ตะกั่ว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ, สัญลักษณ์, หมายเลข | ตะกั่ว, Pb, 82 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อนุกรมเคมี | โลหะหลังทรานซิชัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หมู่, คาบ, บล็อก | 14, 6, p | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะ | สีขาวอมน้ำเงิน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มวลอะตอม | 207.2(1) กรัม/โมล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | [Xe] 4f14 5d10 6s2 6p2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน | 2, 8, 18, 32, 18, 4 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติทางกายภาพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เฟส | ของแข็ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) | 11.34 ก./ซม.³ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. | 10.66 ก./ซม.³ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จุดหลอมเหลว | 600.61 K (327.46 °C) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จุดเดือด | 2022 K(1749 °C) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการหลอมเหลว | 4.77 กิโลจูล/โมล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการกลายเป็นไอ | 179.5 กิโลจูล/โมล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความร้อนจำเพาะ | (25 °C) 26.650 J/(mol·K) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติของอะตอม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้างผลึก | cubic face centered | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานะออกซิเดชัน | 4, 2 (amphoteric oxide) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อิเล็กโตรเนกาติวิตี | 2.33 (Pauling scale) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พลังงานไอออไนเซชัน (เพิ่มเติม) |
ระดับที่ 1: 715.6 กิโลจูล/โมล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระดับที่ 2: 1450.5 กิโลจูล/โมล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระดับที่ 3: 3081.5 กิโลจูล/โมล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัศมีอะตอม | 180 pm | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัศมีอะตอม (คำนวณ) | 154 pm | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัศมีโควาเลนต์ | 147 pm | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัศมีวานเดอร์วาลส์ | 202 pm | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อื่น ๆ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก | diamagnetic | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความต้านทานไฟฟ้า | (20 °C) 208 nΩ·m | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การนำความร้อน | (300 K) 35.3 W/(m·K) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การขยายตัวจากความร้อน | (25 °C) 28.9 µm/(m·K) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเร็วเสียง (thin rod) | (r.t.) (annealed) 1190 m/s |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โมดูลัสของยังก์ | 16 GPa | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โมดูลัสของแรงเฉือน | 5.6 GPa | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โมดูลัสของแรงบีบอัด | 46 GPa | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อัตราส่วนปัวซอง | 0.44 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความแข็งโมห์ส | 1.5 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความแข็งบริเนล | 38.3 MPa | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลขทะเบียน CAS | 7439-92-1 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไอโซโทปที่น่าสนใจ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งอ้างอิง |
ตะกั่ว(อังกฤษ:Lead) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (มาจากภาษาละตินว่า Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แบตเตอรี่ กระสุนปืน โลหะผสม
- แหล่งของแร่ตะกั่ว
มีกำเนิดทั้งแบบ
1.แหล่งแร่ปฐมภูมิซึ่งให้สินแร่ที่เป็นสารประกอบซัลไฟด์ ได้แก่ แร่ตะกั่ว-กาลีนา แหล่งแร่ปฐมภูมิ ได้แก่
1) แหล่งแร่สะสมตัวในชั้นหินอุ้มแร่ (stratabound-massive sulfide deposit) เช่น แหล่งแร่ตะกั่ว-สังกะสี บ้านสองท่อ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
2) แหล่งแร่แบบสการ์น (skarn deposit) ซึ่งเกิดจากกระบวนการแปรสภาพโดยการแทนที่ ระหว่างหินอัคนีแทรกซอน เช่น หินไดออไรต์พอฟีรี กับหินคาร์บอเนต เช่น หินปูน ตัวอย่างแหล่งแร่แบบนี้ คือ ที่แหล่งตะกั่ว-สังกะสีซัลไฟด์ ภูขุม บ้านโคกมน อำเภอเมือง จังหวัดเลย ที่บ้านเมืองกี๊ด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และที่เขาถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตาร์ จังหวัดยะลา
3) แหล่งแร่แบบสายแร่ (vein-type deposit) ส่วนใหญ่เป็นแร่ตะกั่ว-สังกะสีซัลไฟด์ ซึ่งเกิดในสายแร่ที่น้ำแร่แยกตัวออกจากหินอัคนี เช่นที่ภูช้าง บ้านโคกใหญ่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ที่บ้านแม่กะใน บ้านดงหลวง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
2.แหล่งแร่ทุติยภูมิ เป็นแหล่งแร่ที่เกิดจากกระบวนการแปรสภาพของแร่ปฐมภูมิซึ่งส่วนใหญ่เป็นแร่ซัลไฟด์ เป็นแร่ที่เป็นสารประกอบของออกไซด์ คาร์บอเนต และซิลิเกต เช่นแหล่งแร่ตะกั่วคาร์บอเนต-เซรัสไซต์ ที่บ้านบ่องาม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และแหล่งแร่สังกะสีซิลิเกต-เฮมิมอร์ไฟต์ สังกะสีออกไซด์-ซิงค์ไคต์ และสังกะสีคาร์บอเนต-สมิทซอไนต์ ที่ดอยผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
- แหล่งในประเทศ
แร่ตะกั่ว-สังกะสีพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ เพชรบูรณ์ เลย เพชรบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง และยะลา
- ประโยชน์
สินแร่ตะกั่วถลุงได้โลหะตะกั่วีใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศ ดังนี้
โลหะตะกั่ว
เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมโลหะบัดกรี ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างดีบุกกับตะกั่วในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน โลหะบัดกรีใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อน้ำรถยนต์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และแผงวงจรไฟฟ้า นอกจากนี้ยังใช้โลหะตะกั่วในโรงชุบเคลือบเหล็กด้วยสังกะสี ลูกแหลูกอวนที่ใช้ในอุตสาหกรรมประมง ใช้ในการทำกระดาษตะกั่ว ท่อน้ำ แผ่นตะกั่ว ตัวพิมพ์ กระสุนปืน สะพานไฟฟ้า ทำผนังกั้นรังสีในเครื่องหรือห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับปฏิกรณ์ปรมาณู ใช้ตะกั่วในการทำสี และทำผงตะกั่วแดงตะกั่วเหลือง สำหรับเคลือบภาชนะต่าง ๆ
โลหะและโลหะผสมสังกะสี
ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กชุบ โดยการใช้โลหะสังกะสีเป็นตัวเคลือบชุบเหล็กกล้า เช่น อุตสาหกรรมแผ่นเหล็กชุบสังกะสี ข้อต่อท่อเหล็กชุบสังกะสี ลวดเหล็กชุบสังกะสี เป็นต้น ใช้ในอุตสาหกรรมทองเหลืองซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี เป็นโลหะที่มีความแข็งแรงทนต่อการผุกร่อน ใช้ขึ้นรูปหรือหล่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ภาชนะและเครื่องประดับต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะสังกะสีผสม เช่น ผสมอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม ทำให้มีความแข็งแกร่งและทนต่อการผุกร่อนได้ดี นำมาหล่อเป็นรูปต่างๆ ได้ง่าย และคงขนาดแม่นยำ จึงใช้มากในอุตสาหกรรมหล่อผลิตภัณฑ์ เช่น คาร์บูเรเตอร์ มือจับประตู บานพับประตู ของเด็กเล่น เป็นต้น ใช้ในอุตสาหกรรมสังกะสีออกไซด์ ซึ่งเป็นสารประกอบของสังกะสีที่มีสภาพเป็นแป้งหรือผง ใช้ในอุตสาหกรรมยาง สี เซรามิก ยา เครื่องสำอาง และอาหารสัตว์ และใช้ในอุตสาหกรรมถ่านไฟฉาย
- ผลผลิต
จังหวัดที่เคยมีการผลิตแร่ตะกั่ว ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ยะลา ลำพูน และแพร่ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดเดียวในปัจจุบันที่ยังคงมีการผลิตแร่ตะกั่วคาร์บอเนต และตะกั่วซัลไฟด์ที่มีแร่สังกะสีปนอยู่ด้วย โดยแหล่งผลิตที่สำคัญคือที่แหล่งสองท่อ บ่องาม บ่อใหญ่ และบ่อน้อย อำเภอทองผาภูมิ สินแร่ตะกั่วคาร์บอเนตจะส่งไปถลุงยังบริษัทโลหะตะกั่วไทย ที่อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตโลหะตะกั่วจากสินแร่ตะกั่วคาร์บอเนตเพียงรายเดียวของประเทศ
สินแร่ตะกั่วของประเทศในปี 2539 – 2541 ผลิตได้ 49,243; 12,438 และ 15,146 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 346.4; 79.9; และ 108.1 ล้านบาท ตามลำดับ
- อ้างอิงจาก
กรมทรัพยากรเคมี Department of mineral resources (ประเทศไทย) http://58.137.128.181/ewtadmin/ewt/dmr_web/ewt_news.php?nid=573
ตะกั่ว เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ตะกั่ว ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |