See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ประวัติศาสตร์ยุโรป - วิกิพีเดีย

ประวัติศาสตร์ยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้จะว่าด้วยประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรปโดยรวม

เนื้อหา

[แก้] ต้นกำเนิด

[แก้] ยุคก่อนประวัติศาสตร์

มนุษย์โฮโมอีเรคตัส (บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน) กับ มนุษย์นีแอนเดอร์ธอล (Neanderthals) อาศัยอยู่ในยุโรปมานานก่อนที่มีมนุษย์ปัจจุบัน (โฮโมเซเปียน หรือ Homo sapiens)

กระดูกของมนุษย์ยุคแรก ๆ ในยุโรปถูกพบที่เมือง Dmanisi ประเทศจอร์เจีย ซึ่งกระดูกเหล่านั้นคาดว่ามีอายุราว ๆ 2 ล้านปีก่อนคริสตกาล หลักฐานของมนุษย์ที่มีโครงสร้างสรีระคล้ายมนุษย์ปัจจุบันที่ปรากฏในยุโรปที่เก่าที่สุดนั้นคือประมาณ 35,000 ปีก่อนคริสตกาล แต่หลักฐานแสดงการตั้งรกรากถาวรนั้นแสดงอยู่ราว ๆ 7000 ปีก่อนคริสตกาลในประเทศบัลแกเรีย โรมาเนีย และ กรีซ

ยุโรปกลางเข้าสู่ยุคหินใหม่ (Neolithic) ในช่วงราว ๆ 6000 ปีก่อนคริสตกาลก่อนหลาย ๆ ที่ในยุโรปเหนือซึ่งเข้าสู่ยุคหินใหม่ในช่วงราว ๆ 5000 ถึง 4000 ปีก่อนคริสตกาล

ราว ๆ 2000 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มมีอารยธรรมที่มีความรู้ทางการอ่าน-เขียนในยุโรปคืออารยธรรมของพวกมิโนน (Minoans) ที่เกาะcrete และตามด้วยพวกไมเซเนียน (Myceneans) (ทั้งสองอารยธรรมอยู่ราว ๆ บริเวณซึ่งเป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน)

ราว ๆ 400 ปีก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมลาทีเน่ (La Tène) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในยุคเหล็กได้แพร่กระจายไปเกือบทั่วภาคพื้น พวกอีทรัสกัน (Etruscans) ได้เข้าไปตั้งรกรากในตอนกลางของอิตาลีและลอมบาดี (Lombady) ซึ่งอยู่ตอนเหนือของอิตาลีปัจจุบัน

[แก้] สงครามโทรจัน

ดูบทความหลัก: สงครามเมืองทรอย

พวกกรีกที่ตั้งรกรากที่เมืองไมเซเน (Mycaenae) เริ่มมีอำนาจมากขึ้นบุกรุกขยายอาณาเขตไปยังอีกฟากหนึ่งของทะเลอีเจียน ยังเมืองของพวกโทรจัน ทรอยเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ที่ปากทางเข้าทะเลดำที่ใครๆ ก็ต้องการเป็นเจ้าของ พวกไมเซเน่บุกไปยังทรอยแต่ก็ไม่น่าจะทำลายมันลง มีข้อสันนิษฐานว่ามันเป็นเพราะแผ่นดินไหวมากกว่า

มหากาพอีเลียด ว่ากันว่าเล่ากันมาโดยนักเล่าเรื่องแสดงปาหี่เร่ร่อนในยุคที่แค่เรื่องต้นไม้พูดได้ก็ทำให้ผู้คนตกใจกลัวกันได้แล้ว นักแสดงเหล่านี้ต้องสรรหาเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นมาทำให้ผู้ชมสนุกสนาน โฮเมอร์ ก็คงรวบรวมขึ้นมาเป็นเรื่องราวในอีกหลายร้อยปีให้หลัง

[แก้] ยุคเก่า

[แก้] สาธารณรัฐโรม

พวกโรมันมีกษัตริย์ปกครองกันเรื่อยมาหลังจากตำนานของ โรมูลุส (Romulus) กษัตริย์ลูกหมาป่าที่ก่อตั้งกรุงโรม จนมาถึงรุ่นของกษัตริย์ทาควิน (Tarquin the pround) เป็นองค์สุดท้าย ว่ากันว่าชาวโรมันไม่พอใจที่ทาควินสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมายจนประชาชนเดือดร้อนทำให้มีตระกูลชั้นสูงพวกพาร์ทริเชียน (Partrician) ที่มีอำนาจในกรุงโรมนำโดยสกุล บรูตัส (Brutus) พากันขับไล่ไสส่งเขาออกมา

แต่กระนั้นก็ตามทาควินก็ไม่ลดละความพยายามที่จะทวงบัลลังค์ของเขากลับมา อ้างว่าสิ่งที่เขาทำไปนั้นก็เพื่อชาวโรมันนำกำลังของรัฐต่างถิ่นเข้ามาตีกรุงโรม แต่ก็ถูกชาวโรมันยันกลับไป

ตั้งแต่นั้นมาชาวโรมันก็ใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐปกครองโดยสภาซีเนตมาถึงสี่ร้อยปีจวบจนมาถึงยุคของจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus) จักรพรรดิพระองค์แรกของอาณาจักรโรมัน

ยุโรปประมาณปี 220 ก่อน ค.ศ.
ยุโรปประมาณปี 220 ก่อน ค.ศ.

[แก้] สงครามเปอร์เซีย และสงครามเปโลโปนีเซีย

สงครามเปอร์เซีย คือสงครามของพวกกรีกกับชาวเปอร์เซียที่บุกมาจากทางฝั่งอาหรับเข้ามาทางตอนเหนือ ประวัติศาสตร์ได้จดบันทึกวีรกรรมของชาวสปาร์ต้า (Sparta) ที่ไปรบขวางพวกเปอร์เซียที่มีเป็นแสนได้ด้วยกำลังคนไม่กี่พันที่ช่องเขา“เทอร์โมพีเล” (Thermopylae) นำโดยกษัตริย์“เลโอนิดาส” (Leonidas) หยุดพวกเปอร์เซียไว้ได้หลายวันก่อนที่จะถูกทำลาย ถ่วงเวลาให้ชาวกรีกมีเวลาตั้งตัวต่อกรกับชาวเปอร์เซียได้สำเร็จในภายหลัง

สงครามเปโลโปนีเซีย เป็นสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐของชาวเอเธนส์ (Athen) มหาอำนาจทางทะเลกับชาวสปาต้าร์ชนชาตินักรบหลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียได้ไม่นาน

ชาวสปาตาร์ไปขอความช่วยเหลือจากพวกเปอร์เซียให้ช่วยต่อเรือไปสู้กับชาวเอเทน ตัดเสบียงทางทะเลจนชาวเอเทนอดอยากต้องยอมแพ้ไปในที่สุด หลังจากสงครามครั้งนี้รัฐกรีกก็เริ่มทำสงครามกันเรื่อยมาทำให้เสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็วจนการมาถึงของชาว มาซีดอน (Macedon)

[แก้] พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ในขณะที่รัฐของกรีกแตกกระจายเป็นก๊ก ๆ ชาวมาซีดอนทางตอนเหนือก็เรืองอำนาจขึ้นมา ฟิลลิปป์ (Phillip) เป็นผู้ที่เริ่มสร้างฐานอำนาจนำกองทัพบุกรัฐกรีกขึ้นเป็นผู้นำสมาพันธ์กรีกกุมอำนาจไว้ในมือ

หลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียชาวกรีกก็ยังแค้นไม่หาย พยายามอย่างยิ่งที่จะบุกเข้าไปบ้าง ฟิลลิปป์สร้างกองทัพของเขาบ้างหลังจากที่รวมกรีกไว้ได้ แต่ก็มาถูกสังหารเสียก่อน คราวนี้ อเล็กซานเดอร์ (Alexander the great) ลูกชายเพียงคนเดียวก็ขึ้นมาครองอำนาจแทน นำทัพสู้กับชาวเปอร์เซียบุกลงไปถึง “อียิปต์" จนชาวเปอร์เซียที่เคยรุ่งเรืองมากที่สุดอาณาจักรหนึ่งต้องมาเสื่อมอำนาจลงไป

อเล็กซานเดอร์ยังไม่พอใจกับชัยชนะเพียงแค่นี้เขายังนำกองทัพบุกไปถึงอินเดีย แต่ก็ไปต่อไม่ไหวเนื่องจากห่าฝน[ฝนตกหนัก]ที่ตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตาของดินแดนเขตร้อน ทหารก็เหนื่อยอ่อนจากการทำศึกหนักอย่างยาวนาน และคิดถึงบ้าน จนจอมทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยังต้องจำใจเดินทางกลับบ้านเกิดเสียที เขาล่องเรือทางแม่น้ำสินธุมาถึงบาบิโลน (ระหว่างแม่น้ำไทกรีส และแม่น้ำยูเฟรติส ในปัจจุบัน) และตั้งเมืองหลวงที่นั่น

อเล็กซานเดอร์กลับบ้านไปได้ไม่ทันไรก็มาด่วนตายตอนอายุสามสิบสามปี นักประวัติศาสตร์บันทึกสาเหตุว่าเป็นเพราะการดื่มเหล้าอย่างหนักในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งจนร่างกายของเขารับไม่ไหว แต่บางคนก็แย้งว่าเขาถูกวางยาพิษ ช่างเป็นจุดจบที่ไม่สมบูรณ์เลยสำหรับจอมคนที่ครองครึ่งโลกอยู่ในกำมือ

จากนั้นอาณาจักรของเขาได้ถูกแย่งกันในหมู่แม่ทัพของกรีก คือ [แคสแซนเดอร์]] ไลซิมคัส เซลิวคัส และ พโตเลมี

[แก้] สงครามปุนิค

ชาวคาเทจสืบเชื้อสายมาจากชาวโพนีเชียนที่เคยรุ่งเรืองด้วยการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาแต่โบราณ เป็นอาณานิคมท่าเรือทางชายฝั่งของแอฟริกา เริ่มทำสงครามกับพวกโรมันที่เกาะซิซิลี (Sicily) ทางตอนใต้ของอิตาลีเป็นเวลายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ

สงครามพิวนิกมาสิ้นสุดลงในสมัยของจอมทัพ ฮันนิบาล (Hannibal) ที่นำกำลังบุกอิตาลีจากทางสเปนโดยข้ามเทือกเขาแอลป์เข้าไปยังตอนกลางของอิตาลีและยึดเมือง คาร์ปัวน์ (Capua) ที่สำคัญของโรมันเอาไว้ได้ แต่ฮันนิบาลก็ไม่สามารถรักษาสถานะภาพของเขาที่ประเทศอิตาลี(Italy)ได้ตลอดลอดฝั่ง เนื่องจากการที่กองทัพเรือของคาเทจ(Carthage)ได้ถูกทำลายลงไปทำให้ไม่มีกำลังสนับสนุนจากกรุงคาเทจเข้ามาเลยจนต้องถอยทัพกลับไปในที่สุด

พวกโรมันนำโดยขุนศึกตระกูล สซิพิไอ (Scipii) เริ่มตีโต้กลับจากสเปนไล่ไปจนถึงที่แอฟริกา สงครามชี้ขาดเกิดขึ้นที่ทางตอนใต้ของกรุงคาเทจ สซิพิโอนำกองทัพกำลังของเขาฆ่าทัพของฮันนิบาลจนทำให้พวกคาเทจไม่สามารถมารบได้อีกเลยแล้วแอฟริกาก็ตกไปอยู่ในมือของพวกโรมัน ในที่สุด

[แก้] สปาตาคัส

สงครามในต่างแดนทำให้พวกโรมันมีทาสเข้ามาทำงานในอิตาลีมากมาย สปาร์ตาคัส เป็นทาสชาว ธเรส (Thrace) ที่เข้ามาเป็นแกลดิเอเตอร์แล้วก่อกบฏขึ้นมาที่เมืองคาร์ปัวน์ เป็นผู้นำรวบรวมกบฏทาสจากชนชาติต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก บุกขึ้นไปทางเหนือเอาชนะกองทัพโรมันไปตลอดทางจนถึงดินแดนกอล

แต่ก็วกกลับเข้ามาอีกครั้งจากความโลภของพวกเขา คราวนี้ชาวโรมันไม่พลาดท่าอีกแล้วส่ง คราสซุส กงสุลที่จะต้องมาทัดทานอำนาจกับซีซาร์ในช่วงก่อนสงครามกลางเมือง นำทัพมาปราบพวกทาสได้อย่างราบคาบ เเล้วคราสซุสก็สั่งให้สปาร์ตาคัสต่อสู้กับเพื่อนเขาจนตายถ้าใครชนะก็ต้องถูกจับถอดเสื้อเเล้วนำไปตรึงกับไม้กางเขนเเต่สปาร์ตาคัสด้วยความไม่อยากให้เพื่อนถูกตรึงบนไม้กางเขนเขาจึงต้องฆ่าเพื่อนเพื่อไม่ให้เพื่อนต้องทรมานอยู่บนไม้กางเขนเเล้วเมือถึงรุ่งเช้าวันต่อมาสปาร์ตาคัสก็ถูกจับถอดเสื้อเเล้วตรึงกางเขนอย่างเหียมโหดมากพวกทาสถูกจับถอดเสื้อเพื่อเป็นการประจานสปาร์ตาคัสเเล้วจับตรึงไม้กางเขนไปตลอดทางยาวของถนนจากกรุงคาร์ปัวน์ไปยังโรม เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป

[แก้] ซีซาร์ ออกัสตัส

ตระกูล “จูลิอาย” (Julii) เป็นหนึ่งในพวกพาร์ทิเชียนของโรมมีบทบาทในการเมืองของโรมมานาน จูเลียส ซีซาร์เป็นลูกหลานของตระกูลที่จะเปลี่ยนแปลงโรม ซีซาร์สร้างชื่อจากการนำทัพของโรมบุกไปยังดินแดนกอลในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ชาวโรมมันกลัวพวกคนที่อาศัยอยู่ในแถบนี้มานานมากแล้ว เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยถูกพวกคนเถื่อนบุกเข้าไปในถึงกรุงโรมปล้นสดมได้ไปเป็นอันมาก

ประชาชนเริ่มนิยมในตัวซีซาร์จนทำให้สภาสูง (Senate) เกิดระแวงขึ้นมาวางแผนที่จะกำจัดเขา ซีซาร์ใช้ข้ออ้างนี้ในการก่อสงครามกลางเมืองกับ “ปอมเปย์” (Pompey) กงสุลจอมทัพที่เคยออกรบกับพวก “พอนติก” (Pontic) แต่ก็ไม่มีใครต้านเขาได้ ซีซาร์นำทัพเข้ากรุงโรมและสามารถไปรับหัวของปอมปีย์ได้ที่อียิปต์ แถมยังได้ราชินีโฉมงามพระนางคลีโอพัตรา กลับมาอีกด้วย แต่เขาก็ไม่ยอมขึ้นเป็นจักรพรรดิจนกระทั่งถูกสถาสูงรุมสังหาร

“ออกตาเวียน” (Octavian) ลูกบุญธรรมขึ้นมาสืบทอดอำนาจต่อจากเขา แล้วก็เกิดสงครามกลางเมืองกันอีกครั้งกับ “มาร์ค แอนโทนี” (Mark Antony) นายทัพของซีซาร์ในสงครามกับพวกกอล ออกตาเวียนรุกไล่มาร์คแอนโทนีไปถึงอียิปต์ ที่ซึ่งเขากับพระนางคลีโอพัตราได้ฆ่าตัวตายเป็นเหตุการณ์ที่เช็คสเปียร์นำมาแต่งเป็นบทละคร

เมื่อชนะสงครามออกตาเวียนก็ตั้งตนขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของอาณาจักรโรมัน ใช้ชื่อว่าจักรพรรดิ “ออกัสตัส”

[แก้] กรุงคอนสแตนติโนเปิล

โรมในสมัยของคอนแสตนตินมีอาณาเขตกว้างขวางมาก จนมีการแบ่งการปกครองเป็นสองส่วนตะวันออกกับตะวันตก แต่แทนที่จะมีการปกครองที่ดีขึ้น ทั้งสองฝั่งกับทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่

คอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิทางด้านตะวันออกที่ทำสงครามชนะ สามารถบุกเข้าโรมร่วมอาณาจักรโรมันไว้เป็นหนึ่งเดียว แต่ครั้งนี้เมืองหลวงไม่ได้อยู่ที่โรมเสียแล้ว เนื่องจากว่าคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิด้านตะวันออกก็อยากจะอยู่ที่ด้านตะวันออก เขาจึงย้ายเมืองหลวงไปที่ คอนสแตนติโนเปิล เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งก็ตั้งตามชื่อของเขาเอง ซึ่งเดิมชื่อ ไบแซนทิอุม หรือ ไปแซนไทม์ (Byzantium)

ในช่วงวาระสุดท้ายคอนสแตนตินก็หันไปพึ่งศาสนาในขณะที่นอนป่วยอยู่บนเตียง มีเรื่องเล่าว่าครั้งที่คอนแสตนตินจะข้ามแม่น้ำไปยังกรุงโรมในสมัยสงครามกลางเมืองเขาได้เห็นนิมิตจากสวรรค์ (ชึ่งก็พึ่งจะแปลความหมายออกตอนนอนป่วย) เขาทำให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของจักรวรรดิ ซึ่งกฎหมายของพวกโรมันบังคับให้ประชาชนต้องหันมานับถือ

[แก้] การล่มสลายของกรุงโรม

พวกคนเถื่อนทางตอนเหนือของยุโรปก้าวร้าวบุกรุกอาณาจักรโรมันกันเป็นว่าเล่น หนึ่งในนั้นมี “แอตติลา” (Attila) ผู้นำของคนเถื่อนที่เป็นตำนาน รวบรวมเหล่าคนเถื่อนมาไว้ด้วยกันนำกำลังบุกเข้าไปในอาณาจักร โรมันแต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถที่จะบุกเข้าไปถึงกรุงโรมได้ถูกพวกโรมันหยุดยั้งไว้ได้ก่อน แล้วก็มาด่วนตายไป

แต่การกระทำของแอตติลาก็ส่งผลให้พวกคนเถื่อนบุกเข้าไปในอาณาจักรโรมัน จนในที่สุดกรุงโรมก็ถูกตีแตกโดยพวกเยอรมัน เป็นการสิ้นสุดอิทธิพลของพวกโรมันในยุโรปตะวันตก คงเหลือแต่พวกโรมันที่กรุงคอนสแตนติโนเบิลเท่านั้นที่ยังคงแผ่อิทฺธิพลออกไป

[แก้] ยุคกลางและยุคมืด

ยุโรปเมื่อ ค.ศ. 814
ยุโรปเมื่อ ค.ศ. 814

[แก้] จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจ

กรุงโรมล่มสลายพร้อมกับการก้าวขึ้นมาของคนเถื่อนทางเหนือ พวกแฟรงค์ (Frank) คนเถื่อนทางประเทศฝรั่งเศสก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่โดยการนำของ“พระเจ้าชาร์เลอมาญ” (Charlemagne) เมื่อรวบรวมดินแดนทางยุโรปตะวันตกไว้ได้มากมายแล้ว ชาเลอร์มานก็ไปทำสัญญากับพระสันตะปาปาขึ้นเป็นจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันตะวันตก ตั้งอาณาจักรโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่จากที่เคยล่มสลายลงไป ภายใต้ชื่อ "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) " ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เป็นอิสระจากอิทธิพลของอาณาจักรโรมันตะวันออก

[แก้] สงครามครูเสด

พระสันตะปาปาเรียกร้องให้ชาวคริสต์ทุกคนนำกำลังไปช่วยเหลืออาณาจักรโรมันตะวันออกไบแซนไทน์ที่กำลังถูกพวกอาหรับกลืนกิน กองทัพของผู้ศรัทธานำกำลังบุกเข้าไปถึงกรุง เยรูซาเล็ม (Jerusalem) ดินแดนอันศักสิทธิ์ในพระคำภีร์ฉบับเก่าของโมเสสที่ถูกชาวอาหรับครอบครอง

กองทัพครูเสดยึดดินแดนได้แถบริมฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแล้วตั้งเป็นประเทศ อยู่มาจนการมาถึงของ ซาลาดิน (Saladin) สุลต่านอาหรับที่สามารถบุกยึดกรุงเยรูซาเล็มจากพวกครูเสดได้ ตั้งแต่นั้นมานักรบครูเสดที่ถูกส่งมาอีกหลาย ๆ ครั้งก็ไม่สามารถที่จะยึดคืนกรุงเยรูซาเล็มกลับมาได้อีกเลย

[แก้] สงครามร้อยปี

สงครามร้อยปีเป็นความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส นาน๑๑๖ปี นับจากค.ศ. ๑๓๓๗ ถึง๑๔๕๓ เริ่มจากการอ้างสิทธิ์ของกษัตริย์อังกฤษเหนือบังลังก์ฝรั่งเศส เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้นิยามสงครามความขัดแย้งแบ่งได้ สามถึงสี่ช่วง คือ สงครามยุคเอ็ดเวิร์ด(Edwardian War 1337-1360), สงครามยุคแครอไลน์ (Caroline War 1369-1389), สงครามยุคแลงคาสเตอร์ (Lancastrian War 1415-1429)

พวกอังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ชาวไวกิ้งที่เคยขึ้นฝั่งที่นอร์มังดี แล้วบุกไปชิงราชบังลังค์ที่เกาะอังกฤษ ยังอยากที่จะได้ดินแดนของบรรพบุรุษกลับมาอีกครั้ง อังกฤษกับฝรั่งเศสจึงทำสงครามกันเรื่อยมา

ช่วงหลังของสงครามอังกฤษสามารถบุกเข้าไปยึดดินแดนของฝรั่งเศสได้จนเกือบจะสิ้นชาติ แต่ก็มีการมาถึงของหญิงสาว “ณาน” (โจนออฟอาร์ค) สาวชาวนาผู้ได้รับนิมิตจากพระเจ้าให้นำฝรั่งเศสไปสู่เอกราชจากพวกอังกฤษ แต่ไม่ทันที่จะจบสงครามโจนก็ถูกจับไปเผาในข้อหาว่าเป็นแม่มด แต่การกระทำของโจนก็ไม่เสียเปล่าพวกฝรั่งเศสขับไล่อังกฤษออกจากประเทศได้สำเร็จ

[แก้] การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล

หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม พวกโรมันทางฝั่งตะวันออกก็ค่อย ๆ ลืมเมือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั่งเดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น “ไบเซนติไทน์” (Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิลเมืองที่มั่งคั่งที่สุดยุโรปยุคมืด

แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบเซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับพวก“เตอร์” (Turk) ที่ทำให้กรุงไบเซนไทอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ อิสตันบูล (Istanbul)

[แก้] ต้นสมัยใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 16 - 18)

[แก้] สงครามกลางเมืองอังกฤษ

[แก้] การปฏิวัติอเมริกา

หลังจากโคลัมบัสพบอเมริกาแล้วประกาศให้โลกรู้ชาวยุโรปที่สิ้นหวังก็พากันเดินทางมาขุดทองหวังที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นในที่แห่งใหม่ อาณานิคมของอังกฤษทางฝั่งตะวันออกทนไม่ได้ที่จะอยู่ในการปกครองอีกต่อไปจึงทำสงครามปลดแอกตัวเองออกมา

จอร์จ วอชิงตัน” (George Washington) เป็นผู้ได้รับการไว้วางใจและพาอเมริกาไปสู่เอกราชได้สำเร็จ แต่ก่อนนั้นเขาประสพความพ่ายแพ้หลายต่อหลายครั้ง แต่ก็มาตีตื่นได้ในสงครามกลางฤดูหนาวที่ไม่มีใครเขาทำกัน

ในที่สุดอเมริกาก็ได้การสนับสนุนจากฝรั่งเศสจนปลดแอกตัวเองออกมาได้ วอชิงตันกลายเป็นรัฐบุรุษและเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา

[แก้] การปฏิวัติฝรั่งเศส

ดูบทความหลักได้ที่ การปฏิวัติฝรั่งเศส

การล่มสลายของคุกบาสทิลล์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ
การล่มสลายของคุกบาสทิลล์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ

ฝรั่งเศสอยู่ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำข้าวยากหมากแพงคนจนอดอยาก แต่คนชั้นสูงก็ยังใช้ชีวิตอย่างหรูหราจากภาษีของประชาชน จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างกษัตริย์ พระเจ้าหลุยส์ที่16 กับ พระนางมารี อองตัวเนตถูกจับใส่กิโยตินประหารกลางฝูงชนเป็นยุคแห่งความหวาดกลัว

นโปเลียน นายทหารปืนใหญ่หนุ่มจากคอร์ซิการ์เกาะทางใต้ของฝรั่งเศส รับช่วงในงานปฏิวัติจนมีชื่อเสียงโด่งดัง หลังจากยุคแห่งความหวาดกลัวสงบลงเขาถูกส่งไปเป็นนายพลที่อิตาลีเพื่อขยายอำนาจของฝรั่งเศส นโปเลียนไม่ทำให้ชาวฝรั่งเศสผิดหวังบุกยึดขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปทั่วยุโรป มีอำนาจจนตั้งตัวเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ ประเทศรอบข้างต่างพากันหวาดกลัวรวมตัวกันต้านทานอำนาจของเขา

และแล้วนโปเลียนก็พลาดท่า เมื่อบุกเข้าไปในรัสเซียกลางฤดูหนาว เมื่อไปถึงมอสโกกลับพบว่าเมืองถูกเผาและทอดทิ้งไปเสียแล้ว นโปเลียนไม่มีทางเลือกต้องถอยทัพกลับสถานเดียว กองทัพฝรั่งเศสถูกโจมตีด้านหลังและอดอยากจนกองทัพแตกสลาย นโปเลียนถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะเอลบา แต่ยังไม่สิ้นหวัง ประชาชนยังรักและเชื่อว่านโปเลียนสามารถทำให้ประเทศที่ตกต่ำจากการพ่ายสงครามกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกครั้ง นโปเลียนจึงนั่งเรือกลับฝรั่งเศส

ครั้งนี้ฝ่ายพันธมิตรไม่พลาดอีกแล้ว ไม่ยอมปล่อยให้นโปเลียนกลับขึ้นมามีอำนาจได้อีกพวกเขาจะส่งกำลังบุกฝรั่งเศส นโปเลียนต้องนำทัพไปรับที่วอเตอร์ลูและก็ต้องพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกที่นั่น เมื่อถูกเนรเทศอีกครั้งก็ไม่มีโอกาสกลับมาที่ฝรั่งเศสอีกเลย

[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 19

[แก้] ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 : ศตวรรษแห่งสงคราม

ดูบทความหลักได้ที่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ สงครามโลกครั้งที่สอง

หลังศตวรรษที่ 19 มหาอำนาจในยุโรปเกิดขัดแย้งกันเองดังเห็นได้จากการพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในแหลมบอลข่านของรัสเซีย ตุรกี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี เมื่อมีศัตรูมากก็ย่อมต้องการมิตรมาก จึงมีการทำสัญญาพันธมิตรขึ้นเป็นสองกลุ่มคือ 1.สัมพันธมิตร มี อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย 2.มหาอำนาจกลาง มี เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาพรรคพวก กล่าวโจมตีอีกฝ่าย จนสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ระเบิดขึ้นใน ค.ศ.1914 ประเทศคู่สงครามมีฝ่ายพันธมิตร 23 ประเทศ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง 4 ประเทศ ช่วงต้นเยอรมนีบุกฝรั่งเศสตามแผนของ ชลีฟเฟน จนอยู่ห่างจากปารีสเพียง 10 ไมล์แต่ฝรั่งเศสก็หยุดเยอรมันได้ที่มาร์น หลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างขุดสนามเพลาะยาวกว่า 600ไมล์จาก ชายแดนสวิสถึงทะเลเหนือเรียกว่า สงครามสนามเพลาะส่วนด้านตะวันออกรัสเซียพยายามเข้าตีเยอรมนีและออสเตรียแต่ก็พ่ายแพ้ ว่ากันว่า รัสเซียเป็นชาติที่สูญเสียมากที่สุด การรบอย่างนองเลือดยังดำเนินต่อไป การรบที่ซอมม์มีคนตายกว่า 1300000 ศพ การรบที่กัลลิโปลีฝ่ายพันธมิตรตาย 200000 คน ปีค.ศ.1917 สหรัฐอเมริการ่วมสงครามอยู่ฝ่ายพันธมิตร ปีค.ศ.1918 เยอรมนีทำการบุกครั้งใหญ่อีกครั้งแต่ก็พ่ายแพ้เยอรมนี สูญเสียอย่างหนักสุดท้ายก็ยอมแพ้ สงครามมหาประลัยครั้งนี้จึงสิ้นสุดลง แต่หลังสงครามฝ่ายสัมพันธมิตรร่างสัญญาสันติภาพที่มีเนื้อหาบังคับให้ผู้แพ้ยอมเป็นทาส จนชาวเยอรมันประกาศจะจับปืนสู้ต่อไป แต่ผู้นำเยอรมันตอนนั้นได้ร่วมมือกับพวกยิวที่ต้องการให้เยอรมนีล่มยอมแพ้ไปแล้ว แต่เมื่อเยอรมนีฟื้นตัวได้ก็พยายามเรียกร้องสิ่งที่ตนเสียไปอย่างไม่เป็นธรรม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ประกาศจะยึดโปแลนด์ที่เคยเป็นของเยอรมนีคืน สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ระเบิดขึ้น เยอรมนีเข้ายึดยุโรปภาคเหนือได้ในปีเดียว จนอิตาลีประกาศสนับสนุนฮิตเลอร์ แต่อังกฤษก็ยังสู้ต่อไป เยอรมนียึด อังกฤษไม่ได้จึงเปลี่ยนแผนไปบุกรัสเซียก็ยังยึดไม่ได้อีก เมื่อญี่ปุ่นและสหรัฐฯร่วมสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ค.ศ. 1943 เยอรมนีแพ้ในอาฟริกา อิตาลีประกาศยอมแพ้ ค.ศ.1944 ฝ่ายพันธมิตรร่วมมือกันบุกเยอรมนี ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย เยอรมนียอมแพ้ จากนั้น ญี่ปุ่นก็ยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงสิ้นสุดลง ภายหลังสงครามสหรัฐฯและรัสเซีย(สหภาพโซเวียต)เกิดขัดแย้งกันจึงเกิดสงครามเย็นขึ้น

[แก้] ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 : สงครามเย็น(cold war)

ดูบทความหลักได้ที่ สงครามเย็น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯและสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งกันเอง มีการแบ่งโลกออกเป็นสองค่ายคือค่ายเสรีและคอมมิวนิสต์ สงครามเย็นแม้ จะเรียกว่าสงครามแต่ก็เป็นเพียงสงครามที่ไม่มีการรบ มีเพียงสงครามตัวแทนเช่นสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ฯลฯ สงครามนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสะสมอาวุธร้ายแรง การใช้จิตวิทยาโจมตีอีกฝ่าย สงครามเย็นสิ้นสุดเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายในค.ศ.1991

[แก้] ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 : สหภาพยุโรป

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุโรปอยู่ในสภาพที่บอบช้ำและเสียหายอย่างหนักในทุกด้าน จึงทำให้มีผู้นำทางการเมืองเกิดแนวความคิดที่จะสร้างอนาคตที่มีสันติภาพอย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรองดองกันระหว่างสองรัฐที่เคยได้ทำสงครามที่สร้างความหายนะแก้ทวีปทั้งทวีป คือ ฝรั่งเศส กับเยอรมนี ซึ่งบุคคลที่ได้เสนอแนวคิดนี้ คือ นาย Jean Monnet (ชาวฝรั่งเศส) และถูกนำมาขยายผลโดยนาย Robert Schuman (รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส) โดยวิธีการของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจกันระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีให้ใกล้ชิดกันจนกระทั่งทั้งสองประเทศจะไม่สามารถทำสงครามระหว่างกันได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายในระยะยาวที่จะสร้างความเป็นเอกภาพระหว่างประชาชนชาวยุโรป เพื่อมิให้มีการแตกแยกและนำไปสู่การทำสงครามระหว่างกันในอนาคตด้วย

แนวคิดดังกล่าว ได้นำไปสู่การจัดตั้ง ”ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community)” ในปี พ.ศ. 2494/ค.ศ.1951 โดยสนธิสัญญากรุงปารีส ซึ่งแรกเริ่มมีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ คือ (ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก และอิตาลี) ทั้งนี้ เนื่องจากถ่านหินและเหล็กกล้าถือเป็นยุทธปัจจัย การจัดตั้งประชาคมเพื่อบริหารทรัพยากรดังกล่าวจึงเสมือนเป็นก้าวแรกที่จะทำให้สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งประชาคมขึ้นอีก 2 ด้าน คือ ด้านปรมาณู (Euratom) ในปี พ.ศ. 2497/ค.ศ.1954 และที่สำคัญ คือ ด้านเศรษฐกิจ (European Economic Community) ในปีพ.ศ. 2500/ค.ศ.1957 โดยสันธิสัญญากรุงโรม

ทั้งสนธิสัญญากรุงปารีสและสนธิสัญญากรุงโรม ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของสหภาพยุโรปที่ยังคงใช้จนถึงทุกวันนี้ เพราะเป็นการวางรากฐานในการจัดตั้งสถาบันบริหารกิจการของประชาคม คือ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คณะมนตรี (Council) ศาลตุลาการยุโรป (European Court of Justice) และสภายุโรป (European Parliamentary Assembly ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า European Parliament) และยังวางรากฐานของการบริหารอธิปไตยร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกโดยผ่าน ”ประชาคม” อีกด้วย

ทั้งนี้ เป้าหมายที่สำคัญของการร่วมมือครั้งนี้ คือ การจัดตั้ง “ตลาดร่วม” ของประเทศสมาชิก กล่าวคือ ดำเนินการเพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปโดยไร้อุปสรรคอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนอกจากหมายถึงการยกเลิกด่านศุลกากรระหว่างกันแล้ว ยังหมายถึงการประสานกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าทั้งหมด อาทิ การรับรองมาตรฐานสินค้า ระบบการตรวจสอบสินค้าเข้าจากต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้เสร็จสิ้นภายหลังโครงการ “Single Market Act” (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 259/ค.ศ.1986) และสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2535/ค.ศ.1992 พัฒนาขั้นต่อไปที่สำคัญ คือ การลงนามในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of European Union) ลงนามที่เมืองมาสตริคต์ในปี พ.ศ. 2535/ค.ศ.1992 (จึงมักเรียกสั้นๆ ว่า Maastricht Treaty) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ “สหภาพยุโรป”ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สาระสำคัญของการจัดตั้งสหภาพยุโรป คือ นอกจากคงไว้ซึ่งโครงสร้างความร่วมมือเดิมภายใต้ประชาคมทั้งสามที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกไปอีกสองด้าน คือ (1) ความร่วมมือด้านการต่างประเทศและความมั่นคง กับ (2) ความร่วมมือด้านมหาดไทยและยุติธรรม อย่างไรก็ดี เนื่องจากทั้งสองด้านดังกล่าว เป็นเรื่องที่บางรัฐสมาชิกมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านอธิปไตย จึงมิใช่ความร่วมมือในลักษณะ “ประชาคม” (หมายถึงการแบ่งอำนาจอธิปไตยมาบริหารร่วมกัน) แต่เป็นการร่วมมือและประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล (Inter-Governmental Cooperation) “สนธิสัญญามาสตริคต์” ถูกแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมโดยสนธิสัญญาสำคัญอีกสองฉบับ คือ สนธิสัญญกรุงอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ปี พ.ศ. 2540/ค.ศ.1997 และสนธิสัญญาเมืองนีซ (Treaty of Nice) ปี พ.ศ. 2544/ค.ศ.2001 ซึ่งขยายขอบเขตสาขาความร่วมมือภายใต้นโยบายร่วมของสหภาพยุโรป (โดยเฉพาะในด้านมหาดไทยและยุติธรรม) พร้อมกับปรับปรุงสถาบันและแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถรองรับจำนวนรัฐสมาชิกที่เพิ่มขึ้นต่อไป

จากเดิมซึ่งมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ สหภาพยุโรป ได้รับรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยหลายครั้ง คือ ปีพ.ศ. 2516/ค.ศ.1973 เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ปีพ.ศ. 2524 ค.ศ.1981 กรีซ ปีพ.ศ. 2529/ค.ศ. 1986 สเปนและโปรตุเกส ปีพ.ศ. 2538/ค.ศ.1995 ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน และล่าสุดปีพ.ศ. 2547/ค.ศ.2004 ถือเป็นการขยายจำนวนสมาชิกครั้งใหญ่ที่สุดถึง 10 ประเทศ คือ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก และสลีวีเนีย


[แก้] หมวดย่อย

  • ประวัติศาสตร์กรีซ
  • ประวัติศาสตร์โครเอเชีย
  • ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐเช็ก
  • ประวัติศาสตร์ซานมารีโน
  • ประวัติศาสตร์เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
  • ประวัติศาสตร์เซอร์เบีย
  • ประวัติศาสตร์มอนเตเนโกร
  • ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก
  • ประวัติศาสตร์นอร์เวย์
  • ประวัติศาสตร์เนเธอร์แลนด์
  • ประวัติศาสตร์บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  • ประวัติศาสตร์บัลแกเรีย
  • ประวัติศาสตร์เบลเยียม
  • ประวัติศาสตร์เบลารุส
  • ประวัติศาสตร์โปรตุเกส
  • ประวัติศาสตร์โปแลนด์
  • ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
  • ประวัติศาสตร์ฟินแลนด์
  • ประวัติศาสตร์มอลโดวา
  • ประวัติศาสตร์มอลตา
  • ประวัติศาสตร์มาซิโดเนีย
  • ประวัติศาสตร์ยูเครน
  • ประวัติศาสตร์เยอรมนี
  • ประวัติศาสตร์รัสเซีย
  • ประวัติศาสตร์โรมาเนีย
  • ประวัติศาสตร์ลัตเวีย
  • ประวัติศาสตร์ลิกเตนสไตน์
  • ประวัติศาสตร์ลิทัวเนีย
  • ประวัติศาสตร์นครรัฐวาติกัน
  • ประวัติศาสตร์สเปน
  • ประวัติศาสตร์สโลวาเกีย
  • ประวัติศาสตร์สโลวีเนีย
  • ประวัติศาสตร์สวิตเซอร์แลนด์
  • ประวัติศาสตร์สวีเดน
  • ประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร
  • ประวัติศาสตร์อังกฤษ
  • ประวัติศาสตร์ออสเตรีย
  • ประวัติศาสตร์อันดอร์รา
  • ประวัติศาสตร์อิตาลี
  • ประวัติศาสตร์เอสโตเนีย
  • ประวัติศาสตร์แอลเบเนีย
  • ประวัติศาสตร์ไอซ์แลนด์
  • ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์
  • ประวัติศาสตร์ฮังการี
ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ยุโรป เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ยุโรป ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -