เกรียงไกร อัตตะนันทน์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ | |
---|---|
จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ ในเครื่องแบบเต็มยศของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ |
|
ชื่อจริง | จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ |
เกิด | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 จังหวัดธนบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2515 (59 ปี) จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
งาน-อาชีพ | จอมพล |
สัญชาติ | ไทย |
เชื้อชาติ | ไทย |
ผลงาน | สงครามเกาหลี (2493) |
สังกัด | กองทัพบก กระทรวงกลาโหม |
วุฒิสูงสุด | โรงเรียนนายร้อยทหารบก (2477) |
เกียรติประวัติ | • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก • มหาวิชรมงกุฎ • ทุติยจุลจอมเกล้า • เหรียญบรอนซ์สตาร์ จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา |
ศาสนา | พุทธ |
จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ อดีตผู้บังคับกองพันทหารอาสาสมัครของไทยชุดแรกในสงครามเกาหลี อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และอดีตแม่ทัพภาคที่ 1 ท่านเป็นนายทหารที่ได้รับพระราชทานยศจอมพลเป็นคนสุดท้ายของกองทัพไทย ก่อนที่จะมีการระงับการพระราชทานยศชั้นดังกล่าวในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ เดิมชื่อ บุญสม อัตตะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของเรือเอก ขุนรุตรณไกร (แฮนน์ อัตตะนันทน์) และนางเหม อัตตะนันทน์ จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเมื่อ พ.ศ. 2474 จนจบการศึกษาใน พ.ศ. 2477 และเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งประจำกรมทหารราบที่ 7 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
ราชการครั้งสำคัญของจอมพลเกรียงไกร คือ ได้เข้าร่วมสงครามเกาหลี ในฐานะผู้บังคับกองพันทหารอาสาสมัครชุดแรก (ขณะนั้นมียศเป็นพันโท) ซึ่งกองทัพไทยจัดส่งไปร่วมรบกับสหประชาชาติในสงครามครั้งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2493 นับว่าเป็นผู้บังคับกองพันคนแรกของกองกำลังทหารไทย ที่ไปปฏิบัติราชการสงครามนอกประเทศ กองพันนี้ได้รับการยกย่องจากนานาชาติว่า เป็นกองกำลังที่มีความสามารถสูง และทำการรบด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว จนได้รับสมญานามว่า "กองพันพยัคฆ์น้อย"
จากการร่วมรบครั้งนี้ จอมพลเกรียงไกรจึงได้รับเหรียญบรอนซ์สตาร์จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เป็นเครื่องหมายยืนยันความสามารถและความกล้าหาญของท่าน ภายหลังเมื่อท่านกลับมาที่ประเทศไทยแล้ว ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 (กองพันพยัคฆ์น้อย) และได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บังคับการกรมผสมที่ 21 เมื่อ พ.ศ. 2496 (ปัจจุบันหน่วยนี้คือ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
ตำแหน่งราชการของท่านที่สำคัญอีกตำแหน่งคือ เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังรบที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ในช่วง พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2503
ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้ายของจอมพลเกรียงไกร คือ แม่ทัพภาคที่ 1 ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (ขณะนั้นมียศเป็นพลโท) และได้รับหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการป้องการการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เขต 1 อีกตำแหน่งหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์การต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในขณะนั้นเป็นไปอย่างรุนแรง
จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่จังหวัดราชบุรี ระหว่างการเดินทางไปปฏิบัติราชการ เพื่อวางแผนปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2515 พร้อมกันกับคณะนายทหารที่ร่วมเดินทางด้วยกันอีก 12 คน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลเป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 และยังได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการพระราชทานเพลิงศพ ที่เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2516 อีกด้วย
จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์สมรสกับคุณหญิงกานดา อัตตะนันทน์ มีบุตรธิดารวม 4 คน คือ
- พลเอกสมทัต อัตตะนันทน์ (เดิมชื่อ สมภพ)
- นายพิพัฒน์พงษ์ อัตตะนันท์
- นางพูนพันธ์ พันธุ์ยิ้ม
- นายธีรศักดิ์ อัตตะนันทน์
[แก้] อ้างอิง
- อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 11 กันยายน พุทธศักราช 2516. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่วัฒนธรรมการค้า, 2516.
|
|
---|---|
กองทัพภาคที่ 1 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน · พระยาเสนาภิมุข · หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ · พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ สุทัศน์) · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ · พระยากฤษณรักษ์ · พระยาอินทรชิต · พระยาพิชัยสงคราม · กาจ กาจสงคราม · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · วิชัย พงศ์อนันต์ · ชลอ จารุกลัส · กฤษณ์ สีวะรา · อรรถ ศศิประภา · สำราญ แพทยกุล · อ่อง โพธิกนิษฐ์ · เกรียงไกร อัตตะนันทน์ · ประเสริฐ ธรรมศิริ · ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา · อำนาจ ดำริกาญจน์ · เทพ กรานเลิศ · ปิ่น ธรรมศรี · วศิน อิศรางกูร ณ อยุธยา · อาทิตย์ กำลังเอก · พัฒน์ อุไรเลิศ · พิจิตร กุลละวณิชย์ · วัฒนชัย วุฒิศิริ · ศัลย์ ศรีเพ็ญ · ไพบูลย์ ห้องสินหลาก · ชัยณรงค์ หนุนภักดี · เชษฐา ฐานะจาโร · บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ · วินิจ กระจ่างสนธิ์ · นิพนธ์ ภารัญนิตย์ · ทวีป สุวรรณสิงห์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · ไพศาล กตัญญู · อนุพงษ์ เผ่าจินดา · ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
กองทัพภาคที่ 2 |
หลวงวีระโยธา · หลวงสวัสดิ์สรยุทธ · ไสว ไสวแสนยากร · ครวญ สุทธานินทร์ · สนิท สนิทยุทธการไทยยานนท์ · หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ · ชลอ จารุกลัส · กฤษณ์ สีวะรา · จิตต์ สุนทรานนท์ · ธงเจิม ศังขวณิช · จำลอง สิงหะ · พโยม พหุลรัต · สวัสดิ์ มักการุณ · เปรม ติณสูลานนท์ · แสวง จามรจันทร์ · ลักษณ์ ศาลิคุปต · พักตร์ มีนะกนิษฐ · พิศิษฐ์ เหมะบุตร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ไพบูลย์ ห้องสินหลาก · อารียะ อุโฆษกิจ · อานุภาพ ทรงสุนทร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · เรวัต บุญทับ · สนั่น มะเริงสิทธิ์ · เทพทัต พรหโมปกรณ์ · ชุมแสง สวัสดิสงคราม · เหิร วรรณประเสริฐ · สุเจตน์ วัฒนสุข · สุจิตร สิทธิประภา |
กองทัพภาคที่ 3 |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ · วีระ วีระโยธา · หลวงสวัสดิ์สรยุทธ · หลวงจุลยุทธยรรยง · ครวญ สุทธานินทร์ · ผ่อง บุญสม · ประพันธ์ กุลพิจิตร · อรรถ ศศิประภา · อ่อง โพธิกนิษฐ · สำราญ แพทยกุล · ประสาน แรงกล้า · ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา · สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ · สีมา ปาณิกบุตร · พร้อม ผิวนวล · เทียบ กรมสุริยศักดิ์ · รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ · ชัยชนะ ธารีฉัตร · ศิริ ทิวะพันธุ์ · ไพโรจน์ จันทร์อุไร · ยิ่งยส โชติพิมาย · สุรเชษฐ เดชาติวงศ์ · ถนอม วัชรพุทธ · สมหมาย วิชาวรณ์ · วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ · อุดมชัย องคสิงห · พิชาญเมธ ม่วงมณี · สพรั่ง กัลยาณมิตร · จิรเดช คชรัตน์ |
กองทัพภาคที่ 4 |
สัณห์ จิตรปฏิมา · ปิ่น ธรรมศรี · จวน วรรณรัตน์ · หาญ ลีนานนท์ · วันชัย จิตจำนงค์ · วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์ · ยุทธนา แย้มพันธ์ · กิตติ รัตนฉายา · ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ · ปรีชา สุวัณณะศรี · ณรงค์ เด่นอุดม · วิชัย บัวรอด · ทรงกิตติ จักกาบาตร์ · พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ · พิศาล วัฒนะวงค์คีรี · ขวัญชาติ กล้าหาญ · องค์กร ทองประสม · วิโรจน์ บัวจรูญ · กสิกร คิรีศรี |
เกรียงไกร อัตตะนันทน์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |