See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ - วิกิพีเดีย

ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่ซับซ้อนมีสาเหตุทั้งจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเคยเป็นดินแดนชาวฮินดู และ ชาวพุทธ และต่อมาศาสนาอิสลามเข้ามามีบทบาทมากขึ้น {ชาวมาเลย์มุสลิมย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น(เป็นข้อมูลจากมุมมองของฝ่ายไทย) และเปลี่ยนการปรกครองดินแดนแห่งนี้ไปใช้ระบอบการปกครองแบบสุลต่านแห่งปัตตานี (ชื่อพื้นเมือง "ปตานิง" หรือ "ปาตานี")} แต่ต่อมา สยาม มีความเข็มแขงขึ้น และได้เข้ามามีอธิพลเหนื้อพื้นที่แถบนี้เป็นเวลานานกว่า700ปี ในช่วงสมัยการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป สยามต้องเสียดินแดนบางส่วนในภาคใต้ให้กับสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2452 พื้นที่แห่งนี้ถูกแบ่งออกเป็น2ส่วน ส่วนหนึ่งถูกผนวกรวมเข้ากับพื้นที่ในความดูแลของสหราชอาณาจักรซึ่งต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย อีกส่วนหนึ่งยังคงอยู่กับราชอาณาจักรสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน

เนื้อหา

[แก้] มูลเหตุแห่งปัญหา

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับภูมิภาคนี้เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้ระบบมลฑลเทสาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครรวมทั้งเจ้าเมืองทั่วประเทศ ยังผลให้กลุ่มอำนาจเก่าที่เรียกอ้างตนว่าสืบเชื้อสายมาจากสุลต่านเดิม ในพื้นที่ไม่พอใจ

ในสมัยนโยบายบูรณาการแห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดใช้ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2464 มีผลบังคับให้บุตรหลานของคนทุกหมู่เหล่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องเข้าสู่ระบบโรงเรียนชั้นประถมศึกษาซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่คนบางกลุ่มมองว่าความพยายามในการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและ ส่งเสริมให้ทุกคนสามารถอย่างออกเขียนได้เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางานในอนาคต เป็นการกีดกันชนชาติมาเลย์มุสลิมออกจากภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ต่อมารัฐบาลไทยสั่งปิดบรรดาโรงเรียนต่างๆที่มิได้สอนภาษาไทยอย่างถูกต้องตามหลักสูตรของรัฐทั้งหมดลงทั่วประเทศในปพ.ศ. 2466 ซึงรวมไปถึงโรงเรียนของชาวมาเลย์มุสลิมด้วย เป็นผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงและการจลาจลขึ้นในพื้นที่อย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตามก่อนการมาตั้งถิ่นฐานของชาวมาเลย์มุสลิมนั้น (เป็นข้อมูลจากมุมมองของฝ่ายไทย) พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย และอาณาจักรลังกาสุกะมาก่อน โดยประชาชนส่วนใหญ่นับศาสฮินดู และศาสนาพุทธ

ปี พ.ศ. 2482 มีการประกาศใช้ระเบียบวัฒนธรรมไทยโดยเผด็จการ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ชาวไทยต้องใส่เครื่องแต่งกายและประเพณีนิยมแบบไทย ผู้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าวนี้จะต้องถูกปรับไหมและรับโทษอย่างเข้มงวด ทั้งนี้รวมไปถึงชาวไทยมุสลิมด้วย สถานการณ์ก็เลวร้ายหนักขึ้นเมื่อการใช้ภาษามาเลย์และวัตรปฏิบัติบางอย่างทางศาสนาอิสลามถูกรัฐบาลไทยภายใต้เผด็จการจอมพล ป.พิบูลสงคราม กำหนดให้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2487(ค.ศ.1944)

ปี พ.ศ. 2504(ค.ศ.1961) รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้แนวนโยบาย "ปฏิรูปการศึกษา" ขึ้นในพื้นที่จังหวัดของชาวมาเลย์มุสลิม รัฐบาลให้การยอมรับโรงเรียนสอนศาสนาแบบดั้งเดิม (ปอเนาะ) โดยให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ประยุคระบบการศึกษาไทยเสียใหม่ ให้ครอบคลุม และ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมาเลย์มุสลิม เหล่านี้ก็เพื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังความจงรักภักดีในสถาบันหลักอันประกอบด้วยชาติ ศาสนา(ทุกศาสนาในประเทศไทยได้รับความเคารพอย่างเท่าเทียมกัน) และพระมหากษัตริย์

อย่างไรก็ตาม ชาวมาเลย์มุสลิมบางกลุ่มในภาคใต้กลับมองว่า นโยบายบูรณาการแห่งชาตินั้นมีเป้าหมายในการหลอมรวมชนชาวมาเลย์มุสลิมเข้ากับศูนย์อำนาจที่กรุงเทพฯ เป็นการท้าทายต่อวิถีศรัทธาและอัตลักษณ์ของชุมชนมาเลย์มุสลิม ภายใต้ระบอบการปกครองที่หมายมุ่ง "วิวัฒน์" เกิดการยุยงจากผู้ไม่หวังดีทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้ชาวมาเลย์มุสลิมดำเนินการตอบโต้ ในหลากหลายวิธีการรวมไปถึงรูปแบบการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกจากระบอบการปกครองไทย โดยมิได้มองว่าประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัตนธรรม คนบางกลุ่มบ บางวัตนธรรม อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่าชาวมาเลย์ในภาคใต้ด้วยซ้ำไป และก็ไม่ใช่ว่า คนทุกกลุ่มเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลไทย แต่เพื่อความสงบและปรองดองของคนไทยด้วยกัน คนทุกกลุ่ม ทุกหมู่เหล่าในประเทศไทย ทำทุกอย่าง เพื่อให้ตนสามารถอาศัยร่วมกันภายใต้กฎหมายเดียวกันด้วยความสงบ หากกลุ่มใดไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐ กลุ่มคนเหล่านั้นมักจะแสดงออกด้วยการชุมนุมประท้วง

[แก้] รูปแบบของการต่อสู้: การแบ่งแยกดินแดนและการแยกตัว

แนวความคิดเรื่องความเป็นเอกราชของบรรดาประชาชาติในอาณานิคม บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยังผลให้กระแสชาตินิยมแพร่กระจายสู่ชาวมุสลิมในภูมิภาคนี้อย่างกว้างขวาง รวมถึงชาวมาเลย์มุสลิม ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน ระหว่างช่วงเวลานั้นกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่พอใจต่อระบอบการปกครองไทยได้ร่วมกันจัดตั้ง "สมาคมประชาชาติมาเลย์แห่งปาตานี" หรือมีชื่อในภาษามลายูว่า Gabongan Melayu Patani Raya (GAMPAR) นำโดยเจ้าชายพลัดถิ่นแห่งปาตานีคือ ตนกู มะหะหมัด มาห์ยุดดีน หรือ มุฮ์ยิดดีน GAMPAR มีเป้าหมายหลักเพื่อแบ่งแยกปาตานีเข้าไปรวมกับบรรดารัฐมาเลย์อื่นๆ บนคาบสมุทรมลายู ดังมีหนังสือพิมพ์ [1] รายงานข่าวเรื่องนี้ว่า "ชาวมาเลย์พลัดถิ่นจากพื้นที่สี่จังหวัดจำนวนหลายร้อยคน ได้ร่วมจัดการประชุมขึ้นในโกตา บารู], กลันตัน และมลายา แสดงมติเห็นพ้องให้มีการเคลื่อนไหวแบ่งแยกพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของครือสหภาพมลายัน"

นอกเหนือจากนี้เมื่อ ฮัจญีสุหลง อับดุลกาเดร์ ผู้นำศาสนาคนสำคัญในพื้นที่ร่วมกับเหล่าบรรดาผู้ศรัทธา ได้มีบทบาทอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิการปกครองตนเองของชาวมาเลย์มุสลิม ซึ่งรู้จักกันในนามของขบวนการประชาชนปัตตานี (Patani people's Movement) หรือ PPM ถือเป็นปรากฏการณ์แรกของการเคลื่อนไหวภายใต้การควบคุมของผู้นำทางศาสนา และเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงจากการต่อสู้ในยุคแรกเริ่ม ที่การนำในขบวนการเคลื่อนไหวตกเป็นของเหล่ากลุ่มผู้นำเดิมของอดีตนครปัตตานี

ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 PPM ได้จัดทำข้อเรียกร้องเสนอต่อรัฐบาลไทย อ้างถึงความจำเป็นในการปกครองตนเองของชาวมุสลิมในพื้นที่สี่จังหวัด จนนำมาสู่การจับกุม ฮัจญีสุหลงพร้อมพวกที่เป็นบุคคลใกล้ชิดอีกสองคนในข้อหากระทำการอันเป็นกบฏ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2491 เพียงช่วงเดือนถัดมาก็ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างชาวมาเลย์มุสลิมกับกองกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ

สถานการณ์ความรุนแรงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงขีดสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 เมื่อบรรดาชาวมาเลย์มุสลิมรวมตัวกันลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ที่สุด รู้จักกันในนามของ "กบฏดุซงญอ" ประเมินกันว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ชาวมาเลย์มุสลิมต้องสูญเสียชีวิตไปประมาณ 400 คน และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตไปจำนวน 30 นาย ขณะเดียวกันก็มีชาวมาเลย์มุสลิมจากพื้นที่สี่จังหวัด หลบหนีเข้าไปยังรัฐมลายาเป็นจำนวนระหว่าง 3,000-6,000 คน [2] ผลพวงของเหตุการณ์ครั้งนั้นก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในกลุ่มชาวมาเลย์มุสลิมของมลายา ให้แสดงการสนับสนุนแนวทางการแบ่งแยกดินแดนเข้าร่วมกับสหภาพมลายา ในขณะที่อังกฤษกลับแสดงความไม่พอใจต่อแนวทางดังกล่าวนี้ ช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2492 ก็ปรากฏข้อตกลงร่วมระหว่างอังกฤษและไทย ในการร่วมกันดูแลพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนอย่างเคร่งครัด

อิทธิพลของอิสลามในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้กลุ่มอำนาจเก่ายกความต้องการอำนาจของตนเองไปรวมกับเนื้อหาทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมทองถิ่นเพื่อเรียกร้องการสนับสนุนจากชุมชนท้องถิ่นให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยในยุคนั้นดำเนินนโยบายปรานิปรานอมโดยได้ปล่อยให้ ตัวเลขของโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาและมัสยิดทั่วพื้นที่สี่จังหวัดกลับยิ่งเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ชุมชนมีความสนใจในการสร้างจิตวิญญาณของความเป็นอิสลาม พร้อมกับความพยายามในการธำรงรักษาอัตลักษณ์แห่งชนชาติของตนเองเอาไว้ นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มจำนวนขึ้นของกลุ่มเยาวชนที่เดินทางออกไปศึกษาวิชาการศาสนายังต่างประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาอิสลามในประเทศตะวันออกกลาง รวมทั้งตัวเลขของผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ก็ยิ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปีเช่นเดียวกัน อันแสดงให้เห็นถึงความปรานีปรานอมของรัฐบาลที่ปล่อยให้ชุมชนสามารถเลือกทำใหนสิ่งที่ต้นต้องการได้

ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ชาวมาเลย์มุสลิมบางส่วนอ้างถึงความจำเป็นในการปกป้องแนวทางแห่งอิสลามเพื่อรักษาความเป็นชุมชนมาเลย์ดั้งเดิมเอาไว้ให้เหนียวแน่น รวมทั้งมีการจัดพิมพ์หนังสือที่มีเนื้อหาปลุกเร้าจิตสำนึกทางการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง เช่น "ประวัติศาสตร์มาเลย์ในราชอาณาจักรปาตานี" เขียนโดย อิบรอฮีม สุกรี และ "สันติธรรม" (Light of Security) เขียนโดย ฮัจญีสุหลง อับดุลกาเดร์ อย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่จะแบ่งแยกพื้นที่สี่จังหวัดไปเข้าร่วมกับสหภาพมลายานั้น ดำรงอยู่เพียงแค่ชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ดังเห็นได้จากการที่ขบวนการเคลื่อนไหวที่จัดตั้งขึ้นมานับตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา เริ่มมีแนวความคิดในการแบ่งแยกดินแดนเพื่อสถาปนารัฐเอกราชอย่างแท้จริงขึ้นมาแทนที่

[แก้] ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาวมาเลย์มุสลิม

กลุ่มแบ่งแยกดินแดนการแบ่งแยกดินแดน พยายามใช้เหตุผลด้านความอยุติธรรมทางการเมือง, อำนาจรัฐส่วนกลางกดขี่ข่มเหงกลุ่มชนชาติส่วนน้อย ความแตกต่างกันในทางภาษา ศาสนา หรือวิถีการดำเนินชีวิต และ ประเด็นทางเชื้อชาติ ขึ้นมากล่าวอ้าง แต่เมื่อมาถึงในยุคปัจจุบันที่รัฐบาลไทยไม่ได้มีนโยบายให้คนกลุ่มน้อยต่างๆในประเทศละทิ้งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้จึงเปลี่ยนข้ออ้างในการก่อความไม่สงบของตนมาเป็นประเด็นของการไม่ต้องการอยู่รวมกับคนกลุ่มอื่นๆที่ไม่ได้มาจากศาสนาเดียวกันเสียอย่างดื่อๆ

ในบรรดาความแตกต่างโดยประการพื้นฐานแล้ว ประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางศาสนา อาจถือเป็นเครื่องมือสำคัญให้กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้เป็นอย่างดี ดังกรณีขบวนการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในพื้นที่ ที่ได้นำประเด็นความขัดแย้งทางศาสนามาเป็นเครื่องมือ ใช้ศาสนาอิสลามเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวต่อสู้ รวมถึงการนำเอาหลักการอิสลามมาผสานเข้ากับแนวคิดแบบชาตินิยม ส่งผลให้สามารถทำความเข้าใจและได้รับการขานรับจากมวลชนของตนเองได้ อันเนื่องจากว่าในทางอิสลามจะไม่มีการแบ่งแยกเอาเรื่องของศาสนาออกไปจากเรื่องทางการเมือง ศาสนาอิสลามจะเข้าไปมีบทบาทสำคัญอยู่ในทุก ๆ กิจกรรมของสังคม ซึ่งก็จะหมายรวมเอาประเด็นของการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนไว้ด้วยเช่นเดียวกัน

แต่ในความเป็นจริงของประเทศไทย พื้นที่ปัญหาทางภาคใต้นั้นไม่ได้มีแต่ผู้ที่นับถึอสาสนาอิสลามอาศัยอยู่เท่านั้น ก่อนหน้าที่อิสลามจะเข้ามามีอิธิพลในดินแดนแถบนี้ พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย และอาณาจักรลังกาสุกะมาก่อน โดยประชาชนส่วนใหญ่นับศาสฮินดู และศาสนาพุทธ มากนานกว่าพันปี และกลุ่มคนเหล่านี้ก็ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่มาจนถึงปัจจุบันนี้

ในพื้นที่สี่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย สมาชิกของ GAMPAR และ PPM จับมือร่วมกันจัดตั้งขบวนการ "แนวหน้าปลดปล่อยประชาชาติปาตานี" มีชื่อภาษามลายูว่า Barisan Nasional Pembebasan Patani (BNPP) ขึ้นในปี พ.ศ. 2502 มีอดีตผู้นำของ GAMPAR คือ ตนกู อับดุลญะลาล บิน ตนกู อับดุล มุตตอลิบ เป็นหัวหน้าขบวนการ BNPP ถือเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนปัตตานีกลุ่มแรกที่ได้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ พร้อมกับมีการประกาศเป้าหมายของการแบ่งแยกดินแดนเพื่อสถาปนารัฐปัตตานีเป็นอิสระ แทนแนวทางการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพมลายา จนกระทั่งถึงช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 จึงได้เปลี่ยนชื่อของขบวนการมาเป็น Barisan Islam Pembebasan Patani (BIPP) แต่จากการที่ BIPP ถูกควบคุมโดยอดีตผู้นำนครปัตตานีซึ่งมีอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม ทำให้กลุ่มมุสลิมหัวก้าวหน้าปฏิเสธที่จะเข้าร่วมขบวนการด้วย ในปี พ.ศ. 2506 กลุ่มดังกล่าวนี้ภายใต้การนำของ อุสตาส การีม ฮัสซัน ก็ได้จัดตั้ง "ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ" มีชื่อภาษามลายูว่า Barisan Revolusi Nasional (BRN) ตั้งเป้าหมายเพื่อสถาปนาสาธารณรัฐปัตตานีขึ้นเป็นรัฐเอกราช

ธงของขบวนการ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ Barisan Revolusi Nasional (BRN)
ธงของขบวนการ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ Barisan Revolusi Nasional (BRN)

ปัจจุบันกลุ่มคนเหล่านี้ได้ยุติบทบาทลงไปแล้ว

ในระยะเริ่มแรก BRN ได้ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งองค์กรการเมือง มากกว่าที่จะเปิดแนวรบการสู้รบแบบกองโจร โดยอาศัยสถาบันการศึกษาทางศาสนาคือ "ปอเนาะ" (pondok) เป็นฐานในการเคลื่อนไหวมวลชน เพียงช่วงระยะเวลา 5 ปี BRN ก็สามารถสร้างอิทธิพลขึ้นในปอเนาะหลายแห่งของพื้นที่จังหวัดมุสลิมได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2511 BRN จึงได้เริ่มจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธของตนเองขึ้นมา

BIPP และ BRN ได้สะท้อนให้เห็นถึงเหรียญสองด้านภายในขบวนการแบ่งแยกดินแดนนั่นคือ ถึงแม้ว่ามีด้านที่เป็นเหตุและผลที่ดีได้ในหลายประการ แต่ก็อาจกล่าวถึงในอีกด้านหนึ่งได้ว่า การเกิดขึ้นของขบวนการที่มีแนวอุดมการณ์แตกต่างกัน คือแนวคิดแบบอิสลามดั้งเดิม (orthodox Islam) ของ BIPP และแนวคิดแบบสังคมนิยมอิสลาม (Islamic socialism) ของ BRN สะท้อนให้เห็นความแตกแยกที่ไม่อาจผสานร่วมกันได้ จนนำไปสู่การขาดเอกภาพและมีผลบั่นทอนพลังของการต่อสู้ลงไป

ธงขององค์กรกู้เอกราชสหปาตานี พ.ศ 2511 - 2532
ธงขององค์กรกู้เอกราชสหปาตานี พ.ศ 2511 - 2532

ภายในปีเดียวกับการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธของ BRN ได้มีการจัดตั้ง "องค์กรกู้เอกราชสหปาตานี" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Patani United Liberation Organization (PULO) [เว็บไซต์ทางการของ PULO ระบุชื่อเรียกเป็นภาษามลายูไว้ว่า Pertubuhan Pembebasan Patani Bersatu แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า "องค์กรกู้เอกราชสหปาตานี" (ผู้แปล)] ขึ้นมาอีกขบวนการหนึ่ง โดยการนำของ ตนกู บีรา (วีรา) โกตานีลา หรือกาบีร์ อับดุล เราะฮ์มาน ซึ่งสำเร็จการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์จากประเทศอินเดีย ภายหลังจากนั้น ตนกู บีรา ก็ได้เดินทางสู่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยอาศัยแนวคิดแบบชาตินิยมปลุกเร้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นชาวปาตานีรุ่นใหม่เข้าร่วมในขบวนการ กล่าวได้ว่าข้อแตกต่างประการสำคัญระหว่าง PULO กับ BIPP และ BRN ก็คือ PULO ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักศึกษาในประเทศมาเลเซีย ปากีสถาน และกลุ่มประเทศอาหรับอย่างกว้างขวางที่สุด

อย่างไรก็ตาม ความแตกแยกภายในขบวนการแบ่งแยกดินแดนทั้งสามกลุ่มล้วนแต่เป็นผลมาจากความขัดแย้งกันในแนวอุดมการณ์ ยุทธวิธีของการต่อสู้ และสถานภาพของผู้เข้าร่วมเป็นหลัก กลุ่มผู้นำและสมาชิกอ้างว่า ตนยึดถือหลักการแห่งอิสลามที่ว่า "บรรดาผู้ศรัทธาย่อมจะต่อสู้เพื่อองค์อัลเลาะห์เจ้า ทั้งด้วยทรัพย์สมบัติของเขาและเลือดเนื้อของเขา" แต่ในความเป็นจริงปัจจุบันรัฐบาลไทยและคนไทยทั่วประเทศ ไม่ได้ต้องการให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในประเทศ ต้องละทิ้งความศรัทธาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนแต่อย่างใด

ขบวนการเหล่านี้จะมีการฝึกอบรมกองกำลังของตนทั้งในหลักสูตรการทหารและการเมือง มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกทั้งเก่าและใหม่รับรู้ร่วมกันในเป้าหมาย อุดมการณ์ รวมทั้งระเบียบวินัยของขบวนการ ซึ่งโดยปกติแล้ว การฝึกอบรมจะกระทำกันในพื้นที่จังหวัดมุสลิมเป็นหลัก เว้นแต่ในบางครั้งก็อาจจะมีการส่งคนไปฝึกอบรมวิชาการทหารเพิ่มเติมยังค่ายฝึกในต่างประเทศ เช่น ประเทศลิเบียและซีเรียนอกจากนี้แนวทางการต่อสู้ของขบวนการเหล่านี้ยังได้รับอิทธิพลจากบรรดานักศึกษาที่อยู่ในต่างประเทศ ส่งผลให้มีการแสดงบทบาทที่แตกต่างไปจากเดิม ดังเห็นได้ในการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์จากที่เคยเป็นเพียงกลุ่ม "โจรก่อการร้าย" ตามที่รัฐบาลไทยเรียกขานอยู่เสมอไปสู่แนวทางการต่อสู้ตามแบบ "จีฮัด" (jihad) ในที่สุด

ซึ่งกลุ่มจีฮัตเหล่านี้มีดีในด้านทำร้ายประชาชนที่ไม่มีอาวุธ หากต้องสู้กับกองกำลังทหารติดอาวุธด้วยกันแล้ว จะไม่กล้าและจะหลีกเลียงไปใช้ยุธวิธีการลอบกัดด้านหลังแทน

[แก้] การสนับสนุนจากภายนอกประเทศ

การสนับสนุนจากภายนอกประเทศที่สำคัญอีกประการคือเงินทุนสำหรับการเคลื่อนไหว ซึ่งมักจะได้รับเงินบริจาคจากกลุ่มตระกูลร่ำรวยในบรรดาประเทศมุสลิม ส่วนภายในพื้นที่ก็มีการเรี่ยไรขอบริจาค การระดมเงินทุนอาจจะกระทำกันในนามขององค์กรการกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแหล่งเงินทุนหลักจากการสนับสนุนของผู้เลื่อมใสต่อแนวทางการต่อสู้ของขบวนการ รายได้หลักอีกส่วนหนึ่งจะได้มาจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครองในผลประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการจับคนเรียกค่าไถ่ด้วยเช่นกัน เงินทุนของขบวนการเหล่านี้ก็จะหมดไปกับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติการ การดำเนินงาน และการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกนั่นเอง

กล่าวได้ว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2511-2522 (ค.ศ.1968-1975) เป็นช่วงเวลาที่กองกำลังติดอาวุธของขบวนการทั้งสามกลุ่มปฏิบัติการได้เข้มแข็งมากที่สุด ทั้งด้วยการดักซุ่มและเข้าโจมตีฐานที่ตั้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยราชการอื่นๆ เป็นระยะ รวมทั้งมีการจับคนเรียกค่าไถ่และเรียกเก็บค่าคุ้มครองกับนักธุรกิจที่มีบริษัทห้างร้านอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวเหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตลอดถึงคนไทยโดยทั่วไปพากันไม่เห็นด้วยกับการกระทำเยี่ยงโจรโดยใช้ศาสนาบังหน้าของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ รัฐบาลไทยต้องส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติพิเศษที่เป็นกองกำลังผสมทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดน (อ.ส.) ร่วมกันปฏิบัติการในพื้นที่ ตัวเลขของรัฐบาลยอมรับว่าช่วงเวลาดังกล่าวมีรายงานเหตุการณ์ปะทะกับกองกำลังชาวมาเลย์มุสลิมจำนวน 385 ครั้ง ชาวมาเลย์มุสลิมเสียชีวิตจำนวน 329 ราย เข้ามอบตัวกับทางการ 165 ราย ถูกจับกุมอีก 1,208 ราย ยึดอาวุธปืนได้เป็นจำนวน 1,546 กระบอก และเผาทำลายค่ายพักของขบวนการได้อีก 250 แห่ง แต่การศูนย์เสี่ยที่ร้ายแรงที่สุดนั้นตกอยู่กับ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ทุกหมู่เหล่า ทุกศาสนา ดังจะเห็นได้จากอัตตราการเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

[แก้] ความเปลี่ยนแปลงภายในกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน

ธงขององค์กรกู้เอกราชสหปาตานี พ.ศ 2532 - 2538
ธงขององค์กรกู้เอกราชสหปาตานี พ.ศ 2532 - 2538
ตราพูโลปลอม จากเว็บไซต์พูโลปลอม http://www.pulo.org.uk/ ตราพูโลแท้ที่เริ่มใช้ปี 2538 มีดาวห้าดวง
ตราพูโลปลอม จากเว็บไซต์พูโลปลอม http://www.pulo.org.uk/ ตราพูโลแท้ที่เริ่มใช้ปี 2538 มีดาวห้าดวง

ถึงช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ก็เริ่มเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนหลายเหตุการณ์ด้วยกัน เริ่มจากรองประธานของ BIPP คือ วาฮ์ยุดดิน มูฮัมหมัด แยกตัวออกมาจัดตั้ง "ขบวนการมูจาฮีดินปาตานี" มีชื่อในภาษามลายูว่า Garakan Mujahidin Patani (GMP) ขึ้นมา เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 อับดุล เราะฮ์มาน ปูติฮ์ หรือ เจ๊ะกู แม อันตา ประกาศแยกตัวออกจาก GMP และจัดตั้ง "ขบวนการมูจาฮีดินอิสลามปาตานี" มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า Gerakan Mujahidin Islam Patani (GMIP) ด้วยเหตุผลว่าขบวนการเดิมให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้นำและเน้นเคลื่อนไหวทางการเมืองมากกว่าปฏิบัติการทางทหาร

ช่วงเวลาพร้อม ๆ กันนั้น PULO ก็มีการแตกออกเป็นขบวนการ "PULO เดิม" และ "PULO ใหม่" โดยที่ PULO เดิม มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศซีเรียและยังคงมี ตนกู บีรา โกตานีลา เป็นผู้นำ ในขณะที่ PULO ใหม่ มีผู้นำชื่อ อับดุล เราะฮ์มาน เบตง และในปี พ.ศ. 2531 เกิดการแยกตัวออกจาก PULO ใหม่ จัดตั้งขบวนการย่อยในนามของ PULO-88 โดยมี ฮารูน มูเล็ง มหาบัณฑิตรัฐศาสตร์จาก University of Lund ประเทศสวีเดน เป็นผู้นำของขบวนการ

ในส่วนของ PULO ใหม่ ภายหลังจากผู้นำคือ อับดุล เราะห์มาน เบตง ถูกทางการไทยจับกุมตัวเมื่อปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ.1998) และต้องโทษถึงจำคุกตลอดชีวิตก็ยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ต่อไป โดยที่ไม่มีการประกาศตัวผู้นำสูงสุดของขบวนการออกมาแต่อย่างใด และในทำนองเดียวกับ PULO ขบวนการ BRN ก็มีการแตกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ "แนวร่วม BRN" กลุ่มหนึ่ง และ "สภา BRN" อีกกลุ่มหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะปรากฏชื่อขบวนการ "BRN-Ulama" เคลื่อนไหวอยู่ด้วยแต่กลุ่มนี้ก็อยู่ภายใต้ขบวนการแนวร่วม BRN นั่นเอง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ขบวนการ BIPP, สภา BRN, PULO ใหม่ และ GMP ได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งองค์กรร่วม (Umbrella organization) ในนามของ "แนวร่วมเพื่อเอกราชแห่งปาตานี" มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า Barisan Bersatu Kemerdekaan Patani (BERSATU) โดยมี ดร.มะห์ดี ดาวูด (นามแฝงของ ดร. วันอับดุลกาเดร์ เจ๊ะมาน) ประธานขบวนการ BIPP ขึ้นเป็นประธาน BERSATU และเขายังคงดำรงตำแหน่งต่อเนื่องจนปัจจุบัน

ภายหลังความร่วมมือ BERSATU ได้ประกาศคำต่อต้านแนวทางลัทธิอาณานิคมและนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการลบล้างวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณีปฏิบัติของชนชาวมาเลย์มุสลิม และต่อพฤติกรรมของรัฐบาลไทยที่กดขี่บีบคั้น ไร้ความยุติธรรม และการจงใจละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงด้วยการลอบสังหาร การ "อุ้ม" ลักพาตัวและกระทำทรมานผู้ต้องสงสัยในพื้นที่จังหวัดมุสลิม (Conference of Patani Freedom-Fighters, 1989) กล่าวได้ว่า การร่วมมือกันในนามของ BERSATU ปลุกเร้าจิตวิญญาณและจิตสำนึกที่ต้องการปลดปล่อยปาตานีร่วมกันขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมทั้งสามารถเป็นความหวังให้กับบรรดาแนวร่วมและมวลชนได้อย่างแท้จริง

[แก้] เป้าหมายการต่อสู้ของชนชาวมาเลย์มุสลิม

บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม - การอ้างอิงแหล่งที่มา วิธีการเขียน บทความคัดสรร และ นโยบายวิกิพีเดีย

โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายในการต่อสู้ของชนชาวมาเลย์มุสลิมมีลักษณะแตกต่างกันอยู่ 3 แนวทางด้วยกันคือ

  1. มุ่งหวังแบ่งแยกดินแดน 4 จังหวัดมุสลิมออกจากประเทศไทย เพื่อสถาปนารัฐอธิปไตยของชนชาวมาเลย์มุสลิมที่ตั้งอยู่บนแนวทางแห่งอิสลามและหลักการประชาธิปไตย ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐ หรือใช้ระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองจะต้องเป็นชาวมาเลย์มุสลิมด้วยกันเท่านั้น
  2. เมื่อไม่อาจจะบรรลุเป้าหมายประการแรกได้แล้วก็จะต้องต่อสู้เพื่อได้มาซึ่งสถานะของรัฐบาลท้องถิ่น ให้สามารถจัดการปกครองตนเองนับตั้งแต่ในระดับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลงไปจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก
  3. ถ้าหากว่ายังไม่อาจจะบรรลุเป้าหมายทั้งสองแนวทางที่กล่าวมาข้างต้นได้ ก็จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชนชาวมาเลย์มุสลิม และปกป้องสถานะของการเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดมุสลิมของตนเอาไว้

ส่วนในรายละเอียดนั้น แต่ละขบวนการก็ยังมีเป้าหมายในการต่อสู้ของตนเองแตกต่างกันอยู่ ดังเช่น BIPP ต้องการจะสถาปนารัฐอิสลามแห่งปัตตานี ส่วน BRN ต้องการสร้างสาธารณรัฐสังคมนิยมอิสลามแห่งปัตตานี ในขณะที่ PULO มีแนวโน้มไปในทางการสร้างสรรค์รัฐประชาธิปไตย

[แก้] ความขัดแย้งกันเองของเนื้อหา เป้าหมายการต่อสู้ของชนชาวมาเลย์มุสลิม

  1. รัฐอธิปไตยที่ตั้งอยู่บนแนวทางแห่งอิสลามนั้นชาวมุสลิมที่เคร่งครัดย่อมรู้ดีว่า ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย
  2. หลักการประชาธิปไตยจะไม่มีการจำกัดว่าผู้ปกครองจะต้องเป็นชาวมาเลย์มุสลิมด้วยกันเท่านั้น
  3. รัฐบาลท้องถิ่นนั้นยังต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลาง โดยทั้งรัฐบาลกลาง และ รัฐบาลท้องถิ่น จะอยู่ภายใต้กฎหมายสูงสุดเดียวกัน คือกฎหมายรัฐธรรมนูน เพราะฉะนั้นแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นที่ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก นั้นจึงเป็นไปไม่ได้
  4. การรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชนชาวมาเลย์มุสลิม และปกป้องสถานะของการเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดมุสลิมของตนเอาไว้ นั้นไม่จำเป็นต้องมีการต่อสู้โดยใช้ความรุนแรงและทำร้ายประชาชนที่ไม่มีส่วนรู้เห็น ที่สำคัญ เนื่องจากรัฐบาลไทยในปัจจุบันไม่ได้บังคับให้ใครละทิ้งวัฒนธรรมดั่งเดิมของตน ในทางกลับกันรัฐบาลส่งเสริมให้ให้ประชาชนท้องถิ่นรักษาวัฒนธรรมดั่งเดิมของท้องถิ่นมากกว่าที่จะส่งเสริมให้ทำลาย ดังจะเห็นได้จากเงินสนับสนุนในการตั้งโรงเรียน โรงเรียนสอนศาสนาในท้องที่ สร้างมัสยิต สาธรณูประโภคที่จำเป็นต่างๆ

[แก้] สถานการณ์สมัยปัจจุบัน

ดูบทความหลักที่ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

การต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกจากระบอบการปกครองไทยที่ดำเนินสืบเนื่องมานับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 หรือภายหลังจากที่พื้นที่แห่งนี้ถูก อังกฤษ และ สยาม ทำข้อตกลงแบ่งปันดินแดน (ส่วนหนึ่งของดินแดนนั้นถูกผนวกรวมเข้ากับประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2445 และอีกส่วนถูกรวมเข้ามันมาเลเซีย) การต่อสู้ได้ลดน้อยลงในบางช่วงแต่ในทุกวันนี้ทวีความรุนแรง และสั่นคลอนความมั่นคงของอำนาจรัฐไทยในพื้นที่จังหวัดมาเลย์มุสลิมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวของขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่มีความเข้มแข็งเป็นอย่างยิ่ง เกิดเหตุการณ์ลอบเผาโรงเรียนของรัฐ การเข้าปล้นอาวุธจากคลังแสงของกองทัพบก การโจมตีป้อมตำรวจ รวมทั้งเกิดเหตุการณ์ลอบสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร พระภิกษุ และชาวพุทธอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้รัฐบาลไทยต้องประกาศกฏอัยการศึกขึ้นในพื้นที่

ถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกล่าวปรามาสว่าเป็นเพียงการกระทำของ "โจรกระจอก" ที่ต้องการสร้างสถานการณ์ แต่ในที่สุดก็ต้องออกมายอมรับข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี และสตูล โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการกระทำของสมาชิกในขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาวมาเลย์มุสลิมนั่นเอง

ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนำไปสู่สถานการณ์ขั้นตึงเครียดขึ้นในพื้นที่ ในจังหวัดยะลา มีการเปิดประชุมร่วมกันระหว่าง พล.ท.พงศ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัด ผู้นำคณะสงฆ์และประธานกรรมการอิสลามจังหวัดยะลา แม่ทัพภาคที่ 4 ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยแก่วัดและมัสยิด รวมถึงโรงเรียนสอนศาสนาเอกชนด้วย

ในช่วงเวลาเดียวกันก็ปรากฏรายงานข่าวการจัดส่งกำลังทหารบกและนาวิกโยธินจำนวนมากลงมาเสริมกำลังในพื้นที่ 4 จังหวัด (อ้างแล้ว) เพื่อควบคุมสถานการณ์ซึ่งข่าวกรองทางทหารระบุว่าความรุนแรงอย่างต่อเนื่องดังกล่าว เกิดจากปฏิบัติการของขบวนการ PULO, BRN, GMIP และ BERSATU ที่มีเป้าหมายเพื่อการสถาปนา "รัฐอิสลามแห่งปาตานี" ขึ้นให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2551 [3]

กล่าวได้ว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ดำรงอยู่มิใช่สิ่งใหม่ หรือเป็นประเด็นปลีกย่อยสำหรับศูนย์อำนาจรัฐไทยที่กรุงเทพแต่อย่างใด ที่ผ่านมารัฐบาลไทยแต่ละสมัยต่างประสบความล้มเหลวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนไม่มีความแข็งแกร่งพอที่จะบ่อนทำลายเอกภาพและอธิปไตยของรัฐไทยลงได้ก็ตาม แต่การต่อสู้ที่ยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็สามารถก่อให้เกิดความสั่นคลอนต่อความมั่นคงของอำนาจรัฐไทยในพื้นที่ตลอดมา

สถานการณ์นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 แสดงให้เห็นถึงการขยายพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการของขบวนการแบ่งแยกดินแดน จากที่เคยมีการลอบเผาโรงเรียนของรัฐก็มีการรวมเอาวัดวาอารามเข้าไปด้วย เช่นเดียวกับการลอบสังหารที่เคยมีเป้าหมายอยู่ที่บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ก็ปรากฏการทำร้ายและสังหารพระภิกษุกับชาวพุทธในพื้นที่เพิ่มขึ้นด้วย นี่เป็นการทำร้ายบุคคลบริสุทธิ์ที่ไม่มีอาวุธและไม่มีส่วนเกียวข้องกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มก่อการร้ายพยายามสร้างความสร้างความชอบธรรมต่อการกระทำรุนแรงของตนด้วยการอ่างว่า เจ้าหน้าที่รัฐมีการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยแบบเหวี่ยงแห การหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอยของชาวมาเลย์มุสลิมในพื้นที่ (ซึ่งหลายๆครั้งเกิดจากความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่มก่อการร้าย)รวมถึงการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าตรวจค้นบ้านเรือนและโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามโดยมิได้มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า และการประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่า หาตนมิได้เริ่มการกระทำรุ่นแรงก่อน รัฐจะไม่มีการส่งทหารจำนวนมากเข้าไปยังพื้นที่ ไม่มีการประกาศกฎอัยการศึก และที่สำคัญ พี่น้องชาวไทย-พุทธ มุสลิม จีน และอื่นๆจะไม่มีการเสียชีวิต

[แก้] บทสรุป

ดินแดนแห่งนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรโบราณ ดังเช่น อาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรลังกาสุกะมาก่อน ภายหลังเมื่อสยามเรืองอำนาจ สยามได้เข้าไปมีบทบาทในดินแดนแห่งนี้เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน แต่ชาวมาเลย์มุสลิมบางส่วนในพื้นที่มองว่าดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนของตนโดยไม่ได้มองถึงความจริงทางประวัติศาสตร์ ว่าก่อนที่มุสลิมจะเข้ามามีบทบาทชาวพุทธและฮินดูได้ฝังรากอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อนตน

่ชาวมาเลย์มุสลิมบางส่วนยังมองว่ารับบาลไทยได้รวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางอำนาจรัฐที่กรุงเทพฯ และดำเนินนโยบายผสมกลมกลืนชนชาวมาเลย์มุสลิมอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงที่กลุ่นคนเหล่านี้ไม่เคยอธิบายคือ ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งผู้แทนและผู้แทนส่วนใหญ่จากการเลือกตั้งก็เป็นคนในพื้นที่ทั้งสิ้น บุคคลในพื้นที่ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศก็มีอย่างเช่น ท่าน วันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา ที่ได้เคยเป็นถึงประธานรัฐสภา ปัญหาใดๆที่เกิดในพื้นที่ ควรได้รับการร้องเรียนผ่านผู้แทนของตน แก้ปัญหาด้วยสันติวิธีตามแนวทางที่แท้จริงของชาวอิสลามที่รักสันติ ไม่ใช่การแก้ปัญหาด้วยการต่อสู้ตามรูปแบบของขบวนการแบ่งแยกดินแดน และ ทำร้ายประชาชนบริสุทธิ ไม่มีอาวุธไม่มีทางสู้

ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ต้องการแบ่งแยกดินแดนในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา จึงถูกมองว่าเป็นการกระทำของกลุ่มคนที่ไม่หวังดี ไม่มีความคิดในการดำรงชีวิตด้วยสันติ ตามหลักการที่ดีงามของศาสนาอิสลาม กลุ่มคนเหล่านี้พยายามนำความต้องการส่วนตัว มาเกี่ยวของกับศาสนาอิสลาม อ้างว่า รัฐบาล พยายามเข้าควบคุมชุมชนชาวมาเลย์มุสลิม เป็นการคุกคามต่อวัฒนธรรมประเพณีและศาสนาอันเป็นวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของพวกเขา ทั้งที่ในความเป็นจริงชาวมาเลย์ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และก็ไม่ใช่ ชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียวที่ไม่พอใจการทำงานบางอย่างของรัฐบาลไทย แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียว ที่ไม่สามารถหาทางออกและแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี

ขบวนการแบ่งแยกดินแดนยังไม่อาจจะบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากมีเหตุผลจากความแตกแยกระหว่างกัน และการไร้ประสิทธิภาพของขบวนการต่อสู้ และยังรวมถึงการขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านและรัฐบาลของประเทศมุสลิมอื่นๆ ด้วย

เนื้องจาก รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นรุ้ดีถึงความสำคัญของการแก้ปํญหาด้วยสินติวิธี ตามแบบอย่างอันดีของศาสนาอิสลาม รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นจึงเลือกที่จะสร้างระบบความร่วมมือทางด้านไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ กับประเทศไทยมากกว่าที่จะส่งเสริมความรุนแรง

ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีนโยบายบีบบังคับให้ประชาชนละทิ้งวัฒนธรรม และ ศาสนาดั่งเดิมของตนตามที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนใช้เป็นข้ออ้างแต่อย่างได้ รัฐบาลกลับสนับสนุนให้ประชาชนอนุรักษณ์ วัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเองด้วยซ้ำไป แต่นโยบายของรัฐในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ที่มุ่งแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกดินแดนด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ เพี่ยงอย่างเดียว ดูเหมือนจะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องนัก นี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลชุดต่อๆไปต้องนำไปปรับปรุ่งแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของคนในพื้นที่ ทุกหมู่ ทุกศาสนา

ในขณะที่รัฐบาลไทยมองเห็นปัญหาของการแบ่งแยกดินแดนว่าเป็นการท้าทายต่อเอกภาพของประเทศ ชนชาติส่วนน้อยชาวมาเลย์มุสลิมกลับนิยามความหมายของการปกครองตนเองว่า เป็นสิทธิพื้นฐานอันชอบธรรมของพวกเขาเอง การเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนจึงยังคงดำรงอยู่ตลอดมา มีเพียงแต่ความตั้งใจที่จะนำเสนอแนวทางการสร้างสรรค์เอกภาพบนความแตกต่างหลากหลายเท่านั้น ที่จะทำให้ขบวนการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจำต้องลดบทบาทลงไป จนหันเข้ามายอมรับกระบวนการบูรณาการแห่งชาติได้ในท้ายที่สุด

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Sunday Tribune ฉบับวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)
  2. ^ Straits Times, 29 และ 30 เมษายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)
  3. ^ Bangkok Post, 2 กุมภาพันธ์ 2004

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] หนังสือเพิ่มเติม

  • เฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร. หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ กบฏหรือวีรบุรษแห่งสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้.ศิลปวัฒนธรรม
  • สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ."ประวัติศาสตร์ปกปิด" รัฐปัตตานีแห่งศรีวิชัย เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์.ศิลปวัฒนธรรม


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -