See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โมเดิร์นไนน์ทีวี - วิกิพีเดีย

โมเดิร์นไนน์ทีวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี (บมจ.อสมท)
ประเภท บริษัทมหาชน (SET:MCOT)
ก่อตั้ง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
ที่ตั้ง 63/1 ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
บุคลากรหลัก วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
ศุทธิชัย บุนนาค ผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์
อุตสาหกรรม สื่อสารมวลชน
ผลิตภัณฑ์ สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี
รายได้ ไม่ทราบ
พนักงาน ไม่ทราบ
สโลแกน สังคมอุดมปัญญา และ ก้าวไกลรับใช้ประชาชน
เว็บไซต์ www.mcot.net

สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี (อังกฤษ: Modernine TV) สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.อสมท ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ที่ตั้งปัจจุบันอยู่ภายในที่ทำการ บมจ.อสมท เลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

เนื้อหา

[แก้] สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม นับว่าเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้การบริหารของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 มีชื่อเรียกขานตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์ว่า HS1-TV ตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน

คณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรก ได้แก่ นายจำนง รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ หัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, นายสมชาย มาลาเจริญ หัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, นายธนะ นาคพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา หัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น หัวหน้าร่วม ฝ่ายเครื่องส่ง และ เสาอากาศ, นายจ้าน ตัณฑโกศัย หัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, นายสรรพสิริ วิริยศิริ หัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และ หัวหน้าฝ่ายข่าว และ นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช หัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์

เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (บางขุนพรหม) โดยมีพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี เมื่ออาคารดังกล่าวสร้างเสร็จ และติดตั้งเครื่องส่งแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ในช่วงแรกมีการแพร่ภาพออกอากาศในวันอังคาร วันพฤหัสบดี วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงได้เพิ่มวันและเวลาออกอากาศมากขึ้นตามลำดับ โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที

เพลงประจำการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 และสถานีวิทยุ ท.ท.ท.ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด คือเพลงต้นบรเทศ ในวันออกอากาศวันแรก ได้ให้นางสาวอารีย์ นักดนตรี ผู้ประกาศ รำบรเทศออกอากาศสด ส่วนนางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ ทำหน้าที่ผู้ประกาศแจ้งรายการ โดยผู้ประกาศในยุคแรกเป็นสตรี ได้แก่ นางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ (ปัจจุบันคือ นางเย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา), นางสาวอารีย์ นักดนตรี (ปัจจุบันคือ นางอารีย์ จันทร์เกษม), นางสาวดาเรศร์ ศาตะจันทร์, นางสาวนวลละออ ทองเนื้อดี (ปัจจุบันคือ นางนวลละออ เศวตโสภณ), นางสาวชะนะ สาตราภัย และ นางสาวประไพพัฒน์ นิรัตพันธ์ ส่วนผู้ประกาศข่าวเป็นชาย ได้แก่ นายสรรพสิริ วิรยศิริ, นายสมชาย มาลาเจริญ, นายอาคม มกรานนท์ และ นายบรรจบ จันทิมางกูร

ราวเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้หยุดทำการออกอากาศในระบบ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยได้ย้ายห้องส่งโทรทัศน์ไปที่ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู และราว พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ เป็นภาพสี ในระบบ 625 เส้น ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 9 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด

[แก้] สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 รัฐบาลภายใต้การนำของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้ออกพระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือต่อสาธารณชน อ.ส.ม.ท.จึงรับโอนกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 มาดำเนินการต่อ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. โดยรัฐบาลมอบทุนเป็นประเดิม จำนวน 10 ล้านบาท

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท.ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 บนเนื้อที่ 14 ไร่ ต่อมา ในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับบริษัท แปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ส่งผลให้คู่ผู้ประกาศข่าวที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น ก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร นั่นเอง

ราวปี พ.ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืดฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัยก็สามารถขจัดอิทธิพลมืดเหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ได้เป็นอย่างดี แต่แล้วนายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืนเสียชีวิต ระหว่างนั่งรถยนต์เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานีถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหารเสียชีวิตบนรถยนต์ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย

[แก้] สถานีโทรทัศน์แห่งความทันสมัย โมเดิร์นไนน์ทีวี

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็น ประธาน ใน พิธีเปิดตัว โมเดิร์นไนน์ ทีวี
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็น ประธาน ใน พิธีเปิดตัว โมเดิร์นไนน์ ทีวี

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 มีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์แห่งความทันสมัย โมเดิร์นไนน์ทีวี โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล อสมท และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท เป็นสักขีพยาน

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนสัญลักษณ์ของสถานีเป็นรูปดวงตาสีม่วง และปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทให้กับเครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา) สถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักร) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ การออกอากาศโทรทัศน์ ตลอดจนการควบคุมการออกอากาศ โดยแพร่ภาพออกอากาศ จากกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายในส่วนภูมิภาค 32 สถานี สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 79.5 ของประเทศ มีประชากรใน ขอบเขตการออกอากาศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5 ของประเทศ โดยมีรายการประเภทข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง กีฬา และรายการเพื่อสาธารณประโยชน์ ซึ่งได้จัดให้มีรายการประเภทข่าวสาร และสาระความรู้ในด้านต่างๆ นำเสนอในช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด (Prime Time) เพื่อให้ผู้ชมได้รับข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และมุ่งหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชน

[แก้] ตราสัญลักษณ์

[แก้] พ.ศ. 2495-2519

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม มีตราสัญลักษณ์เป็นรูป "วิชชุประภาเทวี" หมายถึงเทวดาผู้หญิง ที่เป็นเจ้าแห่งสายฟ้า หรือนางพญาแห่งสายฟ้า ประดับด้วยลายเมฆ และสายฟ้า อยู่ภายในรูปวงกลม ที่ออกแบบโดย กรมศิลปากร

[แก้] พ.ศ. 2519-2545

ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปกรอบจอโทรทัศน์ ภายในแบ่งเป็นแถบเส้นโค้งสามแถบ มีสามแม่สีแสง คือ แดง เขียว น้ำเงิน และตัวเลข 9 สีดำ ทับอยู่ใจกลางสัญลักษณ์ ทั้งหมดเดินเส้นด้วยสีขาว และมีเส้นขอบสีดำอยู่ภายนอกสุด แต่ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 อ.ส.ม.ท. ได้จัดตั้งขึ้น ก็ได้มีการเพิ่มคำย่อของหน่วยงานว่า อ.ส.ม.ท. ประทับไว้อยู่ข้างล่างสุดของตราสัญลักษณ์ดังกล่าว

[แก้] พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน

โมเดิร์นไนน์ทีวี มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม มีเส้นตัดกันอยู่ทางซ้ายมือ แทนลูกโลก ทางขวามือมีตัวเลข 9 สีม่วงซ่อนอยู่ ด้านบนมีเส้นโค้งสีเทา โดยรวมลักษณะคล้ายดวงตา ด้านล่างมีตัวอักษรย่อ “MCOT” หรือ “อสมท” สีส้ม เดินเส้นขอบสีเทา กำกับอยู่ด้วย

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


แก้ สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ธงไตรรงค์
ฟรีทีวี : ช่อง 3 | ททบ.5 | ช่อง 7 | โมเดิร์นไนน์ทีวี | เอ็นบีที | ทีวีไทย
เคเบิลทีวี: ทรู วิชั่นส์ | ไททีวี | ไลฟ์ ทีวี | สไมล์ทีวี เน็ตเวิร์ค | เอบีทีวี | ท๊อปอัพ ทีวี | ไอพีเอ็ม
โทรทัศน์ดาวเทียม : ดีแอลทีวี | เอ็นบีที | เอ็มวีทีวี | เอเอสทีวี | เท็น ทีวี | ทีโอทีวี
ช่องใน
เคเบิลทีวีและโทรทัศน์ดาวเทียม :
ช่องใน ทรูวิชั่นส์ | ช่องใน ไลฟ์ทีวี | ช่องใน สไมล์ทีวีเน็ตเวิร์ค | ช่องใน เอ็นบีทีเคเบิลทีวี | ช่องใน เอ็มวีทีวี | ช่องใน เอเอสทีวี | บูมเมอแรง
ช่องทีวีดาวเทียม : อีทีวี | ทีจีเอ็น | ดีเอ็มซี | แอร์ฟอร์ซ แชนแนล | อมตะ แชลแนล | ทีซีทีวี | เอสบีที | อาร์ยู ทีวี | ทีซีซี
ทีวีภูมิภาค : เอ็นบีที กาญจนบุรี | เอ็นบีที ขอนแก่น | เอ็นบีที จันทบุรี | เอ็นบีที เชียงใหม่ | เอ็นบีที นครศรีธรรมราช | เอ็นบีที พิษณุโลก | เอ็นบีที ภูเก็ต | เอ็นบีที สงขลา | เอ็นบีที สุราษฎร์ธานี | เอ็นบีที อุบลราชธานี
เคเบิลทีวีท้องถิ่น : โสภณ เคเบิลทีวี (พัทยา) | บางละมุง เคเบิ้ลทีวี (พัทยา) | แหลมทองเคเบิลทีวี (ประจวบคีรีขันธ์) | นครเคเบิลทีวี (นครศรีธรรมราช)บริษัท เมืองกาญจน์เคเบิ้ลทีวี จำกัด(กาญจนบุรี)
ทีวีในอดีต : ช่อง 4 | ททบ.7 | ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. | ไทยสกายทีวี | ไอบีซี | ยูทีวี | ยูบีซี | ไอทีวี | ทีไอทีวี | พีทีวี | สทท.11
องค์กรทีวี : กรมประชาสัมพันธ์ | อสมท | สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ดูเพิ่ม: โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย | การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย
โมเดิร์นไนน์ทีวี เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ ดนตรี หรือการบันเทิง ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โมเดิร์นไนน์ทีวี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -