See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พูดคุย:ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ - วิกิพีเดีย

พูดคุย:ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

WikiProject
ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทย และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
??? บทความนี้ยังไม่ได้ถูกพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เคยถูกเสนอชื่อให้เป็นบทความคัดสรร แต่บทความที่ไม่มีผู้สนับสนุนเพียงพอ หรือบทความไม่ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้นตามความเห็น อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเสนอบทความนี้ได้ใหม่ หรือคุณอาจสอบถามผู้พิจารณาบทความนี้ หากคุณคิดว่านี่เป็นความผิดพลาด

วันที่พิจารณา: ไม่ได้ระบุ กรุณาระบุโดยการแก้ไขป้ายนี้โดยใช้รูปแบบ: {{FailedFA|dd/mm/yyyy}}
คุณสามารถร่วมแก้ไขบทความให้ดียิ่งขึ้นได้โดยดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เป็นบทวิเคราะห์ที่ดีครับ คิดว่า ไม่จำเป็นต้องรวมกับ ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย - 2T - ('-' )( '-' )( '-') - 08:22, 13 สิงหาคม 2006 (UTC)


ไม่เห็นด้วยครับ อาจจะฟังดูใจดำไปนิด แต่วิกิพีเดียเป็นที่สำหรับสารานุกรม ไม่ใช่ที่เขียนบทวิเคราะห์ลอยๆ ซ้ำยังเป็น first-hand research ซึ่งไม่มี citation อะไรเลย เห็นความพยายามที่น่าส่งเสริม จึงคิดว่าควรจะปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานวิกิพีเดีย และทำการ merge ตามความเหมาะสมโดยเร็วครับ --203.144.160.244 15:07, 4 กันยายน 2006 (UTC)


เป็นความคิดเห็น, ไม่เป็นสารานุกรม และไม่ควรรวมกับบทความอื่น, อาจจะใจดำ เสนอลบครับ..


เป็นบทความที่มีสาระไม่ควรลบทั้งหมด แต่ควรลบเฉพาะส่วนที่เป็นความคิดเห็นออกไป ข้อความที่เป็นประวัติศาสตร์ตรงตามหนังสือของศิลปวัฒนธรรมเรื่องหะยีสุหลง เคยอ่านเจอแต่จำบรรณานุกรมเต็มไม่ได้ Saeng Petchchai 05:33, 18 กันยายน 2006 (UTC)

ประเทศไทยเป็นเทศที่ไม่นับถืออิสลามแต่ให้เกียรติมุสลิมที่สุดในโลกแม้จะมีประชากรแค่ 5% ของประเทศก็ตามแต่ประวัติศาสตร์ สมัย นายก

จอมพล ป.พิบูลสงคราม เกี่ยวกับการห้ามใส่หมวกแขกกับผ้าถุง และการไม่สนับสนุนศาสนาอิสลาม เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ถึงขั้นไปบังคับเปลี่ยนศาสนา ตอนนี้ แม้แต่ ผบ.ทบ. ยังเป็นมุสลิม คนใหญ่โตระดับ รัฐมนตรี ก็เคยเป็นมุสลิม หลายคน เกี่ยวกับ ปอเนาะ(โรงเรียนสอนศาสนา)เราไม่บังคับให้ ใครมาเรียน แต่การเรียน รร.สอนศาสนา กับ รร.สามัญ หลังจบช่องทางอาชีพมันหลากหลายกว่ากันอยู่แล้ว ศาสนาที่ สอนใน รร.สามัญก็สอนอิสลาม เราไม่ได้บีบบังคับ อะไรมุสลิมเลย เงื่อนไขสงคราม จบลงนานแล้ว แต่ใครบางคนไม่ยอมให้จบ


ไม่จำเป็นต้องเอาไปรวมกับ บทความ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเพราะ บทความนี้อธิบายถึงที่มาที่ไปของปัญหา แต่บทความความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยนั้น เป็นการรวบรวมลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

สำหรับคนที่เสนอให้ยุบหรือรวมบทความนี้เข้ากับบทความอื่นๆ ให้มองดูในส่วนของภาคภาษาํอังกฤษด้วย มีกลุ่มคนที่คาดว่าอ่านภาษาไทยออก แต่ไม่ใช่คนไทย เข้าไปสร้างหัวข้อใหม่ๆเกียวกับปัตตานีไว้มากมายทั้งที่เนื้อหาก็วนไปวนมาใกล้เคียงกัน

สำหรับผู้ที่ต้องการช่วยในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ควรจะเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องในภาคภาษาอังกฤษด้วย เนื้องจากข้อมูลในนั้นส่วนใหญ่จะไม่มีการอ้างอิง และ เขียนในแนวป้ายสีประเทศไทย ผมคนเดียวแก้ไม่หมดครับ!--Nikibi 08:06, 27 พฤษภาคม 2007 (UTC)


เนื้อหา

[แก้] รวม?

ข้อความต่อไปนี้จะลบหรือรวมสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้??? Saeng Petchchai 14:50, 19 พฤศจิกายน 2006 (UTC) เหตุการณ์ปล้นอาวุธจากคลังแสงของกองทัพบก

ควรนำไปรวมกัย สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครับ--Nikibi 08:06, 27 พฤษภาคม 2007 (UTC)

[แก้] การปล้นอาวุธปืน

เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. ของคืนวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 กองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายจำนวนราว 60 คน บุกเข้าโจมตีคลังแสงเก็บอาวุธของกองทัพบกในค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ พื้นที่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส กองกำลังดังกล่าวได้สังหารทหารไป 4 นาย ก่อนหลบหนีไปพร้อมกับอาวุธปืนเอ็ม-16 และอาวุธปืนสั้นรวม 437 กระบอก ทั้งนี้ การบุกเข้าโจมตีค่ายทหารในทำนองเดียวกันเคยเกิดขึ้นมาแล้วในท้องที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2546ที่ผ่านมา

ภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฝ่ายทหารออกมาระบุว่าค่ายทหารที่ถูกโจมตีเป็นเพียงกองพันทหารช่างไม่ใช่หน่วยสู้รบ โดยกองทัพภาคที่ 4 แถลงข่าวว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างขบวนการแบ่งแยกดินแดน 3 กลุ่มคือ PULO, BRN และกลุ่มมูจาฮีดินปาตานี" (The Nation, 5 January 2004) อย่างไรก็ตาม ควรเชื่อได้ว่าการปล้นอาวุธปืนในครั้งนี้ก็เพื่อนำไปใช้ในขบวนการแบ่งแยกดินแดนมากกว่าที่จะนำเอาไปขายอย่างที่ทางการไทยระบุไว้

ผลพวงจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ออกมาระบุว่า การโจมตีที่เกิดขึ้นมีเป้าหมายอยู่ที่อาวุธปืนและให้ความเห็นว่า "ทหารภายในค่ายบางนายถูกสงสัยว่ามีส่วนรู้เห็นกับปฏิบัติการโจมตีในครั้งนี้ด้วย" (อ้างแล้ว) นายกรัฐมนตรีเองก็แสดงท่าทีไม่พอใจและกล่าวตำหนินายวัน มูฮัมหมัด นอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอย่างรุนแรงว่า ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ได้ดีพอที่จะหาทางป้องกันเหตุการณ์เอาไว้ได้

นายกรัฐมนตรียังได้ให้ความคิดเห็นว่าการโจมตีค่ายทหารอาจจะเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติอย่างขบวนการเจไอ (Jamaah Islamiah) และสั่งการให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการในส่วนของตนอย่างเคร่งครัด ทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ธรรมรักษ์ อิสรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้บัญชาการทหารบก ต้องเดินทางโดยเครื่องบินสู่จังหวัดนราธิวาสเพื่อติดตามสถานการณ์ การที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องลงมาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ไม่เพียงแต่แสดงถึงความรุนแรงของสถานการณ์เท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ด้วยเช่นกัน

กองทัพบกได้ทำการสอบสวนทหารเกณฑ์สังกัดค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ที่เป็นชาวมาเลย์มุสลิมจำนวน 65 นาย และประกาศตั้งสินบนเป็นเงิน 1 ล้านบาทแก่ผู้ที่ให้เบาะแสที่สามารถนำไปสู่การจับกุมตัวผู้บงการในครั้งนี้ได้ ช่วงเวลากว่า 1 เดือนภายหลังเหตุการณ์มีการจับกุมผู้ต้องสงสัยรวม 12 คน โดยหนึ่งในนั้นเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย แต่ก็ยังไม่มีการตั้งข้อหาร้ายแรงกับบุคคลเหล่านี้แต่อย่างใด

[แก้] เหตุการณ์ลอบเผาโรงเรียนของรัฐ

ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับเหตุการณ์บุกเข้าโจมตีค่ายทหาร ก็เกิดการลอบเผาโรงเรียนของรัฐรวม 20 แห่ง นอกจากนี้ยังมีการลอบเผาป้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 แห่ง ในพื้นที่ 11 อำเภอจากจำนวน 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส โดยทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 01.00 น. ทั้งสิ้น ซึ่งเหตุการณ์ทำนองเดียวกันได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ( โดยมีการลอบเผาโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของรัฐพร้อมๆ กัน รวมถึง 39 แห่งในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล จนนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวนหนึ่งแต่ทั้งหมดก็ถูกศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด เหตุการณ์ล่าสุดส่งผลให้โรงเรียนของรัฐในพื้นที่จังหวัดมุสลิมมากกว่า 1,000 แห่ง ต้องประกาศปิดชั่วคราวในช่วงระหว่างสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เนื่องจากเกรงว่าจะมีการทำร้ายครูและเด็กนักเรียนขึ้น

ต่อคำถามที่มีมาตลอดว่า ทำไมจึงต้องมีการเผาโรงเรียนของรัฐ ? คำตอบก็คือในสายตาของผู้ร่วมอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน โรงเรียนเหล่านี้ไม่ได้สร้างคุณูปการต่อชาวมาเลย์มุสลิมในพื้นที่ แต่ตรงกันข้ามกันนั้นโรงเรียนภายใต้ระบอบการศึกษาของไทย กลับเป็นตัวบ่อนทำลายอัตลักษณ์ทั้งศาสนา ภาษา และประวัติศาสตร์ของชนชาวมาเลย์มุสลิมให้ค่อยๆ เสื่อมสลายลงไป ทุกวันนี้บรรดาคนหนุ่มสาวมุสลิมในพื้นที่กำลังเข้าสู่ความเป็นไทยมากขึ้นเรื่อยๆ มีจำนวนไม่น้อยที่พูดและเขียนภาษามาเลย์ไม่ได้ ทั้งที่ในคนรุ่นปู่ย่าไม่สามารถพูดภาษาไทยได้เลยแม้เพียงถ้อยคำเดียว คนรุ่นใหม่ที่ยอมรับความเป็นไทยเหล่านี้อาจยังไม่รับรู้ว่าแท้จริงแล้ว คนไทยโดยทั่วไปหาได้ยอมรับพวกเขาในฐานะที่เป็นคนไทยด้วยกัน แต่ยังคงเห็นพวกเขาเป็นชาวไทยมุสลิมแห่งปาตานีหรือเป็นชาวมาเลย์อยู่เช่นเดิม แม้กระนั้นก็ยังมีชาวมาเลย์มุสลิมบางส่วนที่เล็งเห็นถึงผลตอบแทนจากระบบการศึกษาของไทย ในอันที่จะช่วยอำนวยโอกาสให้สามารถมีอาชีพและการงานที่ดีขึ้นได้นั่นเอง

[แก้] เหตุการณ์บุกโจมตีป้อมตำรวจ การลอบเผาวัดและมัสยิด

เวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2547 กองกำลังของขบวนการแบ่งแยกไม่ทราบจำนวน เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มของ มันโซร์ ตาผู้นำขบวนการ PULO บุกเข้าโจมตีป้อมตำรวจในอำเภอเบตง การยิงปะทะกินเวลานานกว่า 10 นาที มันโซร์ก็นำกองกำลังหลบหนีเข้าสู่แนวป่าใกล้เขตแดนประเทศมาเลเซีย

ผลของการโจมตีครั้งนี้ไม่ปรากฏรายงานความสูญเสียของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ในช่วงเวลาเดียวกันก็เกิดเหตุการณ์เผายางรถยนต์บนถนนหลายสายในเขตจังหวัดยะลา และมีการขู่วางระเบิดทั้งจริงและปลอมในจังหวัดยะลาและปัตตานีอีกไม่น้อยกว่า 5 จุด จนกระทั่งวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ต้องเสียชีวิตขณะพยายามกู้ระเบิดที่ถูกวางไว้ใต้เบาะรถจักรยานยนต์ ซึ่งจอดทิ้งไว้ด้านหน้าอาคารบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี

วันที่ 23 และ 24 มกราคม พ.ศ. 2547 เกิดเหตุการณ์ลอบเผาวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานีและมัสยิดอีกแห่งในจังหวัดยะลา วันต่อมามีพระภิกษุ 2 รูป และสามเณรวัย 13 ปี ชาวพุทธอีก 2 ราย ถูกคนร้ายซึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ใช้อาวุธสังหารจนเสียชีวิต รายงานข่าวระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน (Bangkok Post, 25 มกราคม 2004) นอกจากนี้ยังมีการใช้โทรศัพท์ขู่ขวัญแจ้งว่ามีการวางระเบิดไว้ภายในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แต่การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบเพียงกล่องต้องสงสัยบรรจุยาเวชภัณฑ์วางอยู่บริเวณหน้าลิฟท์โดยสารของโรงพยาบาล (The Nation, 31 มกราคม 2004)


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -