคืน จนได้ฉายาว่า มือปราบสายเดี่ยว ซึ่งบทบาทการทำงานของ ร.ต.อ.ปุระชัย เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา จนมีความขัดแย้งในสังคมและขัดแย้งในความความเห็นกับหลายบุคคลร่วมรัฐบาลขณะนั้น เช่น นายเสนาะ เทียนทอง เป็นต้น จนมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร.ต.อ.ปุระชัย ถูกย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งก็มีความขัดแย้งกันอีกกับ น.พ. ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเรียกกันว่า สงครามคนดี จนเมื่อการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ร.ต.อ.ปุระชัย จึงได้ยุติบทบาททางการเมืองไป แต่ก็ยังมีข่าวคราวออกมาเป็นระยะ ๆ เช่น การเปิดตัวหนังสือซึ่งเจ้าตัวเป็นผู้เขียนเอง เช่น " คนดีไม่มีเสื่อม " เป็นต้น และหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ร.ต.อ.ปุระชัย ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นบุคคลที่เมื่อมีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนครั้งใดมักจะได้รับความนิยมลำดับต้น ๆ เสมอ ๆ และเมื่อมีการสำรวจความเห็นประชาชนในกลางปี พ.ศ. 2550 ปรากฏว่า เป็นบุคคลอันดับหนึ่งที่คนไทยอยากให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
||
---|---|---|
เสนาบดี |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ · เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ · พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี |
|
รัฐมนตรี |
พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี · พระยานิติศาสตร์ไพศาล (วัน จามรมาน) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ · หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ · ดิเรก ชัยนาม · พระยานลราชวสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) · หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) · เสนีย์ ปราโมช · พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) · พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) · เลียง ไชยกาล · เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ · พระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร์) · หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) · กมล วรรณประภา · ประกอบ หุตะสิงห์ · กิตติ สีหนนท์ · เทียม ไชยนันท์ · ใหญ่ ศวิตชาต · บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ · ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ · ชวน หลีกภัย · เสมา รัตนมาลัย · สุธรรม ภัทราคม · มารุต บุนนาค · พิภพ อะสีติรัตน์ · สะอาด ปิยวรรณ · จำรัส มังคลารัตน์ · อุทัย พิมพ์ใจชน · ประภาศน์ อวยชัย · สวัสดิ์ คำประกอบ · วิเชียร วัฒนคุณ · สุวิทย์ คุณกิตติ · ไสว พัฒโน · เฉลิม อยู่บำรุง · สุทัศน์ เงินหมื่น · พงศ์เทพ เทพกาญจนา · จาตุรนต์ ฉายแสง · ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ · สุวัจน์ ลิปตพัลลภ · ชิดชัย วรรณสถิตย์ · ชาญชัย ลิขิตจิตถะ · สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
|
||
---|---|---|
หัวหน้าพรรค | ||
เลขาธิการพรรค |
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ · สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ · วิเชษฐ์ เกษมทองศรี |