เทคโนโลยีการศึกษา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ [1]
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
- เทคโนโลยีการศึกษาในต่างประเทศ
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
- เทคโนโลยีการศึกษาในประเทศเทศไทย
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ขอบข่าย
เทคโนโลยีการศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ถ้านวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่อไม้ เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเหมือนกอไผ่ ซึ่งรวมทั้งลำไผ่เดี่ยวๆ และกอไผ่ วิชาการที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา แต่มีชื่อที่แตกต่าง คือ สาขาโสตทัศนศึกษา ที่เปิดสอนในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ที่เปิดสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ชื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างอย่างไร เนื้อหาของวิชาการเทคโนโลยีการศึกษาก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน
[แก้] กฎหมายการศึกษา
คำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" แม้มีใช้มานานในแวดวงวิชาการศึกษา แต่คำนี้ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อ พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 9 โดยมี 7 มาตรา คือ มาตรา 63 - 69 มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาการนำคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน [2] ซึ่งแม้ว่าใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึง เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีเพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น พรบ.การศึกษาเขียนเพื่อเป็นหลักประกันหรือบังคับให้รัฐนำสื่อสารมวลชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
[แก้] การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
ปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา? (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545)
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
- กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
- แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547 - 2549)
- แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[3]
- การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
- การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
- การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
- การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การออกแบบระบบการเรียนการสอน
- การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
- การวิจัยและพัฒนาสื่อ
[แก้] วิชาชีพ
การเรียนการสอนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ผู้ที่จบทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษา แล้วทำงานในวิชาชีพนี้เรียกว่า นักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งความจริงไม่มีชื่อตำแหน่งดังกล่าว แต่กลับมีชื่อตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา พนักงานงานโสตทัศนศึกษา และ ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา [4] ที่ทำหน้าที่เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา
[แก้] อ้างอิง
- ^ วสันต์ อติศัพท์,"ทิศทางใหม่ของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา : กระบวนทัศน์ใหม่ของนักเทคโนโลยีการศึกษาและการเตรียมครูแห่งอนาคต", เอกสารประกอบการสัมมนา โสตฯ-เทคโนสัมพันธ์ ครั้งที่ 16, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544,
- ^ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ,พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545,12 พฤศจิกายน 2550,
- ^ วรัท พฤกษากุลนันท์ ,แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาตามนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง ,12 พฤศจิกายน 2550,
- ^ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา,เกณฑ์มาตรฐาน :: กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2548,
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นบทความเกี่ยวกับ วิชา ความรู้ และศาสตร์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการศึกษา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |