จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทรท., ทีวีพูล (อังกฤษ: The Television Pool of Thailand - TPT. or T.V.Pool) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย จำนวน 5 สถานี ได้แก่ ไทยทีวีสีช่อง 3, ททบ.5, ช่อง 7 สี (BBTV), โมเดิร์นไนน์ทีวี, เอ็นบีที (สทท.) และ ทีวีไทย
[แก้] การก่อตั้ง
ความริเริ่มในการดำเนินการ ทรท. เกิดจากความเห็นร่วมกันของผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ 4 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3, (ท.ท.ท.)ช่อง 4 (ช่อง 9, โมเดิร์นไนน์ทีวี), ททบ.(ททบ.7, ททบ.5) และ ช่อง 7 (BBTV) ว่าแต่ละสถานีควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่างๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานี
จึงได้ก่อตั้งองค์กรชื่อ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ขึ้น โดยมีคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เป็นกรรมการ และตามธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้น ประธานกรรมการ ทรท. จะได้แก่ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (โดยตำแหน่ง) ปัจจุบัน ทรท.มีสมาชิกจำนวน 5 สถานี โดยสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ทีไอทีวี, ไทยพีบีเอส, ทีวีไทย) ได้เข้าร่วมภายหลัง
คณะกรรมการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย
- พลโทกิตติทัศน์ บำเหน็จพันธ์ุ ประธานกรรมการ
- นายประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการ
- นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์ กรรมการ
- นายศุทธิชัย บุนนาค กรรมการ
- นายเทพชัย หย่อง กรรมการ
[แก้] วัตถุประสงค์
- ร่วมมือในการถ่ายทอด และรับการถ่ายทอด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รายการสำคัญระดับชาติ เช่น พระราชพิธี พิธีสำคัญทางศาสนา พิธีสำคัญทางทหาร กิจกรรมสำคัญของภาครัฐบาล หรืองานสำคัญระหว่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ อาจจะถ่ายทอดออกอากาศทุกสถานี หรือถ่ายทอดบางสถานีเท่านั้น แล้วแต่จะเห็นควร
- เป็นผู้ประสานงาน ในการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ จากการถ่ายทอดตามข้อ 1 เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ชมได้รับชมการถ่ายทอด (กีฬา) ทั้งภายในและต่างประเทศ ที่มีคุณภาพ และราคาพอสมควร
- เป็นสื่อกลางระหว่างสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
- พิจารณาขจัดปัญหา และข้อขัดแย้งต่างๆ ของแต่ละสถานี โดยจะไม่ก้าวก่ายการบริหารภายในของแต่ละสถานี
- ร่วมมือสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานีโทรทัศน์ โดยพยายามยกระดับมาตรฐานให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น
[แก้] ทำเนียบประธานกรรมการ
ภาพเข้ารายการพิเศษประกาศเตือนภัย จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทาง ทรท.
- พ.ศ. 2511-2520 พลตรี ประสิทธิ์ ชื่นบุญ
- พ.ศ. 2520-2521 พลตรี พงศ์ เภกะนันทน์
- พ.ศ. 2521-2521 นายสุวรรณ เมตยานุวัฒน์ (รักษาการ)
- พ.ศ. 2521-2522 พลตรี ทวี จันทราทิพย์
- พ.ศ. 2522-2526 พลตรี เฉลิม กรัณยวัฒน์
- พ.ศ. 2526-2527 พลตรี ประทีป ชัยปราณี
- พ.ศ. 2531-2533 พลโท จารุพันธ์ บูรณสงคราม
- พ.ศ. 2533 พลเอก วิจิตร จุณภาต
- พ.ศ. 2536 พลเอก ยุทธนา คำดี
- พ.ศ. 2537 พลเอก อารียะ อุโฆษกิจ
- พ.ศ. 2538 พลเอก แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา
- พ.ศ. 2542 พลโท สมพงษ์ ใหม่วิจิตร
- พ.ศ. 2543 พลโท สุนทร โสภณศิริ
- พ.ศ. 2545 พลโท ธีระ บุญพิทักษ์
- พ.ศ. 2549 พลโท วุฒิชัย พรพิบูลย์
- พ.ศ. 2550 พลโทกิตติทัศน์ บำเหน็จพันธ์
[แก้] การดำเนินงาน
[แก้] ภารกิจหลัก
[แก้] หลักเกณฑ์การออกอากาศ
[แก้] การถ่ายทอดกีฬา
|
โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นบทความเกี่ยวกับ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |