นาโนเทคโนโลยี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาโนเทคโนโลยี (อังกฤษ: Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้างหรือการวิเคราะห์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร(ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์วัสดุในระดับที่เล็กมากๆ เช่น การจัดอะตอมและโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุหรืออุปกรณ์มีคุณสมบัติพิเศษขึ้นไม่ว่าทางด้านฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นคนแรกที่แสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของนาโนเทคโนโลยี ในการบรรยายเรื่อง “There’s planty of room at the bottom” ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) โดยการแสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และโอกาสของประโยชน์ที่จะได้จากการจัดการในระดับอะตอม
ปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ศาสตราจารย์ โนริโอะ ทานิกูชิ (Norio Taniguchi) แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียวเป็นคนแรกที่เริ่มใช้คำว่า “Nanotechnology” (N. Taniguchi, "On the Basic Concept of 'Nano-Technology'," Proc. Intl. Conf. Prod. Eng. Tokyo, Part II, Japan Society of Precision Engineering, 1974)
[แก้] นาโนเทคโนโลยีช่วยอะไรเราได้บ้าง
ความหวังที่จะฝ่าวิกฤติปัจจุบันของมนุษยชาติจากนาโนเทคโนโลยีมีดังนี้
- พบทางออกที่จะได้ใช้พลังงานราคาถูกและสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- มีน้ำที่สะอาดเพียงพอสำหรับทุกคนในโลก
- ทำให้มนุษย์สุขภาพแข็งแรงและอายุยืนกว่าเดิม (มนุษย์อาจมีอายุเฉลี่ยถึง 200 ปี)
- สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างพอเพียงกับประชากรโลก
- เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสารของผู้คนทั้งโลกอย่างทั่วถึง ทัดเทียม และพอเพียง
- เพิ่มศักยภาพในการสำรวจอวกาศมากขึ้น
[แก้] สาขาย่อยของนาโนเทคโนโลยี
- นาโนอิเล็กทรอนิกส์ (Nanoelectronics)
- นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ (Bionanotechnology)
- นาโนเซนเซอร์ (Nanosensor)
- การแพทย์นาโน (Nanomedicine)
- ท่อนาโน (Nanotube)
- นาโนมอเตอร์ (Nanomotor)
- โรงงานนาโน (Nanofactory)
[แก้] ตัวอย่างผลงานจากนาโนเทคโนโลยี
- คอนกรีตชนิดหนึ่งใช้เทคโนโลยีนาโน ใช้ Biochemical ทำปฏิกิริยาย่อยสลายกับมลภาวะที่เกิดจากรถยนต์ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ในประเทศอังกฤษได้เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างถนนและอุโมงค์ต่างๆ เพื่อลดมลภาวะบนท้องถนน และขณะเดียวกันเทคโนโลยีนาโน ทำให้อนุภาคคอนกรีตมีขนาดเล็กมาก ฝุ่น และแบคทีเรีย ไม่สามารถฝังตัวในเนื้อคอนกรีตได้ ทำให้อาคารที่ใช้คอนกรีตชนิดนี้ ดูใหม่เสมอ และยังคงไม่สะสมเชื้อโรค
- เสื้อนาโน ด้วยการฝัง อนุภาคนาโนเงิน (silver nanoparticle) ทำให้เกิดปฏิกิริยากับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- ไม้เทนนิสนาโน ผสม ท่อคาร์บอนนาโน เป็นตัวเสริมแรง ทำให้แข็งแรงขึ้น (อ่าน วัสดุผสม)
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่ม
- ไมโครเทคโนโลยี (MEMS/MST)
- ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (MEMS or Microelectromechanical Systems)
- วิศวกรรมวัสดุ - ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบวัสดุ เพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรม
- วัสดุนาโน
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- How nanotechnology will work
- นาโนเทคโนโลยี คืออะไรกันแน่ ดร.สิรพัฒ ประโทนเทพ วิชาการ.คอม
- ไขปริศนา นาโนเทคโนโลยี บน วิชาการ.คอม โดย ดร. ณัฐพันธุ์ ศุภกา
- ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- Nanotechnology สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (ภาษาอังกฤษ)
- Center of Nanoscience and Nanotechnology มหาวิทยาลัยมหิดล
- Nanotechnology - Foresight Institute
- Asia Pacific Nanotechnology Forum เอเชียแปซิฟิก
- Institute of Nanotechnology ยุโรป
- National Nanotechnology Initiative สหรัฐอเมริกา
- Scientific American: Nanotechnology (นิตยสาร)
- Nanotechnology Now
- Nano-Coating
- Nanotechnology
|
|
---|---|
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ | ปัญญาประดิษฐ์ • วิศวกรรมเซรามิก • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ • อิเล็กทรอนิกส์ • พลังงาน • การสะสมพลังงาน • ฟิสิกส์วิศวกรรม • เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม • วัสดุศาสตร์ • ไมโครเทคโนโลยี • นาโนเทคโนโลยี • เทคโนโลยีนิวเคลียร์ • วิศวกรรมทัศนศาสตร์ • สัตวศาสตร์ |
สารสนเทศ และ การสื่อสาร | การสื่อสาร • เรขภาพ • เทคโนโลยีดนตรี • การรู้จำคำพูด • เทคโนโลยีทางสายตา |
อุตสาหกรรม | การก่อสร้าง • การเงินเชิงคอมพิวเตอร์ • การผลิต • เครื่องกล • การทำเหมืองแร่ |
การทหาร | ระเบิด • อาวุธปืน และ เครื่องกระสุนปืน • เทคโนโลยีและอุปกรณ์การทหาร • นาวิกวิศวกรรม |
คหกรรมศาสตร์ | เครื่องใช้ไฟฟ้า • เทคโนโลยีในบ้าน • เทคโนโลยีการศึกษา • เทคโนโลยีอาหาร |
วิศวกรรมศาสตร์ | วิศวกรรมอวกาศยาน • วิศวกรรมเกษตร • วิศวกรรมสถาปัตย์ • วิศวกรรมชีวะ • วิศวกรรมชีวเคมี • วิศวกรรมชีวเวช • วิศวกรรมเซรามิก • วิศวกรรมเคมี • วิศวกรรมโยธา • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ • วิศวกรรมก่อสร้าง • อติสีตศาสตร์ • วิศวกรรมไฟฟ้า • วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม • วิศวกรรมอาหาร • วิศวกรรมอุตสาหการ • วัสดุศาสตร์ • วิศวกรรมเครื่องกล • วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ • วิศวกรรมโลหการ • วิศวกรรมเหมืองแร่ • นาวิกวิศวกรรม • วิศวกรรมนิวเคลียร์ • วิศวกรรมปิโตรเลียม • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ • วิศวกรรมโครงสร้าง • วิศวกรรมระบบควบคุม • วิศวกรรมสิ่งทอ • วิศวกรรมเนื้อเยื่อ |
สุขภาพ และ ความปลอดภัย | วิศวกรรมชีวการแพทย์ • ชีวสารสนเทศศาสตร์ • เทคโนโลยีชีวภาพ • เคมีสารสนเทศศาสตร์ • วิศวกรรมความปลอดด้านอัคคีภัย • วิทยาศาสตร์สุขภาพ • เภสัชวิทยา • วิศวกรรมความปลอดภัย • วิศวกรรมสุขาภิบาล |
การขนส่ง | อวกาศยาน • วิศวกรรมอวกาศยาน • Marine engineering • เครื่องยนต์ • เทคโนโลยีอวกาศ • การขนส่ง |