วิศวกรรมโครงสร้าง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural engineering) เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หน่วยแรงที่เกิดขึ้นในวัสดุ อาคาร เครื่องจักรกล ยานพาหนะ อากาศยาน หรือแม้แต่ยานอวกาศ
แต่ในประเทศไทย เมื่อกล่าวถึงวิศวกรรมโครงสร้าง มักจะเข้าใจว่าเป็นวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้าง เท่านั้น โดยวิศวกรรมโครงสร้างที่วิเคราะห์ ออกแบบในด้านเครื่องกล หรือสิ่งอื่น ๆ มักจะเรียกแยกไปตามวิศวกรรมสาขานั้น ๆ เช่น วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมอากาศยาน เป็นต้น
เนื้อหา |
[แก้] การวิเคราะห์โครงสร้าง
การวิเคราะห์ใด ๆ ในงานวิศวกรรมโครงสร้าง จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- การวิเคราะห์แรงภายนอกที่กระทำกับ ชิ้นส่วน อาคารนั้น ๆ ที่ทำให้เกิด แรงดึง แรงอัด แรงเฉือน แรงบิด และโมเมนต์ดัด
- การวิเคราะห์แรงภายในที่เกิดขึ้นภายในวัสดุ ที่ถูกกระทำจากแรงภายนอก ที่ทำให้เกิดความเค้น (Stress) และความเครียด (Strain) รวมไปถึงการเสียรูป และการแอ่นตัว(Deflection) ของชิ้นส่วน
- การวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของชิ้นส่วน เช่นการเสียรูป และการแอ่นตัว(Deflection) ของชิ้นส่วน
[แก้] ขั้นตอนในการวิเคราะห์โครงสร้าง
- สร้างแบบจำลอง
- คำนวณแรงที่กระทำภายนอก
- เลือกวัสดุและหน้าตัดโดยประมาณ
- วิเคราะห์แรงที่เกิดขึ้น
- เลือกวัสดุและขนาดให้สามารถรับแรงที่เกิดขึ้น
- วิเคราะห์ซ้ำอีกครั้ง
- ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ พร้อมกับค่าหน่วยแรงที่ยอมรับได้ และค่าการเสียรูปหรือการเคลื่อนตัว
[แก้] หลักพื้นฐานในการวิเคราะห์โครงสร้าง
- สมการหลักในการวิเคราะห์โครงสร้าง คือ สมการความสมดุล (Statically Equilibrium)
- ผลรวมแรงในแนวราบ = 0
- ผลรวมแรงในแนวดิ่ง = 0
- ผลรวมโมเมนต์ดัด = 0
- เสถียรภาพของโครงสร้าง (Structural Stability)
- ดีเทอร์มิเนซี่สถิตของโครงสร้าง (Statically Determinacy)
- โครงสร้างประเภทดีเทอร์มิเนททางสถิต (Determinate) หมายถึงโครงสร้างที่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยสมการสมดุลสถิตของโครงสร้าง
- โครงสร้างอินดีเทอร์มิเนท (Indeterminate) คือโครงสร้างที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยสมการสมดุลตามลำพัง
[แก้] ทฤษฎีในการวิเคราะห์กำลังของวัสดุ
- ทฤษฎีกำลัง (Working Stress) จะพิจารณาจากความเค้นคราก (Yield Stress) คือขีดกำหนดสูงสุดของความยืดหยุ่นของวัสดุ
- ทฤษฎีน้ำหนักประลัย (Ultimate Strength) จะพิจารณาจากกำลังประลัย (Ultimate Strength) คือขีดความสามารถสูงสุดของวัสดุ